กุมภาพันธ์ 25, 2023

EUR/USD: ระเบียบ FOMC ช่วยให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น

บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์และคริปโตเคอเรนซีประจำวันที่ 27 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม 20231

  • สถิติเศรษฐกิจมหภาคทั้งในสหรัฐฯ และยูโรโซนดูน่าสับสน ระดับเงินเฟ้อในสองภูมิภาคชะลอตัวลง (ซึ่งเป็นเรื่องดี) แต่การเติบโตของ GDP ก็ลดลงเช่นกัน (ซึ่งเป็นเรื่องแย่ต่อเศรษฐกิจ) กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ รายงานว่า อัตราการเติบโตของการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศใน Q4 อยู่ที่ +1.4% หลังจาก +2.3% ใน Q3 (คาดการณ์อยู่ที่ +2.1%) อัตราการเติบโตของ GDP สหรัฐฯ รายปีตามการคาดการณ์เบื้องต้นจะต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ +2.7% (ตัวเลขคาดการณ์และตัวเลขครั้งก่อนหน้าอยู่ที่ +2.9%) อย่างไรก็ดี สถิติตลาดแรงงานดูค่อนข้างเป็นบวก จำนวนยอดขอรับสวัสดิการเบื้องต้น ซึ่งคาดการณ์อยู่ที่ 200K ลดลงจาก 195K เหลือ 192K โดยสถิติสุดท้ายจาก Eurostat ชี้ว่า ภาวะเงินเฟ้อในยูโรโซนชะลอตัวเหลือ +8.6% ปีต่อปีในเดือนมกราคม (+9.2% เมื่อหนึ่งเดือนก่อนหน้า) ในส่วนของเยอรมนีดูหนักหน่วงกว่า โดยอัตราเงินเฟ้อรายปี ณ เดือนมกราคมอยู่ที่ +9.2% เทียบกับ +9.6% ในเดือนธันวาคม แต่ในขณะเดียวกัน ค่า GDP ประเทศก็ลดลงเช่นกัน โดยดัชนีลดลง -0.4% (ตัวเลขคาดการณ์และตัวเลขครั้งก่อนหน้าอยู่ที่ -0.2%) ดัชนี CPI กุมภาพันธ์ล่าสุดไม่น่าประทับใจเช่นกัน โดยตัวเลขเพิ่มขึ้นมา +8.1% เป็น +8.7%

    ท่ามกลางสถานการณ์ดังกล่าว สภาวะอารมณ์ตลาดยังคงเอื้อต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยเฉพาะหลังการประกาศรายงานการประชุมของคณะกรรมการกำกับนโยบายทางการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) ซึ่งรายงานดังกล่าวไม่เป็นที่น่าประหลาดใจแต่อย่างใด และเป็นอีกครั้งที่ตลาดได้เห็นว่าธนาคารฯ จะไม่หยุดต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ

    United Overseas Bank (UOB) ได้ให้ข้อสรุปเกี่ยวกับผลการประชุมดังนี้ 1) แม้ว่าจะมีความคืบหน้าในการต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ ระดับเงินเฟ้อยังคงสูงกว่าระดับเป้าหมายที่ 2% 2) สมาชิกในคณะกรรมการทุกท่านเห็นด้วยว่า การบรรลุระดับเงินเฟ้อตามเป้าหมายจะต้องอาศัยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมและคงดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงจนกว่าธนาคารเฟดจะมั่นใจได้ว่า ภาวะเงินเฟ้อขยับลงอย่างยั่งยืน 3) แม้ว่า FOMC จะลงคะแนนเสียงให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 จุดพื้นฐาน (bps) กรรมการหลายท่านอยากจะให้ขึ้นจริง ๆ 50 จุด 4) ธนาคารเฟดยังคงกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อมากกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

    Janet Yellen รัฐมนตรีการคลังสหรัฐฯ ยืนยันข้อสรุปเหล่านี้ เธอกล่าวในที่ประชุมของรัฐมนตรีการคลังของกลุ่มประเทศ G20 และผู้ว่าการธนาคารกลางเมื่อวันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ว่า “เงินเฟ้อกำลังลดลงมาที่ระดับพื้นฐานในรอบ 12 เดือน แต่อัตราเงินเฟ้อหลักยังคงสูงกว่า 2%” เธอมองว่าเศรษฐกิจสามารถ “ลงจอดอย่างนุ่ม ๆ” ได้โดยไม่ต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย เนื่องด้วยตลาดแรงงานและงบดุลที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ

    ปัจจัยทั้งหมดข้างต้นทำให้ดัชนีดอลลาร์ DXY ยังคงปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำระดับสูงสุดในกรอบที่ 105.26 จุด ในขณะที่ EUR/USD ปิดตลาดที่ระดับ 1.0546 (ระดับต่ำสุดที่ 1.0535)

    โดยมีความเป็นไปได้สูงที่ปัจจัยหลัก ซึ่งกำหนดพฤติกรรมของดอลลาร์จนถึงการประชุมครั้งถัดไปของ FOMC ในวันที่ 21-22 มีนาคม จะเป็นการเก็งว่าธนาคารจะยอม “ทำสงคราม” กับภาวะเงินเฟ้อในระดับรุนแรงแค่ไหน การคาดการณ์ของธนาคาร UOB ชี้ว่า อัตราดอกเบี้ยอาจถูกปรับขึ้น 25 จุดในเดือนมีนาคมและพฤษภาคม จนขึ้นไปถึง 5.25% และคงอยู่ที่ระดับดังกล่าวไปจนถึงสิ้นปี ด้านการคาดการณ์จากแหล่งอื่น ๆ ระบุว่า ระดับดอกเบี้ยสูงสุดจะอยู่ที่เดือนกรกฎาคมที่ 5.38%

    ผู้เชี่ยวชาญจาก ING เครือธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดในเนเธอร์แลนด์ชี้ว่า เดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมอาจสนับสนุนดอลลาร์เล็กน้อย แต่ทางด้าน Commerzbank ชี้ว่า ดอลลาร์สหรัฐจะแข็งค่าขึ้นยากมากขึ้นเทียบกับยูโร เพราะตลาดเก็งราคาไว้อยู่แล้ว และยังไม่ปรากฏปัจจัยที่แข็งแกร่งใหม่ ๆ ให้เห็นในขณะนี้ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ธนาคารกลางยุโรปไม่หยุดนิ่งเฉยในการเพิ่มความเข้มงวดในนโยบายทางการเงิน สถิติสุดท้ายของดัชนีราคาผู้บริโภคในยูโรโซน ซึ่งปรับขึ้นมาเป็น 5.3% ในดัชนีหลัก ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์จะเป็นปัจจัยกระตุ้นมาตรการ QT รอบใหม่

    ณ ขณะที่เขียนบทวิเคราะห์ฉบับนี้ (ช่วงเย็นวันที่ 24 กุมภาพันธ์) นักวิเคราะห์ 40% คาดการณ์ว่าดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นต่อ (เมื่อสัปดาห์ที่แล้วน้อยกว่านี้ครึ่งหนึ่ง) 50% คาดการณ์ว่า EUR/USD จะปรับฐานขึ้นทิศเหนือ และส่วน 10% ที่เหลือมีท่าทีเป็นกลาง

    ด้านออสซิลเลเตอร์บนกรอบ D1 ให้สัญญาณสีแดง แต่หนึ่งในสี่ให้สัญญาณแล้วว่าราคาอยู่ในโซน oversold ทางด้านอินดิเคเตอร์เทรนด์ 75% แนะนำให้ขาย 25% แนะนำให้ซื้อ ส่วนระดับแนวรับที่ใกล้ที่สุดตั้งอยู่ในโซน 1.5000-1.0525 จากนั้นคือระดับและโซนที่ 1.0440 และ 1.0370-1.0400, 1.0300, 1.0220-1.0255 ด้านฝั่งกระทิงจะเจอกับแนวต้านที่บริเวณ 1.0560-1.0575, 1.0600-1.0620, 1.0680-1.0710, 1.0745-1.0760, 1.0800, 1.0865

    กิจกรรมที่น่าจับตามองในสัปดาห์นี้ ได้แก่ การประกาศสถิติคำสั่งซื้อสินค้าทุนและสินค้าคงทนในสหรัฐฯ ในวันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ ส่วนวันพุธเป็นวันแรกของเดือนมีนาคมจะมีการประกาศสถิติสำคัญชุดใหญ่จากเยอรมนี ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ในภาคการผลิต รวมถึงการเปลี่ยนแปลงในจำนวนผู้ว่างงานในประเทศ แล้วเรายังจะจับตาดูดัชนี CPI เดือนกุมภาพันธ์ในยูโรโซน คำแถลงของธนาคารกลางยุโรปว่าด้วยนโยบายทางการเงิน และสถิติอัตราว่างงานในสหรัฐฯ ในวันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคมด้วยเช่นกัน รวมถึงสถิติอีกชุดหนึ่งจากสหรัฐฯ คือดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ในภาคบริการที่จะประกาศในวันสุดท้ายของสัปดาห์

GBP/USD: กิจกรรมธุรกิจเพิ่มขึ้น แต่เงินปอนด์อ่อนค่า

  • เงินปอนด์ยังคงต่อสู้และต้านทานเงินดอลลาร์ แม้ว่าจะถูกโจมตีกลับหลายครั้ง มันก็ค่อย ๆ ถอยหลังทีละก้าว โดยเริ่มต้นสัปดาห์อยู่ที่ 1.2040 จากนั้น GBP/USD ก็ทำระดับสูงสุดที่ 1.2147 แต่หลังจากนั้นก็ถอยลงมาและปิดท้ายสัปดาห์ที่ 1.1942

    ทั้งนี้ เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้สำเร็จในช่วงปลายปี 2022 และสถิติกิจกรรมทางธุรกิจในสหราชอาณาจักร ซึ่งประกาศเมื่อวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ออกมาค่อนข้างเป็นบวก ดัชนี Composite PMI จากตัวเลขคาดการณ์ที่ 49.0 น่าจะเติบโตจาก 48.5 เป็น 53.0 ในช่วงรอบเดือน แต่ตัวเลขเหล่านี้เป็นเพียงสถิติเบื้องต้น โดยสถิติสุดท้ายจะประกาศให้ทราบในวันที่ 1 และ 3 มีนาคมนี้ ในขณะเดียวกัน ระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวอังกฤษกลับต่ำกว่าในช่วงวิกฤติทางการเงิน ช่วงภาวะการระบาดของ COVID-19 และภาวะเศรษฐกิจถดถอยในช่วงปี 1980 และ 1990s

    แม้ว่าภาวะเงินเฟ้อในประเทศจะลดลง ระดับเงินเฟ้อยังคงเป็นเลขสองหลักและสูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางอังกฤษถึงห้าเท่า (CPI ลดลงมาที่ +10.1% ในเดือนมกราคมจากการคาดการณ์ที่ 10.3% และ 10.5% ในเดือนธันวาคม) ภาวะเงินเฟ้อยังคงสูงลิ่ว ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากตลาดแรงงานและขณะนี้ยังไม่มีเหตุผลให้มั่นใจได้ว่า การเติบโตของรายได้ในสหราชอาณาจักรจะชะลอตัว

    ตลาดคาดว่าธนาคารกลางอังกฤษ เช่นเดียวกันกับธนาคารเฟดสหรัฐฯ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ 25 จุดพื้นฐานในเดือนมีนาคมและเมษายน พาระดับดอกเบี้ยขึ้นไปที่ 4.5% อย่างไรก็ดี ผู้บริหารธนาคารกลางอังกฤษหลายท่านกังวลมากว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากไปอาจทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว ดังนั้น นโยบายทางการเงินของธนาคารกลางฯ ซึ่งดูกำกวมอยู่แล้วนั้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ถูกขณะ

    สำหรับการคาดการณ์กลางในหมู่ผู้เชี่ยวชาญ 45% โหวตให้เงินปอนด์อ่อนค่าลงต่อ โดย 25% คาดว่า GBP/USD จะขยับขึ้น 30% เลือกที่จะหลีกเลี่ยงที่จะให้คำพยากรณ์ใด ๆ ในส่วนของอินดิเคเตอร์เทรนด์บนกรอบ D1 ให้อัตราส่วนอยู่ที่ 85% ต่อ 15% โดยสีแดงเป็นฝ่ายได้เปรียบ ในส่วนของออสซิลเลเตอร์ให้ผลลัพธ์สีแดง 100% แต่ 15% ระบุว่าราคาอยู่ในโซน oversold แล้ว สำหรับระดับและโซนแนวรับของคู่นี้ ได้แก่ 1.1900-1.1915, 1.1840, 1.1800, 1.1720 และ 1.1600 กรณีที่ราคาขยับขึ้นทิศเหนือ จะต้องเผชิญกับแนวต้านที่ระดับ 1.1960, 1.1990-1.2025, 1.2075-1.2085, 1.2145, 1.2185-1.2210, 1.2270, 1.2335, 1.2390-1.2400, 1.2430-1.2450, 1.2510, 1.2575-1.2610, 1.2700, 1.2750 และ 1.2940.

    ในส่วนของเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร นอกเหนือจากสถิติสุดท้ายจากดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจ (PMI) ในสหราชอาณาจักร ซึ่งจะประกาศในวันที่ 1 และ 3 มีนาคมนี้ เรายังจะต้องจับตาดูคำแถลงของ Andrew Bailey ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษในวันพุธที่ 1 มีนาคมอีกด้วย

USD/JPY: ความหวังต่อมาตรการถอนสภาพคล่องริบหรี่ แต่ยังพอมีอยู่

  • "ดูเหมือนว่าการแต่งตั้งนาย Kadsuo Wada เป็นผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) คนใหม่ ไม่ได้ส่งผลดีต่อค่าเงินญี่ปุ่นแต่อย่างใด” เราเคยเขียนไว้ในบทวิเคราะห์ครั้งที่แล้ว และตอนนี้หากเราดูที่กราฟ USD/JPY เราจะเห็นการยืนยันได้อย่างชัดเจน นอกจากดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นแล้ว เงินเยนยังเผชิญแรงกดดันเพราะนาย Kadsuo Wada คำแถลงของเขาเมื่อวันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาได้ช่วยให้ราคาคู่นี้ขยับขึ้นมาจากระดับ 134.04 เป็น 136.41 ความเห็นของว่าที่ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่นท่านนี้ ซึ่งได้กล่าวต่อหน้าสภาผู้แทนฯ ของรัฐสภาญี่ปุ่น ซึ่งโดยรวมแล้วกล่าวถึงนโยบายทางการเงินปัจจุบันของธนาคารกลางญี่ปุ่น และยิ่งทำให้ผู้ฟังผิดหวัง โดยเฉพาะผู้ที่หวังว่าจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในนโยบายทางการเงินของธนาคารฯ นักลงทุนไม่เห็นสัญญาณ “สายเหยี่ยว” ในคำพูดเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน

    สัญญาณที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดความต้องการเก็งกำไรจากค่าเงินเยน ซึ่งอ่อนค่าลงในช่วงดัชนี DXY ปรับสูงขึ้นนั้นจะเป็นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นของพันธบัตรรัฐบาลชุด 10 ปี ทั้งนี้ เราควรต้องไม่ลืมว่ามีความสัมพันธ์โดยตรงระหว่าง USD/JPY และพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ  หากผลตอบแทนสูงขึ้น ดอลลาร์ก็จะแข็งค่าขึ้นเทียบกับเงินเยนญี่ปุ่น

    เราเคยเขียนถึงไปแล้วเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ผู้เชี่ยวชาญบางท่านคาดว่าดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นอย่างจริงจังในอนาคต เช่น นักเศรษฐศาสตร์จาก Danske Bank ทำนายว่า USD/JPY จะลดลงและขยับถึงระดับ 125.00 ในอีกสามเดือน ด้านนักยุทธศาสตร์ BNP Paribas Research มีท่าทีที่คล้ายกัน พวกเขามองว่า ในกรณีที่นโยบายทางการเงินเข้มงวดขึ้น ผลตอบแทนที่เป็นบวกของญี่ปุ่นอาจกระตุ้นให้เม็ดเงินของนักลงทุนในประเทศไหลกลับเข้ามา ผลที่ตามมาก็คือ USD/JPY อาจขยับลงมาที่ 121.00 ภายในสิ้นปี 2023 แต่ข่าวทั้งหมดนี้ยังคงเป็นเพียงข้อสันนิษฐานที่คลุมเครือ แต่ 75% ของนักวิเคราะห์เห็นอย่างนั้น ในส่วนของแนวโน้มระยะใกล้มีผู้เชี่ยวชาญเพียง 35% เท่านั้นที่คาดการณ์ว่าราคาคู่นี้จะขยับลดลง ซึ่งจำนวนเดียวกันนั้นมองไปยังทิศทางตรงกันข้าม และ 20% ที่เหลือยังคงท่าทีเป็นกลาง ในส่วนของออสซิลเลเตอร์บนกรอบ D1 มี 100% ชี้ว่าราคาจะขยับขึ้นทิศเหนือ (15% ระบุว่าราคาอยู่ในโซน overbought แล้ว) ในส่วนของอินดิเคเตอร์เทรนด์มี 75% ชี้ไปยังทิศเหนือและ 25% ไปยังทิศใต้ ระดับแนวรับที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่โซน 135.90 ตามมาด้วยระดับและโซนที่ 134.90-135.15, 134.40, 134.00, 133.60, 132.80-133.20, 131.85-132.00, 131.25, 130.50, 129.70-130.00 ส่วนระดับและโซนแนวต้าน 136.70, 136.00, 137.50, 139.00-139.35, 140.60, 143.75

    ในสัปดาห์หน้านี้ไม่มีการประกาศสถิติเศรษฐกิจมหภาคที่สำคัญจากฝั่งญี่ปุ่น แต่ Kadsuo Wada จะกล่าวถ้อยแถลงอีกครั้งในวันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ แต่ก็ไม่มีแนวโน้มที่จะมีเนื้อหาอะไรใหม่หรือน่าสนใจ

คริปโตเคอเรนซี: บิทคอยน์อยู่ภายใต้แรงกดดัน แต่ยังไม่ยอมแพ้

  • สำหรับสถานการณ์ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เราสามารถกล่าวได้ดังนี้ บิทคอยน์อยู่ภายใต้แรงกดดัน แต่ยังเอาอยู่ ในบรรดาปัจจัยกดดันต่าง ๆ นั้น ได้แก่ รายงานการเงินของแพลตฟอร์ม Coinbase ใน Q4 ปี 2022 และการแข็งค่าขึ้นดอลลาร์ รายได้ของ Coinbase ร่วงลง 75% ในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นเรื่องผิดปกติสำหรับตลาดคริปโต สาเหตุของการร่วงลงดังกล่าวนั้นมีความชัดเจนก็คือ ลูกค้าทะยอยออกจากแพลตฟอร์มเนื่องด้วยข่าวฉาวมากมายและเหตุการณ์ล้มละลายของผู้เล่นในวงการทั้งรายใหญ่และขนาดกลาง ส่งผลให้ Coinbase ขาดทุนคิดเป็น $2.46 ต่อหุ้น (เทียบกับกำไรต่อหุ้นของบริษัทคริปโตรายใหญ่นี้ที่ $3.32 เมื่อหนึ่งปีก่อนหน้า) ตอนนี้ยังไม่เป็นที่ทราบโดยแน่ชัดว่า Coinbase จะล้มละลายแบบ FTX หรือไม่ แต่ไม่ว่าจะกรณีใดก็ตาม นักลงทุนต้องไม่ลืมเรื่องความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับตลาดนี้ด้วย

    สำหรับปัจจัยประการที่สองนั้นเกี่ยวกับระบบธนาคารเฟด (Federal Reserve System - FRS) ของสหรัฐฯ เหมือนเช่นเคย ความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นของตลาดต่ออัตราดอกเบี้ยทำให้ราคา BTC/USD แข็งค่าขึ้น ทั้งนี้ บิทคอยน์แสดงให้เห็นว่ามันเป็นสินทรัพย์ที่แข็งแกร่งมากกว่าดัชนีหุ้นในสถานการณ์นี้ ซึ่งในช่วงปกติมันจะมีความสัมพันธ์ผันตามดัชนีหุ้น ทั้งนี้ ดัชนี S&P500 ขยับกลับไปยังระดับกลางเดือนมกราคม และดัชนี Dow Jones ก็ตกลงมายังระดับเดือนธันวาคม ในขณะที่บิทคอยน์ทำราคาเพิ่มขึ้น 40% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2023

    การถกเถียงกันเรื่องอนาคตของสินทรัพย์ดิจิทัลยังคงดำเนินต่อไป Charlie Munger รองประธานบริษัทผู้ถือหุ้นในตำนาน Berkshire Hathaway ผู้เป็นมือขวาของวอร์เรน บัฟเฟตต์ เรียกผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับเขาในเรื่องการแบนคริปโตเคอเรนซีว่าเป็น “คนโง่เขลา”  “ผมไม่ภูมิใจในประเทศของผม [สหรัฐฯ] ที่อนุญาตเรื่องบ้า ๆ นี้ มันบ้าบอที่ใครสักคนกำลังซื้อสิ่งนี้ [สินทรัพย์ดิจิทัล]” กล่าวโดยเศรษฐีพันล้านวัย 99 ปี มันไม่ใช่เรื่องดี มันบ้ามาก และมันจะส่งแต่ผลเสียเท่านั้น” Kevin O'Leary นักลงทุน นักเขียน และพิธีกรรายการชื่อดัง Shark Tank กล่าวว่า “หน่วยงานทางการเงินของอเมริกาเบื่อหน่าย” ที่จะต้องคอยดูคลื่นบริษัททยอยกันล้มละลายในอุตสาหกรรมคริปโต “คนในวอชิงตันนั้นโกรธมาก การล่มสลายลงของ FTX ยิ่งปลุกหมีให้ตื่นขึ้น และมันก็ตื่นพร้อมอารมณ์โมโห สมาชิกวุฒิสภารู้สึกเบื่อหน่ายกับการต้องประชุมทุก ๆ หกเดือนและดูว่ามีบริษัทคริปโตไหนอีกบ้างที่ล้มละลายลง พวกเขาทนไม่ไหวกับการที่อุตสาหกรรมนี้ไม่มีการกำกับดูแลที่ถูกต้อง และทุกคนก็สามารถออกเหรียญที่ไร้ประโยชน์เป็นของตนเองได้” กล่าวโดยผู้ประกอบการชาวแคนาดารายนี้ ข้อสรุปของเขานั้นดูเบากว่าของ Charles Munger  โดยเขาเรียกร้องให้คนในแวดวงร่วมมือกับคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์และหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ และกล่าวว่าบริษัทที่ได้รับการกำกับดูแลจะดึงดูดเงินลงทุนได้มากกว่าคู่แข่งที่ขาดการกำกับดูแล

    ราคาบิทคอยน์นั้นได้รับการสนับสนุนโดยนักลงทุนรายย่อยและขนาดกลางในขณะนี้ Glassnode บริษัทด้านการวิเคราะห์รายงานว่า จำนวนแอดเดรส (address) ที่มีขนาดเล็กกว่า (ตั้งแต่ 1 BTC ขึ้นไป) ยังคงทำระดับสูงสุดเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จำนวนดังกล่าวเพิ่มขึ้น 20% ในรอบปี โดยรวมทั้งสิ้น 982,000 สำหรับจำนวนแอดเดรสที่มียอดเงินตั้งแต่ 1000 BTC ขึ้นไปลดลงมาจากระดับสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 อยู่ที่ 2,500 มายังระดับเดือนสิงหาคม 2019 และขณะนี้ (ณ วันที่ 20 ก.ค. 2023) มีวาฬดังกล่าวจำนวน 2,024 แอดเดรส อย่างไรก็ตาม จำนวนแอดเดรสที่มียอดเงินมากกว่า 10,000 BTC หรือมากกว่า (มูลค่าสูงกว่า $240 ล้านดอลลาร์ที่ราคาปัจจุบัน) ยังคงอยู่ที่ระดับสูงสุดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตรงกับตัวเลขเดือนพฤศจิกายน 2022 และตุลาคม 2018 โดยขณะนี้มี “วาฬยักษ์” ดังกล่าวจำนวน 115 แอดเดรสเท่านั้น

    นักลงทุนชาวเอเชียอาจช่วยดันราคาบิทคอยน์ให้สูงขึ้น Cameron Winklevoss ผู้ร่วมก่อตั้งตลาดคริปโต Gemini กล่าว เขามีข้อสันนิษฐานว่าระยะถัดไปของการเติบโตในราคาบิทคอยน์จะเกิดขึ้นในภูมิภาคตะวันออก และสหรัฐฯ จะต้องปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมใหม่ โดย Chainalysis รายงานว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกติดอันดับสามในแง่ของปริมาณเงินลงทุนในคริปโตเคอเรนซี

    ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่า สิ่งสำคัญสำหรับตลาดคือบิทคอยน์จะต้องคงระดับเหนือแนวต้านระยะกลางที่ $24,500 ให้สำเร็จ ซึ่งจะช่วยให้เหรียญขยับขึ้นไปเหนือ $25,000 ได้ก่อน และหลังจากนั้นจะขึ้นไปถึงช่วง $29,000-30,000 ได้สำเร็จ นักวิเคราะห์ Matrix ชี้ว่าราคาบิทคอยน์จะสามารถขยับขึ้นไปที่ $29,000 ภายในฤดูร้อนและขึ้นไปที่ $45,000 ภายในสิ้นปีนี้ อย่างไรก็ตาม มันจะเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขที่อัตราการเติบโตของภาวะเงินเฟ้อในหมู่ผู้บริโภคชะลอตัวในสหรัฐฯ Matrix ตั้งข้อสังเกตว่า ราคาเหรียญคริปโตเพิ่มขึ้นล่าสุดเหนือ $25,000 หลายครั้ง และนักวิเคราะห์มองว่านี่เป็นสัญญาณเชิงบวก เพราะการทะยานขึ้นของ BTC นั้นเกิดขึ้นท่ามกลางข่าวในเชิงลบเกี่ยวกับการเพิ่มความเข้มงวดในการกำกับดูแลสกุลเงินคริปโตในสหรัฐฯ และยุโรป

    เมื่อพูดถึงคำทำนายของพวกเขา Matrix ยังเอ่ยถึง “ผลกระทบของเดือนมกราคม” ถึงความสำเร็จในเดือนแรกของปีที่มักเป็นตัวกำหนดการเคลื่อนที่ของบิทคอยน์ตลอดปี นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังเน้นย้ำว่า ตามสถิติในอดีต ราคาบิทคอยน์จะทดสอบราคาต่ำสุด 12-15 เดือนก่อนที่จะเกิดการฮาล์ฟเหรียญรอบถัดไป ในครั้งนี้ การฮาล์ฟเหรียญจะมีขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม 2022 - มีนาคม 2023

    นักวิเคราะห์ชื่อดัง PlanB ยังพูดถึงโอกาสที่ราคาจะทะยานขึ้นไปต่อ โดยประเมินว่าบิทคอยน์อาจทดสอบที่ระดับ $42,000 ในเดือนมีนาคม ซึ่ง ณ ขณะที่เขียนบทวิเคราะห์ฉบับนี้ (ช่วงเย็นวันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์) BTC/USD ซื้อขายอยู่ที่บริเวณ $23,100 โดยมีมูลค่ารวมในตลาดคริปโตอยู่ที่ $1.059 ล้านล้านดอลลาร์ ($1.106 ล้านล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ก่อนหน้า) ด้านดัชนี Crypto Fear & Greed Index ลดลงจาก 61 เหลือ 53 จุดในรอบสัปดาห์ และกลับจากโซนความกลัว (Greed) เข้าสู่โซนปานกลาง (Neutral)

 

NordFX Analytical Group

 

Notice: These materials are not investment recommendations or guidelines for working in financial markets and are intended for informational purposes only. Trading in financial markets is risky and can result in a complete loss of deposited funds.


« การวิเคราห์ตลาดและข่าว
รับการฝึก
มือใหม่ในตลาดใช่ไหม?ใช้ส่วน เริ่มฝึกฝน เริ่มฝึกฝน
ติดตามเรา (ในโชเซียลเน็ตเวิร์ค)