สิงหาคม 24, 2019

อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา:

  • EUR/USD งานประชุมทางเศรษฐกิจประจำปีที่แจ็คสันโฮลเป็นเวทีที่จัดขึ้นเพื่อให้ความเข้าใจกับนักลงทุนว่านโยบายทางการเงินสหรัฐฯ จะเป็นไปในทิศทางใด นี่คือเหตุผลว่าทำไมตลาดจึงจับตารอคอยคแถลงของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารเฟดในที่ประชุมดังกล่าว
    ในอดีต นายอลัน กรีนสแปน เคยดำรงตำแหน่งประธานธนาคารเฟด โดยมีธรรมเนียมปฏิบัติคือการทำให้การตอบคำถามมีความคลุมเครือมากที่สุด เพื่อไม่ผูกมัดตนเองกับสัญญาใดๆ
    นี่คือสิ่งที่นายพาวเวลล์ได้ทำที่แจ็คสันโฮลเมื่อวันศุกร์ที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา เขาไม่ได้ให้สัญญาณที่ชัดเจนใดๆ เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารเฟดในอนาคต โดยเขาอธิบายว่ายังไม่มีเงื่อนไขที่จะเป็นพื้นฐานให้กับคำตอบที่เฉพาะเจาะจงได้ แต่ก็กล่าวด้วยว่าธนาคารเฟดพร้อมที่จะปรับใช้นโยบายกระตุ้นในกรณีที่การเติบโตทางเศรษฐกิจมีการชะลอตัว
    นายพาวเวลล์ยังส่งสัญญาณด้วยว่าสงครามทางการค้าที่ก่อขึ้นโดยประธานาธิบดีสหรัฐฯ กำลังส่งผลให้เกิดความปั่นป่วนต่อธนาคารกลางอเมริกันด้วยเช่นกัน
    เมื่อพูดถึงสงคราม ในสหภาพยุโรปพบว่าแผนการตอบโต้มาตรการภาษีทางการค้าของนายทรัมป์เริ่มมีความชัดเจน โดยมาตรการตอบโต้นี้มีอธิบายรายละเอียดไว้ในรายงาน 173 หน้า เป้าหมายการโจมตีหลักได้แก่บริษัทยักษ์ใหญ่ทางไอทีของสหรัฐฯ ได้แก่ Apple, Amazon, Facebook, Google การตอบโตนี้อาจรวมถึงการบังคับใช้ภาษีแต่เพียงฝ่ายเดียวกับสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ ควบคู่ไปกับมาตรการดังกล่าวยังมีข้อเสนอให้ลงทุนเป็นเงินประมาณ €100 พันล้านยูโรกับหุ้นบริษัทยุโรปเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ทัดเทียมกับบริษัทของสหรัฐฯ และจีน
    กลับมาที่คำแถลงของนายพาวเวลล์ แม้ว่าคำพูดของเขาจะมีความคลุมเครือ รวมถึงความไม่ลงรอยกันระหว่างสมาชิกในธนาคารเฟด ผู้ร่วมตลาดหลายคนยังคงคาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกหนึ่งหรือสอง (หรือแม้แต่สาม) ครั้งก่อนสิ้นปี 2019 นอกจากนี้ การปรับลดรอบถัดไปอาจประกาศในวันที่ 18 กันยายนนี้
    กระแสในตลาดนี้แน่นอนว่าส่งผลต่อราคา และทำให้ราคาปิดตลาดเมื่อช่วงเย็นวันศุกร์ที่ใกล้กับระดับ 1.1150
  • GBP/USD นอกเหนือไปจากประธานธนาคารเฟดแล้ว นายมาร์ค คาร์นีย์ ประธานธนาคารแห่งชาติอังกฤษได้ออกมาแถลงเมื่อวันศุกร์ที่ 23 สิงหาคมเช่นัน อย่างไรก็ตาม คำแถลงที่ส่งผลกระทบต่อตลาดมากกว่ากลับเป็นของนางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีที่กล่าวให้ความเห็นหนึ่งวันก่อนหน้าว่าอียูและสหราชอาณาจักรอาจบรรลุข้อตกลงเบร็กซิตภายในวันที่ 31 ตุลาคมน แน่นอนว่านี่อาจเป็นเพียงเป้าหมายหนึ่งแต่ก็มีผลหนุนค่าเงินปอนด์เป็นอย่างมาก ด้วยคำพูดเหล่านี้ ค่าเงินปอนด์อังกฤษได้ขยับถึงจุดสูงสุดในรอบสามสัปดาห์ โดยขยับขึ้นมาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคมมายังระดับ 1.2272 จากนั้นถอยกลับลง แต่ภายหลังจากการแถลงโดยประธานเฟด ตลาดกระทิงก็พลิกกลับมาครองตลาดอีกครั้ง พาราคาขึ้นไปที่ระดับ 1.2285 ภายในช่วงท้ายสัปดาห์
  • USD/JPY ไม่มีข้อสงสัยเลยว่านักลงทุนยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ ในตลาด เป็นเรื่องปกติที่ท่ามกลางสถานการณ์เหล่านี้ เงินเยนญี่ปุ่นจะกลายเป็นสกุลเงินที่ดีที่สุดในบรรดากลุ่มประเทศ G10 ซึ่งไม่ใช่เฉพาะแค่ในเดือนสิงหาคนมี้ แต่ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมาของปี 2019 เงินเยนมีบทบาทเป็นเงินลี้ภัยที่ปลอดภัยจากสงครามทางการค้าและการเงินที่ปะทุล้อมรอบอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยการวิเคราะห์กราฟในกรอบ H4 ในครั้งที่แล้วทำนายว่าราคาจะพักสักระยะและขยับในช่องด้านข้างที่ 105.00-107.00 ซึ่งเกิดขึ้นจริงจนถึงคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ช่องราคายังแคบกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยมีส่วนต่างเพียง 50 จุดที่ระดับ 106.20 และ 106.70
    คำแถลงของนายพาวเวลล์ในช่วงเย็นวันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม ช่วยผลักให้ราคาคู่นี้ดิ่งลงอย่างรวดเร็ว แต่ราคาก็ไม่สามารถแตะถึงระดับ 105.00 ได้สำเร็จ โดยปิดตลาดห้าวันทำการที่ 105.40
  • คริปโตเคอเรนซี เราเขียนในคำทำนายครั้งที่แล้วดัชนี Bitcoin Fear and Greed ปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์ “กลัว” (Fear) และความกลัวนี้เองที่เป็นตัวชี้นำความผันผวนที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง (อย่าลืมว่ารูป pennant สามเหลี่ยมบนกราฟเมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีขอบมาบรรจบกันที่โซน $10,400-10,500)
    คำทำนายนี้ปรากฏออกมาว่าถูกต้องโดยสมบูรณ์ และตลอดช่วงเวลาเจ็ดวันนี้ ราคา BTC/USD ไม่ได้ขยับออกนอกกรอบ $9,785-10,980 ซึ่งแสดงถึงระดับปักหลักที่ $10,385 ในขณะอัลท์คอยน์ติดอันดับก็ผันผวนในช่วง 11-13% เช่นกัน ได้แก่ Litecoin (LTC/USD), Ripple (XRP/USD) และ Ethereum (ETH/USD)
    มีเพียงข้อสรุปเดียวก็คือตลาดกำลังอยู่ในภาวะความไม่แน่อน และผู้เล่นทั้งฝั่งตลาดกระทิงและมีกำลังกลัวที่จะเสี่ยงและหยุดนิ่งเพื่อรอสัญญาณสำคัญใดๆ

 

สำหรับบทวิเคราะห์ของสัปดาห์นี้ เราได้สรุปความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์มากมาย รวมถึงคำคาดการณ์ที่วิเคราะห์จากพื้นฐานทางเทคนิคและสถิติกราฟต่างๆ โดยเราสามารถสรุปผลวิเคราะห์ได้ดังต่อไปนี้:

  • EUR/USD การประชุมของผู้นำ G7 ระหว่างวันที่ 24-26 สิงหาคมคือหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญในช่วงปลายฤดูร้อนที่ไม่ควรเพิกเฉย อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้น้อยที่ผลลัพธ์ของการเจรจาที่งานประชุมระหว่างผู้นำประเทศ G7 จะก่อให้เกิดเทรนด์สำคัญในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ โดยมีความเป็นไปได้สูงว่าผู้นำประเทศจะเร่งให้บรรดาประธานธนาคารกลางต่างๆ ตอบสนองต่อภัยคุกคามทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกอย่างจริงจังมากขึ้น นักลงทุนมีความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเงินยูโรที่ประกาศในเดือนกันยายนและการปรับใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณของธนาคารกลางยุโรป รวมถึงว่าธนาคารเฟดจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อใดและเป็นจำนวนเท่าใด
    ภายหลังจากการกล่าวแถลงของนายเจอโรม พาวเวลล์ เมื่อช่วงเย็นวันที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา และราคาคู่นี้ได้ขยับขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงเป็นเรื่องปกติที่ทั้งการวิเคราะห์กราฟและดัชนีส่วนใหญ่ในกรอบ H4 ให้สัญญาณทิศทางเหนือ อย่างไรก็ดี ภาพดังกล่าวกลับแตกต่างอย่างสิ้นเชิงในกรอบ D1: 70% ของดัชนีเทรนด์ทั้งหมดให้สัญญาณเป็นสีแดง ในส่วนออสซิลเลเตอร์ให้สัญญาณเป็นสีแดงหรือเทากลางเป็นหลัก ในขณะเดียวกัน 10% ของดัชนีทั้งหมดให้สัญญาณแล้วว่าอยู่ในโซนถูกซื้อมากเกินไป
    เงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นและการกลับมาของราคายังระดับต่ำสุดของเดือนสิงหาคมที่ 1.1025-1.1050 ยังคงเป็นคำทำนายของนักวิเคราะห์จำนวน 65% อีกหนึ่งมุมมองทางเลือกเป็นของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 35% ซึ่งคาดการณ์ว่าราคาจะขยับเข้าโซน 1.1200-1.1250 โดยมีเป้าหมายถัดไปสูงขึ้นมาอีก 100 จุด

บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์และคริปโตเคอเรนซี ประจำวันที่ 26 - 30 สิงหาคม 20191

  • GBP/USD ไม่ต่างไปจากเบร็กซิต ทั้งโลกกำลังพูดถึงภาพเหตุการณ์ที่นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ยกเท้าขึ้นมาวางบนโต๊ะกาแฟในระหว่างการพบปะกับนายเอมมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส นายมาครงยังคงบทบาทหนึ่งในผู้สนับสนุนท่าทีที่เด็ดขาดของอียูกับสหราชอาณาจักรมาโดยตลอด และบางทีจากเหตุการณ์นี้อาจเป็นการส่งสัญญาณให้ทางฝรั่งเศสทราบเป็นนัยๆ ว่าท่าทีของฝรั่งเศสไม่มีผลอะไรกับเขา?
    แน่นอนว่าทั้งนางแมร์เคิล นายมาครง และนายจอห์นสัน ยังคงติดต่อปฏิสัมพันธ์กับในช่วงการประชุมผู้นำ G7 แต่แม้กระนั้น โอกาสที่สหราชอาณาจักรจะแยกตัวออกจากอียูโดยไร้ข้อตกลงยังคงมีความเป็นไปได้สูงเหมือนเช่นเคย นี่คือเหตุผลว่าทำไมผู้เชี่ยวชาญ 70% จึงเห็นด้วยกับผลการวิเคราะห์กราฟในกรอบ H4 และ D1 โดยคาดการณ์ว่าเทรนด์ขาลงจะมีผลต่อไปและราคาจะขยับลงมาที่ระดับต่ำสุดของวันที่ 12 สิงหาคมที่ 1.2015 โดยมีโซนแนวต้านที่ใกล้ที่สุดที่ 1.2280-1.2320 แนวรับในช่วง 1.2180-1.2200 และ 1.2075-1.2100
    นักวิเคราะห์ 30% ยังคงเข้าข้างกับฝั่งตลาดกระทิงโดยเชื่อว่าข่าวดีเกี่ยวกับข้อตกลงเบร็กซิตยังไม่สิ้นสุด และราคาจะสามารถขยับขึ้นมายังโซน 1.2415-1.2520 โดยมีดัชนีกว่า 70% สนับสนุนสถานการณ์นี้ อย่างไรก็ตาม 15% ของออสซิลเลเตอร์ในกรอบ D1 ให้สัญญาณว่าแล้วว่าราคาอยู่ในโซนถูกซื้อมากเกินไป
  • USD/JPY ผู้เชี่ยวชาญ (70%) คาดการณ์ว่าเงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นต่อเงินเยนเช่นกัน แม้ว่าเงินเยนญี่ปุ่นยังคงสถานะเงินลี้ภัยที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคู่ขนานไปกับเงินฟรังก์สวิส นักลงทุนรายใหญ่หลายคนเริ่มรับกำไรจากตำแหน่งขายและเปลี่ยนไปลงทุนกับทองคำ
    คำแถลงจากนางซายูริ ชิไร ผู้แทนธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 สิงาคม ระบุว่า เพื่อเป็นการรับมือกับภาวะถดถอยที่จะมาถึง ธนาคารฯ อนุญาตให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่อไป ซึ่งปกติเป็นลบอยู่แล้วและเท่ากับ -0.1% ซึ่งส่งผลกระทบต่อเงินเยนเช่นกัน
    เป้าหมายถัดไปของตลาดกระทิงคือการกลับมาที่โซน 106.20-106.70 จากนั้นจะทะลุระดับดังกล่าวเพื่อไปตั้งหลักเหนือระดับ 107.00 สำหรับฝั่งตลาดหมี (30%) ได้รับการสนับสนุนโดยดัชนี 90% ในกรอบ D1 ว่าราคาจะพยายามที่จะตัดทะลุกรอบด้านล่างที่โซน 105.00 และขยับไปยังระดับต่ำสุดของเดือนมีนาคม 2018 ที่ 104.60
  • คริปโตเคอเรนซี โดยทั่วไป ข่าวสารค่อนข้างเป็นบวกได้แก่ ข่าวธนาคารอเมริกาวางแผนที่จดทะเบียนระบบการจัดเก็บสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างปลอดภัย และธนาคารสหรัฐฯ อีกแห่งหนึ่ง Silvergate ได้ประกาศแผนการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปล่อยให้กับคริปโตเคอเรนซี งานวิจัยหนึ่งจาก Nobl Insurance ชี้ให้เห็นว่าตลาดเงินคริปโตเติบโตขึ้นกว่า 48% ตั้งแต่ปี 2018 ถึง 2019 และจะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอีก 12 เดือนข้างหน้า
    อีกหนึ่งข่าวที่น่าสนใจได้แก่ ความเห็นของนายจิม ริคการ์ดส์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวสหรัฐฯ ว่ารัสเซียและจีนกำลังมีความร่วมมือในการสร้างสกุลเงินคริปโตเป็นของตนเอง ซึ่งจะผูกกับราคาทองคำ และนี่คือเหตุผลว่าทำไมเขามองว่าทั้งสองประเทศจึงเร่งกวาดซื้อทองคำเป็นจำนวนมหาศาลในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้
    ข้อโต้แย้งต่อความเห็นของริคการ์ดส์ประการแรกคือทำไมรัสเซียและจีนจึงจะต้องตราสกุลเงินคริปโตร่วมกัน? เพราะทั้งสองประเทศนี้อาจประกาศเงินคริปโตเป็นของตนเอง และประการที่สอง พวกเขาเร่งเพิ่มปริมาณทองคำสำรองอาจไม่ใช่เพราะการตราเหรียญดิจิทัลแต่อย่างใด แต่เพื่อเป็นการลดการพึ่งพึงต่อเงินดอลลาร์สหรัฐมากกว่า
    สำหรับคำทำนาย ผู้ที่สนับสนุนเงินคริปโตก็ทำทุกวิถีทางเพื่อผลักให้ราคาบิทคอยน์ขยับขึ้นเหมือนเช่นเคย ในครั้งนีก นายอเล็กซ์ ครูเกอร์ นักเทรดชื่อดังให้คำทำนายว่าราคาบิทคอยน์จะเพิ่มขึ้นและขยับถึง 50,000 ดอลลาร์ภายในปลายปี 2021 แต่ในขณะเดียวกัน นายครูเกอร์ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้น..ก็ต่อเมื่อเหรียญสามารถรักษาตำแหน่งเหนือระดับ 10,000
    ดัชนี Bitcoin Fear & Greed Index  ล่าสุดปรับหลักเกณฑ์ตกลงมายังระดับ “เกรงกลัวอย่างยิ่ง” (Extreme Fear) นักวิเคราะห์จำนวน 70% ต่างจับตามองทิศทางขาลง แต่พวกเขาก็ยังคงรักษาระดับขาลงไว้ในโซน $9,000-9,500 โดยมีความเป็นไปได้ว่าหากราคาสามารถดีดตัวออกจากแนวรับดังกล่าว บิทคอยน์จะสามารถขยับโลดแล่นขึ้นไปยัง $12,000 และ $20,000 ตามลำดับ แต่ ณ ขณะนี้ยังคงเร็วเกินไปที่จะพูดถึงเป้าหมายดังกล่าวและเรายังคงต้องรอคอยสัญญาณที่ชัดเจน

 

โรมัน บุทโก, NordFX

 

หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้


« การวิเคราห์ตลาดและข่าว
รับการฝึก
มือใหม่ในตลาดใช่ไหม?ใช้ส่วน เริ่มฝึกฝน เริ่มฝึกฝน
ติดตามเรา (ในโชเซียลเน็ตเวิร์ค)