มีนาคม 19, 2021

มีกลยุทธ์มากมายกว่าหลายพันชนิดสำหรับการเทรดในตลาดการเงิน บางกลยุทธ์ใช้งานได้อเนกประสงค์ บางกลยุทธ์ใช้ได้ดีเฉพาะกับสินทรัพย์ทางการเงินบางประเภทเท่านั้น เช่น คู่สกุลเงินฟอเร็กซ์จะเหมาะสำหรับการเทรดแบบสั้นและแบบจบวันมากกว่า ในขณะที่การเทรดหุ้น นักเทรดหลายคนชอบพัฒนากลยุทธ์ที่เน้นเทรนด์ระยะยาวมากกว่า

หุ้นของบริษัทชั้นนำระดับโลกปรากฏขึ้นในรายชื่อสินทรัพย์การเทรดของ NordFX เมื่อเดือนธันวาคมปี 2019 ในตอนต้น การเทรด CFD กับสินทรัพย์ประเภทนี้เคยจัดอยู่ในบัญชีซื้อขายประเภทพิเศษ คือ บัญชี Stock หนึ่งปีถัดมาเริ่มให้บริการบนบัญชีทุกประเภท ลูกค้าของโบรกเกอร์สามารถเทรดหุ้นบริษัทขนาดใหญ่ที่สุดของโลกเกือบ 70 บริษัท เช่น Apple, Ferrari, IBM, Visa, Google, JP Morgan Chase, Coca-Cola, Mastercard, McDonalds, Microsoft, Twitter, UBER, eBay, Alibaba, Netflix, Deutsche Bank รวมถึง “พอร์ต” หุ้นที่จัดสรรหุ้นมาพร้อมแล้ว เช่น ดัชนีหุ้นชื่อดังอย่าง Dow Jones, Standard & Poor's 500, DAX 30, Nikkei 225 ฯลฯ
กลยุทธ์ที่ใช้ในการเทรดสินทรัพย์เหล่านี้สามารถแบ่งออกเป็นสามกลุ่มหลัก ดังนี้:
● กลยุทธ์ที่อยู่บนฐานวิเคราะห์ทางเทคนิค
● กลยุทธ์ที่อยู่บนฐานการวิเคราะห์เศรษฐกิจและปัจจัยพื้นฐาน
● และกลยุทธ์หุ้นปันผล
เราจะให้ภาพรวมพอสังเขปของสามกลุ่มหลักเหล่านี้ในบทความฉบับนี้ และเน้นต้นแบบที่เหมาะที่สุดสำหรับนักเทรดมือใหม่เป็นหลัก

วิธีการทำเงินจากหุ้น กลยุทธ์ที่ง่ายและซับซ้อนของการเทรดในตลาดหุ้น1

กลยุทธ์ที่อยู่บนฐานการวิเคราะห์ทางเทคนิค

อินดิเคเตอร์ทางเทคนิคและเครื่องมือกราฟมากมายติดตั้งมาพร้อมให้บริการอยู่แล้วบนแพล็ตฟอร์มการเทรด  MetaTrader-4 (MT4) ที่ให้บริการกับลูกค้า NordFX เครื่องมือเหล่านี้ช่วยให้คุณสามารถวิเคราะห์สถานการตลาดในปัจจุบัน ทำการคาดการณ์อนาคต และสร้างกลยุทธ์การเทรดที่มีประสิทธิภาพจากเครื่องมือเหล่านี้

หนึ่งในกลยุทธ์สุดคลาสสิกที่ใช้งาน คือ Moving Averages สองเส้น เมื่อเส้น MA ที่เร็วกว่าตัดผ่านเส้นที่ช้ากว่าจากล่างขึ้นบน จะเป็นสัญญาณให้เปิดคำสั่งซื้อ เมื่อเส้น MA ที่เร็วกว่าตัดผ่านเส้นที่ช้ากว่าจากบนลงล่าง จะเป็นสัญญาณให้เปิดคำสั่งขาย นอกเหนือไปจากอินดิเคเตอร์เทรนด์อย่าง Moving Average แล้ว คุณยังสามารถใช้อินดิเคเตอร์ Alligator ซึ่งประกอบด้วยเส้น MAs สามเส้น ได้แก่ เส้นที่เร็ว ปานกลาง และช้า

อีกกลยุทธ์หนึ่งจะทำงานบนพื้นฐานของหลักการเบนออก (divergence) และเบนเข้าหากัน (convergence) ซึ่งเป็นความแตกต่างระหว่างการเคลื่อนที่ของราคาจริงและผลวิเคราะห์ของออสซิลเลเตอร์ อีกทั้งยังมีแท่งเทียน รูปแบบคลื่น การวิเคราะห์กราฟ กลยุทธ์สำหรับกราฟตัดผ่านแนวรับและแนวต้าน ตลอดจนการผสมผสานวิธีการต่าง ๆ ที่มักนำมาใช้ในการเทรด

สำหรับตลาดหุ้น การซื้อกลับในช่วงขาดทุนสะสมก็มักใช้งานบ่อยเช่นกัน อย่างที่กล่าวไปแล้วในตอนต้นของบทความ ราคาหุ้นของหลายบริษัทมักเคลื่อนที่ตามเทรนด์ระยะยาว สินทรัพย์ประเภทนี้สามารถเติบโตขึ้นในช่วงหลายสัปดาห์ เดือน ปี และแม้แต่หลายสิบปี แต่เนื่องด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจหลายประการ รวมถึงการต่อสู้ระหว่างตลาด “กระทิง” และหมี” มูลค่าก็อาจลดลงได้เป็นบางเวลา 5% 10% หรือมากกว่า นี่คือสิ่งที่เรียกว่า การขาดทุนสะสม หลังจากนั้นเทรนด์ขาขึ้นจะเริ่มขึ้นอีกครั้ง โดยทั่วไป แนวโน้มขาลงจะกดราคาให้ลงมายังกรอบด้านล่างของกรอบราคาขาขึ้น หรือลงมายังระดับแนวรับ ในจังหวะนี้เองคือช่วงที่ควรเปิดคำสั่ง long (ซื้อ) หรือเพิ่มปริมาณหุ้นที่มีอยู่ในพอร์ตอยู่แล้ว

และเนื่องจากเรากำลังพูดถึงการเทรด CFD ก็จะยังเพิ่มศักยภาพของนักเทรดให้เพิ่มมากขึ้น ในการเทรดประเภทนี้ คุณสามารถทำเงินได้ทั้งจากการเติบโตของมูลค่า และแนวโน้มขาลงของมูลค่าหุ้นเช่นกัน ในกรณีเช่นนี้ ทุกอย่างจะเป็นไปในทางกลับกัน เมื่อราคาขยับถึงระดับแนวต้านก็จะเป็นจังหวะในการเปิดตำแหน่ง short (ขาย) เป็นต้น

นอกจากนี้ กลยุทธ์นี้ก็ทำงานได้เมื่อทำการเทรดคริปโตเคอเรนซี เพราะเงินคริปโตมีแนวโน้มการเคลื่อนที่ในระยะยาว และในช่วงที่มีการขาดทุนสะสมของบิทคอยน์มักจะเป็นโอกาสสำหรับนักลงทุน “ปลาวาฬ” รายสถาบันขนาดใหญ่ที่จะกว้านซื้อคริปโตเคอเรนซีจากนักเก็งกำไรรายย่อยที่จะวิตกกังวลแม้ว่าราคาจะขยับลงเพียงเล็กน้อย

กลยุทธ์บนฐานของการวิเคราะห์เศรษฐกิจและปัจจัยพื้นฐาน

กลยุทธ์เหล่านี้สามารถใช้งานได้อย่างอิสระหรือใช้ประกอบกับเครื่องมือการวิเคราะห์ทางเทคนิคใด ๆ ต้นแบบของกลยุทธ์เหล่านี้มักจะอยู่บนฐานของการวิเคราะห์การดำเนินงานของบริษัทอย่างละเอียดรอบคอบ ทั้งในส่วนของรายได้ สินทรัพย์ รายรับ และรายจ่าย อุปสงค์และอุปทาน การแข่งขัน และปัจจัยอื่น ๆ  ซึ่งได้แก่ กลยุทธ์ของ Benjamin Graham, William O'Neill, Joseph Piotrowski ฯลฯ กลยุทธ์ของแต่ละท่านนั้นต้องอาศัยความสามารถในการเข้าใจการอ่านงบ วิเคราะห์งบการเงินของบริษัท และประเมินแนวโน้มในอนาคต ซึ่งชัดเจนว่านี่เป็นข้อเสียเปรียบหลักของนักเทรดธรรมดาทั่วไป โดยเฉพาะมือใหม่ ดังนั้น ต้นแบบที่ง่ายยิ่งกว่าจึงได้ปรากฏขึ้นบนตลาด

เช่น กลยุทธ์ Straight and Reverse Spiral ที่นักเทรดใช้งานโดยเลือกบริษัทที่มีความต้องการถือหุ้นสูงมากที่สุด 5-7 ปีที่แล้ว แต่ราคาหุ้นปรับลดลงด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม หากบริษัทยังคงมีการเติบโตที่มั่นคง แม้ว่าจะช้า แต่ก็มีโอกาสที่ราคาหุ้นจะก้าวกระโดดและกลับมายืนหยัดได้อีกครั้ง

ในกรณีกลับกัน สิ่งสำคัญคือการให้ความสนใจกับบริษัทที่มีหุ้นราคาถูก แต่ทำงานในกิจการที่ดูสดใส ต้นแบบการลงทุนนี้จึงมีหลายอย่างที่คล้ายกันกับต้นแบบของ Greenblatt

กลยุทธ์หุ้นปันผล

ชื่อกลยุทธ์ก็ชัดเจนอยู่แล้วว่ากลยุทธ์กลุ่มนี้เน้นหุ้นที่มีเงินปันผลสูงที่สุด ซึ่งในที่นี้คุณควรให้ความสนใจสิ่งเหล่านี้:

● ในการเทรด CFD หากคำสั่งซื้อนั้นถือไว้ในวันที่ชำระเงินปันผล จำนวนเงินปันผลจะโอนเข้าสู่บัญชีของนักเทรด

● ในการเทรดขายก็เป็นในทางกลับกัน คือ ต้องจ่ายจำนวนเงินปันผล

ทั้งนี้ ควรพิจารณาว่าราคาหุ้นมักจะขยับขึ้นในช่วงใกล้ประกาศเงินปันผล และหลังจากนั้นก็จะปรับลดลง

กลยุทธ์หุ้นปันผล ได้แก่ โมเดลของ Higgins Big Five และ the Dogs of the Dow อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเราให้สัญญาว่าจะนำเสนอวิธีการเทรดที่เรียบง่ายที่สุด เราจะเน้นกลยุทธ์ Four Fools เป็นหลัก ซึ่งบางท่านเรียกว่าเป็นการพนันแบบโง่เขลา แต่ผู้สนับสนุนมากมายก็อ้างว่ากลยุทธ์นี้ทำกำไรได้ดีจริง

กลยุทธ์นี้มีหลักการง่าย ๆ เริ่มต้นด้วยการเลือกบริษัทที่มีผลตอบแทนเป็นเงินปันผลสูงที่สุด 30 บริษัทแรก นำผลตอบแทนมาหารด้วยรากที่สองของราคาหุ้นบริษัท หลังจากการคำนวณง่าย ๆ นี้เราจะได้ตัวเลขดัชนีมาเปรียบเทียบกัน และเราจะเลือกบริษัท 4 แห่งที่มีผลลัพธ์สูงที่สุด และเปิดคำสั่งซื้อกับบริษัทนั้น ๆ

การลงทุนระยะยาวในหุ้นบลูชิป

“บลูชิป” คือ คำศัพท์ไม่เป็นทางการของหุ้นบริษัทขนาดใหญ่และมีสภาพคล่องมากที่สุดรอบโลก ซึ่งมีผลกำไรมั่งคงและแนวโน้มการเติบโตที่ดีที่สุด สินทรัพย์เหล่านี้มีความน่าเชื่อถือสูง ซึ่งนักลงทุนแบบอนุรักษ์นิยมมักจะชื่นชอบในการลงทุน โดยจะเพิ่มเงินทุนอย่างเป็นระบบและมีความเสี่ยงต่ำ

หุ้นกลุ่มนี้คือหุ้นที่ NordFX นำเสนอให้กับลูกค้าในการลงทุนแบบเชิงรับระยะยาว แต่แน่นอนว่าไม่มีใครห้ามถ้าจะเทรด CFD ในระยะสั้นหรือระยะกลางกับหุ้นกลุ่มนี้เช่นกัน เพราะนักเทรดสามารถทำรายได้ได้ทั้งจากขาขึ้นและขาลงของสินทรัพย์เหล่านี้


« บทความมีประโยชน์
ติดตามเรา (ในโชเซียลเน็ตเวิร์ค)