พฤศจิกายน 6, 2021

EUR/USD: จับตาตลาดแรงงานสหรัฐฯ

  • เหตุการณ์สำคัญเมื่อสัปดาห์ที่แล้วคือการประชุมระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลสองหน่วยงาน ได้แก่ ธนาคารกลางสหรัฐฯ และธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ นักเทรดยังสนใจข้อมูลจากตลาดแรงงานสหรัฐฯ รวมถึงอินดิเคเตอร์สำคัญเช่น ดัชนี NFP ซึ่งเป็นจำนวนตำแหน่งงานนอกภาคการเกษตร

     ธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณมูลค่า $120,000 ล้านในเดือนนี้ตามที่คาดการณ์ไว้ และจะซื้อสินทรัพย์ลดลง $10,000 ล้าน เหลือ $70,000 ล้านในเดือนพฤศจิกายน รวมทั้งซื้อหุ้นกู้ที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นประกันลดลง $5,000 ล้าน เหลือ $35,000 ล้าน และจะมีการลดปริมาณการซื้อคืนโดยใช้หลักทรัพย์เป็นเครื่องมือที่ระดับเดิม ที่ $15,000 ล้าน ในเดือนธันวาคม

     นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ กล่าวถึงผลการประชุมว่า ยังไม่ถึงเวลาเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเนื่องจากตลาดแรงงานยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ โดยคาดว่าอาจฟื้นตัวภายในกลางปีค.ศ. 2022 ซึ่งธนาคารกลางสหรัฐฯ จะรอดูท่าทีจนถึงขณะนั้น นายพาวเวลล์ยังระบุด้วยว่า อาจมีการปรับการลดแรงจูงใจในช่วงต้นปีหน้า ทั้งต่อการเร่งตัวและการชะลอตัว โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ

    คำกล่าวของประธานระบบธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำให้เข้าใจได้ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงมีท่าทีเตรียมถอย และไม่ควรคาดหวังว่าธนาคารกลางจะลดนโยบายการเงินที่อ่อนมากอยู่แล้วลงในช่วงนี้ การคาดการณ์ดังกล่าวทำให้ดัชนีหุ้นกลับมาสูงขึ้นอีกครั้ง และทำให้ดัชนีดาวโจนส์ ดัชนี S&P 500 และดัชนีแนสแดค พุ่งสูงขึ้นเป็นสถิติใหม่อีกครั้ง

    (ควรทราบว่า การทำธุรกรรมกับดัชนีแนสแดค 100 หรือ Ustec.c ทำให้นักเทรดรายหนึ่งกลายเป็นหนึ่งในลูกค้าของ  NordFX ที่มีผลงานดีที่สุด โดยทำกำไรไปได้ $38.124 ในเดือนตุลาคม)

     ธนาคารกลางสหรัฐฯ พร้อมออกและปรับเปลี่ยนการตัดสินใจขึ้นอยู่กับสถานการณ์ตลาด อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางยุโรปกลับเชื่อว่าตลาดมีความผิดปกติอ โดยนางคริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรป กล่าวเมื่อวันพุธที่ 3 พฤศจิกายนว่า สภากรรมการของทางธนาคารกลางได้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสามเงื่อนไข และเงื่อนไขทั้งสามจะยังไม่เกิดขึ้นในปีค.ศ. 2022

    นักลงทุนไม่พอใจต่อสถิติระดับมหภาคในเขตยูโรโซนเช่นกัน โดยดัชนีรวม (composite PMI) ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่สาม และปริมาณคำสั่งซื้อของภาคอุตสาหกรรมในเยอรมนีเพิ่มขึ้นเพียง 1.3% ในเดือนกันยายน แม้ว่าปริมาณดังกล่าวจะลดลง 8.8% ในเดือนสิงหาคมก็ตาม นอกจากนี้ การเติบโตของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในประเทศเขตยูโรโซนซึ่งมีสาเหตุจากการขายเชิงรุก ก็เป็นเรื่องที่ควรเฝ้าระวัง เนื่องจากเป็นสัญญาณถึงวิกฤตหนี้ได้

    ปัจจัยทั้งหมดนี้กดดันสกุลเงินยูโรอย่างมากและทำให้ค่าเงินตกลง และทำให้คู่ EUR/USD ที่เริ่มใหม่ในเดือนตุลาคม ตกลงเช่นกัน

     ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ กำหนดเรื่องที่ธนาคารต้องจัดการก่อนโดยให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูตลาดแรงงาน ทิศทางของตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น ปกติแล้ว รายงานตัวเลขดังกล่าวจะออกทุกวันศุกร์แรกของเดือน โดยในเดือนนี้ออกเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ข้อมูลในรายงานระบุว่า ตัวเลขการจ้างงานใหม่ในเดือนตุลาคมอยู่ที่ 531,000 ตำแหน่ง (ก่อนหน้านี้ มีการคาดการณ์ที่ 425,000 ตำแหน่ง และตัวเลขก่อนหน้านี้อยู่ที่ 312,000 ตำแหน่ง) นอกจากนี้ อัตราการว่างงานลดลงไปอยู่ที่ 4.6% จากเดิมที่ 4.8% ในเดือนกันยายน อย่างไรก็ตาม ดัชนีหุ้นกลับพุ่งสูงกว่าเดิม ส่วนคู่ EUR/USD นั้น หลังมีการปรับฐานแล้ว มีค่าประจำสัปดาห์อยู่ที่ 1.1567

     อินดิเคเตอร์ส่วนใหญ่ใน D1 จะมีทิศทางลง ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้น 100% กับอินดิเคเตอร์เทรนด์เช่นเดียวกับออสซิลเลเตอร์ อย่างไรก็ตาม ในช่วงสิ้นสุดสัปดาห์ อินดิเคเตอร์ 10% กลับมีทิศทางอยู่ตรงกลาง 10% อยู่ในโซนที่มีแรงขายมากเกินไป และอีก 10% มีทิศทางขาขึ้น

    ผู้เชี่ยวชาญ 25% เห็นว่า คู่ดังกล่าวจะเติบโตขึ้น อีก 25% เห็นว่า คู่นี้จะลดค่าลง และอีก 50% เห็นว่า คู่นี้จะเคลื่อนที่ไปด้านข้าง โดยระดับแนวรับอยู่ที่ 1.1535, 1.1500, 1.1485, 1.1425 และ 1.1250 และระดับแนวต้านอยู่ที่ 1.1575, 1.1615, 1.1665, 1.1715, 1.1800, 1.1910

    ในส่วนของสถิติเศรษฐกิจมหภาคที่จะกำลังจะเผยแพร่นั้น ข้อมูลของตลาดผู้บริโภคในเยอรมนีและสหรัฐฯ จะเผยแพร่ในวันพุธที่ 10 พฤศจิกายน และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเบื้องต้นโดยมหาวิทยาลัยมิชิแกน จะเผยแพร่ในวันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน ดัชนีดังกล่าวเป็นอินดิเคเตอร์ของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในสหรัฐฯ ต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ และประเมินว่าพวกเขายินดีใช้จ่ายเงินมากเท่าใด

GBP/USD: แรงสั่นสะเทือนจากธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ

  • สัญญาณเตือนถึงภาวะเศรษฐกิจชะงักงันและเงินเฟ้อจากการเติบโตของจีดีพีที่ต่ำและเงินเฟ้อสูง เป็นอันตรายอย่างมากต่อเศรษฐกิจอังกฤษที่ยังได้รับแรงกดดันจากเบร็กซิท ผู้เชี่ยวชาญของธนาคารแห่งประเทศอังกฤษคาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อประจำปีจะเพิ่มขึ้นราว 5% ภายในเดือนเมษายน ค.ศ.2022 และจะลดลงไปอยู่ในระดับที่ตั้งเป้าไว้ที่ 2% ภายในสิ้นปีค.ศ.2022 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมาก นายแอนดรูว์ เบลีย์ ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ กล่าวเมื่อไม่กี่วันก่อนการประชุมของทางธนาคารว่า เมื่อพิจารณาจากอินดิเคเตอร์ดังกล่าวแล้ว อาจต้องมีการดำเนินการและเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่วางแผนไว้ ด้วยเหตุนี้ ตลาดจึงคาดว่าธนาคารแห่งประเทศอังกฤษจะเพิ่มอัตราที่สำคัญในเดือนพฤศจิกายน แต่ก็ผิดหวังเนื่องจากไม่เป็นไปตามที่คาดไว้

     เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ ลงคะแนน 7 ต่อ 2 เสียงให้รักษาอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.1% และลงคะแนน 6 ต่อ 3 เสียง ให้รักษาปริมาณการซื้อสินทรัพย์ที่ £895,000 ล้าน นักลงทุนผิดหวังกับการตัดสินใจของทางธนาคาร ส่งผลให้สกุลเงินปอนด์ลดค่าลงอย่าหนัก คู่ GBP/USD ถึงจุดต่ำสุดในประเทศ โดยตกลง 270 จุด อยู่ที่ 1.3425 และปิดตัวในช่วงสิ้นสุดสัปดาห์ในจุดเดียวกันที่ 1.3425

     นายแอนดรูว์ เบลีย์ มีท่าทีต่อเสียงวิจารณ์ว่าเขาทำให้นักลงทุนเข้าใจผิด โดยกล่าวว่า “เราไม่เคยสัญญาว่าอัตราจะเพิ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน” และ “งานของผมไม่ใช่การจัดการตลาด” อย่างไรก็ตาม ซิลวานา เทนรีโร สมาชิกภายนอกของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ มีท่าทีที่อ่อนกว่า โดยระบุว่า ธนาคารกลางไม่ควรมีท่าทีต่อแรงสั่นสะเทือนในระยะสั้น และปัญหาอุปทานสินค้าจะรุนแรงน้อยลงในปีหน้า อย่างไรก็ตาม นายเดฟ แรมส์เดน รองประธานธนาคารแห่งนี้ มีท่าทีตรงกันข้าม โดยเขาระบุว่า เขาลงคะแนนให้มีการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเนื่องจากปัญหาขาดแคลนแรงงานชัดเจนมากยิ่งขึ้น

     นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งระบุว่า มีความคาดหวังเพิ่มขึ้นว่าอังกฤษจะใช้มาตรา 16 ของข้อตกลงการออกจากสหภาพยุโรป โดยมาตราดังกล่าวจะอนุญาตให้หนึ่งในประเทศหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องระงับธุรกรรมของเบร็กซิทบางส่วน หากธุรกรรมดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจหรือปัญหาอื่นๆ อย่างไรก็ตาม หากมีการดำเนินการดังกล่าว ท่าทีของสหภาพยุโรปอาจรุนแรงกว่าที่รัฐบาลอังกฤษคาดไว้ และสถานการณ์นี้จะส่งแรงกดดันต่อค่าเงินปอนด์ต่อไป

     ข้อมูลเบื้องต้นของจีดีพีอังกฤษในไตรมาสที่สามจะเผยแพร่ในวันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน และอาจส่งผลต่อทิศทางตลาดเช่นเดียวกับสถิติมหภาคจากสหรัฐฯ ในขณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญ 55% เห็นว่า ตลาดจะมีทิศทางเป็นตลาดหมี ผู้เชี่ยวชาญ 35% และกราฟฟิควิเคราะห์ใน D1 เห็นว่า ตลาดจะมีทิศทางเป็นตลาดกระทิง และผู้เชี่ยวชาญอีก 10% มีท่าทีเป็นกลาง

    ออสซิลเลเตอร์ใน D1 จำนวน 75% เป็นสีแดง และอีก 25% ระบุว่า คู่มีแรงขายมากเกินไป อินดิเคเตอร์เทรนด์ 100% ยังเป็นสีแดง ระดับแนวรับอยู่ที่ 1.3470, 1.3420, 1.3380, 1.3200 ในขณะที่เป้าหมายของตลาดหมีอยู่ที่ 1.3135 ส่วนระดับแนวต้านและเป้าหมายของตลาดกระทิงอยู่ที่ 1.3510, 1.3570, 1.3610, 1.3735, 1.3835

USD/JPY: มีเทรนด์ไปทางด้านข้างอีกครั้ง

  • กราฟในช่วงสามสัปดาห์ที่ผ่านมาแสดงทิศทางขาขึ้นที่ชะลอตัวลงของคู่ USD/JPY ซึ่งได้เปลี่ยนไปเคลื่อนตัวทางด้านข้างแทน โดยอยู่ในช่วง 113.40-114.40 ค่าเงินเยนพุ่งสูงขึ้นหลังผลตอบแทนพันธบัตรในส่วนของพันธบัตร 10 ปีลดลงมาอยู่ที่ 1.53% และยังแข็งค่าขึ้นจนถึงช่วงสิ้นสุดสัปดาห์ และปิดตัวในแดนที่ต่ำกว่าเดิมของกรอบราคานี้

    สถานการณ์ในขณะนี้ได้รับการยืนยันโดยความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญและการวิเคราะห์อินดิเคเตอร์ โดยนักวิเคราะห์ 50% คาดหวังว่า คู่นี้จะกลับมาอยู่ในแดนบวกที่กรอบราคาช่วง 113.40-114.40 นักวิเคราะห์ 25% เห็นว่า คู่นี้จะเคลื่อนที่ไปกับจุดหมุน (pivot point) ที่ 113.00 และอีก 25% เห็นว่า คู่นี้จะตกอยู่บริเวณ 112.00 อย่างไรก็ตาม พึงทราบไว้ว่า การคาดการณ์รายเดือนแตกต่างจากการคาดการณ์รายสัปดาห์ โดยนักวิเคราะห์รายเดือน 50% เห็นว่า คู่นี้จะตกอยู่บริเวณ 112.00

    นอกจากนี้ ค่าของออสซิลเลเตอร์ต่างๆ ในD1 ยังเป็นไปในทิศทางที่ไม่ตรงกัน โดยออสซิลเลเตอร์ 35% มีทิศทางขาขึ้น 40% มีทิศทางขาลง  15% ส่งสัญญาณว่ามีแรงขายมากเกินไป และอีก 10% มีทิศทางคงเดิม นอกจากนี้ อินดิเคเตอร์เทรนด์ยังมีทิศทางเสมอตัว โดยอินดิเคเตอร์เทรนด์ 50% ไปทางแดนเขียว ในขณะที่อีก 50% ไปทางแดนแดง ระดับแนวต้านอยู่ที่ 113.70, 114.40, 114.70 และ 115.50 โดยเป้าหมายของตลาดกระทิงในระยะยาวอยู่ที่ 118.65 ซึ่งเป็นระดับที่เคยทำได้เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2016 ในขณะที่ระดับแนวรับที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่ 113.25 และเป้าหมายต่อไปอยู่ที่ 112.00 และ 111.65

เงินคริปโต: เอกสารเก้าหน้าที่เปลี่ยนโลก

บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์และคริปโตเคอเรนซีประจำวันที่ 8-12 พฤศจิกายน 20211

  • เมื่อ 13 ปีที่แล้ว ในวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2008 บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ใช้นามว่า ซาโตชิ นากาโมโตะ เผยแพร่เอกสาร white paper ซึ่งเป็นเอกสารชี้แจงรายละเอียดของบิทคอยน์ความยาวเก้าหน้า  เอกสารดังกล่าวอธิบายการทำงานของระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งโดยตรง (peer-to-peer payment system) และอธิบายว่าระบบดังกล่าวจะปฏิวัติโลกเทคโนโลยีการเงินได้อย่างไร มีการเปิดตัวเครือข่ายบิทคอยน์เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2009 ก่อนที่ซาโตชิ นากาโมโตะ จะหายตัวไปเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2011 ทำให้ไม่สามารถสืบหาได้ว่าใครกันแน่ที่เขียนเอกสารความยาวเก้าหน้าที่เป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์นี้ หรือหากพูดให้ถูกยิ่งขึ้นคือ อุตสาหกรรมมูลค่าหลายล้านล้านดอลลาร์ หลังจากมูลค่ารวมในตลาดคริปโตขึ้นไปกว่า $2.7 ล้านล้านเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งสูงที่สุดเป็นสถิติใหม่

    อย่างไรก็ตาม หุ้นของบิทคอยน์ลดลงอีกครั้ง โดยดัชนี dominance index (ตัวชี้วัดที่ติดตามมูลค่าโดยรวมของคริปโตตัวนั้น ๆ เทียบกับมูลรวมของตลาดคริปโต) ลดลงจาก 44.15% เหลือ 42.84% ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยยังไม่มีการทุบสถิติสูงสุดของบิทคอยน์ที่เคยทำไว้ที่ $66,925 เมื่อวันที่ 20  ตุลาคม เมื่อวันอังคารวันที่ 2 พฤศจิกายน ตลาดกระทิงพยายามทำสถิติใหม่ แต่ก็ยังทำได้ที่ $64,260 ในขณะที่คู่ BTC/USD กลับมาอยู่ที่ $60,000 ในขณะที่ดัชนี Crypto Fear & Greed ยังอยู่ในแดนเขียวที่ 73 จุด (เมื่อ 70 สัปดาห์ที่แล้ว)

    นักลงทุนจำนวนมากหันมาสนใจอัลท์คอยน์มากขึ้น โดยสกุลเงิน Ripple มีราคาเพิ่มขึ้น (XRP/USD)  ในขณะที่คู่ ETH/USD มีราคาเพิ่มขึ้นเป็นสถิติใหม่อีกครั้ง โดยอยู่ที่ $4.657 เมื่อวันพุธที่ 3 พฤศจิกายน

    ในบรรดาอัลท์คอยน์ที่น่าสนใจนั้น อีธีเรียมดึงดูดนักลงทุนด้วยประวัติที่ยาวนานและมีการใช้งานในหลายโครงการ ปัจจัยหลักที่ทำให้อีธีเรียมเติบโตในช่วงไม่กี่เดือนมานี้คือการทำลายเหรียญจำนวนมากเพื่อทำธุรกรรมในเครือข่าย และมีอัตราการทำลายเหรียญที่สูงกว่าอัตราการผลิตเหรียญ อย่างไรก็ตาม หลังมีการอัพเดทเครือข่ายอีธีเรียมครั้งใหญ่ London Hard Fork และการอัพเดท Ethereum 2.0 Altair แล้ว ค่าธรรมเนียมการซื้อขายเหรียญเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า แต่กลุ่มนักพัฒนารับปากว่าจะแก้ปัญหานี้

    อัตราของอีธีเรียมเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่หกติดต่อกันนับจนถึงสัปดาห์ที่แล้ว โดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 75% นับตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน ขณะนี้ เหรียญดิจิทัลดังกล่าวตั้งเป้าแตะระดับที่ $5,000 และอาจพุ่งสูงไปกว่านั้น โดย CryptosRUs นักวิเคราะห์เงินคริปโตชื่อดัง คาดการณ์ว่า อีธีเรียมจะมีมูลค่าถึง $10,000 ในเร็วๆ นี้ เขายังมั่นใจด้วยว่า ขณะนี้เป็นช่วงเวลาเกือบโค้งสุดท้ายแล้วสำหรับผู้ที่ต้องการซื้ออีธีเรียมด้วยราคาต่ำกว่านั้น ทางด้านผู้เชี่ยวชาญของโกลด์แมน แซคส์ คาดการณ์ว่า คู่ ETH/USD อาจแตะที่ $8,000 ภายในสิ้นปีนี้

    อย่างไรก็ตาม บิทคอยน์ก็ยังคงมีบทบาทในตลาด นักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากยังคงเห็นว่าบิทคอยน์เป็นสกุลเงินคริปโตหลัก ข้อมูลของบริษัท Chainalysis ระบุว่า บรรดานักลงทุนรายใหญ่มีเหรียญบิทคอยน์เพิ่มขึ้น 142,000 เหรียญภายในสัปดาห์ที่แล้วของเดือนตุลาคมเพียงสัปดาห์เดียว

    “บิทคอยน์คือคณิตศาสตร์ เป็นคณิตศาสตร์บริสุทธิ์” ทำให้บิทคอยน์สามารถรักษาระดับการคาดการณ์ได้มากกว่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นคำกล่าวของสตีฟ วอซเนียก ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทแอปเปิ้ล ในบทสัมภาษณ์กับสำนักข่าวยะฮู ไฟแนนซ์ (Yahoo Finance) โดยเขาเห็นว่า หน่วยงานกำกับดูแลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ สามารถผลิตธนบัตรใหม่เมื่อใดก็ได้ ทำให้คาดการณ์เงินเฟ้อได้ยาก

    โรเบิร์ต คิโยซากิ ผู้เขียนหนังสือ “พ่อรวยสอนลูก” (Rich Dad Poor Dad) และนักลงทุน มีท่าทีเช่นเดียวกับสตีฟ วอซเนียก โดยเขาวิจารณ์รัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ประกาศว่าเขาไม่ไว้ใจรัฐบาลกลางสหรัฐฯ เขายังเชื่อว่ารัฐบาล “ขโมยเงินจากประชาชน” สนับสนุนให้เกิดเงินเฟ้อ และไม่พยายามลดเงินเฟ้อลง “คุณเตรียมเผชิญกับเศรษฐกิจพังทลายและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำรอบใหม่ได้เลย คุณควรตัดสินใจอย่างฉลาด แล้วซื้อทองคำ โลหะเงิน และบิทคอยน์ครับ” คิโยซากิกล่าว “ผมรักบิทคอยน์เพราะผมไม่ไว้ใจธนาคารกลางสหรัฐฯ กระทรวงการคลังสหรัฐฯ และวอลล์สตรีท”

     วิลลี วู นักวิเคราะห์คริปโตชาวจีน ให้สัมภาษณ์กับ Bitcoin Fundamentals ว่า วงจรการเติบโตแบบ “กระทิง” ของบิทคอยน์ในปัจจุบันนั้นต่างจากช่วงก่อนๆ มาก โดยวูระบุว่า กระแสสะสมบิทคอยน์ระลอกล่าสุดนี้เริ่มขึ้นเมื่อปลายปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่นักลงทุนจากสถาบันต่างๆ เริ่มเข้าสู่ตลาดคริปโตเพื่อหวังเก็บสินทรัพย์ดิจิทัลในระยะยาว วูคาดการณ์ว่า ปัจจัยดังกล่าวบ่งชี้ว่า วงจรการเติบโตของบิทคอยน์ในปัจจุบันจะยาวนานกว่าเดิม จะดำเนินต่อไปอีกหกเดือนถึงหนึ่งปี และราคาของบิทคอยน์ในช่วงดังกล่าวจะพุ่งสูงกว่า $100,000

    การคาดการณ์โดยนักวิเคราะห์ของบริษัทการเงิน เจพีมอร์แกน เชส (JPMorgan Chase) ราบเรียบกว่ามาก โดยเจพีมอร์แกนระบุว่า เงินคริปโตอาจเติบโตต่อไปได้แต่อาจไม่เสถียร จึงไม่แนะนำให้ใช้เงินคริปโตเป็นสินทรัพย์หลัก นักวิเคราะห์ยังประมาณการว่า บิทคอยน์อาจมีมูลค่าแตะ $35,000 เมื่อประเมินเทียบกับทองคำ อย่างไรก็ตาม เงินคริปโตก็มีความผันผวนมากกว่าโลหะมีค่าชนิดนี้ราวสี่เท่า หากความผันผวนของบิทคอยน์ลดลงครึ่งหนึ่ง มูลค่าของบิทคอยน์ก็อาจแตะถึง $73,000 ได้

    ปีเตอร์ ธีล ผู้ร่วมก่อตั้งเพย์แพล (PayPal) ระบุว่า นี่อาจไม่ใช่เวลาที่ดีในการซื้อบิทคอยน์ “คุณก็ทราบนี่ครับว่าบิทคอยน์มีมูลค่าถึง $60,000 แล้ว และผมไม่แน่ใจว่าเราควรตั้งหน้าตั้งตาซื้อเหรียญนี้หรือไม่ แต่แน่นอน นี่เป็น(สัญญาณ)ว่า เรากำลังอยู่ในช่วงวิกฤต” ธีลกล่าวกับสำนักข่าวบลูมเบิร์ก ในขณะเดียวกัน เขายังแสดงท่าทีเสียดายอีกครั้งที่เขาไม่ได้ลงทุนในเงินคริปโตสกุลเงินแรกไปมากกว่านี้ เมื่อครั้งที่ยังมีราคาต่ำกว่านี้มาก


กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX


หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้


« การวิเคราห์ตลาดและข่าว
รับการฝึก
มือใหม่ในตลาดใช่ไหม?ใช้ส่วน เริ่มฝึกฝน เริ่มฝึกฝน
ติดตามเรา (ในโชเซียลเน็ตเวิร์ค)