พฤศจิกายน 26, 2022

EUR/USD: มาตรการของ FOMC กดค่าเงินดอลลาร์

บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์และคริปโตเคอเรนซีประจำวันที่ 28 พฤศจิกายน - 2 ธันวาคม 20221

  • สัปดาห์ที่แล้วผ่านไปอย่างสงบ ในสหรัฐฯ มีการเฉลิมฉลองวันขอบคุณพระเจ้า แต่ในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ดอลลาร์อ่อนค่าลง EUR/USD ขยับขึ้นมามากกว่า 200 จุด จาก 1.0222 เป็น 1.0448 โดยขึ้นมาอยู่เหนือค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วัน (SMA) เป็นครั้งแรกในเวลา 17 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2021

    เหตุผลที่เกิดพฤติกรรมนี้กับดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นเพราะการคาดการณ์นโยบายในอนาคตของธนาคารเฟดสหรัฐฯ ตลาดเก็งว่าธนาคารกลางจะชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างมีนัยสำคัญ และการประกาศรายงานการประชุมเดือนพฤศจิกายนของ FOMC (คณะกรรมการกำกับนโยบายทางการเงินของธนาคารเฟด) เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ก็ยิ่งยืนยันคำคาดการณ์ดังกล่าว

    รายงานระบุว่า “ผู้บริหารธนาคารเฟดบางรายสังเกตเห็นว่า นโยบายทางการเงินมาถึงจุดที่มีข้อจำกัดอย่างเพียงพอในการทำตามเป้าหมายของ FOMC โดยพิจารณาว่า การชะลออัตราการฟื้นตัวน่าจะเป็นสิ่งที่เหมาะสมในอนาคตอันใกล้”

    ในขณะเดียวกัน คณะกรรมการบางท่านของ FOMC เชื่อว่าอัตราดอกเบี้ย “ควรขยับถึงระดับที่สูงกว่าที่เคยคาดหมายก่อนหน้านี้เล็กน้อย” เนื่องจากทั้งภาวะเงินเฟ้อและการขาดสมดุลของอุปสงค์และอุปทานในเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง เมื่อผสมผสานมุมมองทั้งสองนี้ เราสามารถสรุปได้ว่า จุดสูงสุดของการใช้มาตรการเข้มงวดทางการเงิน (QT) อาจไม่สูงกว่าที่เคยวางแผนไว้ แต่มันจะยาวนานและราบรื่นกว่าเดิม

    ทั้งนี้ ธนาคารเฟดได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75 จุดพื้นฐาน (bp) สี่ครั้งติดต่อกัน และตลาดกำลังคาดว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ย 50 จุดในเดือนธันวาคม โดยมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนเป็น 25 จุดในปี 2023 อัตราดอกเบี้ยในขณะนี้อยู่ที่ 4.00%

    สำหรับมาตรการของอีกฝั่งหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก ธนาคารกลางยุโรปขึ้นอัตราดอกเบี้ยยูโร 50 จุดในเดือนกรกฎาคม จากนั้นก็ขึ้นอีก 75 จุดและขณะนี้อยู่ที่ 2.00% ตลาดสวอปประเมินว่าดอกเบี้ยจะขึ้นอีก 50 จุดในเดือนธันวาคม โดยมีความเป็นไปได้ 62% และมีความเป็นไปได้ 38% ที่จะขึ้นถึง 75 จุด ธนาคารกลางยุโรปอาจเปลี่ยนไปใช้มาตรการขึ้นดอกเบี้ย 25 จุดในปีหน้า ในกรณีนี้ ค่าความต่างระหว่างดอกเบี้ยดอลลาร์และยูโรจะยังคงอยู่ ซึ่งอาจเป็นแรงส่งให้ EUR/USD ตกลงมาต่ำกว่าระดับคู่ขนานที่ 1.0000 อีกครั้งหนึ่ง

    ทั้งนี้ ควรทราบว่านโยบายทางการเงินของธนาคารกลางยุโรปยังคุมเข้มเศรษฐกิจยุโรปไม่มากพอ นอกจากนี้ วิกฤติพลังงานที่เกิดขึ้นเพราะมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียจากการบุกรุกยูเครนยังมีทางออก ประเทศในยุโรปตัดสินร่วมกันที่จะตัดขาดการซื้อขายก๊าซจากรัสเซีย Energy Kadri Simson สมาชิกในคณะกรรมการยุโรปกล่าวว่า อียูสามารถทดแทนเชื้อเพลิงพลังงานจากรัสเซียได้โดยสมบูรณ์ด้วยแหล่งพลังงานจากที่อื่น ๆ การจัดเก็บก๊าซโดยเฉพาะในเยอรมนีนั้นเต็มเกินพอแล้ว และความเสี่ยงที่ยุโรปจะต้องเผชิญกับการขาดก๊าซหรือต้องประสบภาวะหนาวเย็นในฤดูหนาวปีนี้นั้นลดลงเป็นอย่างมาก

    ท่ามกลางสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจ (PMI) ในภาคการผลิตของเยอรมนีเพิ่มขึ้นจาก 45.1 เป็น 46.7 แทนที่แนวโน้มขาลงตามการคาดการณ์ ในขณะที่ดัชนีโดยรวมของยูโรโซนเพิ่มขึ้นจาก 45.1 เป็น 46.7 ส่วนดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจโดย IFO ในเยอรมนีก็เริ่มดีขึ้นเช่นกัน จากที่คาดการณ์คือ 85.0 ดัชนีเพิ่มขึ้นจาก 84.5 เป็น 86.3 ซึ่งสถิติเศรษฐกิจมหภาคเหล่านี้ รวมถึงการเติบโตของ GDP เยอรมนีในไตรมาสที่ 3 (0.1% ใน ไตรมาสที่ 2 และตัวเลขคาดการณ์อยู่ที่ 0.3%) เปิดไฟเขียวให้ธนาคารกลางยุโรปสามารถขึ้นดอกเบี้ยต่อได้ นักวิเคราะห์หลายคนจึงมองว่า สิ่งนี้อาจดันคู่ EUR/USD ขึ้นไปต่อที่โซน 1.0500-1.0600

    สัปดาห์นี้ราคาปิดที่ 1.0400 ซึ่งอยู่เหนือเส้น SMA ที่ 200 วัน ผู้เชี่ยวชาญจาก Scotiabank เชื่อว่า นี่อาจเพิ่มโมเมนตัมให้ตลาดกระทิง และผู้เชี่ยวชาญจาก Commerzbank กล่าวว่า ระดับที่มีความเป็นไปได้สูงสำหรับคู่นี้น่าจะอยู่ที่ระหว่าง 1.0400 และ 1.0500 โดยรวมแล้ว จากนักวิเคราะห์ที่ตอบแบบสำรวจทั้งหมดมี 30% ที่คาดการณ์ว่าราคาจะขยับขึ้นต่อ และ 40% คาดว่าราคาจะกลับลงทิศใต้ ด้านผู้เชี่ยวชาญ 30% ที่เหลือชี้แนวโน้มด้านข้าง ในส่วนของออสซิลเลเตอร์ในกรอบ D1 ให้ภาพที่แตกต่างออกไป ซึ่งออสซิลเลเตอร์ 100% ให้สัญญาณสีเขียว ในขณะที่ 15% อยู่ในโซนที่มีแรงซื้อมากเกินไป (overbought) ด้านอินดิเคเตอร์เทรนด์จำนวน 100% ให้สัญญาณสีเขียว

    แนวรับที่ใกล้ที่สุดของคู่ EUR/USD อยู่ที่ 1.0380 จากนั้นเป็นระดับหรือโซนที่ 1.0280-1.0315, 1.0220-1.0255, 1.0130, 1.0070, 0.9950-1.0010, 0.9885, 0.9825, 0.9750, 0.9700, 0.9645, 0.9580 และสุดท้ายนี้ ระดับต่ำสุดของวันที่ 28 กันยายนที่ 0.9535 สำหรับเป้าหมายถัดไปของตลาดหมีจะอยู่ที่ 0.9500 และกระทิงจะเจอกับแนวต้านที่ระดับ 1.0430-1.0450, 1.0480, 1.0620, 1.0750, 1.0865, 1.0935

    สำหรับสัปดาห์ที่จะถึงนี้อาจเต็มไปด้วยสถิติเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งสถิติเบื้องต้นของดัชนีที่สำคัญอย่างดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเยอรมนีและยูโรโซนจะประกาศในวันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน และวันพุธที่ 30 พฤศจิกายน สำหรับสถิติการว่างงานในเยอรมนีและ GDP และตลาดแรงงานสหรัฐฯ จะประกาศในวันพุธ Jerome Powell ประธานธนาคารเฟดมีกำหนดจะกล่าวแถลงในวันเดียวกันนี้ ส่วนในวันพฤหัสบดีจะมีการเปิดเผยข้อมูลยอดค้าปลีกในเยอรมนีและกิจกรรมทางธุรกิจ (PMI) ในภาคการผลิตของสหรัฐฯ อีกทั้ง เราจะติดตามสถิติอีกส่วนหนึ่งจากตลาดแรงงานในวันศุกร์แรกของเดือนวันที่ 2 ธันวาคม รวมถึงอัตราการว่างงาน และจำนวนตำแหน่งงานที่เปิดใหม่นอกภาคการเกษตร (NFP)

GBP/USD: ปอนด์จะแข็งค่าต่อไปถึงเมื่อไร?

  • แม้ว่าภาพรวมของเงินปอนด์จะดูมืดมน แนวโน้มกระทิงก็เกิดขึ้นในระยะสั้น ตามคำทำนายของผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ อินดิเคเตอร์เทรนด์จำนวน 85% และออสซิลเลเตอร์ 100% บนกรอบ D1 คู่ GBP/USD แตะระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือนที่ 1.2153 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิายน และเช่นเดียวกันกับยูโรและค่าเงินประเทศ G10 อื่น ๆ สาเหตุที่เงินปอนด์แข็งค่าไม่ใช่เพราะความสำเร็จของมัน แต่เป็นเพราะดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง

    ราคาปิดตลาดต่ำกว่าระดับสูงสุดเล็กน้อยที่บริเวณ 1.2950 โดยนักยุทธศาสตร์จาก Scotiabank มองว่า เงินปอนด์รีบาวด์อย่างแข็งแกร่งจากราคาต่ำสุดเมื่อวันที่ 26 กันยายน (1.0350) เพื่อยืนเหนือระดับปัจจุบัน ด้านนโยบายการคลังในสหราชอาณาจักรเริ่มมีความคงที่ ความเชื่อมั่นในตลาดเพิ่มขึ้น และแนวโน้มขาขึ้นของคู่นี้ก็เริ่มความเสถียรขึ้น ปัจจัยเหล่านี้จึงคาดว่าจะช่วยให้คู่ GBP/USD อยู่ที่บริเวณ 1.2000 ได้อย่างมั่นคงในอนาคตอันใกล้ และอาจจะขึ้นไปสูงกว่านั้นได้เล็กน้อย ตามมุมมองของนักยุทธศาสตร์ที่ Scotiabank

    ส่วนนักวิเคราะห์จาก ING เครือธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดในเนเธอร์แลนด์ให้เป้าหมายที่สูงกว่านั้น นักวิเคราะห์มองว่า “เราเชื่อว่าการวางตำแหน่งมีบทบาทสำคัญในการฟื้นตัวของเงินปอนด์ GBP/USD ให้ขึ้นต่อไปยังบริเวณ 1.22/23 ซึ่งเราจะได้เห็นระดับนี้เป็นระดับที่ดีที่สุดไปจนถึงสิ้นปีนี้”

    ในขณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญยังไม่ตัดโอกาสที่จะเกิดแนวโน้มตลาดหมีรอบใหม่ และดึงดูดความสนใจมาที่ความเสี่ยงในช่วงท้ายปีและต้นปี 2023 ซึ่งธนาคารกลางของประเทศสำคัญ ๆ จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอย อย่างที่เราเคยเขียนไว้แล้วก่อนหน้านี้ แรงกดดันของภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในสหราชอาณาจักรอาจนำไปสู่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงรุกมากขึ้นโดยธนาคารแห่งชาติอังกฤษ (BoE) อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์หลายคนมองว่า ธนาคารฯ มีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงมาตรการที่รุนแรง เนื่องจากการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากเกินไปอาจส่งแรงสะเทือนต่อเศรษฐกิจอังกฤษเป็นเวลานานได้ถึงสองปีเต็ม ซึ่งการคาดการณ์ชี้ว่า การขาดดุลของอังกฤษในเวลานี้ยังคงอยู่ไม่เกิน 5% ของ GDP ในปี 2023-2024 และผลที่ตามมาจากมาตรการที่ระมัดระวังจาก BoE อาจทำให้ค่าเงินปอนด์เผชิญกับแนวโน้มขาลงต่อได้

    การคาดการณ์กลางสำหรับอนาคตอันใกล้นั้นยังไม่มีความชัดเจนใด ๆ ผู้เชี่ยวชาญ 45% เห็นด้วยกับฝั่งตลาดกระทิง และจำนวนเดียวกันนี้เห็นด้วยกับตลาดหมี ด้าน 10% ที่เหลือมีความเห็นเป็นกลาง ในส่วนของออสซิลเลเตอร์บนกรอบ D1 มี 100% ที่ให้สัญญาณสีเขียว แต่ 25% ให้สัญญาณว่าราคาอยู่ในภาวะ overbought ในส่วนของอินดิเคเตอร์เทรนด์ อัตราส่วนอยู่ที่ 85% ต่อ 15% โดยสีเขียวเป็นฝั่งที่มากกว่าเช่นเดียวกับในสัปดาห์ที่แล้ว ด้านระดับและโซนแนวรับของคู่นี้ ได้แก่ 1.2030, 1.1960, 1.1800-1.1840, 1.1700-1.1720, 1.1600, 1.1475-1.1500, 1.1350, 1.1230, 1.1150, 1.1100, 1.1060, 1.0985-1.1000, 1.0750, 1.0500 และระดับต่ำสุดของวันที่ 26 กันยายนที่ 1.0350 เมื่อราคาขยับขึ้นไปด้านบนจะต้องเจอกับแนวต้านที่ระดับ1.2150, 1.2210, 1.2290-1.2330, 1.2425 และ 1.2575-1.2610 ตามลำดับ

    ในส่วนของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร ที่น่าสนใจคือวันที่ 1 ธันวาคม ซึ่งจะมีการประกาศดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจประจำเดือนพฤศจิกายน (PMI) ในภาคการผลิตของประเทศ

USD/JPY: เงินเยนขอบคุณธนาคารเฟด

  • อย่างที่นักวิเคราะห์เคยเขียนไว้ว่า “ทั่วโลก (ยกเว้นสหรัฐฯ) ขอบคุณธนาคารเฟดสำหรับผลการประชุมที่เน้นย้ำเรื่องการกลับมาใช้มาตรการผ่อนคลาย ทำให้ดอลลาร์และผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ทรุดตัว และช่วยฟื้นค่าเงินรอบโลก” โดยดัชนีดอลลาร์ DXY ขยับลดลงและผลตอบแทนของพันธบัตรรอบ 10 ปีอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 7 สัปดาห์

    หลังจากผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เหล่านี้ลดลง ค่าเงินเยนก็เป็นหนึ่งในผู้นำที่แข็งค่าขึ้น และคู่ USD/JPY เร่งทำระดับต่ำสุดในเดือนพฤศจิกายนอีกครั้งที่ 138.04 ในครั้งนี้

    (ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และ USD/JPY ค่อนข้างคงที่ และหากผลตอบแทนของสินทรัพย์เพิ่มขึ้น ดอลลาร์ก็แข็งค่าเทียบกับเงินเยนเช่นกัน หากผลตอบแทนของพันธบัตรรอบ 10 ปีลดลง เงินเยนก็เพิ่มขึ้น และคู่นี้ก็จะเกิดแนวโน้มขาลง)

    นักยุทธศาสตร์จากธนาคาร United Overseas Bank (UOB) ของสิงคโปร์กล่าวว่า หากดอลลาร์ยังคงอ่อนค่าต่อไป ราคาคู่นี้อาจกลับมาทดสอบบริเวณ 137.70 อีกครั้ง นักยุทธศาสตร์จาก ING มองไปไกลกว่านั้น และพวกเขาคาดการณ์ว่า หากผลตอบแทนของพันธบัตรรอบ 10 ปิดท้ายปี 2023 ที่บริเวณ 2.75% USD/JPY อาจหยดที่โซน 125.00-130.00 ในช่วงนั้น ซึ่งเป็นราคาที่เคยซื้อขายในช่วงเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2022 สำหรับแนวโน้มขาขึ้นที่เป็นไปได้ของดอลลาร์ในเดือนธันวาคมนี้ ไม่น่าจะสามารถดันราคาให้ขึ้นไปเหนือโซน 142.00-145.00 ได้ และไม่น่าจะขึ้นไปยังระดับราคาสูงสุดที่ 21 ตุลาคม และราคสูงสุดใหม่ที่ 152.00 ได้

    นอกจากนี้ เราต้องไม่ลืมเกี่ยวกับ Day X ซึ่งเป็นวันที่กำหนดว่าจะเป็นวันที่ 8 เมษายนปีหน้านี้ ในวันนี้เอง Haruhiko Kuroda ผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่นจะครบวาระการดำรงตำแหน่งของเขา และเขาอาจถูกแทนที่ด้วยผู้บริหารคนใหม่ที่มีท่าทีที่ผ่อนคลายมากกว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจพลิกเทรนด์ให้ USD/JPY กลับลงมายังทิศใต้ได้ หลังจากนั้น ราคาอาจปิดท้ายปี 2023 ในที่เดียวกันกับที่นักยุทธศาสตร์ ING ทำนายไว้

    สำหรับสถานการณ์ในปัจจุบัน ราคาปิดท้ายสัปดาห์สุดท้ายที่ 139.05 โดยมีนักวิเคราะห์เพียง 10% ที่มองว่าดอลลาร์จะสามารถกลับมาฟื้นตัวชดเชยที่ขาดทุนไปได้ในอนาคตอันใกล้ และคู่ USD/JPY จะขยับขึ้นไปยังด้านบน ส่วน 45% โหวตว่าราคาจะตกลงมายังด้านล่างและดิ่งลงมารอบใหม่ อีก 45% ไม่สามารถให้การคาดการณ์ได้ ในส่วนของออสซิลเลเตอร์ในกรอบ D1 ให้ภาพรวมเช่นนี้: 100% ชี้ไปยังทิศใต้ ส่วน 10% ยังคงอยู่ในโซน oversold ด้านอินดิเคเตอร์เทรนด์ให้สัดส่วน 85% ต่อ 15% โดยสีแดงมีจำนวนมากกว่า

    สำหรับระดับแนวรับที่แข็งแกร่งและใกล้ที่สุดอยู่ในโซน 138.00-138.30 ตามมาด้วยระดับและโซน 137.50-137.70, 136.00, 135.55, 134.55 และในโซน 131.35-131.75 ส่วนระดับและโซนแนวต้าน ได้แก่ 139.85, 140.60, 142.20, 143.75, 145.30, 146.85-147.00, 148.45, 149.45, 150.00 และ 151.55 เป้าหมายของกระทิงคือการขึ้นมาและยืนเหนือระดับ 152.00 ให้สำเร็จ จากนั้นจะเป็นระดับที่ 1990 ที่บริเวณ 158.00

    ไม่มีกิจกรรมที่สำคัญใด ๆ เกี่ยวกับเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในสัปดาห์นี้

คริปโตเคอเรนซี: ตลาดแห่งข่าวลือและความกลัว

  • BTC/USD ตกลงมายังระดับต่ำสุดในรอบสองปีเมื่อวันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน และเคยเทรดที่ราคาบริเวณ $15,500 เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2020 ในครั้งนี้ราคาต่ำสุดอยู่ที่ $15,482  โดยราคาไม่ดิ่งลงต่อเนื่องด้วยความต้องการในความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นและช่วยดันดัชนีตลาดหุ้น S&P500, Dow Jones และ Nasdaq ให้ขยับขึ้น แรงสนับสนุนเพิ่มเติมมาจากผลการประชุมของธนาคารเฟดล่าสุดเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ซึ่งตลาดสังเกตเห็นท่าทีผ่อนคลาย อย่างไรก็ตาม คริปโตเคอเรนซียังคงตกอยู่ภายใต้แรงกดดันตลาดหมีที่หนักหน่วง และผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่า การทรุดตัวรอบใหม่จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

    นักวิเคราะห์จาก JPMorgan ได้ออกมาเตือนว่า การทรุดตัวลงของสินทรัพย์ดิจิทัลสกุลใหญ่ ๆ ยังไม่จบลงแค่นี้ และวิกฤติ FTX อาจทำให้เกิดเหตุการณ์โดมิโน่ และนำไปสู่ “การบังคับให้หมดสภาพคล่อง” และขณะนี้ตลาดเจอแรงกังวลที่เกี่ยวข้องกับการล้มละลายของ Genesis กองทุนในเครือ Digital Currency Group (DCG) ซึ่งปรากฏขึ้นหลังจากที่บริษัทไม่สามารถระดมทุน $1 พันล้านเหรียญในกองทุนได้สำเร็จ และปัญหาของ Genesis นี้เองทำให้ตลาดแลกเปลี่ยนคริปโต Gemini ซึ่งเป็นผู้ที่ให้สินเชื่อก็ได้ระงับการถอนเงินของลูกค้าแล้ว และ Bloomberg ประมาณการว่ามีปริมาณสินทรัพย์ที่ $700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

    นักลงทุนต่างกลัวเงาของตนเอง และ Vitalik Buterin ผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum ก็เพิ่มความกลัวด้วยการทวีตข้อความปริศนา เขาเขียนว่า “มีข่าวลือว่าบางอย่างที่สำคัญกำลังจะเกิดขึ้น” ผู้อ่านต่างหยิบข้อความแปลก ๆ นี้มาตีความและหาคำตอบว่า Buterin กำลังหลอกเล่น หรือพยายามจะบอกอะไรบางอย่างกับชุมชน” แทบจะในช่วงเวลาเดียวกัน ข้อมูลก็ปรากฏจากแหล่งข่าวบางแห่งว่า เขากำลังพยายามขายเหรียญ Ethereum ของเขา และนี่กลายเป็นสัญญาณเตือนภัยในชุมชนคริปโต แหล่งข่าวอ้างว่ากระเป๋าเงินที่เขาถือนั้นได้ขาย 3,000 ETH มูลค่า $3.75 ล้านดอลลาร์ในช่วงข้ามคืนไม่กี่ชั่วโมงหลังจาก FTX ล่มสลาย

    Jordan Belfort อดีตนายหน้าค้าหุ้นที่ถูกตัดสินคดีฉ้อโกงและได้รับฉายาให้เป็น The Wolf of Wall Street เชื่อว่าการล้มละลายของแพลตฟอร์ม FTX เกิดขึ้นอย่างตั้งใจ และ Sam Bankman-Fried เป็นคนวิปริตที่ตั้งใจ pump and dump (ลากราคาขึ้นและเทลง)

    Robert Kiyosaki ผู้เขียนหนังสือชื่อดังระดับโลก Rich Dad Poor Dad ยังคงเชื่อในอนาคตของสินทรัพย์ดิจิทัลหลักสองสกุลอย่าง Bitcoin และ Ethereum สถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับ FTX จะต้องพิจารณาว่าเป็นกรณีพิเศษ และบทสรุปเกี่ยวกับอุตสาหกรรมโดยรวมจะต้องทำขึ้นจากฐานของมันเท่านั้น

    แต่ดูเหมือนว่านักลงทุนยังไม่รีบที่จะรับฟังความเห็นของ Kiyosaki บทวิเคราะห์จากบริษัท Glassnode วันที่ 21 พฤศจิกายน ชี้ว่า ความอ่อนแอในตลาดล่าสุด “บ่อนทำลายความเชื่อมั่นของผู้ถือเหรียญบิทคอยน์” และฤดูหนาวคริปโตที่กำลังมาถึงกำลังเดินตามรอยเหตุการณ์ปี 2018-2019 Glassnode ระบุว่า วาฬส่วนใหญ่ (ผู้ที่ถือเหรียญ 1,000 BTC ขึ้นไป) กำลังอยู่ด้านล่างสุด และรอจังหวะที่สถานการณ์ดีขึ้น

    ณ จุดสูงสุดของช่วงตลาดหมีครั้งที่แล้ว ราคาบิทคอยน์ร่วงลง 84% จากระดับสูงสุด มันใช้เวลาไม่ถึงหนึ่งปีหลังจากราคาดิ่งลงมาจาก $20,000 เหลือ $3,200 ในเดือนพฤศจิกายน 2018 และใช้เวลาเดียวกันในครั้งนี้ที่ราคาร่วงลงมา 77.3% และทรุดตัวจาก $69,000 เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ลงมาทำระดับต่ำสุดในวัฎจักรที่ $15,482 ในขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์บางท่านเชื่อว่า BTC ไม่น่าจะฟื้นตัวเร็ว ๆ นี้ เพราะเวลาได้ผ่านไปหลายเดือนแล้วหลังจากการทรุดตัวเมื่อปี 2008 ก่อนที่จะสังเกตเห็นแรงกระตุ้นขาขึ้นปรากฏขึ้น

    นอกจากนี้ ในสัปดาห์ที่แล้วเรายังได้เห็นราคาดีดขึ้นมากที่สุดเป็นครั้งที่สี่ โดยมีปริมาณซื้อขายประจำวันที่ $1.45 พันล้านดอลลาร์ การกำจัดสินทรัพย์คริปโตโดยผู้เล่นระยะยาวนี้ “มักเป็นสัญญาณของความกลัวและการยอมแพ้ในหมู่ผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า” ระบุในรายงานดังกล่าว

    แนวโน้มตลาดขาลงในเดือนพฤศจิกายนส่งผลให้มีจำนวนแอดเดรสหรือที่อยู่บิทคอยน์ที่ขาดทุนเพิ่มมากขึ้น แพลตฟอร์ม IntoTheBlock รายงานว่า สัดส่วนของวอลเล็ตที่ซื้อ BTC ที่ราคาสูงกว่าราคา ณ ปัจจุบันมีเพียง 51% เท่านั้น จำนวนผู้ถือ BTC รวมในเวลานี้มีทั้งสิ้น 47.85 ล้านราย ซึ่ง 24.56 ล้านรายกำลังขาดทุน ในขณะที่วอลเล็ตประมาณ 45% ยังคงมีกำไร และส่วนที่เหลืออยู่ในช่วงคุ้มทุน

    ครั้งสุดท้ายที่เกิดสถานการณ์ที่คล้ายกันนี้คือหลังการทรุดตัวของตลาดเมื่อเดือนมีนาคม นักวิเคราะห์ IntoTheBlock ระบุ ในขณะเดียวกัน หนึ่งในนักวิเคราะห์กล่าวเสริมว่า สัดส่วนของแอดเดรสที่ยังไม่มีกำไรมักเกิน 50% ในขณะที่ตลาดกำลังอยู่ล่างสุด ดังนั้น เขาจึงให้คำใบ้ว่าคริปโตเคอเรนซีไม่น่าจะตกลงไปต่อได้อีกมาก อย่างไรก็ดี สถิติกลับบ่งบอกในทางตรงกันข้าม โดยสัดส่วนของแอดเดรสที่ขาดทุนนั้นเคยอยู่ที่ 55% เมื่อเดือนมกราคม 2019 และตัวเลขดังกล่าวนั้นก็เกิน 62% ในช่วงที่แนวโน้มตลาดหมีปกคลุมในปี 2015

    Arthur Hayes อดีตซีอีโอ BitMEX ได้ปรับตัวเลขคาดการณ์ราคาบิทคอยน์ที่ $10,000  ส่วน Benjamin Cowen นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันเป็นหนึ่งในผู้เสนอทฤษฎีธรรมชาติแบบวัฎจักรของบิทคอยน์ และความยาวของวัฎจักรที่โด่งดังมากที่สุด ไม่นานมานี้ เขาได้เผยแพร่กราฟเปรียบเทียบตลาดหมีในปัจจุบันกับตลาดหมีสามรอบที่ผ่านมา เราเห็นได้ถึงผลตอบแทนในการลงทุน (ROI) ของ BTC สำหรับผู้ที่ซื้อมันในช่วงราคาขึ้นสูงสุด กราฟแสดงให้เห็นว่าบิทคอยน์กำลังอยู่ในจุดที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งในเวลานี้

    อีกด้านหนึ่งนั้น เวลาก็ผ่านไปแล้ว 379 วันนับตั้งแต่ ATH (all-time high หรือราคาสูงสุดในประวัติศาสตร์) ในช่วงตลาดหมีสองครั้งที่ผ่านมา ระยะเวลาดังกล่าวคือ 363 วันในปี 2018 และ 410 วันในปี 2015 แต่อีกด้านหนึ่ง ROI ปัจจุบันคือ 0.247 ซึ่งในช่วงตลาดหมีก่อนหน้านี้ ค่าดังกล่าวตกลงต่ำกว่า 0.2 เสมอหาก และหากมันเกิดขึ้นตอนนี้ บิทคอยน์จะร่วงลงต่อไปได้อีก

    Dave the Wave นักวิเคราะห์คริปโตชื่อดังผู้มีผู้ติดตามใน Twitter กว่า 130,000 ราย ได้เผยแพร่โมเดล Bitcoin Logarithmic Growth Curve (LGC) แบบอัปเดตแล้ว กราฟของเขาชี้ว่า บิทคอยน์กำลังอยู่ในช่วงด้านล่างของ LGC ระยะยาว ซึ่งทำหน้าที่เป็นแนวรับมาโดยตลอด

    ประวัติศาสตร์ของ BTC เห็นได้จากพฤติกรรมราคาด้านล่างเส้นโค้งดังกล่าว เช่น ในช่วงตลาดหมีปี 2015 หรือช่วงตลาดซบเซาเมื่อเริ่มวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในเดือนมีนาคม 2020 อย่างไรก็ตาม การร่วงลงไม่ได้ใช้เวลานานในช่วงวัฎจักรที่ผ่านมา และคริปโตเคอเรนซีก็กลับขึ้นเหนือแนวรับระยะยาวอย่างรวดเร็ว สิ่งนี้มักเป็นสัญญาณถึงจุดสิ้นสุดของตลาดหมี และจุดเริ่มต้นของตลาดกระทิงรอบใหม่

    นักวิเคราะห์ให้ข้อสังเกตในคอมเมนต์ของทวีตข้อความว่า เราต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษกับช่วงปลายเดือนนี้ ตอนนี้ยังไม่มีอะไรที่เป็นหายนะเกิดขึ้นกับพฤติกรรมราคา แต่กรอบด้านล่างของโมเดลก็แทบจะยืนไม่อยู่ หากบิทคอยน์ปิดท้ายเดือนต่ำกว่าที่ระดับ $16,000 ระดับแนวรับ LGC มีแนวโน้มที่จะล่มลงสูงมาก และแนวโน้มขาลงจะดำเนินต่อไป และในทางกลับกัน: หากมันสามารถยืนอยู่เหนือเส้นโค้งแบบลอการิทึมด้านล่างและดีดตัวขึ้นมาได้ นี่อาจเป็นสัญญาณการเริ่มต้นของตลาดกระทิงรอบใหม่

    ในระหว่างนี้ ณ ขณะที่เขียนบทวิเคราะห์ฉบับนี้ (ช่วงเย็นวันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน) BTC/USD เทรดอยู่ในโซน $16,520 โดยมูลค่ารวมในตลาดคริปโตอยู่ที่ $0.833 ล้านล้านดอลลาร์ ($0.832 ล้านล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ที่แล้ว) ดัชนี Crypto Fear & Greed Index จาก 23 เป็น 20 จุดในเวลาเจ็ดวัน และไม่สามารถออกจากโซนความกลัวขั้นสุด (Extreme Fear) ได้

 

กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX

 

หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้


« การวิเคราห์ตลาดและข่าว
รับการฝึก
มือใหม่ในตลาดใช่ไหม?ใช้ส่วน เริ่มฝึกฝน เริ่มฝึกฝน
ติดตามเรา (ในโชเซียลเน็ตเวิร์ค)