มิถุนายน 19, 2021

อันดับแรกเป็นบทรีวิวเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว

  • EUR/USD การประชุมของธนาคารเฟดสหรัฐฯ เมื่อวันพุธที่ 16 มิถุนายน คือ เหตุการณ์สำคัญของสัปดาห์ที่แล้ว ในที่ประชุมไม่มีการตัดสินใจที่สำคัญใด ๆ เกิดขึ้น อัตราดอกเบี้ยคงที่ที่ 0.25% ธนาคารเฟดจะยังคงตีพิมพ์ธนบัตรและซื้อคืนสินทรัพย์ต่อไปในปริมาณเดิมที่ $120 พันล้านดอลลาร์ แต่อย่างที่คาดการณ์ไว้ หลังการประชุมดังกล่าวได้มีการเปิดเผยแผนโรดแมปของธนาคารฯ ทำให้ฝั่งกระทิงของดอลลาร์สมใจตามที่รอคอย
    นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารเฟด และเพื่อนร่วมงานของเขาปรับเพิ่มตัวเลขการคาดการณ์ GDP สำหรับปี 2021 เป็น 7% และยังตระหนักถึงความจำเป็นในการหารือเรื่องการจำกัดมาตรการกระตุ้นทางการคลัง (QE) ธนาคารเฟดยังไม่มีเจตนาที่จะเพิกเฉยต่อภาวะเงินเฟ้อที่เร่งตัวสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงปี 1990s อย่างไรก็ตาม นายพาวเวลล์ชี้ว่า ตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงห่างไกลจากระดับก่อนวิกฤติ ดังนั้นจึงควรรักษาสภาพเงื่อนไขทางการเงินไว้ในตอนนี้ และในการประชุมแต่ละครั้ง ผู้บริหารจะพิจารณาเรื่องการลดมาตรการ QE โดยเขาจะกำหนดระดับการจ้างงานที่หลังจากนั้นจึงจะลดมาตรการต่าง ๆ ได้ ในการประชุมครั้งถัดไปวันที่ 28 กรกฎาคม
    นักลงทุนยังได้รับสัญญาณถึงความตั้งใจที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยก่อนความคาดหมาย ตัวเลขเฉลี่ยของผู้บริหารธนาคารเฟดชี้ให้เห็นว่า อัตราดอกเบี้ยอาจค่อย ๆ ขึ้น 0.5-0.6% ภายในสิ้นปี 2023 ในขณะเดียวกัน นายเจอโรม พาวเวลล์ เน้นความสำคัญของวัคซีนที่ส่งผลในทางบวกต่อตลาดแรงงาน และอีกไม่นานเราน่าจะได้เห็นรายงานการจ้างงานที่แข็งแกร่ง ภาวะเงินเฟ้ออาจแข็งแกร่งยิ่งกว่าแต่ก็มีความคงที่มากกว่าผู้บริหารธนาคารฯ คาดการณ์ และจะต้องอาศัยท่าทีตอบสนองที่รวดเร็วยิ่งกว่าต่อสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น
    การคาดการณ์ในท่าที “ไม้แข็ง” เช่นนี้ของธนาคารเฟดช่วยฟื้นความต้องการดอลลาร์ในตลาดโดยทันที นักลงทุนยังคงซื้อ USD ต่อแม้ว่าสถิติเศรษฐกิจมหภาคจะยังคงอ่อนแอ โดยเชื่อว่าดัชนีต่าง ๆ จะดีขึ้นหลังจากที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัว
    หนึ่งในสกุลเงินหลักที่ได้รับผลกระทบเมื่อสัปดาห์ที่แล้วคือ ยูโร เศรษฐกิจยุโรปยังตามของอเมริกาไม่ทันในทางใด ๆ ตามความเห็นของ นายฟิลิป เลน นักเศรษฐศาสตร์ระดับสูงของธนาคารกลางยุโรปชี้ว่า เดือนกันยายนยังจะเร็วเกินไปมากที่จะพูดถึงการลดมาตรการ QE ในยูโรโซน
    ด้วยเหตุนี้ ตั้งแต่ราคาเริ่มต้นที่ 1.2125 เมื่อวันที่ 16 มิถุยน และขยับขึ้นไป 280 จุด EUR/USD ได้ขยับลงมายังด้านล่างของกรอบที่ 1.1845 เมื่อวันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน โดยปิดตลาดที่ 1.1865 ในโซนที่ราคากลับมาหลังระยะเวลาสิบสัปดาห์
  • GBP/USD หากยูโรอ่อนค่าลงเทียบกับดอลลาร์ 280 จุด เงินปอนด์ลงมากว่า 340 จุด เทียบกับดอลลาร์ ทัศนคติในทางบวกต่อเงินปอนด์อังกฤษกำลังค่อย ๆ ละลายหายไปราวกับหมอกที่ปกคลุมลอนดอน หลังจาก นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีประกาศเลื่อนการเปิดธุรกิจในประเทศออกไปอีกหนึ่งเดือน เนื่องด้วยยอดผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ Delta ที่พุ่งสูงขึ้น ซึ่งค้นพบครั้งแรกในอินเดียและเพิ่มความเสี่ยงในการต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นสองเท่า แม้ว่าประชากรผู้ใหญ่กว่า 80% ของประเทศได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อยหนึ่งโดส และ 30% ได้รับวัคซีนแล้วสองโดสก็ตาม
    เงินปอนด์ยังตกอยู่ภายใต้แรงกดดันจากความสัมพันธ์ที่ไม่มั่นคงมากขึ้นระหว่างลอนดอนและบรัสเซลส์หลังจากเบร็กซิต ซึ่งมีผลต่อการค้าระหว่างไอร์แลนด์เหนือและพื้นที่ที่เหลือของสหราชอาณาจักร
    ด้วยเบื้องหลังข่าวที่ไม่พึงปรารถนาเหล่านี้ อีกหนึ่ง “แรงขาย” เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน เป็นผลมาจากธนาคารเฟดสหรัฐฯ ซึ่งทำให้เงินปอนด์ดิ่งลงมายังระดับ 1.3790 และปิดตลาดไม่ไกลจากบริเวณดังกล่าว
  • USD/JPY การคาดการณ์สำหรับห้าวันที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ (60%) โหวตให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น และราคาคู่นี้เติบโตต่อไปที่โซน 110.00-110.30 และเมื่อดูผลลัพธ์ในรอบสัปดาห์จะเห็นว่ากลุ่มนี้ทำนายได้ถูกต้อง โดยราคาเริ่มต้นที่ 109.70 และปิดที่ 110.20
    ชัดเจนว่าถ้อยแถลงของ นายเจอโรม พาวเวลล์ และผู้บริหารคนอื่น ๆ ของธนาคารกลางฯ ก็ส่งผลต่อพฤติกรรมคู่ USD/JPY ด้วยเช่นกัน ราาคาขยับถึง 110.80 ที่ระดับสูงสุด นอกเหนือจากการแข็งค่าของดอลลาร์แล้ว สถิติเศรษฐกิจมหภาคที่อ่อนแอจากญี่ปุ่นก็ส่งผลเป็นแรงกดดันต่อเงินเยนเช่นกัน ทำให้จำนวนคำสั่งซื้อสินค้าวิศวกรรมชะลอตัวจาก +3.7% เป็น +0.6% จากที่คาดการณ์ไว้คือ 2.7% แน่นอนว่า อัตราดังกล่าวเติบโตขึ้น 6.5% ในรอบปี แต่ยังคงต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 8%
    แม้ว่าจะค่าเงินสกุลอื่น ๆ จะดูอ่อนค่าหนัก แต่เงินเยนญี่ปุ่นดูมีแรงต้านทานมากที่สุดต่อเงินดอลลาร์ ในขณะที่ยูโร ปอนด์ และสกุลเงินอื่น ๆ อ่อนค่าลง เงินเยนกลับฟื้นขึ้นมาประมาณ 60% โดยนักวิเคราะห์จำนวนหนึ่งมองว่าเป็นผลมาจากความต้องการความเสี่ยงที่ลดลงในตลาด และนักลงทุนต้องการถือสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น
  • คริปโตเคอเรนซี เป็นที่ชัดเจนมานานว่าข่าวนั้นมีอิทธิพลค่อนข้างสำคัญต่ออัตราแลกเปลี่ยนของคริปโตเคอเรนซี อย่างไรก็ตาม ความผันผวนที่ทรงพลังยิ่งกว่าในตลาดนี้มาจากการลงทุนขนานใหญ่เช่นกัน ในสัปดาห์ที่แล้วไม่ปรากฏการลงทุนรอบใหญ่ใด ๆ ในทางกลับกัน มูลค่ารวมในตลาดคริปโตลดลงเล็กน้อยจาก $1.585 ล้านล้านเหรียญ เหลือ $1.1560 ล้านล้านเหรียญ ดังนั้นจึงเหลือแค่เพียงข่าวผู้ทรงอิทธิพลและหน่วยงานทางการที่ส่งผลต่อราคา
    ในส่วนของผู้ทรงอิทธิพลนั้นเป็นข้อความทวีตจาก นายอีลอน มัสก์ อีกครั้ง ในครั้งนี้ เจ้าของบริษัท Tesla กล่าวว่า บริษัทจะกลับมาขายรถยนต์ไฟฟ้าเป็นเงิน BTC เมื่อนักขุดเหรียญครึ่งหนึ่งเป็นอย่างน้อยหันมาใช้พลังงานทดแทน บิทคอยน์ขึ้นมา 12% จากทวีตดังกล่าวตามรายงานของ CoinGecko
    สิ่งที่ควรเน้นก็คือ ทวีตข้อความเป็นการโต้ตอบต่อข้อวิจารณ์จากประธานบริษัทการเงิน Sygnia Magda Wierzycki ซึ่งเธอกล่าวในรายการพอดแคสต์ว่า เศรษฐีพันล้านรายนี้ขึ้นราคาเหรียญบิทคอยน์โดยตั้งใจและขายส่วนแบ่งของเขาไปในช่วงที่ราคาสูงสุด ซีอีโอของ Syngia ยังเน้นย้ำด้วยว่า หากทวีตข้อความของนายมัสก์นั้นเกี่ยวกับบริษัทสาธารณะทุกแห่ง เขาคงเป็นเป้าหมายของคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ (SEC) ไปแล้ว
    ขณะนี้มาถึงหน่วยงานทางการ ข่าวนี้มาจากทั่วทุกสื่อ นายอาลี คูลี รัฐมนตรีการคลังตูนิเซีย ประกาศถึงความจำเป็นที่จะเปลี่ยนแปลงกฎหมายของประเทศให้ “ยกเลิกความผิดกฎหมาย” ของการเป็นเจ้าของบิทคอยน์ รัฐบาลประเทศอินเดียก็เปลี่ยนท่าทีอารมณ์โกรธและหันมาสงสารบิทคอยน์ ในขณะนี้ที่ประเทศตูนิเซียวางเป้าหมายที่จะไม่สั่งแบน แต่จะเข้ามากำกับดูแลแวดวงคริปโต ธนาคารในเท็กซัส (สหรัฐฯ) ยังได้รับอนุญาตให้ยอมรับและจัดเก็บเหรียญบิทคอยน์ของลูกค้าได้ รวมถึงจัดการกับธุรกรรมคริปโตเคอเรนซีของลูกค้าได้อีกด้วย ทั้งนี้ในบรรดารัฐทั้งหมดในสหรัฐฯ เท็กซัสคือหนึ่งในรัฐแรก ๆ ที่เดินหน้าสู่ตลาดนี้มาตั้งแต่ปี 2019
    เหตุการณ์ที่คล้ายกันกำลังเกิดขึ้นในประเทศเอลซาวาดอร์ นายนายิบ บูเคเล ประธานาธิบดีของประเทศนี้ได้เสนอ “กฎหมายบิทคอยน์” ให้รัฐสภาพิจารณา ภายใต้ร่างกฎหมายฉบับนี้ คริปโตเคอเรนซีจะได้รับการยอมรับเป็นสิ่งถูกกฎหมายและบริษัทจะต้องยอมรับ BTC เป็นสื่อกลางในการชำระเงิน นอกจากนี้ การเทรดบิทคอยน์ยังได้รับการยกเว้นภาษีรายได้อีกด้วย
    แต่เจ้าหน้าที่ยุโรปคนสำคัญบางคนกลับไม่ค่อยชื่นชอบสินทรัพย์ดิจิทัลเท่าใดนัก นายปีเตอร์ ฮาเซอคัมป์ ผู้อำนวยการสำนักงานการวิเคราะห์เศรษฐกิจของกระทรวงเศรษฐกิจแห่งเนเธอร์แลนด์กล่าวว่า ควรสั่งแบนการขุดเหรียญและธุรกรรมบิทคอยน์อย่างสมบูรณ์โดยทันที ในความเห็นของเขา ทองคำดิจิทัลนี้ไม่มีมูลค่าที่แท้จริง และใช้งานในสภาพแวดล้อมที่ผิดกฎหมาย และการทรุดตัวลงของตลาดคริปโตนั้นคือสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
    แต่เมื่อดูจากเทรนด์ที่กำลังปรากฏขึ้นนั้น นายฮาเซอคัมป์อาจเป็นเพียงแค่คนส่วนน้อย หน่วยงานทางการส่วนใหญ่จะพยายามควบคุมสินทรัพย์ดิจิทัล เปรียบเสมือนกับสิ่งที่ นายกรัฐมนตรี ออตโดต วอน บิสมาร์ค ของเยอรมนี เคยพูดซ้ำ ๆ เมื่อช่วงศตวรรษที่ 19 ว่า “หากคุณเอาชนะศัตรูไม่ได้ จงนำมันซะ”
    ข่าวต่าง ๆ และความอยากแก้แค้นของฝั่งกระทิงส่งผลให้คู่ BTC/USD ทะยานขึ้นมาในช่วงต้นสัปดาห์ที่ $41,260 เมื่อวันอังคารที่ 15 มิถุนายน อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าขึ้นของดอลลาร์อย่างรวดเร็วหลังการประชุมของธนาคารเฟดทำให้เทรนด์ขาลงกลับทิศทาง และราคาลงมาต่ำกว่าระดับ $36,000 ในช่วงปลายสัปดาห์
    ดัชนีการครองตลาดของบิทคอยน์ก็เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 44.03% เป็น 45.33% สิ่งเดียวกันนั้นเกิดขึ้นกับดัชนี Crypto Fear & Greed Index ซึ่งขยับขึ้นมาจาก 21 เป็น 25 จุด ทั้งนี้ คู่ BTC/USD เดิมขยับด้านข้างในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม และดัชนีนี้ไม่เคยออกนอกกรอบ 20-40 จุด

 

สำหรับบทวิเคราะห์ของสัปดาห์นี้ เราได้สรุปความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์มากมาย รวมถึงคำคาดการณ์ที่วิเคราะห์จากพื้นฐานทางเทคนิคและสถิติกราฟต่างๆ โดยเราสามารถสรุปผลวิเคราะห์ได้ดังต่อไปนี้:

  • EUR/USD แนวโน้มขาลงของ EUR/USD แปลว่าเทรนด์กลับทิศทางใช่หรือไม่? หรือทุกอย่างจะกลับเป็นปกติในเร็ว ๆ นี้ และดอลลาร์จะอ่อนค่าต่อ? (เดิมเมื่อช่วงปี 2016-2017 ค่าเงินสองสกุลนี้เกือบจะเท่ากันเป็นคู่ขนาน ในตอนนั้น 1 ยูโร เท่ากับ $1.034 เท่านั้น แต่หลังจากเวลาเพียงหนึ่งปี ยูโรมีมูลค่าเป็น $1.2565)
    จากถ้อยแถลงของธนาคารเฟด ธนาคารบางแห่งเริ่มละทิ้งการคาดการณ์แบบกระทิงสำหรับยูโร ในขณะที่ธนาคารบางแห่งยังรอพักอยู่ ด้านธนาคารอื่น ๆ เช่น Societe Generale คาดการณ์ว่าราคาคู่นี้จะกลับมาสู่ระดับ 1.2000 ความเห็นในหมู่ผู้เชี่ยวชาญแบ่งเป็นสองส่วนเกือบเท่า ๆ กัน 55% โหวตว่าคู่นี้จะขยับลงต่อไป และ 45% ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยการวิเคราะห์กราฟบนกรอบ H4 เห็นด้วยกับแนวโน้มขาขึ้น ในกลุ่มหลังนี้ชี้ว่า การพูดถึงเทรนด์ที่กลับตัวนั้นยังเร็วเกินไป เรายังต้องรอการยืนยันเพิ่มเติม และแนวโน้มขาลงที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลมาจากการเก็งล่วงหน้าจากถ้อยแถลงของธนาคารเฟด ซึ่งนำไปสู่ภาวะวิตกและปิดตำแหน่งซื้อจำนวนมาก
    ผลการวิเคราะห์ทางเทคนิคมีดังนี้: อินดิเคเตอร์เทรนด์ 100% และออสซิลเลเตอร์ 100% บนกรอบ H4 และ D1 ให้สัญญาณสีแดง แต่ในขณะเดียวกัน ออสซิลเลเตอร์ 35% บนทั้งสองกรอบเวลาอยู่ในโซน oversold แล้ว ซึ่งอาจชี้ว่าราคากำลังเข้าสู่การปรับฐานขึ้นด้านบน
    ราคาคู่นี้ปิดตลาดเมื่อสัปดาห์ที่แล้วในโซนระดับแนวรับแนวต้านที่สำคัญ ซึ่งราคาพยายามฝ่ามาเป็นระยะ ๆ นับตั้งแต่ปี 2017 เป้าหมายที่ใกล้ที่สุดของตลาดหมี คือ ระดับต่ำสุดของวันที่ 31 มีนาคม 2021 ที่ 1.1700 ส่วนเป้าหมายถัดไป คือ ราคาต่ำสุดของวันที่ 4 เมษายน 2020 ที่ 1.1600 ฝั่งกระทิงจะพยายามฟื้นตัวขึ้นมา แนวต้านสำคัญแรกอยู่ในโซน 1.1985-1.2000 และแนวต้านถัดไปอยู่ห่างขึ้นมาอีก 100 จุด เป้าหมายคือการทำระดับสูงสุดของเดือนพฤษภาคมที่ 1.2265 อย่างไรก็ตามอาจต้องใช้เวลามากกว่าหนึ่งสัปดาห์ในการไปถึงระดับดังกล่าว และในที่นี้ควรคำนึงว่า เมื่อปรับมาเป็นการคาดการณ์ในระยะกลาง ฝั่งกระทิงกลับเป็นต่อ โดยมีจำนวนผู้เห็นด้วยเพิ่มเป็น 60% จาก 45%
    ในส่วนเหตุการณ์สำคัญทางยุทธศาสตร์ในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ ควรให้ความสำคัญกับถ้อยแถลงของ นางคริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรป ในวันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน และวันพุธที่ 23 มิถุนายน รวมถึงการประชุมของสภายุโรปในวันที่ 24-25 มิถุนายน และถ้อยแถลงของ นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารเฟดต่อสภาคองเกรสในวันที่ 22 มิถุนายน นอกจากนี้ ดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจของ Markit เยอรมนีจะประกาศให้ทราบในวันที่ 23 มิถุนายน ตามมาด้วยจำนวนคำสั่งซื้อสินค้าทุนและสินค้าคงทน รวมถึงสถิติ GDP สหรัฐฯ ประจำปีในวันถัดมา
  • GBP/USD ในวันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน จะมีการประชุมของธนาคารแห่งชาติอังกฤษเกิดขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์นี้ ผู้เชี่ยวชาญยังคงวิเคราะห์สถิติเศรษฐกิจที่จะมาถึง เพื่อพยายามคาดการณ์ท่าทีที่อาจเป็นไปได้ของธนาคารกลางฯ
    อย่างที่ระบุไว้ในตอนต้นของบทวิเคราะห์ฉบับนี้ ปัจจัยในทางลบประกอบด้วยความเสี่ยงของการขาดแคลนแรงงานจากปัญหาเบร็กซิต ความขัดแย้งในไอร์แลนด์เหนือ และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่
    ท่ามกลางตัวเลขสถิติมหภาคที่ค่อนข้างดี ยอดขายปลีกในสหราชอาณาจักรกลับลดลงอย่างผิดความคาดหมาย โดยเฉพาะในส่วนอาหาร ตรงนี้ทำให้หลายคนมองว่าการเติบโตของ GDP ประเทศในเดือนพฤษภาคม และในไตรมาสที่สองของปี 2021 จะไม่แข็งแกร่งอย่างที่คาดการณ์ไว้
    รายงานซึ่งประกาศเมื่อวันพุธที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่า ภาวะเงินเฟ้อทั่วไปในประเทศกำลังสูงขึ้น และอัตรา CPI ประจำปีขึ้นมาที่ 2.1% เกินเป้าหมาย 2% เป็นครั้งแรกในรอบสองปี
    นอกเหนือจากสถิติตลาดแรงงานที่เป็นบวกของสหราชอาณาจักรซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 15 มิถุนายนนั้น ธนาคารแห่งชาติอังกฤษอาจเริ่มพูดคุยเรื่องการลดมาตรการ QE ในอนาคตอันใกล้ สำหรับมาตรการเฉพาะเจาะจงของธนาคารฯ ในขณะนี้ มีแนวโน้มสูงว่าธนาคารจะไม่ดำเนินการแบบฉับพลันใด ๆ และปล่อยให้นโยบายทางการเงินไม่มีการเปลี่ยนแปลงเหมือนกันกับฝั่งสหรัฐฯ และยุโรป อย่างไรก็ตาม ฝ่ายผู้บริหารของธนาคารแห่งชาติอังกฤษยังไม่ตัดโอกาสท่าทีนโยบายตึงตัวคล้ายกันกับของฝั่งสหรัฐฯ และพวกเขาอาจพยายามผลักดันให้เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นได้เช่นกัน
    นักวิเคราะห์ 55% คาดว่าเงินปอนด์จะแข็งค่าขึ้น ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยการวิเคราะห์กราฟบนกรอบ D1 นอกจากนี้ เมื่อปรับมาเป็นการคาดการณ์สำหรับเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม จำนวนดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 70% ผลการวิเคราะห์อินดิเคเตอร์ทางเทคนิคก็คล้ายกันกับของคู่ EUR/USD ทั้ง 100% บนสองกรอบเวลากำลังหันไปทางทิศใต้ จริงอยู่ที่ออสซิลเลเตอร์ 25% อยู่ในโซน oversold ในที่นี้ ไม่ใช่ 35% โดยมีแนวรับสำคัญที่ใกล้ที่สุดอยู่ในโซน 1.3670-1.3700 ตามมาด้วย 1.3600 แนวต้าน ได้แก่ 1.3920, 1.4000, 1.4150 และ 1.4250
  • USD/JPY เมื่อทำนายอนาคตอันใกล้สำหรับคู่ ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ (65%) โหวตว่าดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นต่อไป และราคาคู่นี้จะขยับขึ้นไปเหนือระดับ 111.00 ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยออสซิลเลเตอร์ 85% และอินดิเคเตอร์เทรนด์ 95% บนกรอบ D1 ส่วนการวิเคราะห์กราฟบนกรอบ H4 ก็เห็นด้วยกับการคาดการณ์นี้เช่นกัน แต่ยังไม่ตัดโอกาสที่ราคาจะพุ่งขึ้นทิศเหนือ โดยให้แนวรับไว้ที่ 109.70-109.80
    ส่วนนักวิเคราะห์ 35% ที่เหลือ ประกอบกับการวิเคราะห์กราฟบน D1 เชื่อว่า แนวรับนี้จะไม่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการแข็งค่าขึ้นของเงินเยน และคู่ USD/JPY จะสามารถดิ่งลงมายังบริเวณ 108.00-108.55 ได้
  • คริปโตเคอเรนซี ดัชนี Crypto Fear & Greed Index ยังไม่ออกจากโซนความกลัวเป็นเวลามาเกือบหนึ่งเดือน ด้วยความกลัวจากราคาที่ทรุดลงเมื่อช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม หลายคนโดยเฉพาะนักลงทุนรายย่อยเก็บกำไรเมื่อเห็นสัญญาณอันตรายแม้เพียงน้อยนิด ซึ่ทำให้คู่ BTC/USD ไม่สามารถยืนเหนือระดับสำคัญทางจิตวิทยาที่ $40,000 ได้สำเร็จ
    และธนาคารเฟดเองก็เช่นกัน ซึ่งเป็นฝ่ายกระตุ้นความสนใจในดอลลาร์ และทำให้ตลาดหุ้นกลับตัวลงมา เมื่อเทียบกราฟ S&P500 กับ BTC เราจะเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกัน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญหลายคนมองว่าความสัมพันธ์ดังกล่าวเริ่มชัดเจนมากขึ้นจากนี้เป็นต้นไป
    ในกรณีที่เกิดการเทขายหุ้นอย่างหนัก มีความเป็นไปได้สูงที่บิทคอยน์ก็จะได้รับผลกระทบไปด้วยเช่นกัน เพราะบิทคอยน์เป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากยิ่งกว่าสำหรับนักลงทุนรายสถาบัน (อัลท์คอยน์ยิ่งน่ากังวล)
    จริงอยู่ที่เฮดจ์ฟันเข้าใจทั้งเรื่องความเสี่ยง และผลประโยชน์ของการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล และตามรายงานของ Financial Times เฮดจ์ฟันด์ตั้งใจจะเพิ่มการถือคริปโตเคอเรนซีของพวกเขา “เป็นอย่างมาก” แต่ก็ยัง “ไม่สำคัญมากพอ” ตามผลการสำรวจเฮดจ์ฟันด์ 100 แห่งโดย Intertrust โดยเฉลี่ยแล้ว กองทุนเหล่านี้วางแผนที่จะจัดสรรเงินสูงสุด 7.2% ของพอร์ตการลงทุนให้กับคริปโตเคอเรนซี ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ $312 พันล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็น 20% ของมูลค่ารวมในตลาดคริปโต ณ ขณะนี้ แต่การเติบโตเช่นนี้ในรอบ 5-6 ปี ยังคงดูปานกลาง
    ก่อนหน้านี้ นายพอล ทูดอร์ ผู้ก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ Tudor Investment กล่าวในบทสัมภาษณ์กับ CNBC ว่า เขาสำรองเงินอย่างละ 5% ไว้สำหรับทองคำ บิทคอยน์ สัญญาตลาดหลักทรัพย์ และเงินสด เศรษฐีพันล้านท่านนี้กำลังตัดสินใจดูสถานการณ์ในการวางเงิน 80% ที่เหลือ หลังจากวิเคราะห์ผลลัพธ์จากการประชุมของธนาคารเฟดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน โดยเขาให้สัญญาณว่าเขาอาจจะเพิ่มสัดส่วนการถือสินทรัพย์ “เงินเฟ้อ” หากทางการยังคงเพิกเฉยต่อราคาผู้บริโภคที่พุ่งสูงขึ้น “อย่างมีนัยสำคัญ” การประชุมดังกล่าวสิ้นสุดลงแล้ว และบางทีเราอาจจะได้รับทราบกันเร็ว ๆ นี้ถึงรายละเอียดการลงทุนในพอร์ตของ Tudor Investment
    ประเด็นข้างต้นนำไปสู่ข้อสรุปว่า แม้ว่าจะมีแนวทางที่ระมัดระวัง นักลงทุนรายสถาบันยังคงเชื่อมั่นในแนวโน้มของตลาดคริปโต เช่นเดียวกันนั้น นายมาร์ค ลาสรี ผู้ก่อตั้ง Avenue Capital Management เศรษฐีพันล้านอีกท่านหนึ่งก็ให้ข้อสังเกตว่า ตลาดคริปโตกำเนิดขึ้นแล้ว และไม่มีอะไรขู่มันได้ “หากตลาดเกิดขึ้น มันจะไม่หายไปไหน” เขาเชื่ออย่างนั้น
    อีกปัจจัยที่ดูมีความหวังก็คือ ผู้ถือบิทคอยน์นานกว่าหกเดือน นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือนตุลาคม 2020 ที่เริ่มซื้อมากกว่าขาย และเหล่าปลาวาฬ (วอลเล็ตที่บรรจุ 100 BTC ถึง 10,000 BTC) ได้ซื้อเหรียญ 90,000 เหรียญในเดือนที่แล้วเป็นเงินกว่า $3.4 พันล้านดอลลาร์
    ผู้ที่มองโลกในแง่ดีกลุ่มนี้รวมถึง นายทิม เดรปเปอร์ นักลงทุนและเศรษฐีพันล้าน เมื่อปี 2018 เขาเคยทำนายการเติบโตของบิทคอยน์ไว้ที่ $250,000 ภายในปี 2022 และเขายังคงยืนยันการคาดการณ์นี้ แม้ว่าจะยืดระยะเวลาออกไปบ้าง บิทคอยน์จะแตะระดับ $250,000 ภายในปี 2022 หรือต้นปี 2023 ตามคำพูดของเขาล่าสุด แม้ว่าจะมีความผันผวนที่รุนแรง ปัจจัยสำหรับการเติบโตนี้ยังคงเหมือนเดิม คือ การออกเหรียญที่จำกัด และความต้องการทองคำดิจิทัลที่สูงขึ้นเพื่อเป็นการป้องกันจากอัตราเงินเฟ้อ
    และในช่วงท้ายของบทวิเคราะห์ฉบับนี้มาถึงไลฟ์แฮ็คโลกคริปโตเหมือนเช่นเคย ในครั้งนี้ นายนายิบ บูเคเล ประธานาธิบดีเอลซัลวาดอร์ คือ ฮีโร่ ผู้ที่มีความคิดริเริ่มอีกประการหนึ่ง เขาได้สั่งให้บริษัท LaGeo ที่ผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งบริหารจัดการโดยรัฐนั้น พัฒนาแผนการขุดเหรียญด้วยพลังงานที่ “ถูก สะอาด 100% ทดแทนได้ 100% และปล่อยก๊าซเป็นศูนย์” จากทรัพยากรภูเขาไฟกว่า 20 แห่งในประเทศ ดังนั้นหากคุณพอมีภูเขาไฟเป็นของตัวเอง คุณอาจจะลองทำตามตัวอย่างประเทศนี้ และนายอีลอน มัสก์ อาจจะถูกใจก็เป็นได้

บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์และคริปโตเคอเรนซีประจำวันที่ 21 - 25 มิถุนายน 20211


กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX

 

หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้


« การวิเคราห์ตลาดและข่าว
รับการฝึก
มือใหม่ในตลาดใช่ไหม?ใช้ส่วน เริ่มฝึกฝน เริ่มฝึกฝน
ติดตามเรา (ในโชเซียลเน็ตเวิร์ค)