พฤษภาคม 2, 2022

นักเทรดผู้ที่เทรดในตลาดการเงิน: ฟอเร็กซ์ หุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ และคริปโตเคอเรนซี ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ การทำความเข้าใจแนวโน้มการเติบโตหรือลดลงของสินทรัพย์ชนิดหนึ่งที่ส่งผลต่อสินทรัพย์อีกชนิดหนึ่งจะช่วยให้คุณสามารถสร้างกลยุทธ์การเทรดที่มีประสิทธิภาพได้ ช่วยเพิ่มกำไรจากธุรกรรม และลดความเสี่ยงในการสูญเสียเงินฝาก

สินทรัพย์ความเสี่ยง

ในบทวิเคราะห์รีวิวประจำที่เผยแพร่บนหน้าหลักของเว็บไซต์ NordFX มักจะมีคำอธิบายการวิเคราะห์ เช่น “ความต้องการในความเสี่ยงที่ลดลงในหมู่นักลงทุนทำให้ตลาดหุ้นและมูลค่าของคริปโตเคอเรนซีลดลง” หรือ “การขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยธนาคารเฟดจะส่งผลให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นและผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้น” คำถามที่ควรถามก็คือว่าทำไมมันถึงเป็นเช่นนั้น แต่ก่อนที่เราจะตอบคำถามนี้ เราจะมาดูหลักการพื้นฐานกัน

ตลาดหุ้นหรืออธิบายอย่างง่ายนั้นคือ กลไกหลายระดับที่นักลงทุนซื้อและขายหลักทรัพย์ ได้แก่ หุ้นบริษัทต่าง ๆ ภาระหนี้สินของบริษํท และเครื่องมืออนุพันธ์ทางการเงิน ตัวชี้วัดสภาวะในตลาดดังกล่าวคือดัชนีหุ้น ซึ่งคำนวณจากพื้นฐานของมูลค่าปัจจุบันของสินทรัพย์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือที่เรียกว่า “ตะกร้าดัชนี” (index basket)

ตัวอย่างเช่น ดัชนี S&P500 คือมูลค่าที่ประเมินของกลุ่มหุ้นบริษัทขนาดใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ 500 อันดับแรก จากหลายภาคเศรษฐกิจ ดังนั้น ดัชนีนี้จึงให้ภาพรวมที่เป็นจริงของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเศรษฐกิจประเทศว่า เศรษฐกิจกำลังเติบโตหรือหดตัวและอัตราที่เกิดขึ้น

โดยทั่วไปแล้ว หุ้นจัดว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง เนื่องจากมูลค่าของหุ้นและรายได้ที่บริษัทได้รับนั้นขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยทางเศรษฐกิจและเรื่องสถานการณ์การเมือง เช่น เหตุการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ล่าสุดทำให้ราคาหุ้นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางทางอากาศลดลง แต่ราคาหุ้นบริษัทยาและเวชภัณฑ์ที่ผลิตวัคซีนต้านไวรัสโคโรนานั้นเพิ่มขึ้น เป็นต้น

ตามหลักแล้ว สินค้าโภคภัณฑ์หรือวัตถุดิบธรรมชาติจัดว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเช่นกัน เนื่องจากมูลค่าของสินทรัพย์นั้นขึ้นอยู่กับสภาวะในตลาดโดยตรง เช่นเดียวกันนั้น สกุลเงินสินค้าโภคภัณฑ์ก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ซึ่งก็คือสกุลเงินของประเทศที่เป็นผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์เป็นหลัก (น้ำมัน ก๊าซ โลหะ ผลิตภัฑณ์ทางการเกษตร ฯลฯ) สกุลเงินในกลุ่มนี้ ได้แก่ ดอลลาร์แคนาดา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ และรีอัลบราซิล โครนนอร์เวย์ และเปโซชิลี เป็นต้น

นอกจากนี้ ค่าเงินบางสกุลอาจจัดอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงเนื่องด้วยสถานการณ์ทางการเมือง เงินปอนด์อังกฤษจึงจัดอยู่ในประเภทนี้ เพราะเหตุการณ์เบร็กซิต (Brexit) หรือเงินยูโร เพราะสถานการณ์ที่สหภาพยุโรปมีความใกล้เคียงกับเขตความขัดแย้งทางการทหารระหว่างรัสเซียและยูเครน

คริปโตเคอเรนซี แม้แต่เงินคริปโตอันดับต้น ๆ อย่างบิทคอยน์และอีธีเรียมก็ถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงยิ่งกว่า เนื่องจากสินทรัพย์เหล่านี้เป็นสินทรัพย์เสมือนจริง ไม่มีฐานเชิงกายภาพ และราคาของเหรียญก็ขึ้นอยู่กับอารมณ์ของนักลงทุนเท่านั้น

สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ปลอดความเสี่ยง และสินทรัพย์หลบภัยคืออะไร และมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร1

สินทรัพย์ปลอดความเสี่ยงและสินทรัพย์หลบภัย

สินทรัพย์ปลอดความเสี่ยงโดยหลักแล้วคือพันธบัตรของรัฐบาลประเทศพัฒนาแล้ว เช่น พันธบัตรที่ออกโดยกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ความน่าเชื่อถือของพันธบัตรของแต่ละประเทศนั้นสามารถตัดสินได้จากการประเมินโดยหน่วยงานจัดอันดับระหว่างประเทศ เช่น Standard & Poor's, Moody's, Fitch หรือ IBCA

สินทรัพย์หลบภัยเป็นหลักการที่กว้างกว่าสินทรัพย์ปลอดความเสี่ยง สินทรัพย์กลุ่มนี้นั้นตอบสนองต่อภาวะช็อคทางเศรษฐกิจและการเมืองน้อยกว่า และในที่นี้ นอกเหนือจากพันธบัตรรัฐบาลประเทศพัฒนาแล้ว ทองคำก็จัดรวมอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย ดอลลาร์สหรัฐก็กลายเป็นสินทรัพย์ที่ได้รับความนิยมมาก โดยเฉพาะในช่วงล่าสุด เนื่องด้วยนโยบายทางการเงินและการขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยธนาคารเฟดสหรัฐฯ

ดอลลาร์สหรัฐและอัตราดอกเบี้ยของธนาคารเฟด

รายได้จากการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงอาจสูงกว่ารายได้จากการลงทุนในสินทรัพย์ปลอดความเสี่ยงหรือสินทรัพย์หลบภัยได้ถึงหลายร้อยเท่า แต่โอกาสที่คุณจะสูญเสียเงินก็สูงกว่าด้วยเช่นกัน

สมมติตัวอย่างช่วงการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เราจะเห็นได้ว่า ธนาคารเฟดสหรัฐฯ บังคับใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในช่วงปี 2020-2021 เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ กล่าวคือ ธนาคารเฟดพิมพ์เงินจำนวนมหาศาลโดยคงอัตราดอกเบี้ยในระดับขั้นต่ำ ซึ่งสิ่งนี้ช่วยให้เศรษฐกิจอเมริกาฟื้นตัว ดัชนี S&P500 ที่กล่าวถึงข้างต้นขยับลดลงจาก 3.397 เหลือ 2.184 ในช่วงตอนต้นของการแพร่ระบาด และก็ขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงระดับ 4.663 ในช่วงขึ้นปีใหม่ 2021-2022 ปริมาณเงินส่วนเกินสำหรับกิจการและประชาชนก็ส่งผลดีต่อคริปโตเคอเรนซีเช่นกัน บิทคอยน์เดิมมีราคาแค่ $5,700 ในเดือนมีนาคม 2020 และราคาก็เพิ่มขึ้นถึง 12 เท่า ในเดือนพฤศจิกายน 2021 โดยราคาเหรียญขยับขึ้นสูงกว่า $68,900 ต่อหนึ่งเหรียญ

อย่างไรก็ตาม ปริมาณเงินมหาศาลดังกล่าวย่อมนำมาซึ่งภาวะเงินเฟ้ออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเพื่อเป็นการรับมือกับภาวะเงินเฟ้อเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวด้วยนี้ ธนาคารเฟดสหรัฐฯ ตัดสินใจเพิ่มความเข้มงวดในนโยบายทางการเงินและเริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยของดอลลาร์ ผลลัพธ์ที่ตามมาก็คือผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และดัชนีดอลลาร์ DXY เริ่มขยับขึ้น ในขณะที่ราคาสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเริ่มลดลง

พันธบัตรและดอลลาร์สหรัฐฯ

พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นภาระหนี้สินของรัฐบาลสหรัฐฯ หรืออาจเรียกว่าเป็นตราสารหนี้ของรัฐบาลนั้นส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ปริมาณเงิน อัตราเงินเฟ้อ และอัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงินประเทศนั้นขึ้นอยู่กับสิ่งนี้

พันธบัตรรัฐบาลที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกคือ พันธบัตรรัฐบาลรุ่น 10 ปี หากเราดูที่กราฟ เราจะเห็นความสัมพันธ์ที่ชัดเจนเป็นอย่างมากระหว่างดัชนีดอลลาร์ DXY และผลตอบแทนของพันธบัตรรุ่นดังกล่าว (ดัชนี DXY คือดัชนีที่เป็นตัวชี้วัดอัตราส่วนของดอลลาร์สหรัฐ (USD) ต่อตะกร้าสกุลเงินหลัก 6 สกุล ได้แก่ ยูโร (EUR) เยน (JPY) ปอนด์สเตอร์ลิงก์ (GBP) ดอลลาร์แคนาดา (CAD) โครนสวีเดน (SEK) และฟรังก์สวิส (CHF)) กล่าวคือ เมื่อผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้น ดอลลาร์ก็แข็งค่าขึ้นเช่นกัน และเมื่อผลตอบแทนลดลง ดอลลาร์ก็อ่อนค่าลงเช่นกัน

และตอนนี้ก็ถึงเวลาแบ่งปันข้อสังเกตที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลนั้นมักใช้เป็นดัชนีชี้นำ ซึ่งคุณสามารถใช้ทำนายการเติบโตของอัตราดอกเบี้ยดอลลาร์ รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนของดอลลาร์เช่นกัน ดังนั้น ในการคาดการณ์การเคลื่อนที่ของคู่ EUR/USD ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าควรให้ความสำคัญกับค่าสเปรด (ค่าส่วนต่าง) ระหว่างผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และของเยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศเศรษฐกิจขับเคลื่อนหลักของอียู

 

***

เราต้องไม่ลืมที่จะพูดถึงคำเตือนในที่นี้ ตลาดการเงินนั้นเต็มไปด้วยข่าวน่าประหลาดใจมากมาย ราคาของสินทรัพย์ทางการเงินนั้นขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย ดังนั้น การวิเคราะห์จึงควรพิจารณาหลากหลายแง่มุม ในการศึกษาค่าส่วนต่างระหว่างพันธบัตรรัฐบาล คุณจำเป็นต้องดูไม่ใช่แค่มูลค่า ณ ปัจจุบันเท่านั้น แต่รวมถึงการเคลื่อนที่บนกรอบเวลาต่าง ๆ โดยขึ้นอยู่กับประเภทการเทรดที่คุณใช้ เช่น หากคุณเทรดบนกราฟ H1 การวิเคราะห์สถานการณ์ในเวลาไม่กี่วันก็เพียงพอ แต่ถ้าเทรดในกรอบ D1 เราแนะนำให้คุณเจาะลึกลงไปหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน และแน่นอนว่า สิ่งที่จำเป็นคือต้องพิจารณาไม่ใช่แค่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังต้องพิจารณาสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศใด ๆ โดยเฉพาะและของโลกในอนาคต สำหรับผู้ที่นิยมเทรดสั้นตามปิป หรือเทรด scalping ข้อสังเกตข้างต้นนี้คงไม่เป็นประโยชน์เท่าใดนัก ไม่ควรที่จะพูดถึงเกี่ยวกับการเทรดแบบความถี่สูงด้วยซ้ำ เพราะการเทรดรูปแบบนี้ต้องอาศัยกลยุทธ์และอัลกอริทึมที่แตกต่างกันไปโดยสิ้นเชิง


« บทความมีประโยชน์
ติดตามเรา (ในโชเซียลเน็ตเวิร์ค)