มิถุนายน 11, 2021

ฟอเร็กซ์คืออะไร กำเนิดขึ้นเมื่อไร อย่างไร และทำไม? นักเทรดและนักลงทุนทุกคนควรรู้คำตอบต่อคำถามเหล่านี้ เพราะหากคุณตอบไม่ได้ คุณจะเป็นมืออาชีพได้อย่างไร?

ตั้งแต่ “คู่สกุลเงิน” คู่แรก จนถึง โบรกเกอร์และเทรดเดอร์

คุณคิดว่าประวัติศาสตร์ตลาดฟอเร็กซ์เริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อไร? ชื่อตลาดนี้เป็นชื่อย่อของคำศัพท์ภาษาอังกฤษสองคำ คือ Foreign Exchange ซึ่งก็คือ Currency Exchange หรือ การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การแลกเปลี่ยนเป็นคำที่มีความชัดเจน คือ คุณให้อะไรบางอย่าง เพื่อแลกกลับมาด้วยอะไรบางอย่าง แต่เงินตรานั้นคืออะไร?

ในพจนานุกรม "Finance, Money and Credit" ให้นิยามไว้กว้าง ๆ ว่า “เงินตราคือวัตถุสื่อกลางใด ๆ ที่สามารถทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนได้” หลายพันปีก่อนหน้านี้ คนในยุคโบราณแลกหนังของช้างแมมมอธกับลูกศรที่ทำจากกระดูก บางทีนี่อาจเป็น “คู่สกุลเงิน” แรกที่เริ่มขึ้น และต่อยอดมาจนเป็นสิ่งที่เราเรียกในปัจจุบันว่าฟอเร็กซ์ (Forex) ก็เป็นได้

บทบาทของเงินในช่วงเวลาต่าง ๆ และในบริเวณต่าง ๆ บนโลกของเรานั้นมีการแลกเปลี่ยนโดยใช้สิ่งของต่าง ๆ ทั้งก้อนหินที่มีรูและเปลือกหอย เกลือ น้ำผึ้ง สัตว์ เมล็ดข้าว ทาส เนย เมล็ดโกโก้ กระดูกปลาวาฬ และแม้แต่...เบียร์ ในอาซีเรียและอียิปต์ ทองคำถูกใช้เป็นเงินตั้งแต่ช่วงปี 2000 BC แต่มนุษย์ใช้เวลากว่า 15 ศตวรรษถัดมา เพื่อขยับจากชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโลหะมีค่า จนผลิตเป็นเหรียญให้ได้มาตรฐานตามปัจจุบัน ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 7 เท่านั้น ส่วนเงินที่ผลิตจากกระดาษปรากฏครั้งแรกในจีนในช่วงปี 910 ซึ่งถือว่าไม่นานนักตามมาตรฐานทางประวัติศาสตร์

สี่ศตวรรษถัดมาในปี 1291 อีกหนึ่งความก้าวหน้าเกิดขึ้นซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งตลาดการเงินระหว่างประเทศในเมืองฟลอเรนซ์ (เมืองปัจจุบันในอิตาลี) ในเวลานั้น ประเทศที่พัฒนาแล้วล้วนมีเงินตราเป็นของตนเอง แต่ไม่มีใครรู้ว่าจะต้องใช้เงินกี่ชิลลิ่ง กี่เหรียญ หรือกี่ปอนด์ เพื่อแลกเป็นเงินสกุลอื่น ๆ และเวลานั้นเองที่เริ่มเกิดตลาดแลกเปลี่ยน และอัตราแลกเปลี่ยนก็เริ่มถูกกำหนดโดยธนาคารเอกชน

ตลาดฟอเร็กซ์ยังเริ่มเป็นรูปเป็นร่างในช่วงศตวรรษที่ 16 ในกรุงอัมสเตอร์ดัม (เนเธอร์แลนด์) และจากนั้นก็ในเมืองขนาดใหญ่อื่น ๆ ที่ซึ่งการเทรดในเงินตราต่าง ๆ เริ่มขึ้น อัตราแลกเปลี่ยนผันผวนโดยขึ้นอยู่กับเงินคงคลังของประเทศที่ออกเงินตรานั้น ๆ ในช่วงเวลานี้เองที่นักเทรดและโบรกเกอร์สื่อกลางเริ่มปรากฏขึ้นในตลาด และเข้ามาทำธุรกิจในการขึ้นเงินสดและแลกเปลี่ยนเงินตรา

นักเทรดและนักลงทุนจำเป็นต้องรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ตลาดฟอเร็กซ์1

ทองคำ คือ โลหะมีค่าที่สำคัญที่สุด

แม้เวลาจะผ่านไปหลายร้อยปี ทองคำยังคงเป็นหินมีค่าที่แข็งแกร่ง ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่มีความยั่งยืนมากที่สุด ซึ่งบรรดาพ่อค้า นักอุตสาหกรรม ธนาคาร และเหล่าราชวงศ์ถือครองเก็บสะสม และเงินตราของประเทศต่าง ๆ ล้วนมีทองคำสำรองเก็บสะสมไว้เช่นกัน

อัตราแลกเปลี่ยนของทองคำกับค่าเงินสกุลหลักในช่วงเปลี่ยนผ่านยุคศตวรรษที่ 19 เป็น 20 มีมูลค่าดังนี้:

● 1 ดอลลาร์ - 1.50463 กรัมของทองคำแท้

● 1 ปอนด์สเตอร์ลิง - 7.322382 กรัมของทองคำแท้

● 1 ฟรังก์ฝรั่งเศส - 0.290323 กรัมของทองคำแท้

● 1 มาร์คเยอรมัน - 0.358423 กรัมของทองคำแท้

เหรียญทองคำมีการหมุนเวียนอย่างอิสระควบคู่กับธนบัตรกระดาษ และปริมาณธนบัตรนั้นถูกกำหนดโดยขึ้นอยู่กับปริมาณทองคำสำรองของแต่ละประเทศ

สถานการณ์ที่ดูมีเสถียรภาพนี้เริ่มตั้งแต่ปี 1879 จนถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 1914 เมื่อการแลกเปลี่ยนเงินพันธบัตรเป็นทองคำแบบอิสระนั้นยุติลง

ภาวะเงินเฟ้อสูงลิ่วหลังสงครามในเยอรมนีในช่วงปี 1920-1923 กลายเป็นหนึ่งในโศกนาฏกรรมทางเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของศตวรรษที่ 20 โดยภาวะเงินเฟ้อสูงถึง 3.25 ล้านเปอร์เซ็นต์ต่อเดือน (คือ ราคาเพิ่มขึ้นสองเท่าทุก ๆ 49 ชั่วโมง) แรงงานพยายามที่จะรับค่าจ้างทุกวันและซื้อทุกอย่างด้วยเงินที่พวกเขาได้รับในช่วงกลางวันวันเดียวกัน แต่แม้กระนั้น ภาวะเงินเฟ้อก็กินเงินถึงหนึ่งในสามของเงินที่พวกเขาหามาได้ ธนบัตรถูกใช้ในการอุ่นเตาไฟแทนเชื้อเพลิง และในปี 1923 พรรคนาซีก็ขึ้นสู่อำนาจนำโดย นายอดอล์ฟ ฮิตเลอร์

เราไม่ได้กำลังบอกว่าภาวะเงินเฟ้อสูงลิ่วในช่วงปี 1920s ในเยอรมนีนั้นเป็นปรากฏการณ์เฉพาะตัว สถานการณ์ที่คล้ายกันก็เคยเกิดขึ้นในโซเวียตรัสเซีย โปแลนด์ ฮังการี ออสเตรีย ซึ่งกระตุ้นแนวคิดให้กลับมาใช้ “มาตรฐานทองคำ” อย่างไรก็ตาม วิกฤติทางการเงินโลกในปี 1929 บีบบังคับให้ต้องยกเลิกระบบดังกล่าวอีกครั้ง และสงครามโลกครั้งที่สองก็เริ่มขึ้นในเวลาไม่กี่ปีถัดมา

จากสงครามโลกที่สองถึงปัจจุบัน

ระยะถัดมาซึ่งมีความสำคัญต่อตลาดนั้นเริ่มขึ้นในเมืองรีสอร์ทเล็ก ๆ ชื่อ เบร็ตตันวูดส์ (สหรัฐฯ) ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานการประชุมระบบการเงินของสหประชาชาติเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 1944 โดยมีผู้แทน 730 คน จาก 44 ประเทศ มารวมตัวกัน

ที่งานประชุมนี้เองจึงได้กำเนิดเป็นระบบการเงินที่เรียกว่าเบร็ตตันวูดส์ เป็นการวางรากฐานและนำมาซึ่งการตัดสินใจให้จัดตั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนา (IBRD)

งานประชุมที่เบร็ตตันวูดส์ยังส่งผลให้เกิดการจัดตั้งระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ระหว่างประเทศ ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานทองคำ ภายใต้ระบบนี้ สกุลเงินจะผูกอยู่กับดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งกลายเป็นสกุลเงินสำรอง และสามารถแปลงเป็นทองคำได้ที่ราคาคงที่ คือ $35 ต่อออนซ์

“การตรึง” ค่าเงินดอลลาร์กับโลหะมีค่านี้ก่อให้เกิดปัญหาในสหรัฐฯ ในเวลาถัดมา ต้นทุนค่าใช้จ่ายในสงครามเวียดนาม ภาวะเงินเฟ้อจากธนาคารเฟด และอีกหลากหลายสาเหตุทำให้ทองคำสำรองของอเมริกาต้องหมดลงในปี 1960s กระทรวงการคลังไม่มีทองคำเพียงพอที่จะชดเชยดอลลาร์จำนวนมหาศาล ซึ่งเป็นเงินสำรองในธนาคารประเทศอื่น ๆ

ทองคำสำรองของสหรัฐฯ ที่ขาดแคลนทำให้ระบบนี้ทรุดตัวลง และเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1971 นายริชาร์ด นิกสัน ประกาศระงับการแปลงดอลลาร์สหรัฐเป็นทองคำโดยฝ่ายเดียว การตัดสินใจนี้ทำให้ดอลลาร์กลายเป็นค่าเงินทั่วไป และราคาทองคำสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว (ในปี 1980 ราคาทองคำอยู่ที่ $850 ต่อออนซ์ และราคาขึ้นมาเป็น $2,075 ในเดือนสิงหาคม ปี 2020)

หลังการตัดสินใจที่สุดช็อคของประธานาธิบดีนิกสัน ระบบการเงินระหว่างประเทศก็มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง โดยปรับมาเป็นอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ในปี 1976 การประชุมระหว่างประเทศที่จาไมกาทำให้เกิดระบบสมัยใหม่ ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้ถูกกำหนดโดยรัฐบาล แต่โดยตลาดซึ่งเป็นไปตามหลักอุปสงค์และอุปทาน นอกจากนี้:

- ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ธนาคารกลางได้รับอนุญาตให้ซื้อและขายทองคำเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วไปที่ราคาตลา

- และเงินปอนด์อังกฤษ ฟรังก์สวิส เยนญี่ปุ่น มาร์คเยอรมัน และฟรังก์ฝรั่งเศส ได้รับการรับรองในฐานะสกุลเงินสำรอง นอกเหนือจากดอลลาร์สหรัฐ (ซึ่งสองสกุลหลังเปลี่ยนมาใช้ยูโรในเวลาต่อมา)

ระบบจาไมกันนี้ยังคงใช้งานในโลกปัจจุบัน แต่วิกฤติโลกในช่วงปี 2008-2009 ทำให้เกิดคลื่นการถกเถียงกันถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงระบบ แต่ก็ยังไม่มีการตัดสินใจที่เฉพาะเจาะจงใด ๆ เกิดขึ้น

การเทรดในศตวรรษที่ 21

คนที่เคยเทรดมานานอาจยังพอจำช่วงเวลาที่โบรกเกอร์ทำงานกันในตลาดหลักทรัพย์ อยู่ในห้องประชุมที่เต็มไปด้วยเสียงคู่แข่งตลอดเวลา และลูกค้าส่งคำสั่งซื้อขายให้กับโบรกเกอร์ผ่านทางโทรสาร หรือโทรศัพท์ แต่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่ได้หยุดนิ่ง พัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการปรากฏขึ้นของอินเทอร์เน็ตเปลี่ยนชีวิตบนโลกของเราเป็นอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ก็เข้ามาสู่ในตลาดการเงินด้วยเช่นกัน

นับตั้งแต่ปี 1995 เราสามารถทำธุรกรรมออนไลน์ได้ 24 ชั่วโมง แต่ช่วงที่ตลาดฟอเร็กซ์เริ่มเป็นที่นิยมนั้นเริ่มในปี 2002 เมื่อคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเริ่มเข้าถึงได้โดยคนหลายแสนหลายล้านคนรอบโลก หากกิจกรรมต่าง ๆ ในอดีตเคยเป็นของคนชนชั้นสูงเป็นหลัก ขณะนี้ ตลาดเริ่มเข้าถึงมือของคนธรรมดาทั่ว ๆ ไป เนื่องด้วยเงินฝากขั้นต่ำจำนวนไม่มาก และอัตราทด (สำหรับโบรกเกอร์ NordFX อยู่ที่ 10 USD และ 1:1000 ตามลำดับ) ทำให้คนรายได้ต่ำก็สามารถเพิ่มรายได้ของตนเองได้อย่างจริงจัง และมีตัวช่วยที่เป็นประโยชน์ ดังนี้:

● ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ทางเทคนิคและปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งสามารถรับได้ทางออนไลน์โดยไม่ต้องออกจากบ้าน

● การเทรดโดยอัตโนมัติโดยหุ่นยนต์ที่ปรึกษา

● รวมถึงบริการการเทรดโซเชียลอย่าง PAMM และ Copy Trading ซึ่ง NordFX นำเสนอให้กับลูกค้า


« บทความมีประโยชน์
ติดตามเรา (ในโชเซียลเน็ตเวิร์ค)