มกราคม 5, 2023

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เราได้พูดถึงความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันการเงินชั้นนำของโลกต่อ อนาคตของคู่เงิน EUR/USD ในปี 2023 อย่างไรก็ดี บทวิเคราะห์ของเราในทุกปีจะประกอบด้วยคู่สกุลเงินหลักสองคู่คือ USD/JPY และ GBP/USD และครั้งนี้ก็พลาดไม่ได้เช่นกัน โดยเฉพาะเงินเยนและเงินปอนด์อังกฤษนั้นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากที่สุดในการวัดค่าดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ DXY (13.6% และ 11.9% ตามลำดับ)

แต่นอกเหนือจากการคาดการณ์อนาคต เราจะอธิบายให้คุณทราบถึงความคาดหวังของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตในปี 2022 และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

USDJPY และ GBPUSD: เกิดอะไรขึ้นในปี 2022 แล้วจะเกิดอะไรขึ้นในปี 20231 


USD/JPY: ขึ้นเหนือก่อนค่อยล่องใต้

เราได้ตั้งชื่อเรื่องบทวิเคราะห์ของคู่นี้เมื่อปีที่แล้วว่า “ญี่ปุ่นจำเป็นต้องมีเงินเยนที่อ่อนค่า” และทุกอย่างก็เป็นไปตามนั้นจริง โดยราคาเริ่มต้นที่ 115.00 เมื่อวันที่ 1 มกราคม เนื่องด้วยนโยบายทางการเงินแบบผ่อนปรนสุดขั้วและอัตราดอกเบี้ยติดลบ (-0.1%) ราคาจึงเข้าใกล้ 152.00 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ครั้งสุดท้ายที่ราคาเคยขยับขึ้นสูงขนาดนี้คือเมื่อ 32 ปีที่แล้ว แม้แต่กระทรวงการคลังและธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ก็กลัวค่าเงินเยนที่อ่อนค่าดังกล่าว และตัดสินใจแทรกแซงค่าเงินอย่างเร่งด่วนเพื่อช่วยพยุงค่าเงินเอาไว้ เงินเยนยังได้รับแรงสนับสนุนจากความคาดหวังต่อธนาคารเฟดที่จะเปลี่ยนท่าทีจากเข้มงวดสุดโต่งเป็นนโยบายที่ผ่อนคลายมากขึ้น ส่งผลให้ราคาในรอบปีของ USD/JPY เป็นไปดังนี้ (สถิติในช่วงสิ้นสุดแต่ละไตรมาส): Q1 - 121.00, Q2 - 135.00, Q3 - 144.00 และ Q4 - 131.00

เมื่อหนึ่งปีก่อนหน้านี้แทบจะไม่มีผู้เชี่ยวชาญท่านไหนเลยที่สงสัยว่าความแตกต่างระหว่างแนวทางของธนาคารกลางสหรัฐฯ และญี่ปุ่นจะทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น แต่แทบจะไม่มีใครเลยที่คาดคิดว่ากระแสการกระโดดขึ้นของค่าเงินจะมีกำลังแรงเช่นนั้น คำคาดการณ์ที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด (แต่ก็ยังถือว่าห่างไกล) เป็นของ ING Group (Internationale Nederlanden Groep) เครือธนาคารจากเนเธอร์แลนด์ ซึ่งให้การคาดการณ์ดังนี้: Q1 - 114.00, Q2 - 115.00, Q3 - 118.00 และ Q4 - 120.00 ส่วน Morgan Stanley (Q4 - 118.00) และ Amundi (Q4 - 116.00) เป็นอันดับถัดไป

ธนาคารจากฝรั่งเศส Societe Generale ธนาคารBarclays Bank ของอังกฤษและธนาคาร CIBC (Canadian Imperial Bank of Commerce) จากแคนาดาก็ตั้งเป้าระดับสูงสุดของคู่นี้ไว้ที่ 116.00 แต่ไม่ใช่ในช่วงปลายปี แต่เป็นในไตรมาสที่ 2 นอกจากนี้ นักวิเคราะห์จากสถาบันการเงินเหล่านี้ยังคาดการณ์ไว้ว่า เงินเยนจะต้องดันดอลลาร์ไปที่โซน 114.00-115.00 ส่วน Goldman Sachs ทำนายไว้พลาดมากที่สุด เพราะพวกเขาเชื่อว่าราคาจะขึ้นปี 2023 โดยตกลงมาที่ 111.00

 สถิติสุดท้ายของปีที่ผ่านมายังไม่เป็นที่ทราบกันแน่ชัด แต่มีการคาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อของผู้บริโภคสุดท้ายในปี 2022 จะอยู่ที่ 2.9% ซึ่งสูงกว่าระดับเป้าหมายเล็กน้อย แต่ยังคงต่ำกว่าผลงานของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่ธนาคารกลางมีท่าทีเชิงรุกในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงปีที่ผ่านมาเพื่อรับมือกับภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น นอกจากนี้ การคาดการณ์ของ BoJ ยังชี้ว่า ตัวเลขดังกล่าวอาจลดลงเป็น 1.6% ภายในสิ้นปี 2023 และสิ่งนี้จึงตั้งคำถามที่น่าคิดขึ้นมาว่า ถ้าทุกอย่างดีอยู่แล้ว ทำไมจะต้องคุมเข้มนโยบายทางการเงินในปัจจุบัน และขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสร้างปัญหาให้กับผู้ผลิตด้วย?

ธนาคารกลางญี่ปุ่นดำเนินการในลักษณะดังกล่าวอย่างชัดเจนในที่ประชุมครั้งที่แล้วเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม โดยตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ย แต่ก็ยังสร้างความน่าประหลาดใจให้กับตลาด โดยตัดสินใจเพิ่มผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเป็น 0.5% จึงเพิ่มความผันผวนให้มากขึ้น และการตัดสินใจนี้ทำให้ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นเทียบกับดอลลาร์กว่า 3%

นอกจากนี้ ระยะเวลาแห่งความสงบน่าจะมาถึง และจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 1 ทั้งนี้ คาดว่าจะมีมาตรการบางอย่างเกิดขึ้นหลังวันที่ 8 เมษายน ซึ่งเป็นวันที่ Haruhiko Kuroda ผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่นคนปัจจุบันหมดวาระลง และผู้ว่าการคนใหม่อาจมีท่าทีแข็งกร้าวมากกว่า อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีผู้ชิงตำแหน่งหลายคนที่มีท่าทีเข้มงวดมากกว่า แต่เราก็ไม่สามารถคาดหวังให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสุดโต่งได้เสมอไป

เราได้อธิบายไปแล้วว่าธนาคารเฟดสหรัฐฯ วางแผนอะไรไว้ในปี 2023 ซึ่งจะส่งผลต่อคู่ USD/JPY ในบทวิเคราะห์ครั้งก่อนหน้า และหากธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงท่าทีเหมือนเดิมในปัจจุบัน ช่องว่างในอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่มาก และหลังจากนั้นก็จะคงที่อย่างชัดเจน ผู้เชี่ยวชาญบางคนชี้ว่า สถานการณ์ในจีนอาจส่งผลกระทบต่อค่าเงินเยนอย่างมีนัยสำคัญ หากตัวชี้วัดเศรษฐกิจจีนยังคงลดลงต่อเนื่อง ค่าเงินญี่ปุ่นก็อาจกลายเป็น “ที่หลบภัย” ให้กับนักลงทุนชาวเอเชียที่จะช่วยดันค่าเงินเยนให้แข็งค่า

บางทีอาจจะเป็นปัจจัยข้างต้นที่ส่งผลต่อความเห็นของนักยุทธศาสตร์ที่ธนาคารชั้นนำระดับโลก โดย ING ประเมินว่า USD/JPY อาจขยับถึง 125.00 ภายในสิ้นปี 2023 ด้าน Societe Generale ให้การคาดการณ์รายไตรมาสที่คล้ายกันคือ: Q1 - 135.00, Q2 - 135.00, Q3 - 130.00 และ Q4 - 125.00 ด้าน HSBC ก็ประเมินเช่นกันว่าราคาจะขึ้นในปี 2024 ที่ระดับใกล้เคียงกับระดับในตอนนี้ที่บริเวณ 130.00

 ยังมีเวลาอีก 12 เดือนจนกว่าจะถึงสิ้นเดือนธันวาคม และหลายอย่างอาจเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ ช่วงสามปีที่ผ่านมาเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และการรุกรากยูเครนโดยรัสเซียทำให้คำพยากรณ์และการคาดการณ์ของหลายคนผิดพลาด จึงเป็นที่น่าสนใจที่จะได้เห็นว่าผู้เชี่ยวชาญมีมุมมองอย่างไรในระยะเวลาที่สั้นกว่า

ความเห็นเกี่ยวกับคู่นี้ในไตรมาสที่ 1 ค่อนข้างมีความหลากหลายอย่างผิดปกติ นักวิเคราะห์บางท่าน (แต่ก็ไม่กี่ราย) คาดว่าราคาจะขยับลดลงต่อไป ตอนนี้ไปที่โซน 124.00-125.00 ด้าน Goldman Sachs และ Brown Brothers Harriman กลับมีมุมมองว่าราคาจะทดสอบระดับที่ 150.00 อีกครั้ง Barclays Bank และ Bank of America ก็ชี้เป้าหมายไปยังทิศเหนือเช่นกันที่บริเวณ 146.00-147.00 และแม้ว่าจะมีการคาดการณ์ของ ING, BNP Paribas และ CIBC ที่ดูต่ำกว่า (136.00-138.00) ก็มีความชัดเจนว่าผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่คาดว่าดอลลาร์จะแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยนในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม

 

GBP/USD: ยังคงอยู่ที่ทางแยก

หัวข้อบทวิเคราะห์ของคู่นี้เมื่อปีที่แล้วคือ “ที่กลางสามแยก” และนี่เป็นเพราะท่าทีของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ซึ่งมีความแตกต่างไปจากท่าทีของธนาคารกลางญี่ปุ่น โดยมีความเป็นไปได้สามทางด้วยกันคือ ทิศเหนือ ทิศใต้ และตะวันออก

แม้ว่าความพึ่งพาพลังงานของสหราชอาณาจักรจะน้อยกว่าสหภาพยุโรป วิกฤติโลกที่เกี่ยวข้องกับการคว่ำบาตรรัสเซียยังคงส่งผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ราคาคู่เริ่มต้นปีเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2022 ที่ 1.3500 และมีความเคลื่อนไหวดังนี้ (ข้อมูลในช่วงท้ายแต่ละไตรมาส): Q1 - 1.3100, Q2 - 1.2100, Q3 - 1.1100 และ Q4 - 1.2000 โดย GBP/USD ขยับถึงระดับต่ำสุดในรอบ 37 ปีเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2022 และทำระดับต่ำสุดที่บริเวณ 1.0350

นักวิเคราะห์จาก ING ได้ให้การคาดการณ์ว่า เงินปอนด์จะอ่อนค่าลงที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งตรงกลางสามเหลี่ยม ซึ่งดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะคงที่ และค่าเงินที่มีผลตอบแทนต่ำจะอ่อนค่าลง ดังนั้น ความเห็นนี้จึงชี้ว่า GBP/USD  น่าจะขยับออกด้านข้างตามการคาดการณ์คือ: Q1 - 1.3300, Q2 - 1.3400, Q3 - 1.3400 และ Q4 - 1.3400 อย่างไรก็ดี พวกเขาทำนายไว้ผิดพลาด แต่ข้อผิดพลาดนี้ยังเทียบไม่เท่ากับคำคาดการณ์ของธนาคาร Barclays จากอังกฤษคือ: Q1 - 1.3300, Q2 - 1.3700, Q3 - 1.4000 และ Q4 - 1.4200 ซึ่งแปลว่าราคาไม่ได้ไปถึง 1.4000 แต่อยู่ที่ 1.0350 ณ ปลายไตรมาสที่ 3 เท่ากับว่าทำนายผิดพลาดไปถึง 3,850 จุด! 

 เนื่องด้วยท่าทีที่เข้มงวดมากขึ้นของธนาคารกลางอังกฤษ และความคาดหวังให้ธนาคารเฟดผ่อนคลายนโยบายทางการเงิน เงินปอนด์จึงแข็งค่าฟื้นขึ้นมาได้ส่วนหนึ่ง และขึ้นมายังโซน 1.2000 ในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2022 อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญจากธนาคาร Commerzbank เยอรมนีถือว่าสถานการณ์ปัจจุบันนั้นจะคงอยู่แค่ชั่วคราว และคาดว่าแรงกดดันต่อเงินปอนด์จะเพิ่มสูงขึ้น

เมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวจากภาวะวิกฤติ สหรัฐฯ ทำผลงานได้ดีกว่าสหราชอาณาจักรมาก ผู้แทนจากธนาคารกลางอังกฤษกล่าวอย่างเปิดเผยถึงช่วงเวลาที่ยากลำบาก ภาวะเศรษฐกิจถดถอยเริ่มต้นเมื่อปีที่แล้ว และการคาดการณ์ของธนาคารกลางฯ ชี้ว่าจะกินเวลาไปจนถึงกลางปี 2024 ในขณะที่เศรษฐกิจจะหดตัว 2.9% ในขณะนี้ ความเปราะบางของเงินปอนด์ยังมีผลมาจากการขาดดุลงบประมาณและภาวะเงินเฟ้อที่ยังรุนแรง ซึ่งทำระดับสูงสุดในรอบหลายปี

อันดับแรกนั้น สถานการณ์รุนแรงขึ้นเนื่องจากราคาน้ำมันและก๊าซที่นำเข้านั้นสูงขึ้น จึงมีความเป็นไปได้สูงที่ธนาคารกลางอังกฤษจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปในปี 2023 เพื่อพยายามกดให้ภาวะเงินเฟ้อสงบลง ในเวลานี้ อัตราดอกเบี้ยของธนาคารเฟดและธนาคารกลางอังกฤษอยู่ที่ 4.50% และ 3.50% ตามลำดับ โดยส่วนต่างยังไม่มากเหมือนก่อนหน้านี้ อยู่ที่ 100 จุดพื้นฐานเท่านั้น ความได้เปรียบของดอลลาร์อาจมีผลต่อไป และอัตราดอกเบี้ยอาจขยับถึงระดับคู่ขนานหากฝั่งธนาคารกลางอังกฤษมีท่าทีเข้มงวดมากขึ้น ในระหว่างนี้ นักเศรษฐศาสตร์กำลังพูดถึงการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในไตรมาสที่ 1 และ 2 ที่ 50 จุดพื้นฐาน (bps) และ 25 bps ตามลำดับเป็น 4.25%

ในสถานการณ์เช่นนี้ HSBC หนึ่งในเครือการเงินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร รายงานว่าสถานการณ์ของคู่ GBP/USD จะเป็นไปดังนี้ Q1 - 1.2200, Q2 - 1.2300, Q3 - 1.2400 และ Q4 - 1.2500 ด้าน Societe Generale Group ของฝรั่งเศสเห็นราคาที่: Q1 - 1.2000, Q4 - 1.2400

ในกรณีของคู่ USD/JPY ตัวเลขคาดการณ์ของ GBP/USD สำหรับไตรมาสถัดไปดูมีความหลากหลายมากกว่า: เริ่มตั้งแต่ 1.0700 โดย TD Securities Research ถึง 1.2600 โดย Citi Bank ซึ่งค่ากลางของการคาดการณ์มีดังนี้: BNP Paribas (1.0800), Barclays (1.1300), CIBC (1.1500), Scotiabank (1.2000) และ Westpac Institutional Bank (1.2200).

***

เราจะกลับมาให้บริการบทวิเคราะห์จากรายปีและรายไตรมาสเป็นบทวิเคราะห์รายสัปดาห์ตามปกติตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป เราเชื่อว่าบทวิเคราะห์ครั้งถัดไปจะให้ภาพที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

 

กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX

 

หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้


« การวิเคราห์ตลาดและข่าว
รับการฝึก
มือใหม่ในตลาดใช่ไหม?ใช้ส่วน เริ่มฝึกฝน เริ่มฝึกฝน
ติดตามเรา (ในโชเซียลเน็ตเวิร์ค)