พฤษภาคม 15, 2022

EUR/USD: ระหว่างทางไปยัง 1.0000

บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์และคริปโตเคอเรนซีประจำวันที่ 16 - 20 พฤษภาคม 20221

  • ดอลลาร์แข็งค่าต่อเนื่อง ในขณะที่คู่ EUR/USD ขยับลดลงต่อ ดัชนีดอลลาร์ DXY เข้าใกล้ระดับ 104.9 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม ครั้งสุดท้ายที่ราคาไต่ขึ้นถึงระดับนี้คือเมื่อ 20 ปีที่แล้ว โดยราคาได้ทำระดับต่ำสุดในกรอบที่ 1.0349 ที่บริเวณราคา lows ของช่วงเดือนธันวาคม 2016 - มกราคม 2017 อีกนิดเดียวเท่านั้น หากราคาขยับตามดัชนี DXY คู่นี้จะกลับไปยังระดับที่เคยซื้อขายเมื่อ 20 ปีที่แล้ว หรือกล่าวได้วาส ราคาอยู่ไม่ไกลจากคู่ขนาน 1:1 นั่นเอง

    สาเหตุที่ทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องยังคงเป็นปัจจัยเดิมคือ การฟื้นตัวของตลาดแรงงานและการเติบโตของภาวะเงินเฟ้อ ปัจจัยเหล่านี้เป็นตัวตัดสินอัตราการเพิ่มความเข้มงวดในนโยบายทางการเงินโดยธนาคารเฟดสหรัฐฯ

    การคาดการณ์ชี้ว่า ยอดขอรับสวัสดิการว่างงานอาจเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่สถิติจริงซึ่งประกาศเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคมที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า สถานการณ์ในตลาดแรงงานดีขึ้นกว่าความคาดหมาย จำนวนคำขอเบื้องต้นเพิ่มขึ้น แต่ไม่ใช่ที่ 3,000 อย่างที่คาดการณ์ไว้ โดยเพิ่มขึ้นเพียง 1,000 เท่านั้น จำนวนคำขอรับสวัสดิการซ้ำก็ลดลงถึง 44,000 แทนที่จะเพิ่มขึ้น 3,000 ตามการคาดการณ์ ทั้งนี้ หนึ่งวันก่อนวันที่ 11 พฤษภาคม มีการประกาศสถิติเงินเฟ้อ ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนเมษายน และอยู่ที่ 0.6% อัตราการเติบโตนี้น้อยกว่าอัตราที่เพิ่มขึ้น 1.2% เมื่อเดือนมีนาคม แต่นี่ไม่ได้หมายความว่า อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ถึงระดับสูงสุดและขยับลดลงหลังจากนี้แต่อย่างใด ทั้งนี้ ราคาน้ำมันยังคงตัวเกินระดับ $100 ต่อบาร์เรล และดันราคาต้นทุนสินค้า การขนส่ง และค่าใช้จ่ายในครัวเรือนให้เพิ่มสูงขึ้น รถยนต์มือหนึ่งปรับราคาสูงขึ้น 1.1% ในเดือนเมษายน (เดิม 0.2% เท่านั้นในเดือนมีนาคม) ในขณะที่ราคาค่าโดยสารเครื่องบินเพิ่มขึ้น 18.6% ในรอบหนึ่งเดือน ซึ่งเป็นแนวโน้มสูงขึ้นมากที่สุดในรอบ 60 ปี นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้สูงที่มาตการล็อกดาวน์ในจีนเนื่องด้วยการระบาดของไวรัสโคโรนารอบใหม่จะนำมาซึ่งปัญหาด้านการขนส่งและ และการแลกเปลี่ยนสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งจะไม่ช่วยบรรเทาปัญหาเงินเฟ้อแต่อย่างใด

    ปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้จึงชี้ว่า ธนาคารเฟดสหรัฐฯ ไม่น่าจะเปลี่ยนแผนการเพิ่มความเข้มงวดในนโยบายทางการเงิน โดยลดงบประมาณ และขึ้นอัตราดอกเบี้ย นายเจอโรม พาวเวลล์ (Jerome Powell) ประธานธนาคารเฟด และผู้บริหารในคณะกรรมการ FOMC ได้แก่ ลอเรตตา เมสเตอร์ (Loretta Mester) ประธานธนาคารเฟดสาขาคลีฟแลนด์ และ จอห์น วิลเลียมส์ (John Williams) ประธานธนาคารฯ สาขานิวยอร์ก สนับสนุนให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 0.5% ในการประชุมอีกทั้งสองครั้งที่จะมาถึง ซึ่งจะนำไปสู่อัตราดอกเบี้ยที่ 2.0%

    สำหรับธนาคารกลางอีกฝั่งหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก ยังมีผู้บริหารเป็นส่วนน้อยในธนาคารกลางยุโรปที่สนับสนุนให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ย กรรมการบริหารธนาคารกลางฯ ส่วนใหญ่ยังคงเชื่อว่า อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นในยูโรโซนเป็นเพียงแค่ปรากฏการณ์ชั่วคราวเท่านั้น ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเนื่องด้วยมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียที่บุกรุกยูเครน

    ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ ความไม่สอดคล้องกันระหว่างท่าทีสายเหยี่ยวอย่างชัดเจนของธนาคารเฟด และท่าทีสายพิราบของธนาคารกลางยุโรปที่บับให้คู่ EUR/USD ขยับลดลงจนทำระดับต่ำสุดในรอบหลายปี

    ณ ขณะนี้ เสียงของนักวิเคราะห์แบ่งออกเป็นกลุ่มได้ดังนี้ 70% ของนักวิเคราะห์มั่นใจว่าดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นต่อ ส่วน 30% ที่เหลือกำลังรอให้ราคาปรับฐานขึ้นไปด้านบน ในขณะเดียวกัน เมื่อเปลี่ยนเป็นการวิเคราะห์จากรายสัปดาห์เป็นรายเดือน จำนวนผู้เชี่ยวชาญที่โหวตว่าราคาจะขยับขึ้นนั้นเพิ่มเป็น 80% ด้านอินดิเคเตอร์ 100% บนกรอบ D1 อยู่ฝั่งดอลลาร์ อย่างไรก็ดี มีออสซิลเลเตอร์จำนวน 20% ที่ให้สัญญาณว่าราคาอยู่ในโซน oversold สำหรับแนวต้านที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่โซน 1.0420 และเป้าหมายถัดไปของฝั่งกระทิงคือพา EUR/USD กลับมาที่โซน 1.0480-1.0580 ซึ่งหากทำสำเร็จ ฝั่งผู้ซื้อจะพยายามตัดผ่านแนวต้านที่ 1.0640 และขยับขึ้นไปยังโซน 1.0750-1.0800 ในส่วนของฝั่งหมี ภารกิจอันดับแรกคือการอัปเดตระดับ low ของวันที่ 13 พฤษภาคมที่ 1.0350 หลังจากนั้น ราคาจะบุกลงไปยัง low ปี 2017 ที่ 1.0340 ซึ่งด้านล่างจะมีแค่แนวรับของเมื่อ 20 ปีที่แล้วเท่านั้น

    ในส่วนของปฏิทินของสัปดาห์ที่จะถึงนี้ เราแนะนำให้นักเทรดให้ความสนใจกับการประกาศสถิติราคาและปริมาณยอดขายปลีกในสหรัฐฯ ในวันอังคารที่ 17 พฤษภาคม ในวันเดียวกันนั้น นางคริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรป และนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารเฟด จะกล่าวแถลง ส่วนในวันพุธที่ 18 พฤษภาคม จะมีการประกาศดัชนีราคาผู้บริโภคของยูโรโซน และดัชนีกิจกรรมการผลิตและสถานการณ์ในตลาดแรงงานในสหรัฐฯ จะประกาศในวันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม

GBP/USD: มีโอกาสที่ดอกเบี้ยปอนด์จะปรับขึ้น แต่ไม่มาก

  • อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ดัชนีดอลลาร์ DXY ทำระดับสูงสุดแล้วในรอบ 20 ปี ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่า ดัชนีนี้ได้ขยับขึ้น 5.1% ในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา ในขณะเดียวกัน คู่ GBP/USD ได้ขยับลดลง 7.4% จากผลงานเฉลี่ยที่ 2.3% อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างยังไม่ได้เลวร้ายไปเสียหมดสำหรับเงินปอนด์

    ธนาคารแห่งชาติอังกฤษทำนายว่าอัตราเงินเฟ้อจะยิ่งสูงขึ้นจากระดับปัจจุบันที่ 7.0% (สูงสุดในรอบ 30 ปี) เป็น 10.25% ในการประชุมวันที่ 5 พฤษภาคม และแม้ว่าธนาคารฯ จะคงตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของ GDP ในปีปัจจุบันไว้เหมือนเดิม (+3.75%) ธนาคารฯ คาดว่าภาวะถดถอยอาจเริ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 โดยธนาคารกลางอังกฤษคาดการณ์ว่า GDP จะลดลง 0.25% ในปี 2023 แทนที่จะเติบโตตามที่เคยประเมินไว้คือ 1.25% การคาดการณ์ใหม่นี้ชี้ว่า GDP จะไม่เติบโตที่ 1.0% แต่จะเติบโตเพียง 0.25% เท่านั้นในปี 2024

    แน่นอนว่าสถานการณ์นี้อาจดูไม่สดใส แต่หนึ่งสัปดาห์ถัดมา เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม สถิติต่าง ๆ ชี้ให้เห็นว่า GDP ของอังกฤษในไตรมาสที่ 1 เพิ่มขึ้น 8.7% ปีต่อปี ซึ่งเกินกว่าตัวเลขคาดการณ์ก่อนหน้าที่ 6.6% พลวัตดังกล่าวจึงให้ความหวังกับนักลงทุนว่า ธนาคารกลางฯ จะไม่คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมคือ 1.0% และจะมีท่าทีเหมือนธนาคารเฟด โดยเดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปเพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งท่าทีดังกล่าวจะช่วยหนุนเงินปอนด์ หรืออย่างน้อยก็ช่วยพยุงไม่ให้อ่อนค่าลงต่อ

    GBP/USD ทำระดับ low รายสัปดาห์ที่ 1.2164 โดยปิดที่ 1.2240 ในกรณีที่มีการปรับฐานไปยังด้านบน ราคาคู่นี้จะต้องผ่านแนวต้านในโซน 1.2300-1.2330 จากนั้นจะเป็นโซน 1.2400, 1.2470-1.2570, 1.2600-1.2635, 1.2700-1.2750, 1.2800-1.2835 และ 1.2975-1.3000 เมื่อขยับมายังทิศใต้ แนวรับแรกจะเป็นระดับที่ 1.2200 จากนั้นคือ 1.2154-1.2164 และ 1.2075 จุดแนวรับที่แข็งแกร่งของคู่นี้คือระดับที่สำคัญทางจิตวิทยาคือ 1.2000 ทั้งนี้ มีผู้เชี่ยวชาญ 85% โหวตว่าเงินปอนด์จะอ่อนค่าลงต่อไป 15% คาดการณ์ว่าราคาจะรีบาวด์ขึ้น และในที่นี้เอง เมื่อปรับไปเป็นการวิเคราะห์คาดการณ์ถึงปลายเดือนมิถุนายน จำนวนผู้ที่โหวตราคาขาขึ้นเพิ่มเป็น 75% สำหรับอินดิเคเตอร์บนกรอบ D1 100% ของอินดิเคเตอร์ และ 90% ของออสซิลเลเตอร์ชี้ทิศทางขาลง ส่วน 10% ที่เหลือให้สัญญาณทิศทางขาขึ้น

    สำหรับกิจกรรมสำคัญที่น่าติดตามในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจอังกฤษ เราอาจให้ความสนใจกับการประกาศสถิติอัตราว่างงานและค่าจ้างในสหราชอาณาจักรในวันอังคารที่ 17 พฤษภาคม นอกจากนี้ ยังมีดัชนีราคาผู้บริโภคที่จะประกาศในวันพุธที่ 18 พฤษภาคม และดัชนียอดขายปลีกในสหราชอาณาจักรประจำเดือนเมษายนที่จะประกาศในวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม

USD/JPY: จากผลตอบแทนมาสู่ความปลอดภัย

  • เงินเยนญี่ปุ่นทำผลงานได้ดีขึ้นในสัปดาห์ที่แล้วมากกว่า “สกุลเงินเพื่อนร่วมงาน” ไม่ว่าจะเป็นยูโรและปอนด์ ทุกอย่างเป็นไปตามที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ฝั่งกระทิงพยายามทำราคา high วันที่ 28 เมษายน อีกครั้งที่ 131.24 อย่างไรก็ดี หลังจากราคาขึ้นมาด้านบนเพียง 10 ปิปที่ 131.34 ก็กลับยอมแพ้ และคู่ USD/JPY ก็ดิ่งลงมายังแนวรับที่ 127.51 ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ความผันผวนของคู่นี้ในขณะนี้มีความน่าประทับใจมาก ช่วงการซื้อขายรายสัปดาห์สูงถึง 383 จุด ถึงแม้ว่าราคาจะเคลื่อนที่ตามปกติที่ 150 จุดโดยเฉลี่ยในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2021 ถึงไตรมาสที่ 1 2022 โดยราคาปิดตลาดที่โซนตรงกลางในสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ระดับ 129.30

    ราคาขาลงของคู่ USD/JPY เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม เป็นแนวโน้มสวิงขาลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2010 ผู้เชี่ยวชาญหลายคนมองว่า เงินเยนแข็งค่าขึ้นเนื่องจากความต้องการในสินทรัพย์ปลอดภัยที่สุดที่เพิ่มขึ้นในหมู่นักลงทุน จนถึงจุดนี้ ดอลลาร์ได้แข็งค่าขึ้นท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้น และผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯ ชุด 10 ปีที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม หากนักลงทุนยังคงต้องการเก็บรักษาเงินทุนไว้มากกว่าที่จะเก็งผลกำไร USD/JPY ก็จะขยับลงต่อไป

    เงินเยนยังได้รับแรงสนับสนุนจากความคาดหวังในการเปลี่ยนทิศทางนโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่น นักลงทุนหลายราย โดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติคาดว่า แม้ว่าธนาคารกลางฯ จะยืนหยัดที่จะดำเนินนโยบายแบบผ่อนปรนสุดโต่ง ธนาคารกลางฯ ยังอาจตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ นอกจากนี้ เหตุการณ์คล้ายกันนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว แม้จะเกิดขึ้นในทางตรงกันข้าม ตลาดยังคงจำสถานการณ์ในปี 2016 เมื่อ ฮารุฮิโกะ คุโรดะ (Haruhiko Kuroda) ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่นออกมาปฏิเสธในตอนแรกถึงการใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบ และหลังจากนั้นก็ตัดสินใจเปลี่ยนใจอย่างรวดเร็ว

    ณ ขณะนี้ ผลสำรวจของผู้เชี่ยวชาญยังคงดูไม่แน่นอนเหมือนกับราคาคู่นี้ โดย 40% โหวตให้กับแนวโน้มขาขึ้น 50% โหวตแนวโน้มขาลง และ 10% มีท่าทีเป็นกลาง ด้านอินดิเคเตอร์ในกรอบ D1 ก็ให้ภาพที่คล้ายกัน อินดิเคเตอร์เทรนด์ 65% ให้สัญญาณสีเขียว 35% ให้สัญญาณสีแดง ส่วนออสซิลเลเตอร์ 40% ให้สัญญาณสีเขียว และ 25% ให้สีแดง ส่วน 35% เป็นสีเทากลาง แนวรับที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่บริเวณ 128.60 ตามมาด้วยโซนและระดับที่ 128.00, 127.50, 127.00, 126.30-126.75, 126.00 และ 125.00 ทั้งนี้ เป้าหมายของฝั่งกระทิงคือการขึ้นไปเหนือระดับ 130.00 และทำราคา high ใหม่ของวันที่ 5 พฤษภาคม ที่ 131.34 โดยมีราคา high ของวันที่ 1 มกราคม 2002 ที่ 135.19 เป็นเป้าหมายสุดท้าย

    ในสัปดาห์หน้าในวันพุธที่ 18 พฤษภาคม จะมีการประกาศสถิติ GDP ญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 1 ของปีปัจจุบัน ซึ่งคาดการณ์ว่าดัชนีดังกล่าวจะลดลง 0.4% จากตัวเลขครั้งก่อนหน้าที่ 1.1%

คริปโตเคอเรนซี: "$1 ล้านต่อ BTC หรือ 0"

  • หากคุณได้อ่านหัวข้อข่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คุณจะต้องรู้สึกว่าคริปโตเคอเรนซีมีชีวิตหลงเหลืออยู่ไม่กี่เดือนเท่านั้น ตัวอย่างข่าวเช่น “ตลาดคริปโตสังหารหมู่” “ส่งบิทคอยน์ขึ้นสวรรค์” “ฟองสบู่คริปโตแตก” แต่มันน่ากลัวขนาดนั้นจริงหรือ?

    จริงอยู่ที่ตลาดดิ่งลงหนัก บิทคอยน์ราคาลดลงประมาณ 45% นับตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม ทำระดับที่ $26,580 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ส่วนเหรียญอื่น ๆ ยิ่งเจอหนักกว่า อย่างที่เราเคยกล่าวไว้แล้วหลายครั้ง สาเหตุของภาวะหวาดวิตกครั้งนี้คือความต้องการความเสี่ยงที่ลดลงของนักลงทุนรอบโลก ตลาดคริปโตขยับตามตลาดหุ้น โดยมีความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัลและดัชนีหุ้น S&P500, Dow Jones และ Nasdaq อยู่ที่ระดับสูงสุด

    นโยบายทางการเงินที่เข้มงวดขึ้นของธนาคารเฟด การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนารอบใหม่ในจีน ความกลัวต่ออนาคตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทั้งหมดนี้ส่งผลให้นักลงทุนชื่นชอบดอลลาร์มากกว่าสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง อีกหนึ่งปัจจัยกระตุ้นคือ ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ชุด 10 ปีที่เพิ่มสูงขึ้น ตัวเลขดังกล่าวแทบจะเพิ่มเป็นสองเท่าตั้งแต่เดือนมีนาคม และขยับขึ้นกว่า 3% ทำระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2018 โดยสูงกว่าผลตอบแทนของตลาดหุ้นเกือบทุกกลุ่มในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ

    นอกเหนือจากปัจจัยระดับโลกแล้ว การทรุดตัวลงของเหรียญ stablecoin ขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสาม UST ก็ส่งแรงกดดันเพิ่มเติมต่อตลาดคริปโตด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ มีความเชื่อกันว่าเหรียญ stablecoin ทำหน้าอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมการลงทุน และควรจะตรึงต่อเงินดอลลาร์จริงในอัตราที่ 1:1 ราคาของ USD ทรุดลงโดยทันทีเหลือ $0.64 จึงนำมาซึ่งข้อกังขาต่อความสามารถของทีมงาน Terra ในการคงราคาเหรียญ ในสถานการณ์ที่เกิดปัญหากับ UST เหรียญ Terra Luna ก็ดิ่งฮวบลงเช่นกัน เสียมูลค่าถึง 90% โดยราคาเคยอยู่ที่ $120 ในเดือนเมษยน แต่ตอนนี้คุณสามารถซื้อเหรียญได้ที่ราคา $5 และต้องไม่ลืมด้วยว่า โปรโตคอลบล็อกเชน Terra ถือว่าเป็นโครงการที่ค่อนข้างใหญ่และติดสิบอันดับแรกในแง่ของมูลค่ารวมในตลาดคริปโต

    ชะตาของ Tether เหรียญ stablecoin ที่มีศูนย์กลาง ซึ่งมีมูลค่ารวมที่ $82 พันล้านดอลลาร์ก็ประสบกับความกังวลนี้เช่นกัน การตรวจสอบบัญชีในโครงการนี้เมื่อปี 2021 ชี้ให้เห็นว่า แทนที่จะเป็นดอลลาร์ที่ทำหน้าที่เป็นเงินสำรองให้กับโครงการ มันยังคงมีความไม่ปลอดภัยมากมายที่พบให้เห็นในบัญชี การเทขาย USDT จึงเริ่มร้อนแรงขึ้น และเงินหมุนเวียนในตลาดก็ลดลง $1.4 พันล้านดอลลาร์ในช่วงไม่กี่วันล่าสุด

    มูลค่าเงินรวมในตลาดคริปโตยังคงลดลงต่อเนื่อง ณ ขณะที่เขียนบทวิเคราะห์ฉบับนี้ ในวันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม ตัวเลขดังกล่าวอยู่ที่ $1.290 ล้านล้านดอลลาร์ ($1.657 ล้านล้านเมื่อหนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้า) ด้านดัชนี Crypto Fear & Greed Index ขยับลดลงจาก 22 เหลือ 10 จุด จาก 100 และยังคงปักหลักอยู่ในโซนกลัวขั้นสุด (Extreme Fear) ด้านคู่ BTC/USD หลังจากมีการรีบาวด์เล็กน้อย ขณะนี้ซื้อขายอยู่ที่ $30,150 สำหรับ low ในสัปดาห์ที่อยู่ที่ $26,580 ทั้งนี้ ครั้งสุดท้ายที่ราคาทำระดับต่ำสุดขนาดนี้คือเมื่อเดือนธันวาคมปี 2020

    จำนวน “วาฬ” ในหมู่ผู้ถือบิทคอยน์ 1000 เหรียญขึ้นไป ลดลงต่อเนื่อง ตัวเลขดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำสุดแล้วนับตั้งแต่ต้นปี ในขณะเดียวกัน ปริมาณของคริปโตเคอเรนซีบนตลาดแลกเปลี่ยนกลับสูงสุดในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา นักวิเคราะห์จาก Glassnode มองว่า ปริมาณการไหลเข้ามาของเหรียญโดยเฉลี่ยมายังตลาดแลกเปลี่ยนที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ประมาณ 1755 BTC

    ไมค์ โนโวกราตซ์ (Mike Novogratz) ผู้ก่อตั้ง Galaxy Digital แสดงข้อกังขาว่าฝั่งกระทิงจะสามารถป้องกันระดับแนวรับที่ $30,000 สำหรับบิทคอยน์ และ $2,000 สำหรับอีธีเรียมได้หรือไม่ “จนกว่าเราจะขยับถึงจุดสมดุลใหม่ สินทรัพย์ดิจิทัลจะยังคงซื้อขายโดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับดัชนี Nasdaq สัญชาตญาณของผมบอกว่า การขาดทุนสะสมยังจะเกิดขึ้นอีก และมันจะขาดเสถียรภาพ มีความผันผวน และทำให้ตลาดซับซ้อนเป็นอย่างมาก” เขากล่าวอธิบาย เขาเตือนด้วยว่า สถานการณ์เชิงลบอาจเกิดขึ้น ในกรณีที่ดัชนี Nasdaq ขยับลงต่ำกว่า $11,000 (ราคาขยับถึง 11,688 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม)

    ปีเตอร์ ชิฟฟ์ (Peter Schiff) ผู้ปกป้องทองคำ ได้ทำนายว่าราคาบิทคอยน์จะทรุดลงต่ำกว่า $10,000 บร็อค เพียร์ซ (Brock Pierce) ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงบิทคอยน์และอดีตผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปี 2020 ให้สัมภาษณ์กับ Fox Business ว่า “บิทคอยน์อาจดิ่งลงศูนย์ นี่คือผลลัพธ์แบบคู่ คือ ถ้าไม่ใช่ $1 ล้านดอลลาร์ต่อ 1 BTC ก็เป็นศูนย์” เขากล่าว

    เพียร์ซเชื่อว่า “ภูมิทัศน์ของคริปโตเคอเรนซี” ในปัจจุบันนั้นคล้ายกันกับช่วงฟองสบู่บริษัทเทคโนโลยีมาก “สถานการณ์คล้ายกันกับช่วงปี 1999 ซึ่งขณะนี้ตลาดอยู่ในระยะเดียวกัน แล้วอะไรเกิดขึ้นในตอนนั้น? หลังจากฟองสบู่ดอทคอม บริษัท eBay, Amazon และบริษัทที่น่าสนใจอื่น ๆ ปรากฏขึ้น แต่หลายธุรกิจต้องล้มละลายเช่นกัน แต่นี่ไม่ได้หมายว่าสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นไม่ใช่ของจริง และจะไม่มีบทบาทสำคัญในอนาคตร่วมกันของพวกเรา” กล่าวโดยเศรษฐีพันล้านรายนี้

    เพียร์ซเองยอมรับว่า เขากระจายความเสี่ยงในพอร์ตของเขา โดยผ่าน Ethereum เป็นหลัก เขายังวางเดิมพัน “เลขศูนย์เก้าตัว” กับ EOS โดยแปลงหุ้นทั้งหมดใน Block.one ของเขาเป็นคริปโตเคอเรนซี

    เคธี วูด ซีอีโอบริษัท ARK Invest มีความเห็นที่ต่างไปจากผู้ทรงอิทธิพลคนอื่น โดยเธอยังคงแสดงความเชื่อมั่นอย่างมั่นคง เธอเชื่อว่า ความสัมพันธ์ที่เติบโตขึ้นระหว่างสินทรัพย์คริปโตและสินทรัพย์ดั้งเดิมบ่งชี้ถึง แนวโน้มตลาดหมีจะสิ้นสุดลงในเร็ว ๆ นี้ เธอมีความเห็นว่า มูลค่าที่ลดลงของบิทคอยน์ควบคู่กับตลาดดั้งเดิมเป็นเพียงปรากฏการณ์ชั่วคราว “คริปโตเคอเรนซีคือสินทรัพย์ประเภทใหม่ที่ไม่ควรขยับตามดัชนี Nasdaq แต่มันคือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น เรากำลังอยู่ในแนวโน้มตลาดหมี ซึ่งสินทรัพย์ทั้งหมดขยับในทิศทางเดียวกัน และเรากำลังมองเห็นตลาดแต่ละตลาดค่อย ๆ ยอมจำนน แต่คริปโตเคอเรนซีอาจใกล้ที่จะจบวัฎจักรอย่างสมบูรณ์”

    ประธาน ARK Invest รายนี้เชื่อว่า ตลาดคริปโตเคอเรนซีจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดหลังจากสินทรัพย์ดั้งเดิมตกต่ำลง “ภาวะถดถอยที่เกิดขึ้นในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร สินค้าโภคภัณฑ์ และตลาดคริปโตกำลังส่งผลให้เกิดอารมณ์เชิงลบในหมู่นักลงทุน แต่ดูงานวิจัยของเราสิ…ฉันไม่สามารถบอกพวกคุณได้เลยว่า เรามั่นใจมากแค่ไหนว่าผลิตภัณฑ์ของเราจะเปลี่ยนแปลงโลก และเรากำลังอยู่ในช่วงการเติบโตแบบชี้กำลัง” วูดมองว่า บล็อกเชนคือกลุ่มเทคโนโลยีที่จะเติบโตอีกมากกว่า 20 เท่า ในช่วง 7-8 ปีข้างหน้า

    อีกหนึ่งความหวังสำหรับนักลงทุนก็คือ ตอนนี้บิทคอยน์มาถึงครึ่งทางของการฮาล์ฟเหรียญครั้งถัดไปแล้ว โดยเกิดขึ้นที่บล็อกที่ 735,000 การฮาล์ฟเหรียญคือการลดผลตอบแทนในการขาดเหรียญลงครึ่งหนึ่ง ซึ่งจะเกิดขึ้นทุก ๆ 210,000 บล็อก หรือโดยประมาณคือทุกสี่ปี ทั้งนี้ มีบล็อกเหลือจำนวน 105,000 บล็อก จนกว่าจะถึงการฮาล์ฟเหรียญครั้งถัดไป และเราจะทราบวันที่ที่มีการฮาล์ฟเหรียญล่วงหน้าเพียงไม่กี่วัน เนื่องจากเวลาในการผลิตบล็อกผันผวนอยู่ที่ 10 นาที การฮาล์ฟเหรียญครั้งก่อนหน้าเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2020 และครั้งถัดไปคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนเมษายนปี 2024

    วัฎจักรในการฮาล์ฟเหรียญคือหนึ่งในกลไกหลักของเครือข่ายบิทคอยน์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการฮาล์ฟผลตอบแทนที่เป็น BTC สำหรับนักขุดเหรียญ ดังนั้น บิทคอยน์ที่ถูกขุดก็ลดลงครึ่งหนึ่ง เนื่องจากผลตอบแทนของผู้ขุดเป็นที่มาเดียวกันกับที่ออกเหรียญใหม่ ตั้งแต่การกำเนิดบิทคอยน์จนถึงการฮาล์ฟเหรียญครั้งแรก นักขุดเหรียญได้รับผลตอบแทนที่ 50 BTC ต่อบล็อก จากนั้น จำนวนเหรียญบิทคอยน์ลดลงเป็น 25 BTC และในวัฎจักรรอบถัดไปเหลือ 12.5 BTC ในขณะนี้ นักขุดเหรียญได้รับ 6.25 BTC จากการขุดเหรียญหนึ่งบล็อก

    และหากนักขุดเหรียญสูญเสียรายได้ในการขุดเหรียญ นักลงทุนจะเป็นผู้ได้กำไรแทน การสังเกตการณ์ชี้ให้เห็นว่า การสังเกตการณ์ชี้ให้เห็นว่า ราคาบิทคอยน์จะเติบโตอย่างก้าวกระโดดโดยมีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการนี้ ดังนั้น ก่อนการฮาล์ฟเหรียญครั้งแรก BTC ฺมีราคาอยู่ที่ $127 ก่อนครั้งที่สอง ราคาขึ้นไปที่ $758 และก่อนครั้งที่สามคือ $10,943 เหลือเวลาให้รออีกไม่นานคือไม่ถึงสองปี เราจะได้คำตอบกันว่าจะราคา BTC จะก้าวกระโดดเหมือนอย่างที่เคยในปี 2024 หรือไม่

 

กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX

 

หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้


« การวิเคราห์ตลาดและข่าว
รับการฝึก
มือใหม่ในตลาดใช่ไหม?ใช้ส่วน เริ่มฝึกฝน เริ่มฝึกฝน
ติดตามเรา (ในโชเซียลเน็ตเวิร์ค)