อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว:
EUR/USD อัตราการว่างงานเยอรมนีคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงที่ 5% ในเดือนมีนาคม แต่สถิติตลาดแรงงานสหรัฐฯ ดูน่ากังวล: ยอดการใช้สิทธิ์สวัสดิการว่างงาน 6.648 ล้าน ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นกว่า 10 ล้านภายในสองสัปดาห์ ซึ่งคิดเป็น 6% ของสัดส่วนแรงงานทั้งหมด จำนวนตำแหน่งงานใหม่นอกภาคการเกษตรลดลง: -705K ในเดือนมีนาคม จากเดิม +275K ของเดือนกุมภาพันธ์ ดัชนีอื่น ๆ ก็ไม่ได้ดีไปกว่ากัน มีความเป็นไปได้ที่อัตราว่างงานจะดุ่งสูงขึ้นกว่าช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และในขณะเดียวกัน ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์โดยขึ้นกว่า 350 จุดเทียบกับยูโร สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าตลาดพร้อมสำหรับภาวะทรุดตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ แล้วและพิจารณาปัจจัยนี้ไว้ก่อนล่วงหน้า ดอลลาร์ถูกหนุนโดยคำพูดของประธานาธิบดีทรัมป์และรัฐมนตรีพลังงานของซาอุฯ เกี่ยวกับโอกาสการกลับมาสู่โต๊ะเจรจาในกรอบ OPEC+ และการสิ้นสุดลงของสงครามน้ำมัน อย่างไรก็ตาม ยังมีความชัดเจนไม่มากในความคืบหน้าการต่อสู้กับไวรัสโคโรนา COVID-19
อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว:
EUR/USD การเคลื่อนไหวของราคาคู่นี้ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาอาจเปรียบเทียบได้กับกายกรรมโลดโผน: อันดับแรก ราคาพุ่งขึ้นไปแทบจะเป็นเส้นตรงกว่า 630 จุด จากนั้นมีจุดสูงสุดแนวตรง 860 และขณะนี้ราคาขึ้นไปในรอบใหม่อีก 445 จุด
มีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลให้ดอลลาร์อ่อนค่าลงอย่างรุนแรง ปัจจัยหลักคือมาตรการของธนาคารเฟดสหรัฐฯ ซึ่งปรับลดอัตราดอกเบี้ยเหลือ 0.25% และมีการดำเนินการหลายโครงการเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยการอัดฉีดเงินหลายพันดอลลาร์และแจกจ่ายเงินให้กับประชาชน ส่งผลให้งบดุลของธนาคารฯ พุ่งเกิน 4.5 ล้านล้านดอลลาร์และจากการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสร์ อาจขยับได้ถึง 6 ล้านล้านดอลลาร์ ด้วยเหตุนี้ ดัชนีหุ้นสหรัฐฯ จึงบินขึ้น โดยดัชนี S&P500 กระโดดขึ้นถึง 20% ช่วยผลักราคาคู่ EUR/USD ขึ้นไป ในขณะที่นักลงทุนตอบสนองต่อมาตรการของสหรัฐฯ ในทางบวกและเริ่มหันหนีออกจากเงินดอลลาร์ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย และนิยมสินทรัพย์ที่น่าดึงดูดมากกว่าในขณะนี้
อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว:
EUR/USD การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนากระทบตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง สงครามน้ำมันระหว่างซาอุดิอาระเบียและรัสเซียซึ่งแน่นอนว่าจะขาดการแทรกแซงโดยสหรัฐฯ ไม่ได้ ยิ่งทำให้เกิดความน่าวิตกเพิ่มขึ้น น้ำมันเชลของสหรัฐฯ ในฐานะอีกหนึ่งเป้าหมายการโจมตีของรัสเซีย สหรัฐฯ จึงพยายามทำตัวเป็นสื่อกลางในสงครามราคาน้ำมันระหว่างซาอุฯ และรัสเซีย
อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว:
EUR/USD ชัดเจนแล้ว! เศรษฐกิจโลกไม่ถูกควบคุมโดยเหล่ารัฐบาล ธนาคาร หรือบริษัทขนาดใหญ่อีกต่อไป เศรษฐกิจเราถูกปกครองโดย “บุคคล” เดียวที่ชื่อว่า Covid-19 การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาได้ส่งผลให้เกิดภาวะวิตกในตลาดหุ้น ราคาน้ำมันทรุดตัว ปริมาณการผลิตลดลง และมีการปิดเขตแดน มนุษยชาติเริ่มหวาดกลัวโดยไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอีกหนึ่งสัปดาห์ หนึ่งเดือน หรือหกเดือนข้างหน้า โรงเรียนและมหาวิทยาลัย ร้านอาหาร ร้านคาเฟ่ สวนสาธารณะ และสนามกีฬาล้วนว่างเปล่า ผู้คนได้รับคำแนะนำให้ไม่ต้องออกจากบ้าน อาหารและกระดาษชำระเริ่มหายไปจากร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่ง งานกิจกรรมต่าง ๆ ถูกยกเลิกหมด และมีมุกตลก ๆ บนโซเชียลมีเดียว่า งานประชุนเพื่อหารือเรื่องการต่อสู้กับไวรัสโคโรนาถูกยกเลิกเพราะ..ไวรัสโคโรนา การตัดสินใจของประธานาธิบดีทรัมป์ในการสั่งปิดเขตแดนสหรัฐฯ และสั่งแบนไม่ให้ชาวยุโรปเดินทางเข้าประเทศช็อคตลาด ดัชนีฟิวเจอร์ส EuroSTOXX50 ปรับลง 5.57% ในขณะที่ DAX30 ลดลง 4.22% ดัชนีหุ้นสหรัฐฯ ทรุดลงหนักที่สุดในรอบ 33 ปี ส่วนดัชนีหลักของประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย ฮ่องกง เกาหลีใต้ และประเทศอื่น ๆ ดิ่งลงถึงระดับต่ำสุดในรอบหลายปีเช่นกัน
อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว:
EUR/USD ดูเหมือนว่าตอนนี้เราสามารถเพิกเฉยต่อดัชนีเศรษฐกิจ ซึ่งเดิมเคยทั้งมีอิทธิพลต่อราคาและยังทำให้เทรนด์กลับทิศทางได้ 180 องศาอีกด้วย ณ เวลานี้ สถานการณ์ในตลาดการเงินถูกครอบงำโดยข่าวเกี่ยวกับไวรัสโคโรนามาเป็นเวลาติดต่อกันหลายสัปดาห์ ส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพผู้คนและท่าทีของรัฐบาล ตลอดจนธนาคารกลางหลายแห่ง
อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว:
EUR/USD สถานการณ์ในตลาดการเงินนั้นอยู่ภายใต้การควบคุมของไวรัสโคโรนาโดยสมบูรณ์เป็นเวลาหลายสัปดาห์ติดต่อกัน และหากนักเทรดหลายคนเคยบ่นไว้ในปี 2019 เกี่ยวกับความผันผวนที่ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ของคู่ EUR/USD สถานการณ์ในปี 2020 กลับถือว่าเปลี่ยนไปอย่างมาก ช่วงความผันผวนของคู่นี้สูงกว่า 200 จุดแค่ในสัปดาห์ที่แล้วสัปดาห์เดียวเท่านั้น และอัตราการเติบโตของเงินยูโรเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ เติบโตอย่างรวดเร็วมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปี 2018 และทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากไวรัส COVID-19 ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนหลีกเลี่ยงสินทรัพย์ความเสี่ยงและหันมาให้ความสนใจกับสินทรัพย์ปลอดภัยที่สงบมากกว่า
อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว:
EUR/USD ดัชนีดอลลาร์ปรับขึ้นแล้ว 2.5% ตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ขยับขึ้นถึงจุดสูงสุดตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปี 2017 ค่าเงินยูโรอ่อนลงอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ดอลลาร์ที่แข็งทำให้สกุลเงินยูโรอ่อนแอไป 440 จุด เสียมูลค่าไป 300 จุด หรือ 2.7% ในช่วงสามสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยเป็นแนวโน้มขาลงที่ต่อเนื่อง
อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว:
EUR/USD คำสั่ง Stop-loss สำหรับตำแหน่งซื้อของคู่นี้มีผลอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาสองสัปดาห์ติดต่อกัน ฝั่งตลาดกระทิงถอยหลัง ยอมแพ้ไม่ขอต่อสู้อีกต่อไป ราคาไม่เพียงแต่ทำระดับต่ำสุดของปีนี้และปีที่ผ่านมาเท่านั้น แต่ยังเป็นราคาต่ำสุดตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปี 2017 และสิ่งที่น่าสนใจที่สุดก็คือ ไม่ปรากฏเหตุผลชัดเจนสำหรับการทรุดตัวลงค่าเงินยูโร ในอดีตคุณสามารถอธิบายการทรุดตัวลงของคู่ USD/CHF ในเหตุการณ์ “วันพฤหัสบดีทมิฬ” เมื่อเดือนมกราคมปี 2015 หรือแนวโน้มขาลงของเงินปอนด์หลังจากผลประชามติการแยกตัวเบร็กซิตออกจากอียู และในครั้งนี้ดูเหมือนว่าไม่ได้มีอะไรเป็นพิเศษเกิดขึ้น
อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว:
EUR/USD สถิติในสหรัฐฯ (รวมถึง ISM และ NFP) ดูค่อนข้างสดใส ดัชนีสหรัฐฯ ทำระดับราคาสูงสุดในรอบห้าวัน ดัชนี Dow Jones อยู่ที่ 29393 และดัชนี S&P500 ที่ 3345 คำสั่งผลิตสินค้าในเยอรมนีลดลงมา 0.5% เป็นเวลาสามเดือนติดต่อกัน ซึ่งเป็นการยืนยันความกังวลเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจยุโรปที่ใกล้กับสภาวะถดถอยเต็มที ความคาดหวังในหมู่นักลงทุนจึงเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับโอกาสการขยายตัวของนโยบายผ่อนปรนเชิงปริมาณ (QE) ในยูโรโซน และมีความมั่นใจสูงขึ้นว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์จะคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างน้อย การคาดการณ์นี้แถลงโดยนายแรนดัล ควาร์ลส์ รองประธานธนาคารเฟด ส่วนทางนายโดนัลด์ ทรัมป์ ก็ให้สัญญาณบวกเกี่ยวกับแนวโน้มการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่จะมาถึง โดยคอยเน้นย้ำกับประชาชนผู้ลงคะแนนว่าอัตราว่างงานของสหรัฐฯ อยู่ในระดับต่ำที่สุดที่ 3.5%
strong>อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว:
EUR/USD สัปดาห์ที่แล้วผ่านไปพร้อมกับเหตุการณ์ไวรัสโครานา ซึ่งเป็นตัวกำหนดสิ่งที่เกิดขึ้นในตลาดอย่างมีนัยสำคัญ สินค้าโภคภัณฑ์และสกุลเงินต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับจีนได้รับผลกระทบมากที่สุด
อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว:
EUR/USD เงินยูโรอ่อนค่าลงอีกครั้ง โดยปรับลดประมาณ 70 จุดเทียบกับเงินดอลลาร์ตลอดห้าวันที่ผ่านมา มีเหตุผลรองรับสองประการ ได้แก่ การแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสในจีน และท่าทีที่ระมัดระวังอย่างมากของ คริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรปคนใหม่
อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว:
EUR/USD เริ่มตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2019 ราคาได้ขยับขนานไปกับช่องขาขึ้น เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ราคาขยับถึงกรอบด้านบนของช่องที่ 1.1240 และจากนั้นได้เปลี่ยนทิศทาง และในวันที่ 8 มกราคม ราคาตัดทะลุกรอบด้านล่างของช่องดังกล่าวที่ 1.1225 “ราคาจะกลับสู่กรอบเดิมหรือไม่?” เราได้ถามคำถามนี้ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ (60%) ตอบอย่างชัดเจนว่า “ไม่” และคำทำนายดังกล่าวก็ปรากฏถูกต้อง โดยเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม ตลาดกระทิงพยายามผลักราคาขึ้น แต่แรงซื้อก็อ่อนกำลัง จนราคาขยับลดลงอย่างรวดเร็ว
อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว:
EUR/USD อย่างที่คุณทราบดี ชีวิตคนเราก็เหมือนกับม้าลายที่มีแถบสีดำสลับกับแถบสีขาว และในครั้งนี้ก็เช่นกัน: หลังจากเทศกาลวันหยุดปีใหม่ที่แสนสุขสันต์ก็ตามมาด้วยการเฝ้าติดตามภาวะสงครามเต็มรูปแบบระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่าน แต่ไม่กี่วันให้หลังก็มีความชัดเจนว่าทั้งสองฝ่ายต้องการที่จะหลีกเลี่ยงความขัดแย้งแบบเต็มรูปแบบ และความตึงเครียดในสนามการเมืองก็ค่อยๆ คลี่คลายลงอย่างช้าๆ อย่างที่เห็นได้ชัดจากราคาน้ำมัน
อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว::
EUR/USD เทศกาลวันหยุดเป็นช่วงเวลาที่คนเราได้หยุดพักจากปัญหาประจำวัน ได้ดื่มด่ำไปกับบรรยากาศความมหัศจรรย์และความคาดหวังในปาฏิหารย์ และปาฏิหารย์ก็ได้เกิดขึ้นจริงไม่เว้นแต่ในตลาดการเงินตามที่เราเคยเตือนผู้อ่านของเราไว้แล้ว
ควรคาดหวังอะไรจากคู่สกุลเงินหลักในปีใหม่นี้
ไม่ต้องสงสัยเลยว่า บริษัทโบรกเกอร์ส่วนใหญ่และนักเทรดภาคเอกชนถือว่าคู่ EUR/USD เป็นหนึ่งในเครื่องมือหลักสำหรับการทำงานของพวกเขา แหล่งข่าวหลายแห่งระบุว่าคู่นี้มีส่วนแบ่งในตลาดประมาณ 22%-32% ของตลาดฟอเร็กซ์ ตามมาด้วย USD/JPY, GBP/USD, AUD/USD, USD/CHF, USD/CAD, EUR/JPY และ EUR/GBP
อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว:
EUR/USD ราคาเริ่มขยับขึ้นตั้งแต่วันจันทร์จากระดับ 1.1110 ตามที่คาดการณ์โดยผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ ตลาดไม่ตอบสนองต่อกระบวนการถอดถอนประธานาธิบดีทรัมป์ของสหรัฐฯ และดัชนี S&P500 ก็ขยับขึ้นจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ช่วงท้ายปีก็เป็นช่วงท้ายปีที่ความผันผวนมักลดลง ราคาจึงล้มเหลวที่จะปรับลดถึงเป้าหมายที่ระดับ 1.1200 และขยับถึงจุดสูสุดของสัปดาห์ที่ 1.1175
อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว:
EUR/USD ตามที่คาดการณ์ไว้ ทั้งธนาคารเฟดและธนาคารกลางยุโรปคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิม ดังนั้นการตอบสนองของตลาดต่อการตัดสินใจนี้จึงแทบจะเป็นศูนย์ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และคริสติน ลาการ์ด ประธานคนใหม่ของธนาคารกลางยุโรปอยู่ฝั่งเงินดอลลาร์ในสัปดาห์ที่แล้ว
ประธานาธิบดีสหรัฐฯ บอกต่อผู้ติดตามของเขาว่า “พวกเรา (อเมริกา) เข้าใกล้กับการได้ข้อสรุปในข้อตกลงครั้งใหญ่กับจีน พวกเขาก็อยากได้ข้อตกลงเหมือนกับเรา!” กล่าวคือหากก่อนหน้าประธานาธิบดีทรัมป์เคยบอกว่าข้อตกลงการค้าเป็นสิ่งที่ฝ่ายจีนต้องการ ตอนนี้ปรากฏว่าทางวอชิงตันก็สนใจที่จะลงนามเช่นเดียวกัน
อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว:
EUR/USD เงินยูโรแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อวันจันทร์ แต่ไม่ได้แปลว่าผิดความคาดหมาย มีนักวิเคราะห์ 35% และการวิเคราะห์กราฟในกรอบ H4 และ D1 ได้ทำนายว่าราคาคู่นี้จะขยับขึ้นมาที่ 1.1100 บางคนอาจตัดสินว่าการแข็งค่าขึ้นในครั้งนี้มีความเกี่ยวข้องกับผลงานของ คริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรปคนใหม่ แต่การสันนิษฐานนี้ไม่น่าจะถูกต้อง เนื่องจากคำแถลงของลาการ์ดส่วนใหญ่แล้วไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับแนวโน้มนโยบายทางการเงิน แต่มุ่งไปที่แนวโน้มการสร้างเงินคริปโตยูโร แต่อย่างไรก็ตามการเปิดศักราชใหม่ของธนาคารกลางก็อาจมีผลต่อค่าเงินยูโรที่แข็งขึ้นบ้าง ในส่วนการประกาศดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจในภาคการผลิตเยอรมนีและสหภาพยุโรป ซึ่งตัวเลขเติบโตเล็กน้อย ก็ส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนในทางบวกเช่นกัน แต่ในส่วนสถิติมหภาคจากสหรัฐฯ กลับไม่ทำให้นักลงทุนพึงพอใจเท่าใดนัก ดัชนีกิจกรรมธุรกิจของ ISM ในภาคการผลิตและภาคบริการมีตัวเลขลดลง ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินยูโรขยับขึ้นไปที่ 1.1116
อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว:
EUR/USD ดูเหมือนว่าการเฉลิมฉลองวันขอบคุณพระเจ้าในสหรัฐฯ ไม่ได้เริ่มในวันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน แต่เริ่มขึ้นตั้งแต่วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน สัปดาห์สุดท้ายชองฤดูใบไม้ร่วงนิ่งสงบอย่างผิดปกติ และความผันผวนไม่เกิน 40 จุดจนถึงวันศุกร์ทำให้นักเทรดอยู่ช่วงจำศีลเป็นหลัก สถิติบวกจากค่า GDP และตัวเลขการผลิตในสหรัฐฯ ถูกคานให้สมดุลโดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในยูโรโซน และแม้แต่กฎหมายสนับสนุนประชาธิปไตยและกฎสิทธิมนุษยชนในฮ่องกงที่ลงนามโดยประธานาธิบดีทรัมป์เมื่อวันพฤหัสบดี ประกอบกับท่าทีตอบสนองที่ดุดันจากปักกิ่งก็ส่งผลต่อตลาดแต่เพียงเล็กน้อย
อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว:
EUR/USD ในบทวิเคราะห์ครั้งที่แล้ว โฟกัสอยู่ที่ความไม่แน่นอนที่ปกคลุมตลาดอยู่ในช่วงที่ผ่านมา ในตอนนั้นจำนวนผู้สนับสนุนตลาดกระทิงมีมากกว่าฝั่งตลาดหมีเพียง 10% ในส่วนผู้เชี่ยวชาญ 55% โหวตว่าเงินยูโรจะแข็งค่าขึ้น ส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วยมีจำนวน 45% ทั้งนี้ ในความเป็นจริง ราคาได้ขยับขึ้นเล็กน้อยเมื่อวันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน ไต่ถึงระดับ 1.0900 และขยับเข้าสู่เทรนด์ด้านข้าง ราคาพักอยู่ที่ระดับดังกล่าวจนถึงวันศุกร์ ซึ่งมีการประกาศตัวเลขสถิติยุโรปที่อ่อนแอ (PMI) และการกล่าวแถลงของประธานธนาคารกลางยุโรปคนใหม่ นางคริสติน ลาการ์ด ทำให้ราคาขยับลงอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ราคายังไม่สามารถตัดทะลุแนวรับที่ 1.1000 และปิดตลาดรอบห้าวันทำการที่ 1.1020
อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว:
EUR/USD ประธานาธิบดีทรัมป์วางแผนที่จะชนะการเลือกตั้งเป็นสมัยที่สอง อันเนื่องมาจากการเติบโตอย่างเข้มแข็งของค่า GDP อเมริกา ดัชนีหุ้นสหรัฐฯ สำคัญขนาดใหญ่ยังทำระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ สัญญาฟิวเจอร์สบนดัชนี S&P500 ขยับขึ้นเหนือ 3100 จุด คลื่นการซื้อขายในตลาดได้รับแรงกระตุ้นจากแถลงการณ์ในทางบวกของนายแลร์รี คัดโลว์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของทำเนียบขาวเกี่ยวกับการบรรลุข้อตกลงการค้ากับจีน ในขณะเดียวกัน Financial Times รายงานว่า จริงๆ แล้วทำเนียบขาวไม่พึงพอใจที่จีนพยายามชะลอเวลาและไม่ยอมประนีประนอมมากพอเพื่อแลกกับการยกเลิกมาตรการภาษี และนายทรัมป์เองก็ไม่ต้องการที่จะยกเลิกมาตรการดังกล่าวโดยทั้งหมด
อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว:
EUR/USD เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ตลาดสหรัฐฯ ทำระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์หลังจากรายงานข่าวความสมัครใจของสหรัฐฯ และจีนในการตัดรายการภาษี ซึ่งเป็นส่วนใหม่ในข้อตกลงการค้าที่กำลังจะมีการลงนาม นักเก็งกำไรเริ่มหันหลังให้กับสินทรัพย์หลบภัยอย่างพันธบัตร เงินเยน และทองคำ สกุลเงินยูโรก็อ่อนค่าต่อเงินดอลลาร์เช่นเดียวกัน นักลงทุนคาดการณ์ว่าดัชนีเศรษฐกิจมหภาคของสหรัฐฯ จะพัฒนาขึ้นหลังจากสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนยุติลง และถึงแม้ว่าเส้นทางการลงนามในข้อตกลงโดยสมบูรณ์นั้นยังอีกยาวไกล นักวิเคราะห์เชื่อว่านายโดนัลด์ ทรัมป์ จะไม่มีท่าทีที่ผลีผลามในช่วงระยะเวลาที่ใกล้เข้าสู่การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่จะถึงนี้
อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว:
EUR/USD สิ่งที่คาดการณ์ไว้ได้เกิดขึ้น: เมื่อวันพุธที่ 30 ตุลาคม ธนาคารเฟดสหรัฐฯ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยของดอลลาร์จาก 2.0% เหลือ 1.75% ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเริ่มอ่อนค่าลง ราคาคู่นี้ขยับสูงขึ้น แต่การผันผวนของราคาค่อนข้างปานกลาง: เพราะตลาดได้เตรียมพร้อมรับการตัดสินใจของธนาคารเฟดมานานแล้ว ดังนั้น ราคาจึงแทบจะไม่แตะถึงระดับ 1.1175 โดยกลับมาสู่ระดับแนวรับ/แนวต้านระยะกลาง ซึ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว:
EUR/USD เนื่องจากไม่ใช่แค่เงินปอนด์เท่านั้นที่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เบร็กซิต แต่เงินยูโรก็ด้วยเช่นกัน อันดับแรกเราจะกล่าวถึงสถานการณ์การแยกตัวของสหราชอาณาจักรออกจากอียูในช่วงสัปดาห์ก่อนกำหนดวันแยกตัว (หาดเกิดขึ้นจริง) และดูเหมือนว่าสถานการณ์ ณ ตอนนี้ดูไม่ต่างอะไรจากวงจรอุบาทว์
ในทางหนึ่ง นายกรัฐมนตรี บอริส จอห์นสัน ปฏิเสธที่จะถอนร่างข้อตกลงการแยกตัวออกจากอียูจนกว่าสภาจะให้ความเห็นชอบในการจัดการเลือกตั้งในวันที่ 12 ธันวาคม แต่สภากลับไม่เห็นชอบเนื่องจากฝ่ายค้านต้องการให้นายจอห์นสันหมดสิทธิ์ในทางเลือกการแยกตัวแบบไร้ช้อตกลงกับอียู รวมถึงให้อียูเห็นชอบกับการเลื่อนกำหนดการแยกตัวออกไปอีก ในส่วนทางฝั่งอียูก็อยู่ระหว่างการรอความเห็นชอบ (หรือไม่เห็นชอบ) จากรัฐสภาที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่ 12 ธันวาคมนี้ ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะอนุญาตให้เลื่อนเบร็กซิตออกไปนานเท่าใด
อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว:
EUR/USD หัวข้อหลักของสัปดาห์ที่แล้วแน่นอนว่าคือเบร็กซิต นายกรัฐมนตรีคนใหม่ นายบอริส จอห์นสัน ในที่สุดก็ประนีประนอมกับบรัสเซลส์ได้สำเร็จ และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมา ที่ประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรปได้ให้ความเห็นชอบในข้อตกลงการแยกตัวเบร็กซิตออกจากอียูและกำหนดวันแยกตัวเป็นวันที่ 1 พฤศจิกายน ความคืบหน้านี้รวมถึงความเสี่ยงด้านการเมืองและการค้าที่ลดลงในยุโรป เอเชีย และอเมริกา ตลอดจนสถิติอ่อนแอ “ตามฤดูกาล” จากสหรัฐฯ ส่งผลให้ราคาขยับไปทางทิศเหนือตามฝั่งตลาดกระทิง
อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว:
EUR/USD ในสัปดาห์ที่แล้วมีเหตุการณ์สำคัญสองเหตุการณ์ อันดับแรกเป็นความคืบหน้าของการเจรจาทางการค้าขั้นถัดไประหว่างสหรัฯฐ และจีน ซึ่งในช่วงเริ่มต้นประธานาธิบดีทรัมป์เผยว่าเป็นไปอย่าง “ดีเยี่ยม” เหตุการณ์ที่สองคือการเจรจาเบร็กซิต ความหวังที่เพิ่มขึ้นสำหรับการแยกตัวของสหราชอาณาจักรพร้อมข้อตกลงช่วยหนุนเงินปอนด์ให้แข็งค่าขึ้น ตามมาด้วยแนวโน้มขาขึ้นของค่าเงินยูโรด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นผลมาจากรายงานการประชุมธนาคารกลางยุโรปที่ประกาศเมื่อวันอังคารที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา จากรายงานมีการยืนยันว่าธนาคารฯ กำลังจะสิ้นสุดช่วงการใช้นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ดังนั้น ราคาจึงได้ขยับขึ้นไปถึง 1.1062
อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา:
EUR/USD ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ (55%) คาดการณ์ว่าราคาคู่นี้จะปรับตัวไปที่โซน 1.1000 สถานการณ์นี้สนับสนุนโดย 15% ของออสซิลเลเตอร์ในกรอบ D1 และ W1 ซึ่งให้สัญญาณชัดเจนว่าราคาอยู่ในโซนถูกขายมากเกินไป คำทำนายนี้ถือว่าเป็นจริง 100% เนื่องจากค่าเงิน EUR พุ่งขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายนไปยังระดับ 1.0999 USD คำเตือนจากการวิเคราะห์กราฟก็ถูกต้องเช่นเดียวกันว่าก่อนที่ราคาจะขยับขึ้นไปยังระดับ 1.1000 ราคาอาจลดลงก่อนซึ่งปรากฏขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นสัปดาห์
อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว:
EUR/USD ยิ่งสถานการณ์เลวร้ายต่อนายโดนัลด์ ทรัมป์มากเท่าไร จะยิ่งเป็นผลดีต่อเงินดอลลาร์มากเท่านั้น บทสรุปดังกล่าวสังเกตได้จากกราฟอัตราแลกเปลี่ยน ณ ตอนนี้ ข่าวบทสนทนากับประธานาธิบดียูเครน ทำให้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กำลังเผชิญกับความเสี่ยงที่จะถูกถอดถอนจากตำแหน่ง และดัชนีดอลลาร์ได้ขยับแล้วถึงระดับสูงสุดที่บริเวณ 99.00 เงินยูโรอ่อนค่าถอยลงมาอีก 100 จุด ส่งผลให้คู่ EUR/USD ทำระดับต่ำสุดใหม่เป็นระดับของเดือนเมษายนปี 2017 และปิดตลาดท้ายสัปดาห์ที่ 1.0940
อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา:
EUR/USD นักวิเคราะห์ได้พูดถึงสิ่งนี้มานานมากและมันก็ได้เกิดขึ้นแล้ว: เมื่อวันพุธที่ 18 กันยายนที่ผ่านมา ธนาคารเฟดสหรัฐฯ ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% เหลือ 2.0% แต่เนื่องจากว่าพวกเขาได้พูดถึงสิ่งนี้มาเป็นเวลานานมาก ตลาดจึงปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ดังกล่าวมาตั้งแต่เนิ่นๆ และไม่ปรากฏราคาที่ก้าวกระโดด “เป็นประวัติการณ์” แต่อย่างใด ในทางกลับกันความผันผวนกลับลดลงและราคาปรับเข้าสู่การเคลื่อนที่ด้านข้างในช่วง 1.1000-1.1075 ซึ่งเป็นช่วงราคาที่นักเทรดทราบกันเป็นอย่างดี
โลกเริ่มหยุดชะงักท่ามกลางการคาดหมายวิกฤติการณ์ทางการเงินโลก นักวิเคราะห์บางกลุ่มทำนายว่าหายนะจะเกิดขึ้นในไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ ในขณะที่นักวิเคราะห์อีกกลุ่มเชื่อว่าวิกฤติจะชะลอตัวออกไปจนถึงช่วงปลายปี 2020 - ต้นปี 2021 แต่ทั้งสองกลุ่มก็ต่างเห็นภาพการมาถึงของวิกฤติที่ค่อนข้างรุนแรง ราคาน้ำมัน ทองแดง และเหล็กจะตกต่ำ ตลาดหุ้นและสกุลเงินทรุดตัว การเลิกจ้างพนักงาน และภาวะล้มละลาย