มิถุนายน 1, 2022

EUR/USD: ผลลัพธ์การประชุมของ FOMC ธนาคารเฟด “ที่น่าเบื่อ”

  • ดัชนีดอลลาร์ DXY ทำระดับสูงสุดในรอบหลายปีที่ 105.05 เมื่อวันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม หลังจากทะยานขึ้นมาตลอดหกสัปดาห์ ครั้งสุดท้ายที่ราคาทำระดับสูงสุดเช่นนี้คือเมื่อ 20 ปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม การกลับทิศทางเกิดขึ้นตามมาที่ระดับ 101.50 สองสัปดาห์หลังจากนั้น โดยคู่ EUR/USD ขยับตามเทรนด์ขาขึ้นโดยรวมมาตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม ขึ้นถึงระดับที่ 1.0764 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค่าเงินยูโรกดดันดอลลาร์ 415 จุด ในช่วงเวลาดังกล่าว แต่ไม่ใช่เพราะฝั่งเงินยูโรแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะธนาคารเฟดของสหรัฐฯ

    ผลการประชุมของคณะกรรมการตลาดเสรีธนาคารเฟด (FOMC) ซึ่งประกาศเมื่อวันพุธที่ 25 พฤษภาคม ไม่สร้างความประหลาดใจใด ๆ ทุกคนได้คาดการณ์ไว้อยู่แล้ว เนื้อหาของเอกสารการประชุมเพียงแค่การยืนยันความประสงค์ของธนาคารฯ ที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.5% ในการประชุมสองครั้งถัดไป ผู้บริหารธนาคารฯ ยังได้อนุมัติแผนอย่างเป็นเอกฉันท์ให้เริ่มลดขนาดพอร์ตสินทรัพย์ ซึ่งขณะนี้อยู่ที่ $9 ล้านล้านดอลลาร์ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน การไม่ปรากฏข่าวน่าประหลาดใจใด ๆ จากคณะกรรมการ FOMC ส่งผลเสียต่อดอลลาร์ แต่ช่วยดันตลาดหุ้น ทำให้ดัชนีหุ้น S&P500, Dow Jones และ Nasdaq ขยับขึ้นทันที

    ปฏิทินเศรษฐกิจมหภาคในยูโรโซนยังคงว่างเปล่าในสัปดาห์ที่แล้ว สำหรับสถิติจากสหรัฐฯ มีผลลัพธ์ออกมาหลายทิศทาง ยอดขอรับสวัสดิการว่างงานเบื้องต้นประจำสัปดาห์ลดลงมาที่ 210K ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์ที่ 215K คำสั่งซื้อสินค้าคงทนขยับขึ้นมา 0.4% ซึ่งชี้ถึงการเติบโตในกิจกรรมของผู้บริโภคที่เป็นปัจจัยหลักของการเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ด้าน GDP สหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 1 ถูกปรับลดลงเป็น -1.5% ซึ่งแย่กว่าทั้งการคาดการณ์ก่อนหน้าที่ -1.3% และการคาดการณ์ที่ -1.4%

    ในส่วนปัจจัยระยะกลาง นโยบายที่คุมเข้มของธนาคารเฟดสหรัฐฯ ยังคงมีบทบาทช่วยหนุนเงินดอลลาร์ นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารเฟดได้ออกมายืนยันหลายครั้งถึงความตั้งใจที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ และป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจได้รับความเสียหายมากเกินไป อัตราเงินเฟ้อประจำปี (CPI) ของสหรัฐฯ ทำระดับ 8.3% ในเดือนเมษายน ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ 2% ในขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์ก็มองว่า ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นจะยิ่งดันอัตราเงินเฟ้อให้สูงขึ้นต่อเนื่องในช่วงหลายเดือนที่จะมาถึง และอาจบีบให้ธนาคารเฟดต้องเร่งใช้นโยบายทางการเงินที่เข้มงวดมากยิ่งกว่าเดิม

    ค่าเงินดอลลาร์ยังได้รับแรงสนับสนุนจากสถานะการเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการทหารระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังอาจรุนแรงขึ้นได้ ความต้องการถือดอลลาร์จึงเพิ่มสูงขึ้น เพราะนักลงทุนกังวลเกี่ยวกับภัยภาวะเศรษฐกิจชะงักงันในยุโรป อีกทั้ง ความตึงเครียดระหว่างจีนและไต้หวันก็เพิ่มความต้องการในการถือสินทรัพย์ปลอดความเสี่ยงเช่นกัน

    EUR/USD ปิดตลาดในสัปดาห์ที่แล้วที่ 1.0701 ในขณะที่เขียนบทวิเคราะห์ฉบับนี้ในช่วงเย็นวันที่ 27 พฤษภาคม เสียงโหวตของผู้เชี่ยวชาญแบ่งออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่ 30% มั่นใจว่าราคาจะกลับไปยังทิศใต้ 50% รอให้ราคาขยับต่อไปยังทิศเหนือ และ 20% ที่เหลือมีท่าทีเป็นกลาง ทั้งนี้ ไม่ปรากฏสัญญาณที่สอดคล้องกันในอินดิเคเตอร์บนกรอบ D1 ออสซิลเลเตอร์ให้สีเขียว 80% และสีแดง 10% และสีเทากลาง 10% ในขณะเดียวกัน หนึ่งในสี่ของสัญญาณ “สีเขียว” ชี้ว่าราคาอยู่ในโซน overbought แล้ว และมีจำนวนที่เท่ากันในส่วนอินดิเคเตอร์เทรนด์ 50% บ่งชี้ว่าราคาจะขึ้นต่อ และ 50% โหวตให้กับขาลง ระดับแนวต้านที่ใกล้ที่สุดอยู่ในโซน 1.0750-1.0800 หากพิชิตแนวต้านสำเร็จ ฝั่งกระทิงจะพยายามตัดผ่านแนวต้านที่ 1.0900-1.0945 จากนั้น  1.1000 และ 1.1050 หลังจากนั้นราคาจะเจอกับแนวต้านที่โซน 1.1120-1.1137 สำหรับฝั่งหมี ภารกิจอันดับหนึ่งคือการหลุดแนวรับที่ 1.0640 จากนั้นคือ 1.0480-1.0500 และทำระดับ low ของวันที่ 13 พฤษภาคมใหม่ที่ 1.0350 หากทำสำเร็จ ฝั่งตลาดหมีจะขยับไปทำระดับ low ปี 2017 ที่ 1.0340 ซึ่งมีเพียงแนวรับจาก 20 ปีที่แล้วอยู่ด้านล่างเท่านั้น

    สถิติส่วนใหญ่เกี่ยวกับตลาดผู้บริโภคในเยอรมนี (30 พฤษภาคม และ 1 มิถุนายน) และของอียู (31 พฤษภาคม และ 3 มิถุนายน) จะมีการประกาศในสัปดาห์นี้ การประกาศดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจ ISM ในวันพุธที่ 1 มิถุนายนก็น่าจับตามองเช่นกัน ในวันเดียวกันนี้ สหรัฐฯ จะประกาศรายงาน ADP เกี่ยวกับการจ้างงานนอกภาคการเกษตร และอีกหนึ่งสถิติตลาดแรงงานสหรัฐฯ จะประกาศในวันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน รวมถึงดัชนีที่สำคัญ เช่น อัตราการว่างงานและจำนวนบันทึกเงินเดือนนอกภาคการเกษตรใหม่ (NFP)

GBP/USD: การตัดสินใจของรัฐบาลอังกฤษ “ที่ไม่น่าเบื่อ”

  • ปัจจัยหลักเบื้องหลังการแข็งค่าขึ้นของเงินปอนด์และการเติบโตของคู่ GBP/USD เป็นปัจจัยเดียวกันกับในกรณีเงินยูโร คือ ดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงโดยรวม ดัชนี DXY ขาลงตลอดสองสัปดาห์เป็นช่วงขาลงที่รุนแรงที่สุดตั้งแต่เดือนธันวาคม 2021 อย่างไรก็ดี เงินปอนด์แตกต่างจากยูโรตรงที่ เงินปอนด์ยังได้รับแรงหนุนจากปัจจัยอีกสองประการคือ สถิติตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง และปัจจัยที่สองคืออัตราเงินเฟ้อในเดือนเมษายน ซึ่งทำระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี และให้ความหวังต่อนักลงทุนว่าธนาคารอังกฤษจะต้องเดินหน้าคุมเข้มนโยบายทางการเงิน และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

    นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ แสดงถึงความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจประเทศในสัปดาห์ที่แล้ว เขากล่าวในบทสัมภาษณ์กับ Bloomberg TV เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ว่าเขา “คาดการณ์ช่วงเวลาที่ยากลำบากน่าจะรออยู่ข้างหน้า” และ “ไม่อยากจะกลับมาเห็นช่วงราคาหมุนขึ้นเมื่ออย่างช่วงปี 70s”

    หนึ่งวันก่อนหน้า การตัดสินใจของรัฐบาลอังกฤษแตกต่างกับท่าทีที่ “น่าเบื่อ” ของธนาคารเฟดโดยสิ้นเชิง และเป็นข่าวที่สร้างความประหลาดใจให้กับตลาดเป็นอย่างมาก นายริชชิ ซูนัก รัฐมนตรีการคลังสหราชอาณาจักรได้ประกาศการจ่ายเงินครั้งเดียวจำนวน £650 ปอนด์ให้กับครอบครัวที่มีรายได้ระดับต่ำสุดเพื่อเป็นเงินช่วยเหลือในช่วงเงินเฟ้อสูง จำนวนงบประมาณในมาตรการนี้คือ £15 พันล้านปอนด์ และแม้ว่า นายริชชิ ซูนัก โต้แย้งว่ามาตรการเยียวยาดังกล่าวจะ “ส่งผลเล็กน้อย” ต่อภาวะเงินเฟ้อ นักวิเคราะห์หลายคนมองว่า การอัดฉีดเงินจำนวนนี้อาจส่งผลให้ธนาคารอังกฤษปรับตัวเลขคาดการณ์ทางเศรษฐกิจของปีนี้และปีหน้า โดยมีความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางอังกฤษจะเริ่มมีท่าทีสายเหยี่ยวมากขึ้นเพื่อลดแรงกดดันของภาวะเงินเฟ้อต่อเศรษฐกิจอังกฤษ

    ในขณะเดียวกัน ในระหว่างนี้ แนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจอังกฤษยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าของสหรัฐฯ เป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนจึงมีข้อกังขาว่า เงินปอนด์ รวมถึงคู่ GBP/USD จะสามารถขยับขึ้นต่อเนื่องในระยะกลางได้จริงหรือไม่ โดยเฉพาะในกรณีที่ความตึงเครียดในไอร์แลนด์เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ เอกสารเกี่ยวกับข้อขัดแย้งกับไอร์แลนด์เป็นส่วนเสริมของข้อตกลงเบร็กซิต ซึ่งกำกับดูแลเรื่องการค้ากรณีพิเศษ ศุลกากร และประเด็นการย้ายถิ่นระหว่างสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์เหนือ และสหภาพยุโรป

    ราคาคู่นี้ปิดตลาดในสัปดาห์ที่แล้วที่ 1.2628 ซึ่งผู้เชี่ยวชาญ 55% โหวตว่าราคาจะขยับขึ้นต่อ ส่วน 35% โหวตแนวโน้มขาลง และ 10% ที่เหลือโหวตให้กับเทรนด์ด้านข้าง

    สถานการณ์ในส่วนอินดิเคเตอร์บน D1 ใกล้เคียงกับผลการวิเคราะห์ของคู่ EUR/USD ในส่วนอินดิเคเตอร์เทรนด์ 50% ชี้ถึงแนวโน้มขาขึ้น และ 50% คาดการณ์แนวโน้มขาลง ด้านออสซิลเลเตอร์ สมดุลมีความแตกต่างกันเล็กน้อย โดย 10% เท่านั้นที่ชี้ไปยังทิศใต้ อีก 10% เป็นกลาง ส่วน 80% ชี้ไปยังทิศเหนือ ทั้งนี้ จำนวนหนึ่งในสี่ชี้ว่าราคาอยู่ในโซน overbought แล้ว ระดับแนวรับอยู่ที่ 1.2600-1.2620, 1.2475-1.2500, 1.2400, 1.2370, 1.2300, 1.2200 จากนั้นคือ 1.2154-1.2164 และ 1.2075 สำหรับ pivot point ที่แข็งแกร่งของคู่นี้คือระดับสำคัญทางจิตวิทยาที่ 1.2000 ในกรณีที่ราคาขยับขึ้นไปต่อด้านบน ราคาจะต้องยืนเหนือแนวต้านที่ 1.2675 ให้สำเร็จ และจะมีโซนที่รออยู่คือ 1.2700-1.2750, 1.2800-1.2835 and 1.2975-1.3000

    สำหรับกิจกรรมที่จะมีขึ้นในสัปดาห์ที่จะถึงนี้เกี่ยวกับเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร เราอาจเน้นถึงการประกาศดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจในภาคการผลิต (PMI) ของเดือนมิถุนายน ในวันพุธที่ 1 มิถุนายน ส่วนวันที่ 2 และ 3 มิถุนายนจะเป็นวันหยุดธนาคารในสหราชอาณาจักร

USD/JPY: ญี่ปุ่นมีหนทางของตนเอง แต่หนทางไหน?

  • นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ฟูมิโอะ คิชิดะ ได้กล่าวล่าสุดว่า “การเคลื่อนไหวล่าสุดของเงินเยนถูกขับเคลื่อนโดยหลายปัจจัย” และกล่าวเสริมว่า วาระสำคัญของรัฐบาลในตอนนี้คือการช่วยผ่อนคลายแรงกดดันต่อครัวเรือนและธุรกิจผ่านมาตรการนโยบายต่าง ๆ

    สิ่งที่น่าสนใจคือเราควรทราบว่าอะไรอยู่เบื้องหลังคำพูดที่ว่า “ความเคลื่อนไหวล่าสุดของเงินเยน” มันคือการที่ USD/JPY ทะยานขึ้นจาก 102.58 ถึง 131.34 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2021 และเงินเยนญี่ปุ่นอ่อนค่าลง 2,876 จุดใช่หรือไม่? นี่ไม่ใช่แค่ “การเคลื่อนไหว” ธรรมดา ๆ แต่เป็นการตกต่ำลงอย่างจริงจัง ซึ่งครัวเรือนในประเทศต่างพร่ำบ่นถึง

    อัตราเงินเฟ้อในประเทศสูงขึ้นต่อเนื่อง ในที่สุดก็สร้างความไม่พึงพอใจในหมู่ประชากร ราคาสินค้าบริโภคที่สูงขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบแปดเดือน โดยสูงขึ้น 2.5% ในเดือนเมษายนเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า และเป็นอัตราการเติบโตที่สูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2014 Dow Jones ชี้่ว่า อัตราเงินเฟ้อสูงเกิน 2.0% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2008 และนี่ยังเกิดขึ้นโดยยังไม่พิจารณาผลกระทบของการขึ้นภาษีการบริโภค แต่ผู้นำประเทศควรจะตอบสนองต่อสถานการณ์นี้อย่างไรดี?

    ในขณะที่ทางการสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรต่อสู้กับเงินเฟ้อโดยนโยบายการเงินที่เข้มงวด ญี่ปุ่นกลับมีท่าทีในตรงกันข้าม นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นกล่าวว่า รัฐบาลกำลังตั้งเป้าที่จะบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อผ่านการปฏิรูปเชิงโครงสร้างของรัฐบาล นโยบายทางการคลัง และผ่านนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายของธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่น (ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยญี่ปุ่นติดลบอยู่ที่ -0.1% มาเป็นเวลานาน)

    นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่น อธิบายว่า หากราคาเชื้อเพลิงไม่ลดลง ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของญี่ปุ่น (CPI) มีแนวโน้มที่จะคงตัวอยู่ใกล้ระดับ 2% ในอีก 12 เดือนข้างหน้า

    ในขณะเดียวกัน หากเราวิเคราะห์คำพูดของผู้นำทั้งสองแล้ว เราจะเห็นความเหลื่อมล้ำกันในการประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจได้อย่างชัดเจน ในทางหนึ่ง นายฟูมิโอะ คิชิดะ กล่าวว่า วาระสำคัญของรัฐบาลคือการผ่อนคลายแรงกดดันของภาวะเงินเฟ้อ รวมถึงการขึ้นเงินเดือนให้กับประชาชน ในอีกทางหนึ่ง นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ กล่าวว่า การขึ้นเงินเดือนนั้นอาจส่งผลให้ภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้นอีกได้ จึงยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีจุดประนีประนอมที่ตรงไหนระหว่างรัฐบาลและธนาคารกลางญี่ปุ่น และนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศจะเป็นอย่างไรในช่วงหลายเดือนข้างหน้า

    นักลงทุนหลายคน โดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติคาดการณ์ว่า แม้ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะยืนหยัดในนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายขั้นสุด ในที่สุดแล้ว ธนาคารฯ จะถูกบังคับให้ต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ย และชัดเจนว่าความคาดหวังดังกล่าว ประกอบกับแนวโน้มขาลงของดัชนี DXY ส่งแรงหนุนให้กับเงินเฟ้อ ดังนั้น คู่ USD/JPY จึงปิดตลาดท้ายสัปดาห์ที่ 127.11

    ในขณะนี้ นักวิเคราะห์ 60% เห็นด้วยกับฝั่งตลาดหมี โดยคาดว่าราคาจะเคลื่อนที่ต่อไปยังทิศใต้ 15% โหวตว่าเทรนด์ขาขึ้นจะดำเนินต่อไปในระยะกลาง และ 25% คาดการณ์การเคลื่อนที่ในทิศทางด้านข้าง

    ในส่วนอินดิเคเตอร์บนกรอบ D1 ให้ผลลัพธ์ดังนี้ ออสซิลเลเตอร์จำนวน 60% ให้สัญญาณสีแดง หนึ่งในสามของจำนวนนี้ชี้ว่าราคาอยู่ในโซน oversold ส่วน 10% ให้สัญญาณสีเขียว และ 30 ให้สีเทากลาง ในส่วนอินดิเคเตอร์เทรนด์ให้ผลลัพธ์ 50% ต่อ 50% ระดับแนวรับที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่ 126.35 ตามมาด้วยโซนและระดับที่ 126.00 และ 125.00 และ 123.65-124.05 ด้านเป้าหมายของฝั่งกระทิงคือการขึ้นไปเหนือระดับ 127.55 จากนั้นจะต้องยืนเหนือแนวต้านที่ 128.00, 128.60 129.40-129.60, 130.00, 130.50 และทำราคาสูงสุดของวันที่ 9 พฤษภาคมที่ 131.34 ให้ได้ สำหรับเป้าหมายสูงสุดจะเป็นราคา high ของวันที่ 1 มกราคม 2002 ที่ 135.19

    ในสัปดาห์นี้จะไม่มีการประกาศสถิติเกี่ยวกับเศรษฐกิจญี่ปุ่น

คริปโตเคอเรนซี: ภูมิหลังดูเป็นลบ แต่ยังพอมีความหวัง

บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์และคริปโตเคอเรนซีประจำวันที่ 30 พฤษภาคม - 3 มิถุนายน 20221

  • เรามีข่าวสองชิ้นมาฝากคุณ ทั้งข่าวดีและข่าวร้าย เราจะมาเริ่มกันที่ข่าวดี ผู้เชี่ยวชาญหลายคน เช่น เคเธอรีน วูด ซีอีโอจาก ARK Invest หลับฝันว่าบิทคอยน์จะ “ละทิ้ง” ดัชนี S&P500, Dow Jones และ Nasdaq โดยจะหยุดขยับตามดัชนีดังกล่าวและจะขยับไปตามชะตาของตนเอง ในที่สุด เราก็ได้เห็นอะไรที่คล้ายกันนี้ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าตลาดหุ้นจะมีความผันผวนสูง ฝั่งกระทิงยังคงพยายามต้านทานโซน $30,000 ระหว่างวันที่ 13 ถึง 27 พฤษภาคม โดยพยุงราคา BTC/USD ไม่ให้ลงต่ำกว่าแนวรับที่ $28,620 และข่าวดีก็จบที่ตรงนี้ เราจะมาพูดถึงข่าวร้ายกัน ซึ่งจริง ๆ แล้วมีหลายข่าวด้วยกัน

    คริปโตเคอเรนซีหมายเลข 1 ยังคงเทรดอยู่ในโซนลบเป็นแปดสัปดาห์ติดต่อกันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ บทบาทสำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงนี้คือความสัมพันธ์โดยตรงระหว่าง BTC และดัชนีหุ้น ซึ่งถูกบั่นทอนในท้ายที่สุดในช่วงสองสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม

    ผู้เชี่ยวชาญจาก Goldman Sachs เคยย้ำไว้ในเดือนเมษายนว่า นโยบายที่ก้าวร้าวของธนาคารเฟดอาจกระตุ้นให้เกิดปรากฏการณ์เศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ การคาดการณ์ดังกล่าวทำให้นักลงทุนรายสถาบันถอยหนีจากสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ซึ่งรวมถึงสกุลเงินคริปโต

    กิจกรรมการเทรดโดยรวมถือว่าลดลง กระแสเงินที่ไหลออกจากกองทุนการลงทุนคริปโตในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมาทำระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 2021 จำนวนเงินในกองทุนโดยรวมลดลงเหลือ $38 พันล้านดอลลาร์ จำนวนธุรกรรมก็ลดลงด้วยเช่นกัน ด้านปริมาณเหรียญโดยรวมบนตลาดแลกเปลี่ยนคริปโตลดลงเหลือ 2.5 ล้านบิทคอยน์ และมีบิทคอยน์ที่ไหลเข้าสู่กระเป๋าเงินเย็น (กระเป๋าเงินระยะยาว)

    ท่ามกลางสถานการณ์นี้ เราเริ่มได้ยินคำพูดในทางลบเกี่ยวกับบิทคอยน์บ่อยมากขึ้นเรื่อย ๆ นางคริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรปได้กล่าวเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคมว่า คริปโตเคอเรนซีไม่มีความปลอดภัยใด ๆ ที่จะสามารถทำหน้าที่ในการให้เสถียรภาพได้ ในวันถัดมา นายแอนดริว ไบเลย์ ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษก็แสดงความเห็นในทางเดียวกันว่า บิทคอยน์ไม่มีมูลค่าที่แท้จริง และไม่เหมาะสำหรับการเป็นสื่อกลางในการชำระเงิน

    สก็อต มิเนิร์ด ผู้อำนวยการด้านการลงทุนของ Guggenheim Partners เห็นด้วยกับประธานธนาคารกลางต่าง ๆ “สกุลเงินควรเป็นเครื่องสะสมมูลค่า เป็นสื่อกลางในการชำระเงินและหน่วยของบัญชี มันไม่มีอะไรทำนองนี้ พวกเหรียญเหล่านี้ยังไม่มีแม้แต่ฐานเดียว” เขากล่าวสรุปและเปรียบเทียบสถานการณ์ในตลาดคริปโตกับเหตุการณ์ฟองสบู่ดอทคอม โดยมองว่าสินทรัพย์ดิจิทัลส่วนใหญ่คือ “ขยะ” แต่บิทคอยน์และอีธีเรียมจะรอดพ้นฤดูหนาวคริปโต “เมื่อคุณตัด่ผานระดับ $30,000 ระดับที่ $8,000 จะเป็นฐานด้านล่าง ดังนั้น ผมคิดว่าเรายังมีพื้นที่ให้ราคาลงต่ออีกมาก โดยเฉพาะเมื่อธนาคารเฟดเข้มงวดมากขึ้น” เขาคาดการณ์

    ไมค์ โนโวกราตซ์ (Mike Novogratz) ซีอีโอ Galaxy Digital เชื่อว่า แม้ราคาเหรียญดิจิทัลจะดิ่งลงมากจากระดับสูงสุด เหรียญอัลท์คอยน์ยังเสี่ยงที่จะสูญเสียมูลค่าอีกมากกว่าครึ่ง โนโวกราตซ์พูดถึงภาพรวมในตลาดการเงินโดยรวมว่ายังดูมืดมน ซึ่งคาดการณ์ว่าสินทรัพย์คริปโตจะร่วงลงต่อ อย่างไรก็ดี แม้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจมหภาคจะอยู่ในภาวะตลาดหมี ประธาน Galaxy Digital รายนี้ยังคงมีมุมมองที่สดใสและเชื่อว่าตลาดคริปโตจะฟื้นตัวในอนาคต “คริปโตเคอเรนซีจะไม่หายไปไหน จำนวนผู้ใช้งานรายใหม่ยังไม่ลดลง อัตราการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ไร้ศูนย์กลางยังไม่ชะลอตัว GDP ของโครงการในเมตาเวิร์สกำลังเติบโต ชุมชนคริปโตมีความแข็งแกร่ง พวกเขาเชื่อในนวัตกรรม และเชื่อว่าตลาดยังมีโอกาสสำหรับที่เพิ่งเข้ามาในช่วงต้น”

    จริงอยู่ว่าถ้าหากคุณวิเคราะห์สื่อโซเชียล คุณจะเห็นว่าผู้ใช้งานมีความเชื่อมั่นในอนาคตที่สดใสมากกว่านักลงทุนรายสถาบัน ในเรื่องนี้ Santiment บริษัทด้านการวิเคราะห์ได้เผยแพร่สถิติอินดิเคเตอร์ Weighted ของบริษัท ซึ่งคำนวณจากความเห็นในเชิงลบและเชิงบวกต่อสินทรัพย์ในสื่อโซเชียล การศึกษาข้อมูลช่วยกำหนดระดับอารมณ์ในชุมชนคริปโต จากการอ่านดัชนีนี้ชี้ว่า บิทคอยน์ได้ขยับถึงกรอบด้านล่างแล้ว และคาดว่าจะขยับขึ้นในช่วงไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า “ประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่า ราคามักจะขยับขึ้นเมื่ออารมณ์ของนักลงทุนอยู่ในระดับต่ำ เวลานี้คือจังหวะที่บิทคอยน์มีทุกโอกาสที่จะแข็งค่าขึ้น” นักวิเคราะห์ที่ Santiment เชื่ออย่างนั้น

    หนึ่งในนักวิเคราะห์บนสื่อโซเชียลที่เป็นที่เชื่อถือมากที่สุด Credible เชื่อเช่นกันว่า แม้ตลาดจะอยู่ในช่วงขาลงโดยรวม BTC ก็พร้อมที่จะทะยานขึ้นเสมอ เขามองว่า บิทคอยน์อยู่ในช่วงตลาดขาขึ้นมาตลอดสิบปีที่ผ่านมา และตลาดขาลงในช่วงปี 2014 และ 2018 นั้นเป็นช่วงปรับฐาน “หลังจากจุดสูงสุดในปี 2013 และ 2017 ราคาก็เจอกับตลาดหมีครั้งใหญ่ และใช้เวลา 3 ปีถึงกลับมาสู่จุดสูงสุด การปรับฐานในครั้งนี้ดูจะเล็กกว่า และเราจะพิสูจน์ให้เห็นได้เมื่อ BTC ทะยานขึ้นทำระดับสูงสุดใหม่ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า”

    Credible ใช้ทฤษฎี Elliott wave ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค ซึ่งทำนายพฤติกรรมของราคาโดยอ้างอิงจากจิตวิทยาของคนหมู่มาก ซึ่งแสดงออกให้เห็นในรูปแบบคลื่น ทฤษฎีนี้สันนิษฐานว่า วัฎจักรของตลาดกระทิงจะเกิดขึ้นผ่านคลื่น 5 คลื่น โดยจะมีคลื่นปรับฐานหรือย่อตัวในคลื่นที่ 2 และ 4 และคลื่นขาขึ้นในช่วง 1, 3 และ 5 นอกจากนี้ แต่ละคลื่นใหญ่จะประกอบด้วยคลื่นย่อยจำนวน 5 คลื่น

    นักวิเคราะห์รายนี้มองว่า ขณะนี้บิทคอยน์กำลังอยู่ในช่วงคลื่นย่อยที่ 5 ซึ่งอาจดันราคาสินทรัพย์ไปยังระดับสูงสุดใหม่ที่สูงกว่า $100,000 “ผมเข้าใจว่าแนวทางของผมนั้นเป็นที่ถกเถียง” กล่าวโดย Credible “คนส่วนใหญ่ไม่คิดว่าราคาจะทำระดับสูงสุดใหม่ได้จนกว่าจะถึงช่วงฮาล์ฟเหรียญครั้งถัดไปในปี 2024 และผมคาดว่ามันจะเกิดขึ้นเร็วกว่านั้น ในเวลาไม่กี่เดือน”

    Rekt Capital ซึ่งมีผู้ติดตามบนทวิตเตอร์กว่า 300,000 คน ได้ออกมาเตือนว่า บิทคอยน์อาจดิ่งลง 28% ต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 สัปดาห์ เขาอธิบายว่า เส้น SMA กำลังทำบทบาทเป็นแนวรับที่ขยับขึ้นต่อเนื่องมากที่สุด บิทคอยน์ได้ขยับต่ำกว่าเส้นนี้มาในอดีต แต่ช่วงเวลาแห่งการอยู่ใต้เส้นนี้นั้นเป็นช่วงชั่วคราวเท่านั้น แท่งเทียนรายสัปดาห์ไม่เคยปิดลงต่ำกว่าเส้น SMA ดังนั้น เงาของมันจึงสูงถึง 28% หากสิ่งนี้เกิดขึ้นอีกครั้ง ราคาบิทคอยน์จะอยู่ที่ระดับ $15,500 โดยในขณะนี้ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะ 200 สัปดาห์อยู่ในโซน $22,000

    นักวิเคราะห์คริปโตอีกท่านที่มีชื่อเล่นว่า Rager ได้ประเมินความยาวของวัฎจักรตลาดหมีของ BTC ในปี 2014 และ 2018 และมองว่า บิทคอยน์ยังอยู่ระหว่างทางไปยังจุดต่ำสุด ตั้งแต่ 6 ถึง 8 เดือน “ถ้าหาก BTC ขยับลดลงและรีบาวด์จากเส้นค่าเฉลี่ย 200 สัปดาห์ เหมือนกับในวัฎจักรตลาดหมีในอดีต นี่ก็จะเป็นสัญญาณที่ดี แนวโน้มขาลงจะเกิดขึ้นที่ 68% จากราคาสูงสุดเท่านั้น แม้ว่าราคาจะขยับถึง 84% ในอดีต แต่ถ้าหากเราดูความเป็นจริงในปัจจุบัน การย่อตัวที่ 84% จะพาราคาไปที่ $11,000”

    Rager เชื่อว่า ราคาบิทคอยน์จะขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งและอ่อนแอของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในระยะสั้น “คุณไม่ควรดูกราฟบิทคอยน์ ควรดูกราฟดัชนี S&P 500 ในขณะนี้ BTC มีโอกาสขาขึ้นเพียงที่จำกัด แต่มันจะไม่แข็งแกร่งขึ้นจนกว่าตลาดจะกลับทิศทาง”

    รายงานจาก Glassnode ระบุว่า อัตราส่วนระหว่างสัญญาซื้อและสัญญาขายบิทคอยน์เพิ่มขึ้นจาก 50% เป็น 70% จึงบ่งชี้ถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นของนักลงทุนที่จะเก็บคำสั่งจากแนวโน้มเชิงลบที่ต่อเนื่อง

    สถานะคงค้าง (Open Interest - OI) ในสัญญาซื้อซึ่งจะหมดอายุในปลายเดือนกรกฎาคมกระจุกตัวอยู่ที่บริเวณระดับ $40,000 อย่างไรก็ตาม นักลงทุนส่วนใหญ่เน้นสัญญาขาย (put) มากที่สุด ซึ่งจะนำกำไรมาให้ในกรณีที่ราคาลดลงไปยัง $25,000, $20,000 และ $15,000 หรือกล่าวได้ว่า ตลาดยังคงเน้นการประกันความเสี่ยงและ/หรือเก็งกำไรจากแนวโน้มขาลงต่อของบิทคอยน์ ไปจนถึงกลางปีนี้

    ส่วนในระยะยาว ผู้ที่มองโลกในแง่ดียังเป็นกลุ่มคนข้างมาก สัญญาที่มีอายุจนถึงสิ้นปีมีการเปิดไว้มากที่สุดในช่วงราคา $70,000 ถึง $100,000 ในส่วนสัญญาขาย OI จำนวนมากที่สุดกระจุกตัวอยู่ระหว่าง $25,000 และ $30,000 ซึ่งเป็นในโซนราคาปัจจุบัน

    เราเขียนสรุปบทรีวิวทั้งข่าวดีและข่าวร้ายแล้วในวันนี้ ทั้งนี้ ณ เวลาที่เขียนบทวิเคราะห์คือช่วงเย็นวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม มูลค่ารวมของตลาดคริปโตอยู่ที่ระดับ $1.194 ล้านล้านดอลลาร์ ($1.248 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อหนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้า) ดัชนี Bitcoin Fear & Greed Index ปักหลักอยู่ในโซนความกลัวขั้นสุด (Extreme Fear) ที่บริเวณ 12 จุด (เดิมดัชนีเคยร่วงลงไปที่ 8 จุดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2020) คู่ BTC/USD ยังต่อสู้ที่จะอยู่ในโซนสงครามที่บริเวณ $28,800

 

กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX

 

หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้


« การวิเคราห์ตลาดและข่าว
รับการฝึก
มือใหม่ในตลาดใช่ไหม?ใช้ส่วน เริ่มฝึกฝน เริ่มฝึกฝน
ติดตามเรา (ในโชเซียลเน็ตเวิร์ค)