พฤษภาคม 4, 2019

 Basel III Standard: ทองคำจะกลายเป็นสกุลเงินโลกแทนที่ดอลลาร์หรือไม่?1

วันที่ 29 มีนาคมปีนี้เป็นวันที่ธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศเริ่มบังคับใช้กฎกติกาใหม่รอบสุดท้าย ผู้เชี่ยวชาญบางท่านเชื่อว่าการกลับมาของทองคำในฐานะสื่อกลางเงินจะช่วยยุติการผูกขาดโดยสิ้นเชิงของค่าเงินดอลลาร์ ตามคำทำนายของผู้เชี่ยวชาญกลุ่มนี้ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อาจอ่อนค่าลง 40% ภายในเดือนธันวาคมและสูญเสียมูลค่าในต้นปีถัดไป

 

สามเหตุการณ์ที่สะเทือนโลกแห่งทองคำ

ตั้งแต่ปี 1879 ระบบการเงินสหรัฐฯ ตั้งอยู่บนฐานที่เรียกว่า “มาตรฐานทองคำ” ซึ่งปริมาณธนบัตรเงินสัมพันธ์กับปริมาณทองคำสำรองในประเทศ และเงินจำนวน $20 สามารถแลกเปลี่ยนเป็นทองคำตามน้ำหนักทรอยออนซ์ได้ทุกเมื่อ

55 ปีต่อมา ในปี 1934 ประธานาธิบดีแฟรงก์ลิน โรสเวลต์ ของสหรัฐฯ ได้อนุมัติกฎหมายสงวนทองคำ โดยตามกฎหมายฉบับนี้ การครอบครองทองคำโดยปัจเจกบุคคลถือเป็นสิ่งผิดกฎหมายและทองคำทั้งหมดจะต้องถูกขายคืนให้กับกระทรวงการคลังสหรัฐฯ หนึ่งปีต่อมา เมื่อทองคำทั้งหมดถูกโอนจากการครอบครองโดยเอกชนไปยังรัฐบาล ประธานาธิบดีโรสเวลต์ได้ปรับราคาขึ้นกว่า 70% เป็น $35 ต่อทรอยออนซ์ ซึ่งส่งผลให้มีการพิมพ์ธนบัตรเพิ่มขึ้น

ราคาทองคำยังคงเสถียรภาพในอีกสี่ทศวรรษถัดมา โดยรักษาราคาอยู่ที่ประมาณ $35 จนกระทั่งช่วงต้นปี 1970 เมื่อประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ตัดสินใจประกาศเลิก “มาตรฐานทองคำ” โดยสิ้นเชิง ซึ่งเป็นมาตรการที่ปลดแอกรัฐบาลทำให้รัฐบาลสามารถสั่งพิมพ์เงินกระดาษได้อย่างไม่จำกัด และราคาทองคำก็ยุติสถานะเป็นเงิน ทำให้ราคาทองคำพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว

และในฤดูใบไม้ผลิปี 2019 สื่อต่างๆ ได้ประกาศข่าวที่จะเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่ปฏิวัติวงการ เมื่อวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมากำหนดให้เป็นวันเริ่มต้นของกฎกติกาใหม่ ซึ่งทองคำได้กลายเป็นสินทรัพย์ชั้นหนึ่งเช่นเดียวกับเงินสดและพันธบัตรรัฐบาลอีกครั้ง

กฎกติกาดังกล่าวบังคับใช้โดยธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศ (BIS) และเรียกมาตรฐานนี้ว่า “Basel III Standard” (ตามชื่อสถานที่ตั้งของธนาคาร BIS ที่เมืองบาเซิล สวิตเซอร์แลนด์) ทำให้ผู้เชี่ยวชาญบางท่านเชื่อว่าทันทีที่ทองคำกลับมาสู่สถานะเงิน ทองคำจะกลายเป็นสกุลเงินอันดับหนึ่งและจะเขี่ยเงินดอลลาร์ที่เปราะบางออกจากตลาด เนื่องด้วยการแลกเปลี่ยนเงินกับทองคำนั้นไม่ขึ้นอยู่กับคลังสหรัฐฯ อีกต่อไปแต่จะขึ้นอยู่กับธนาคารต่างๆ โดยตรง พวกเขาจึงเริ่มกว้านซื้อทองคำอย่างแข็งขันเพื่อรักษาไว้ซึ่งเสถียรภาพในช่วงที่ระบบเงินดอลลาร์จะทรุดตัว โดยตามคำทำนายของผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้มองว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะทรุดตัวกว่า 40% ภายเดือนธันวาคมนี้และจะสูญเสียมูลค่าทั้งหมดภายในต้นปีถัดไป

 

นิยายไซ-ไฟหรือเรื่องจริง: 155,000 USD ต่อออนซ์?

- แล้วเกิดอะไรขึ้นเมื่อวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา? คำถามนี้เป็นคำถามถึงนายจอห์น กอร์ดอน นักวิเคราะห์ชั้นนำจากบริษัทโบรกเกอร์ NordFX

- นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น - เขาชี้ไปที่กราฟ - แทนที่ราคาจะพุ่งทะยานขึ้น หนึ่งวันก่อนหน้านั้นราคาทองคำกลับปรับลดกว่า 8% ผมคิดว่ามันยังเป็นเรื่องที่เร็วเกินไปที่จะพูดถึงวันสิ้นสุดของเงินดอลลาร์ สิ่งที่ควรคำนึงคือ แม้ธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศจะเป็นศูนย์รวมธนาคารกลางมากกว่า 60 แห่งจากประเทศต่างๆ เอกสารที่บังคับใช้ดังกล่าวเป็นเพียงคำแนะนำมากกว่าพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม นอกจากนี้ แหล่งข่าวบางแห่งอ้างว่าการตัดสินใจในการปรับมูลค่าของทองคำและวันที่เริ่มบังคับใช้กฎนี้ไม่ใช่ผลการตัดสินใจจากที่ประชุมของธนาคาร BIS แต่เป็นเพียงการตัดสินใจโดยกลุ่มธนาคารใหญ่เพียงกลุ่มเล็กๆ ซึ่งได้แก่ ธนาคารเฟ็ดสหรัฐฯ ธนาคารกลางยุโรป ธนาคารกลางเยอรมนี ธนาคารกลางอังกฤษ และฝรั่งเศส โดยที่ประเทศผู้นำเข้าทองคำหลักอย่างจีน อินเดีย รัสเซีย หรือญี่ปุ่น ก็ไม่ได้เข้าร่วมในการตัดสินใจดังกล่าว

“เพื่อให้ทองคำกลายเป็นเงินที่มีมูลค่าอีกครั้ง” นักวิเคราะห์จาก NordFX อธิบายต่อ “จำเป็นจะต้องมีการกำหนดดุลยภาพให้กับทองคำ อย่างน้อยกับสกุลเงินชั้นนำหลักของโลกอย่างตายตัว

มาลองคำนวณง่ายๆ กัน ราคาทองคำตอนนี้อยู่ที่ $1280 ต่อออนซ์ หรือประมาณ $41 ต่อกรัม และลองคำนวณว่าทองคำจะมีราคาเท่าไรหากเราเริ่มกำหนดดุลยภาพระหว่างค่าเงินดอลลาร์กับปริมาณทองคำสำรองในสหรัฐฯ ตามข้อมูลของปี 2018 ปริมาณทองคำสำรองสหรัฐฯ อยู่ที่ 8,133.5 ตัน และปริมาณเงินดอลลาร์รวมถึงเงินฝากธนาคารอยู่ที่ $40 ล้านล้านดอลลาร์ เมื่อเรานำมาหารกันจะพบว่าราคาทองคำต่อกรัมจะอยู่ที่ $5000 หรือ $155,500 ต่อทรอยออนซ์ ซึ่งสูงกว่าราคาทองคำในปัจจุบันถึง 120 เท่า

หนี้ประเทศของสหรัฐฯ มากกว่า $22 ล้านล้านดอลลาร์ และเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการว่าจะอะไรเกิดขึ้นหากมีเจ้าหนี้บางส่วนเริ่มเรียกร้องให้เปลี่ยนการชำระหนี้เป็นเงินทองคำแทนเงินกระดาษ

“ผมคิดว่าแม้การคำนวณจะดูหยาบๆ” กล่าวสรุปโดยนายจอห์น กอร์ดอน “การคำนวณเหล่านี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการหวนเวลากลับไปกว่าร้อยห้าสิบปี ในยุคที่เงินดอลลาร์ ปอนด์ รูเบิล หรือมาร์ค ขึ้นกับปริมาณทองคำสำรองประเทศนั้น แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย”

 Basel III Standard: ทองคำจะกลายเป็นสกุลเงินโลกแทนที่ดอลลาร์หรือไม่?2

 

ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นอื่นว่าอย่างไร

สมาคมโลหะมีค่าลอนดอน (สมาคมตลาดทองคำลอนดอน หรือ LBMA) ทำการสำรวจนักวิเคราะห์ 30 คน โดยขอให้นักวิเคราะห์ทำนายราคาทองคำสำหรับปี 2019 หากคุณนำความเห็นของนักวิเคราะห์เหล่านี้มาเฉลี่ยดู คุณจะเห็นว่ามีการพูดถึงการเติบโตของราคาเพียงแค่ 1.8% อย่างไรก็ตาม 2 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสำรวจเชื่อว่าในช่วงใดช่วงหนึ่งของปีนี้ ราคาทองคำอาจขยับถึงหรือเกินระดับ $1,400 ต่อออนซ์

คำทำนายที่ดูสดใสมากที่สุดเป็นของนาย Eddie Nagao จาก Sumitomo ที่ทำนายราคาไว้ที่ $1,475 เขามองว่าทองคำจะกลายเป็นสินทรัพย์ที่เป็นที่โปรดปรานของสถาบันการเงินและนักลงทุนในภาคเอกชน เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ ที่กำลังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สำหรับผู้ที่ทำนายแนวโน้มในแง่ลบเป็นของนาย Adam Williams จาก Fastmarkets MB (Metal Bulletin) โดยเขาเชื่อว่าราคาจะขยับลงต่ำกว่า $1,200 โดยตามสภาพตลาดหมี ทองคำเคยเป็นปัจจัยการตัดสินใจให้กับนักลงทุนเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2018 - กุมภาพันธ์ 2019 แต่ในกรณีที่มีการสรุปข้อตกลงทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนอย่างสำเร็จ ความต้องการในการถือสินทรัพย์ลี้ภัยอย่างทองคำจะลดลงอย่างรวดเร็ว และราคาก็จะปรับตัวลดลง

หากเราพูดถึงคำทำนายระยะยาว นาย Gary S. Wagner นักวิเคราะห์และผู้ผลิตจากหนังสือพิมพ์รายวัน The Gold Forecast ให้ภาพสถานการณ์ที่ดูน่าสนใจ เขาประเมินว่าตลาดกระทิงหลักล่าสุดเริ่มต้นเมื่อช่วงปลายปี 2015 โดยราคาปรับตัวขึ้นไปที่ $1,040 และคาดการณ์ว่าราคาทองคำจะพยายามทดสอบระดับสูงสุดของปี 2011 อีกครั้ง โดยราคาน่าจะขยับถึง $2,070-2,085 ต่อออนซ์ภายในปี 2020

 

โรมัน บุทโก, NordFX

 

หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้


« การวิเคราห์ตลาดและข่าว
รับการฝึก
มือใหม่ในตลาดใช่ไหม?ใช้ส่วน เริ่มฝึกฝน เริ่มฝึกฝน
ติดตามเรา (ในโชเซียลเน็ตเวิร์ค)