พฤษภาคม 21, 2022

EUR/USD: การเติบโตของคู่นี้เป็นผลของการปรับฐาน DXY

  • ดัชนีดอลลาร์ DXY ทำระดับสูงสุดในรอบหลายปีที่ 105.05 เมื่อวันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม หลังจากขยับขึ้นมาตลอดหกสัปดาห์ ครั้งสุดท้ายที่ราคาไต่ขึ้นมาระดับนี้คือเมื่อ 20 ปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม การกลับตัวของเทรนด์เกิดขึ้นและดัชนี DXY กลับมาอยู่ต่ำกว่า 103.00 เมื่อวันที่ 19-20 พฤษภาคม นักวิเคราะห์หลายคนมองว่า แนวโน้มขาลงดังกล่าวน่าจะเป็นการปรับฐานทางเทคนิคมากกว่า และไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงในปัจจัยพื้นฐานแต่อย่างใด ปัจจัยต่าง ๆ ยังคงอยู่ฝั่งดอลลาร์สหรัฐ แต่ก็เริ่มมีสัญญาณเตือนภัยปรากฏขึ้นแล้ว หลังจากการคุมเข้มนโยบายทางการเงินของธนาคารเฟดยิ่งเพิ่มความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และโอกาสการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เพิ่มขึ้น

    แต่ต้องย้ำอีกครั้งว่าปัจจัยพื้นฐานยังคงอยู่ฝั่งดอลลาร์ ดัชนียอดขายปลีกในสหรัฐฯ ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม แสดงถึงการเพิ่มขึ้นของกิจกรรมของผู้บริโภคในเดือนเมษายนถึง 0.9% ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 0.7% ตัวเลขการผลิตทางอุตสาหกรรมก็สูงกว่าการคาดการณ์เช่นกัน โดยเพิ่มขึ้น 1.1% จากการคาดการณ์ที่ 0.5%

    ในสัปดาห์ที่แล้ว นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารเฟดสหรัฐฯ ออกมายืนยันความประสงค์อีกครั้งที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.5% ในที่ประชุมคณะกรรมการ FOMC (คณะกรรมการตลาดเสรีสหรัฐฯ) ในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม ทั้งนี้ ธนาคารเฟดได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้วสองครั้งในปีนี้ แน่นอนว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องจะทำให้ต้นทุนสินเชื่อสูงขึ้นไม่ใช่แค่อุตสาหกรรม แต่ยังรวมถึงค่าใช้จ่ายของประชาชน ทั้งการขอสินเชื่อจำนอง สินเชื่อผู้บริโภค อัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต ฯลฯ

    อย่างไรก็ตาม เมื่อวันอังคารที่ 17 พฤษภาคม เจอโรม พาวเวลล์ ประกาศว่า ธนาคารเฟดจะเดินหน้าคุมเข้มนโยบายทางการเงินต่อไป และหยุดการขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็ต่อเมื่อธนาคารฯ ได้รับ “หลักฐานที่ชัดเจนและน่าเชื่อถือ” ว่าภาวะเงินเฟ้อชะลอตัว และหากอัตราเงินเฟ้อไม่ปรับลดลงตามแผนของธนาคารกลางฯ ธนาคารฯ จะไม่จำกัดอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 3.0% แต่จะเพิ่มเป็น 4.0% ภายใน 12-15 เดือน ซึ่งจะให้ข้อได้เปรียบเพิ่มเติมกับดอลลาร์เทียบกับค่าเงินสกุลอื่น ๆ ในดัชนี DXY รวมถึงเงินยูโร

    อีกด้านหนึ่ง นักลงทุนมีความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจยุโรป ความกังวลนี้โดยหลักแล้วมาจากความพึ่งพาของอียูต่อพลังงานเชื้อเพลิงของรัสเซีย เมื่อวันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม ประเทศในอียูเริ่มการเจรจาเกี่ยวกับ 6 มาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียจากที่ได้มีการบุกรุกยูเครน ที่สำคัญคือมาตรการคว่ำบาตรการซื้อน้ำมันและก๊าซจากรัสเซีย ตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่ามาตรการคว่ำบาตรดังกล่าวจะเป็นมาตรการเบ็ดเสร็จหรือแค่บางส่วน จะเริ่มบังคับใช้เมื่อใด และจะมีข้อยกเว้นหรือไม่ แต่สิ่งที่ชัดเจนแล้วก็คือ การคว่ำบาตรนี้จะสร้างปัญหารุนแรงไม่ใช่แค่ต่อรัสเซีย แต่รวมถึงเศรษฐกิจยุโรป ซึ่งย่อมสร้างความกังวลต่อนักลงทุน

    เจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เสริมเรื่องความไม่แน่นอนต่อสถานการณ์ที่ซับซ้อนในปัจจุบัน เธอกล่าวว่ากลุ่มประเทศ G7 กำลังหารือแนวคิดในการจัดตั้งภาษีสูงสุดในการนำเข้าพลังงานจากรัสเซีย ในทางหนึ่ง มันดูไม่สมเหตุสมผลในการบังคับใช้กับตนเองในกรณีนี้ แต่ในอีกทางหนึ่ง มาตรการนี้จะส่งผลร้ายอย่างหนักต่อกระเป๋าเงินของผู้บริโภคชาวยุโรปที่อยากจะหลีกเลี่ยงการขาดแคลนพลังงาน

    สถานการณ์เรื่องเงินเฟ้อในยูโรโซนยังขาดความชัดเจน สถิติที่ประกาศเมื่อวันพุธที่ 18 พฤษภาคม ชี้ถึงอัตราดอกเบี้ยที่ 7.4% ซึ่งคิดเป็น 3.7 เท่า สูงกว่าระดับเป้าหมายของธนาคารกลางยุโรปที่ 2.0% โอลลี เรห์น (Olli Rehn) ประธานธนาคารกลางฟินแลนด์กล่าวว่า ในสถานการณ์เช่นนี้ กรรมการบริหารธนาคารกลางยุโรปเห็นชอบเกี่ยวกับความจำเป็นที่จะต้องออกห่างจากอัตราดอกเบี้ยติดลบ “อย่างค่อนข้างรวดเร็ว” ทั้งนี้ ขณะนี้ อัตราดอกเบี้ยในยูโรโซนอยู่ที่ -0.5% และติดลบมาตลอด 8 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2014 อย่างไรก็ดี การถอยห่าง “อย่างค่อนข้างรวดเร็ว” นั้นเป็นคำพูดที่กำกวมมาก ซึ่งขัดกันกับการตัดสินใจอย่างเด็ดขาดของธนาคารเฟดเพื่อขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1.0% ในช่วงสองเดือนข้างหน้า

    ความไม่สอดคล้องกันระหว่างนโยบายสายเหยี่ยวเต็มพิกัดของธนาคารเฟด และสายพิราบแบบคลุมเครือของธนาคารกลางยุโรปชี้ให้เห็นว่า ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง แต่สัปดาห์ที่แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นไปในทางตรงกันข้าม ดอลลาร์ติดลบ 150 จุด เทียบกับยูโรตั้งแต่วันที่ 16 - 20 พฤษภาคม และคู่ EUR/USD ปิดตลาดที่ 1.0557 อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญบางคนมองว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นผลลัพธ์ของการปรับฐานโดยรวมของดัชนี DXY และเป็นไปตามแนวโน้มขาลงในระยะกลางของคู่นี้

    ณ ขณะที่เขียนบทวิเคราะห์ฉบับนี้ในช่วงเย็นวันที่ 20 พฤษภาคม ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญแบ่งออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่ 45% มั่นใจว่า คู่ EUR/USD จะกลับลงมายังทิศใต้ จำนวนเดียวกันนั้นรอให้มีการปรับฐานต่อเนื่องไปยังด้านบน และส่วน 10% ที่เหลือมีท่าทีเป็นกลาง นอกจากนี้ ยังมีความแตกต่างกันระหว่างผลการวิเคราะห์อินดิเคเตอร์บน D1 จากการปรับฐาน ในส่วนอินดิเคเตอร์เทรนด์ 40% ให้สัญญาณสีแดง 60% สีเขียว ส่วนออสซิลเลเตอร์ให้ภาพรวมที่ชัดเจนมากกว่า ในที่นี้ 70% ให้สัญญาณสีเขียว 20% สีแดง และ 10% ให้สีเทากลาง ระดับแนวต้านที่ใกล้ที่สุดตั้งอยู่ในโซน 1.0600 หากทำสำเร็จ พวกเขาจะพยายามตัดผ่านแนวต้านที่ 1.0640 และขยับขึ้นมายังโซน 1.0750-1.0800 สำหรับฝั่งหมี ภารกิจอันดับหนึ่งคือการตัดทะลุแนวรับที่บริเวณ 1.0500 จากนั้นจะเป็นโซน 1.0460-1.0480 และอัปเดตราคา low วันที่ 13 พฤษภาคมที่ 1.0350 หากทำสำเร็้จ พวกเขาจะเร่งตัวไปทำราคา low ปี 2017 ที่ 1.0340 ซึ่งมีแนวรับที่ต่ำกว่าเกิดขึ้นเมื่อ 20 ปีก่อนเท่านั้น

    สำหรับปฏิทินเศรษฐกิจในสัปดาห์นี้ การประกาศที่น่าสนใจ ได้แก่ ดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจ (Markit) ในเยอรมนีและยูโรโซนในวันอังคารที่ 24 พฤษภาคม ดัชนีคำสั่งซื้อสหรัฐฯ และคำสั่งคงทนซึ่งจะประกาศในวันพุธ ผลการประชุมของคณะกรรมการ FOMC ของธนาคารเฟดในวันเดียวกัน และการประกาศดัชนี GDP เบื้องต้นของสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2022 ในวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม

GBP/USD: เงินเฟ้อสูงขึ้นต่อเนื่อง

  • แน่นอนว่าความเคลื่อนไหวของคู่ GBP/USD มีตัวกำหนดคือความเคลื่อนไหวของดัชนีดอลลาร์ DXY ในสัปดาห์ที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยบางส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งก็คือเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร

    ธนาคารอังกฤษได้ประกาศการคาดการณ์เมื่อประมาณสองเดือนที่แล้วว่า อัตราเงินเฟ้อจะทำระดับสูงสุดในเดือนเมษายน สถิติที่ประกาศเมื่อวันพุธที่ 18 พฤษภาคม ช่วยยืนยันการคาดการณ์ดังกล่าว แต่มีข้อยกเว้นก็คือคำว่า “แต่” ธนาคารกลางฯ ได้ทำนายไว้ว่า อัตราเสูงสุดจะอยู่ที่ 7.2% แต่ผลปรากฏว่าเงินเฟ้อจริงอยู่ที่ 9.0% ซึ่งสูงสุดในรอบ 40 ปีที่ผ่านมา และในกรณีนี้ เราอาจนำคำกล่าวของกวีชาวอังกฤษ วิลเลียม เชคสเปียร์ ว่า “นี่คือจุดสูงสุดหรือไม่ใช่? นั่นล่ะคือคำถาม!” ชัดเจนว่าตอนนี้ยังไม่มีใครพูดถึงภาวะเงินเฟ้อที่ชะลอตัวแต่อย่างใด และปัญหานี่เองก็เป็น “ความเจ็บปวดหลัก” ของเศรษฐกิจอังกฤษ

    GBP/USD แตะระดับสูงสุดรอบสัปดาห์ที่ 1.2524 โดยมีข่าวสองชิ้นที่ช่วยพยุงเงินปอนด์ ข่าวแรกคือ ดัชนียอดขายปลีกจากสำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างผิดความคาดหมายที่ 1.4% ในเดือนเมษายน ในขณะที่ตลาดคาดการณ์ว่าดัชนีดังกล่าวลดลง 0.2% นอกจากนี้ เงินปอนด์ยังได้รับแรงหนุนจาก ฮิวจ์ พิลล์ (Hugh Pill) ผู้อำนวยการนักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารกลางอังกฤษ เขากล่าวว่า ธนาคารฯ ยังไม่เดินหน้าคุมเข้มนโยบายทางการเงิน เนื่องจากความเสี่ยงที่เงินเฟ้อจะดีดตัวสูงขึ้นยังคงปรากฏอยู่ และคาดว่าเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นเป็นเลขสองหลักในปี 2022

    ผลลัพธ์ก็คือ ราคาคู่นี้ปิดตลาดรอบห้าวันที่ 1.2490 ซึ่งเป็นราคาที่ซื้อขายในช่วงปลายเดือนเมษายน-ต้นเดือนพฤษภาคม และเป็นช่วงที่ราคาเคยขยับถึงในปี 2016 2019 และ 2020 ราคาจะขยับลงต่อหรือไม่? ผู้เชี่ยวชาญ 20% ตอบคำถามนี้ว่าใช่ ส่วน 25% ตอบว่าไม่ ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ (55%) ไม่แน่ใจว่าควรตอบสนองต่อคำพูดของนักเศรษฐศาสตร์รายนี้อย่างไร จึงให้คำตอบเป็นกลาง สำหรับอินดิเคเตอร์ 50% ชี้ว่าราคาจะขยับขึ้น และ 50% ชี้ว่าจะขยับลง ในส่วนออสซิลเลเตอร์ สมดุลนั้นแตกต่างกันบางส่วน มีออสซิลเลเตอร์ 20% ที่ชี้ไปยังทิศใต้ 80% ชี้ไปยังทิศเหนือ แต่มีจำนวนหนึ่งในสี่ที่ชี้ว่าราคาอยู่ในโซน overbought แล้ว ระดับแนวรับอยู่ที่ 1.2435, 1.2400, 1.2370, 1.2300, 1.2200 จากนั้นคือ 1.2154-1.2164 และ 1.2075 ส่วนจุดแนวรับที่สำคัญของคู่นี้และมีความสำคัญทางจิตวิทยาคือ 1.2000 ในกรณีที่ราาคาปรับฐานต่อเนื่องไปยังทิศเหนือ ราคาคู่นี้จะต้องพิชิตแนวต้านในโซน 1.2500-1.2525 จากนั้นเป็นโซน 1.2600-1.2635, 1.2700-1.2750, 1.2800-1.2835 และ 1.2975-1.3000

    กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญของอังกฤษในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ถ้อยแถลงของ แอนดริว ไบเลย์ ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษในวันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม และการประกาศดัชนี PMI Composite และดัชนี Markit PMI ภาคการผลิตและการบริการในวันอังคารที่ 24 พฤษภาคม

USD/JPY: ทำไมเงินเยนจึงแข็งค่า

บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์และคริปโตเคอเรนซีประจำวันที่ 23 - 27 พฤษภาคม 20221

  • ผู้บริหารจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอมเอฟ) กล่าวว่า “โดยรวมแล้ว เงินเยนที่อ่อนค่าจะช่วยญี่ปุ่น” เราเคยได้ยินคำพูดทำนองนี้มาแล้วจากผู้บริหารของธนาคารกลางญี่ปุ่นเช่นกัน ไอเอมเอฟเชื่อเช่นกันว่า การควบคุมเส้นโค้งของผลตอบแทนพันธบัตรโดยธนาคารกลางญี่ปุ่นนั้นถือว่าค่อนข้างมีประสิทธิภาพ และอัตราการเคลื่อนที่ของเงินเยน “สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานในระยะกลาง”

    อย่างไรก็ดี เรายังไม่เห็นเงินเยนที่อ่อนค่าลง แต่สิ่งที่เห็นก็คือเงินเยนแข็งค่าขึ้นในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา และในวันที่ 20 พฤษภาคม ราคาก็กลับมาอยู่ระดับเดียวกับวันที่ 20 เมษายนที่ 127.85 โดยไม่ได้ทำระดับสูงสุดของวันที่ 9 พฤษภาคมที่ 131.34 ผู้เชี่ยวชาญหลายคนมองว่า เงินเยนแข็งค่าขึ้นเนื่องมจากความต้องการในสินทรัพย์ปลอดความเสี่ยงมากที่สุดในหมู่นักลงทุน อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่แค่สาเหตุเดียวเท่านั้น

    เงินเฟ้อในญี่ปุ่นยังคงสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ประชาชนไม่พึงพอใจ ดัชนีราคาผู้บริโภคทำสถิติสูงขึ้นตลอดแปดเดือนติดต่อกัน ในเดือนเมษายน ดัชนีเพิ่มขึ้น 2.5% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยเป็นอัตราการเติบโตที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2014 เช่นเดียวกับของ Dow Jones ระดับเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเกินระดับ 2.0% เป็นครั้งแรกในเดือนกันยายน 2008 และสูงขึ้นโดยยังไม่พิจารณาผลกระทบจากการปรับขึ้นภาษีการบริโภค ซึ่งอยู่ที่ 1.2% ในเดือนมีนาคม โดยทั่วไปแล้ว ปัจจัยทั้งหมดนี้ทำให้ประชาชนชาวญี่ปุ่นไม่พึงพอใจเป็นอย่างมาก และนักการเมืองก็เริ่มตอบสนอง แต่ ณ จุด ๆ หนึ่งจะต้องมีปฏิกิริยาท่าทีจากธนาคารกลางญี่ปุ่น นักลงทุนหลายคน โดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติคาดว่า แม้ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะยืนหยัดที่จะคงนโยบายแบบผ่อนคลายสุดโต่ง แต่อย่างไรก็จะถูกบีบบังคับให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ย และเราจะเห็นได้ชัดเจนว่า ความคาดหวังนี้เองที่เป็นปัจจัยเสริมส่งผลให้เงินเยนแข็งค่าขึ้น

    ณ ขณะนี้ นักวิเคราะห์ 55% โหวตว่าเงินเยนจะแข็งค่าขึ้นต่อและ USD/JPY จะยังคงขยับลงทิศใต้ต่อไป 40% โหวตว่าแนวโน้มขาขึ้นจะมีความต่อเนื่อง และ 5% คาดการณ์ทิศทางด้านข้าง ในขณะเดียวกัน ผู้ที่สนับสนุนการวิเคราะห์ทางเทคนิคนั้นให้ความสำคัญกับรูปแบบคลาสสิกที่ก่อตัวขึ้นบนกราฟ คือ “double top”(หรือ “head and shoulders”) ในส่วนอินดิเคเตอร์บนกรอบ D1 ให้ภาพดังนี้ ออสซิลเลเตอร์ 80% ให้สัญญาณสีแดง 10% สีเขียว และ 10% สีเทากลาง ในส่วนอินดิเคเตอร์เทรนด์ คือ 50% ต่อ 50% แนวรับที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่บริเวณ 127.50 ตามมาด้วยโซนและระดับที่ 127.00, 126.30-126.75, 126.00 และ 125.00 เป้าหมายของฝั่งกระทิงคือการขึ้นไปเหนือระดับ 128.00 จากนั้นต้องยืนเหนือแนวต้านที่ 129.00, 129.60, 130.00, 130.50 และทำ high ของวันที่ 9 พฤษภาคมที่ 131.34 ซึ่งราคา high ของวันที่ 01 มกราคม 2002 ที่ 135.19 ถือว่าเป็นเป้าหมายสูงสุด

    สำหรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในสัปดาห์นี้ เราอาจให้ความสนใจกับคำแถลงของ ฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่นในวันพุธที่ 25 พฤษภาคม แม้ว่ามีโอกาสน้อยที่เราจะได้ข่าวที่น่าประหลาดใจใด ๆ หรือมีโอกาสน้อยที่จะส่งผลต่อตลาด แต่ถ้าเกิดมีข่าวที่น่าสนใจเกิดขึ้นล่ะ? ตลาดยังคงจดจำได้ดีเมื่อปี 2016 ที่ผู้ว่าการธนาคารฯ รายนี้ปฏิเสธโอกาสการขึ้นอัตราดอกเบี้ย และจากนั้นเปลี่ยนใจอย่างกะทันหัน..

คริปโตเคอเรนซี: จุดจบของขาขึ้นบิทคอยน์?

  • ฝั่งกระทิงของ BTC/USD พยายามอย่างเต็มที่ที่จะพยุงราคาไว้ในโซน $30,000 ตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม การต่อสู้นั้นเกิดขึ้นในโซน $28,650-31,000 ตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และแม้ว่าดัชนี S&P500, Dow Jones, และ Nasdaq จะรีบาวด์ในวันที่ 18 พฤษภาคม ซึ่งสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมต่อบิทคอยน์ ราคาก็ยังต้านทานไว้ได้

    โดยทั่วไปแล้ว ความฝันของนักลงทุนหลายคนคือการขจัดความสัมพันธ์ของบิทคอยน์ให้ออกจากดัชนีหุ้น โดยเฉพาะดัชนี S&P500 ในทางหนึ่ง คนกลุ่มเดียวกันนี้ฝันว่า สถาบันทั้งหลายจะพากันมายังตลาดคริปโต และบิทคอยน์ รวมถึงหุ้นจะรวมอยู่เข้าในพอร์ตการลงทุนของพวกเขา แต่การที่คริปโตเคอเรนซีจะกลายเป็นผู้เล่นในตลาดการเงินอย่างเต็มตัว คริปโตเคอเรนซีจะต้องปฏิบัติตามกติกาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และหากนักลงทุนขจัดสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงนี้ เราไม่ควรคาดหวังว่านักลงทุนจะทิ้งหุ้น Microsoft, Apple หรือ Amazon โดยลงทุนเป็นเงินบิทคอยน์หรืออีธีเรียม

    อีกหนึ่งความฝันก็คือบิทคอยน์จะต้องคงสถานะเป็นเครื่องสะสมมูลค่าที่เทียบเคียงกับทองคำได้ อย่างไรก็ตาม หลักการเรื่อง “ทองคำดิจิทัล” ในขณะนี้ยังไม่ใช่อะไรมากไปกว่าคำชมเชยต่อบิทคอยน์เท่านั้น หรืออาจเป็นกลอุบายของตลาดในการดันมูลค่าของบิทคอยน์ในสายตาของนักลงทุนรายย่อย แต่ความสำคัญของทองคำสำหรับมนุษยชาตินั้นได้รับการยืนยันมาแล้วหลายพันปี ในขณะที่ประวัติศาสตร์ของบิทคอยน์นั้นคงอยู่ไม่ถึง 15 ปีเท่านั้น มูลค่าของมันยังเป็นแค่ปริมาณที่จำกัดและความกระหายต่อผลกำไร

    ย้อนกลับไปยังปี 2010 BTC มีมูลค่าแค่ 5 เซนต์ และราคาบิทคอยน์ขยับถึง $69,000 ในช่วงสูงสุดเดือนพฤศจิกายน 2021 มีความชัดเจนว่าแนวโน้มการเปลี่ยนเงินจาก $100 ดอลลาร์ ให้เป็น $138,000,000 อย่างรวดเร็วและง่ายดายนั้นเป็นปัจจัยที่ดึงดูดผู้คนจำนวนมหาศาลที่อยากรวยอย่างรวดเร็ว ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วง 10-12 ปีที่ผ่านมาอาจเรียกได้ว่าเป็น “ยุคตื่นทองคำดิจิทัล” ซึ่งเทียบกับยุคตื่นทองคำในสหัรฐฯ ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 แต่ในช่วงนั้น หลายคนแทนที่จะร่ำรวยขึ้น กลับต้องสูญเสียเงินไปมากมาย เช่นเดียวกับสิ่งที่เราสังเกตเห็นได้ในขณะนี้ ราคาบิทคอยน์ร่วงลงมายัง $26,579 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม โดยทำราคา low ใหม่ในปีนี้ และกลับมาสู่ราคาช่วงเดือนธันวาคม 2020 โดยมูลค่าลดลงถึง 60% ในเวลาเพียงแค่ 6 เดือน

    Bloomberg Billionaires Index ชี้ว่า ไบรอัน อาร์มสตรอง (Brian Armstrong) ซีอีโอ Coinbase มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิลดลงจาก $13.7 เหลือ $2.2 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งไม่ใช่เพราะราคาสินทรัพย์ดิจิทัลที่ลดลงเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะราคาหุ้น Coinbase ที่ลดลงเช่นกัน ราคาหุ้นบริษัทลดลงมากกว่า 80% ด้านทุนของซีอีโอตลาดคริปโต FTX ของ แซม แบงก์แมน-ฟรีด (Sam Bankman-Fried) ลดลงกว่าครึ่งหนึ่ง และขณะนี้อยู่ที่ $11.3 พันล้านดอลลาร์ ในขณะที่ สองพี่น้องผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์มการเทรดคริปโต Gemini คาเมรอน และไทเลอร์ วิงเคิลโวส (Cameron และ Tyler Winklevoss) แต่ละคนสูญเงินกว่า $2 พันล้านดอลลารฺ ซึ่งคิดเป็นเงินเกือบ 40% ของทรัพย์รวมของพวกเขา แล้วในสถานการณ์เช่นนี้ เราจะพูดถึง “การออมเงินและการประกันความเสี่ยง” อย่างไรกันดี?

    อีกหนึ่งข้อดีของบิทคอยน์ที่ผู้สนับสนุนมักพูดถึงคือธรรมชาติที่ไร้ศูนย์กลางและความเป็นนิรนามของผู้ถือเหรียญ อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่านี่มันเป็นเรื่องไม่จริง แกรี เกนสเลอร์ (Gary Gensler) ประธานคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ (SEC) อธิบายว่าแม้ตลาดคริปโตจะถือว่าไร้ศูนย์กลาง แต่ในความเป็นจริง กิจกรรมส่วนใหญ่จะดำเนินการบนแพลตฟอร์มการเทรดขนาดใหญ่ไม่กี่แห่ง ซึ่งหน่วยงานกำกับดูแลและบังคับใช้กฎหมายติดตามกิจกรรมอย่างใกล้ชิด และข้อเท็จจริงที่วอลเล็ตของคนรัสเซียถูกระงับการเข้าถึงหลังมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียก็บอกอะไรกับเราได้มาก.

    ในที่สุด โอกาสที่สี่ในการเพิ่มมูลค่าของ BTC คือการใช้งานอย่างแพร่หลายของบิทคอยน์ในฐานะสื่อกลางในการชำระเงิน แต่ทุกอย่างก็ไม่ได้ราบรื่นในแง่นี้ โดย แซม แบงก์แมน-ฟรีด ซีอีโอแพลตฟอร์ม FTX ได้ตั้งคำถามถึงความสามารถของบิทคอยน์ในการเป็นระบบการชำระเงินที่ได้รับความนิยม โดยชี้ให้เห็นถึงการขาดความสามารถในการปรับขนาดเครือข่าย “หลายล้านธุรกรรม” ต่อวินาทีเนื่องด้วยการไร้ประสิทธิภาพและต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมที่สูงของบล็อกเชน

    เมื่อกลับสู่ความเป็นจริง เราต้องอธิบายว่ามูลค่ารวมในตลาดคริปโตในขณะนี้ลดลงต่อเนื่อง ณ ขณะที่เขียนบทวิเคราะห์ในช่วงเย็นวันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม ราคาอยู่ที่ $1.248 ล้านล้าน )$1.290 ล้านล้านเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า) ดัชนี Crypto Fear & Greed Index ปักหลักอยู่ในโซนความกลัวขั้นสุด (Extreme Fear) และอยู่ที่บริเวณ 13 จุด นอกจากนี้ ดัชนียังลดลงมายัง 8 จุด เมื่อวันอังคารที่ 17 พฤษภาคม ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2020 โดยคู่ BTC/USD แทบจะไม่ค่อยได้อยู่ใน “โซนสงคราม” ที่ระดับ $29.325

    หนึ่งในนักวิจารณ์บิทคอยน์ตัวยงและประธานบริษัท Euro Pacific Capital Inc. ปีเตอร์ ชิฟฟ์ (Peter Schiff) เชื่อว่า บิทคอยน์มีโอกาสที่จะดิ่งลงหนักต่อไป เขาให้ข้อสังเกตว่า บิทคอยน์สูญเสียระดับแนวรับที่สำคัญไปแล้วที่บริเวณ $33,000 และบิทคอยน์จะต้องขยับลงไปที่ $8,000 เพื่อที่จะแตะระดับถัดไป “เส้นแนวรับถูกตัดทะลุ มีโอกาสสูงที่ราคาจะเคลื่อนที่ไปยังระดับแนวรับที่ต่ำกว่า กราฟแสดงสองรูปแบบพร้อมกัน ทั้ง double-top และ head-shoulders ซึ่งการผสมผสานกันที่น่ากลัวนี้ ชี้ว่าเรายังมีเหวลึกรออยู่” ปีเตอร์ ชิฟฟ์ เขียนไว้ในบล็อกของเขา

    โรเบิร์ต คิโยซากิ (Robert Kiyosaki) ผู้เขียนหนังสือขายดี Rich Dad Poor Dad และผู้ประกอบการเรียกช่วงบิทคอยน์ตกต่ำนี้ว่าเป็น “ข่าวที่ดีเยี่ยม” และทำนายว่าราคาจะทดสอบระดับที่ $17,000 “อย่างที่ผมเคยบอกไว้แล้ว ผมคาดว่าบิทคอยน์จะลงมาที่ $20,000 จากนั้น เราจะรอให้ราคาลงไปทดสอบด้านล่าง อาจจะเป็นที่ $17,000 ทันทีที่สิ่งนี้เกิดขึ้น ผมจะจัดเต็ม วิกฤติคือช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่ทำให้เรารวยได้” เขากล่าว

    แต่ในมุมมองของ DonAlt นักยุทธศาสตร์คริปโต คำถามที่ว่าบิทคอยน์จะเคลื่อนที่ไปที่ไหนหลังจากทะลุบริเวณแนวรับสำคัญที่ $30,000 นั้นยังเป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบ “ในช่วง 3 เดือนข้างหน้า เราจะได้เห็นการยอมจำนนอย่างที่ทุกคนรอคอย หรือบิทคอยน์อาจจบรอบในกรอบ และเริ่มขยับขึ้นไปที่ $58,000” เขียนโดยผู้เชี่ยวชาญรายนี้ “ผมมองว่า ความเป็นไปได้ที่ราคาจะขยับลดลงนั้นสูงกว่า การคำนวณของผมชี้ว่า ระดับแนวรับถัดไปคือ $14,000 หลังจากนั้น การฟื้นตัวมากกว่า 2 เท่า ไปยังระดับสูงสุดของกรอบนั้นเป็นไปได้”

    DonAlt กล่าวเน้นว่า โครงสร้างปัจจุบันของตลาดบิทคอยน์อาจให้สัญญาณว่า ราคาได้ขยับถึงกรอบด้านล่างแล้ว อย่างไรก็ตาม เขากลัวความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งของบิทคอยน์กับตลาดหุ้นและโอกาสที่ดัชนี S&P500 จะทรุดตัว

    นักเทรดที่เป็นที่รู้จักกันในนาม Rekt Capital เห็นด้วยกับความเห็นว่า บิทคอยน์จะร่วงลงต่อ โดยเชื่อว่าราคาจะต้องขยับลดลงอีก 25% ก่อนจะถึงจุดต่ำสุดในกรอบช

    ในขณะที่นักวิเคราะห์ที่มีชื่อเล่นว่า Pentoshi คาดการณ์ว่าบิทคอยน์จะทะยานขึ้นในเร็ว ๆ นี้ เขามองว่า สถานการณ์กำลังเป็นผลดีต่อฝั่งกระทิง ตลาดหมีกำลังพยายามอย่างจริงจังที่จะกดราคาบิทคอยน์ แต่พวกเขาบรรลุผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์นัก “เหรียญหลายตัวเปลี่ยนมือไปด้วยความพยายามมากมาย แต่ฝั่งผู้ขายได้รับผลตอบแทนที่พอเหมาะแล้วหรือ? มันดูไม่เป็นเช่นนั้น

    เขาให้ตัวอย่างกราฟบิทคอยน์ ซึ่งแสดงถึงปริมาณการซื้อขายที่สูงมาก ประกอบกับการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนเพียงเล็กน้อย Pentoshi จึงเชื่อว่า ความล้มเหลวของฝั่งกระทิงที่จะกดมูลค่าของ BTC แม้ว่าจะมีแรงขายกดดันสูงชี้ให้เห็นว่า น้ำหนักกำลังใกล้จะเข้าข้างฝั่งกระทิง

    บิล มิลเลอร์ (Bill Miller) นักลงทุนเศรษฐีพันล้านชาวอเมริกันยังคงเชื่อมั่นในบิทคอยน์ เขาได้ผ่านช่วงเวลาขาลงของ BTC อย่างน้อยสามครั้งที่ราคาลดลงกว่า 80% แม้ว่าเหรียญส่วนหนึ่งของเขาจะถูกบังคับขายจาก margin call เขายังคงเชื่อในแนวโน้มกระทิงในระยะยาว

    อย่างที่เห็นข้างต้นว่าในขณะนี้เรายังไม่เห็นเสียงที่พ้องกันในหมู่ผู้มีอิทธิพลและผู้เชี่ยวชาญ แล้วเราควรทำอย่างไรในสถานการณ์นี้? แน่นอนว่าคุณอาจนั่งทับมือไว้ หรือคุณอาจขยันเทรดก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้ ในการเทรดสัญญา CFD คุณจะสามารถทำรายได้ได้ทั้งจากขาขึ้นและขาลงของตลาดคริปโต โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องมีคริปโตเคอเรนซีแต่อย่างใด ในการเทรดกับบริษัทโบรกเกอร์ NordFX นั้น คุณจะเปิดคำสั่งซื้อ 1 บิทคอยน์ คุณจะต้องใช้เงินเพียง $150 และ $15 เท่านั้นสำหรับธุรกรรม 1 Ethereum นี่จึงเป็นไลฟ์แฮ็คคริปโตของเราในสัปดาห์นี้

 

กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX

 

หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้


« การวิเคราห์ตลาดและข่าว
รับการฝึก
มือใหม่ในตลาดใช่ไหม?ใช้ส่วน เริ่มฝึกฝน เริ่มฝึกฝน
ติดตามเรา (ในโชเซียลเน็ตเวิร์ค)