มีนาคม 12, 2020

จ้าวหมีแห่งวงการการเงิน1

สถิติแสดงให้เห็นว่านักเทรดที่ประสบความสำเร็จนั้นมักเป็น “กระทิง” ทั่วไป กล่าวคือ นักเทรดผู้นั้นมักจะเลือกลงทุนในช่วงที่ตลาดกำลังเติบโตทำกำไร โดยเฉพาะในกรณีของการเทรดในตลาดหุ้น ด้วยเหตุนี้ ผู้จัดการบรรดาเฮดจ์ฟันด์ และนักเล่นหุ้นธรรมดาทั่วไปนั้นมักมองหาหุ้นที่ราคาไม่แพง แต่คาดว่าจะสามารถทำกำไรได้สูงมาก

อย่างไรก็ตาม การทำกำไรไม่ได้มาจากการเก็งกำไรจากการเติบโตของตลาดเท่านั้น ในสภาวะตลาด “หมี” หรือตลาดที่กำลังถดถอยนั้นก็เป็นโอกาสในการทำเงินได้เช่นกัน เห็นตัวอย่างชัดเจนได้จากภาพยนตร์ชื่อดังเรื่อง “The Big Short” แม้จะชัดเจนเท่าใดแต่สำหรับคนส่วนมากแล้วก็ไม่ใช่เรื่องที่เข้าใจได้ง่ายเสมอไป

บทภาพยนตร์มาจากหนังสือชื่อเรื่องเดียวกัน ซึ่งเขียนขึ้นโดยนักเขียนและนักข่าวด้านการเงินชาวอเมริกัน นายไมเคิล ลูอิส ผู้กล่าวว่า การอธิบายหลักการซับซ้อนให้ผู้ชมฟังนั้นไม่เพียงพอ แต่ผู้ชมนั้นต้องทำความเข้าใจมันอีกด้วย ภาพยนตร์เรื่องนี้เกี่ยวกับหลักเศรษฐศาสตร์มหภาคกับเหตุการณ์วิกฤติการณ์ตลาดหลักทรัพย์และตราสารหนี้ที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นทรัพย์สินหนุนหลังในสหรัฐอเมริกา และแม้ว่าคอลัมนิสต์จาก Forbes นายสตีฟ แดนนิ่ง จะกล่าวชื่นชมภาพยนตร์เรื่องนี้ในการถ่ายทอดเรื่องราวประวัติศาสตร์ได้อย่างแม่นยำ แต่สิ่งที่ภาพยนตร์และหนังสือไม่ได้กล่าวถึงก็คือ ผู้ชายคนหนึ่งที่ทำเงินมหาศาลเบื้องหลังวิกฤติการณ์ครั้งนี้ นั่นก็คือ เศรษฐีพันล้าน นายจอห์น พอลสัน

พอลสันไม่ได้เป็นคน ๆ เดียวที่อยู่เบื้องหลังการเป็น “หมี” ผู้แสนโด่งดัง ก่อนอื่นเราควรจะเรียนให้ท่านทราบว่าคำว่า “หมี” นั้นมีที่มาอย่างไร

คำอธิบายแรก (และเป็นคำอธิบายที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุด) กล่าวว่า หมีมีลักษณะต่างจากกระทิง ซึ่งกระทิงนั้นมักใช้เขาของตัวเองต่อสู้กับฝ่ายตรงข้าม กำจัดศัตรูด้วยการตะกุยจากด้านบน แต่ก็เป็นไปได้ว่าที่มาของคำศัพท์อาจจะแตกต่างออกไป ยกตัวอย่างเช่น นักประวัติศาสตร์ด้านการเงิน นายอี มอร์แกน เชื่อว่าที่มาคำศัพท์ปรากฏตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 17 เมื่อตลาดหุ้นแรกก่อตั้งขึ้นในโรงกาแฟที่ลอนดอน ในสมัยนั้น นักเทรดมักขายหุ้นที่ตนเองไม่ได้เป็นเจ้าของ โดยการขายหนังหมีของหมีที่ตนยังไม่ได้ฆ่า (ในทุกวันนี้เปรียบเทียบหนังหมีนี้ได้กับการเทรดฟิวเจอร์สและออพชั่น เป็นต้น)

ถ้าอย่างนั้น คุณจะทำเงินจากการขายหนังหมีที่คุณไม่มีเป็นของตนเองได้อย่างไร?

“ในทางทฤษฎี ทุกอย่างดูเป็นเรื่องเรียบง่ายมาก” กล่าวโดยนายจอห์น กอร์ดอน นักวิเคราะห์จากบริษัทโบรกเกอร์ NordFX “สมมุติคุณคิดว่าเสื้อโค้ทที่ทำมาจากหนังหมีจะตกเทรนด์เร็ว ๆ นี้ สิ่งที่คุณน่าจะทำเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ก็คือขอยืมเสื้อโค้ทจากเพื่อนโดยสัญญาว่าจะคืนภายในหกเดือนเป็นต้น พอได้เสื้อโค้ทนี้มาแล้ว คุณก็จะเริ่มขายในช่วงที่สินค้ายังไม่ตกเทรนด์ โดยคุณจะได้รับเงิน $1000 เป็นต้น”

หากเราหยุดตรงนี้ คุณก็จะไม่มีเสื้อโค้ทที่ทำมาจากหนังหมี แต่คุณมีเงิน $1000 และยังคงมีภาระหน้าที่ที่จะต้องคืนเสื้อโค้ทดังกล่าวให้กับเพื่อนภายในระยะเวลาครึ่งปี

หกเดือนต่อมา นักต่อสู้ด้านสิทธิสัตว์ได้รับชัยชนะในการโน้มน้าวผู้คน ทำให้การสวมเสื้อโค้ทจากหนังสัตว์เป็นเรื่องที่ตกเทรนด์ ซ้ำยังเป็นเรื่องที่ไม่ดีอีกด้วย ณ จุด ๆ นี้ คุณกลับมาที่ตลาดอีกครั้ง และเลือกซื้อโค้ทหนังสัตว์และต่อรองราคาที่ $150 และนำไปคืนเพื่อนพร้อมคำขอบคุณอย่างสุดซึ้ง ธุรกรรมทั้งหมดจึงเสร็จสิ้นและคุณได้ทำกำไรถึง 850$

"ด้วยหลักการเช่นนี้ “หมี” จึงมักทำธุรกรรมในรูปแบบดังกล่าวในตลาดการเงินสมัยปัจจุบัน” นายจอห์น กอร์ดอนพูดต่อว่า “แต่ไม่ใช่หนังสัตว์อีกต่อไป สมัยนี้พวกเขายืมหุ้นและเงินจากธนาคารและกองทุนต่างๆ และสิ่งที่คืนกลับไปให้ก็คือดอกเบี้ยเครดิตของธุรกรรมนั้น ๆ แทนคำขอบคุณอย่างสุดซึ้งนั่นเอง”

บางที “หมี” ที่เป็นโด่งดังที่สุดในตลาดฟอเร็กซ์นั้นเกิดจากวิกฤติเงินปอนด์อ่อนค่าทรุดตัวลงโดยนายจอร์จ โซรอส ในปี 2535 เมื่อนายโซรอสและกองทุน Quantum Fund ของเขานำเงินที่ยืมไปทุ่มตลาดโดยใช้เงินปอนด์เป็นปริมาณมหาศาลคิดเป็นเงินกว่า 15 พันล้านดอลลาร์

โดยต้นตอของเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดจากการที่ ประธานธนาคารกลางเยอรมนีในขณะนั้น นายเฮลมุต ชเลสซิงเกอร์ ให้สัมภาษณ์ในนิตยสาร Wall Street Journal และหนังสือพิมพ์ The German กล่าวว่า แม้หลังจากที่อัตราดอกเบี้ยเยอรมนีจะหดตัวลง ค่าเงินยุโรปอีกหนึ่งหรือสองสกุลอาจจะต้องอยู่ภายใต้สภาวะกดดันเช่นกัน

ซึ่งกล่าวไว้สั้น ๆ เพียงเท่านี้และไม่มีคำอธิบายเพิ่มเติมใด ๆ นายโซรอสและอีกหลายท่านจึงสรุปว่าหนึ่งในบรรดาสกุลเงินนั้นอาจเป็นเงินปอนด์ของอังกฤษ ซึ่งในขณะนั้นแข็งค่าสูงมากเกินความจริง โซรอสจึงเริ่มขายเงินปอนด์ (เงินปอนด์ที่เขาได้ยืมมา) และนักการเงินหลาย ๆ แห่งก็เริ่มรีบทำตามนายโซรอส โดยธนาคารกลางอังกฤษพยายามประคับประคองอัตราดอกเบี้ยให้คงที่ จนกระทั่งสภาวะตลาดบังคับให้ธนาคารต้องซื้อปริมาณเงินมหาศาลที่ถูกขายทิ้งในตลาด

แต่ก็เป็นความพยายามที่ล้มเหลว เงินปอนด์ต้องยอมจำนน อันเป็นผลจากการให้ข้อมูลและตัวเลขผิด ๆ โดยนักข่าว (ซึ่งอาจมีนายโซรอสอยู่เบื้องหลัง) เงินปอนด์จึงอ่อนค่าลงกว่า 15% เมื่อเทียบกับเงินมาร์คของเยอรมนี และอ่อนลง 25% ต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้กองทุน Quantum ของนายโซรอสที่เดิมมีมูลค่า $15,000,000,000 ทำเงินได้หลายพันล้านกลายเป็นกองทุนที่มีมูลค่า $19,000,000,000 และในภายระยะเวลาอีกไม่กี่เดือนก็เป็นกองทุนมูลค่ากว่า 22 พันล้านเหรียญ!

ปรากฏการณ์ดังกล่าวโดยนายโซรอสยิ่งสนับสนุนคำพูดที่มักได้ยินกันบ่อย ๆ ในวงการการเงินที่ว่า “เราจำเป็นต้องใช้เงินในการเก็งราคาให้สูงขึ้น แต่ราคาจะตกลงด้วยน้ำหนักของมันเองเท่านั้น”

จ้าวหมีแห่งวงการการเงิน2

ที่น่าสนใจก็คือประสบการณ์ในยุครัฐบาลของนายจอห์น เมเจอร์ ไม่ใช่ครั้งแรกของอังกฤษที่ถูกโจมตีด้วยปรากฏการณ์ “หมี” ดังกล่าว เหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันยังได้เกิดขึ้นในอดีตตั้งแต่ปี 1720 ที่รัฐสภาอังกฤษบังคับใช้กฎหมายการแลกเปลี่ยนเงินหลวง (Royal Exchange Act) ทำให้ค่าเงินอ่อนตัวลงมาก และราคาหุ้นของแต่บริษัทก็ตกลง ด้วยเหตุนี้ ผู้ถือหุ้นทั่วไปก็เสียเงินไปมาก รวมถึงนักธุรกิจ นักการเมือง และแม้แต่สมาชิกในราชวงศ์เอง แม้กระทั่งนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังอย่างเซอร์ไอแซค นิวตัน ก็เสียเงินเป็นมูลค่ากว่า 20,000 ปอนด์สเตอร์ลิง (เทียบเป็นเงินทุกวันนี้ประมาณ 2.5 ล้านดอลลาร์) จนกระทั่งไอแซค นิวตัน ถึงกับเอ่ยอุทานออกมาว่า “ผมคำนวณการเคลื่อนไหวของดวงดาวได้ แต่คำนวณความบ้าคลั่งของมนุษย์ไม่ได้!)

กลับมาสู่ปรากฏการณ์ “หมี” ในยุคปัจจุบันกัน เราคงต้องนึกถึงชื่อ นายจิม ชานอส ผู้ที่เริ่มชีวิตการทำงานจากการเป็นพนักงานทำความสะอาดหิมะ และผันชีวิตไต่เต้าไปถึงเป็นรองประธานธนาคาร Deutsche Bank ก่อนที่จะเริ่มหันมาทำเฮดจ์ฟันด์เป็นของตนเองชื่อว่า “Kynikos” เป็นภาษากรีกมาจากคำว่า Cynic หรือแปลว่าการถากถาง

ชื่อแปลก ๆ เช่นนี้ก็เข้ากันกับกลยุทธ์ของชานอสเป็นอย่างดี กลยุทธ์ของเขาโฟกัสเรื่องการขายสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ Kynikos โด่งดังขึ้นอย่างยิ่งหลังจากเป็นสาเหตุให้บริษัทน้ำมันของสหรัฐฯ บริษัท Enron ต้องล่มสลาย และในปี 2014 เป็นปีที่กองทุนของชานอสลงเงินได้ถูกทิศทางว่าราคาน้ำมันจะหล่นฮวบ รวมไปถึงราคาโลหะมีค่าต่าง ๆ

ตัวการอีกหนึ่งคนที่เป็นที่รู้จักกันอย่างดีคือ นายเจสส์ ลิเวอร์มอร์ ที่ทำกำไรมหาศาลจากตลาดหมีในระยะเวลาอันรวดเร็วราวกับฟ้าผ่า จนได้รับสมญานามว่า “จ้าวหมีแห่งวอลสตรีท”  

ประธานเฮดจ์ฟันด์ Centaraus ชื่อนายจอห์น อาร์โนลด์ ก็เป็น “จ้าวหมี” อีกคนหนึ่งเช่นกันโดยเขาทำกำไรได้กว่า 317% จากช่วงที่ราคาก๊าซตกต่ำในฤดูร้อนปี 2006 จนคู่แข่งของเขากองทุนเฮดจ์ฟันด์ Amaranth ถึงกับล้มละลายสูญเสียเงินกว่าหกพันล้านเหรียญสหรัฐภายในระยะเวลาเพียงหนึ่งสัปดาห์

เว็บไซต์เกี่ยวกับการเงิน SumZero มีการจัดอันดับนักลงทุนที่ผลงานโดดเด่นที่สุดในการลงเงินช่วงเศรษฐกิจถดถอย และในบรรดาผู้ที่ติดอันดับที่มีชื่อเสียงได้แก่

  • นายเบิร์ต รอส (Wagamon Advisors) ในปี 2013 เขาได้ทำธุรกรรมที่ประสบความสำเร็จ 3 ธุรกรรมด้วยกันคือการลงเงินเพื่อลดราคาหุ้นของ Walter Energy จนบริษัทเสียมูลค่าไปกว่า 99.52%
  • อีกคนหนึ่งคือ นายเบน สปริงเกอร์ (Spruce Point Capital Management) ที่ทำกำไรอย่างมหาศาลจากการขายหุ้นบริษัท James River Coal Company จนสร้างกำไรได้ถึง 99.92%

“เห็นไหมครับ" นายกอร์ดอนกล่าวสรุป "ใคร ๆ ก็สามารถทำกำไร และสร้างรายได้ที่ดีได้แม้แต่ในช่วงที่ตลาดกำลังตกต่ำ เหมือนกับที่เศรษฐีพันล้านชาวกรีก นายอริสโตเติล โอนาสสิส เคยกล่าวไว้ว่า การจะทำอะไรแบบนี้ คุณจะต้องรู้สิ่งที่คนอื่นไม่รู้


« บทความมีประโยชน์
ติดตามเรา (ในโชเซียลเน็ตเวิร์ค)