เมษายน 6, 2023

EUR/USD: ทำไมดอลลาร์อ่อนค่าลง

  • สัปดาห์ที่แล้วผ่านไปโดยดอลลาร์ไม่ทะยานขึ้น ดอลลาร์ยังคงอ่อนค่าลงต่อเนื่อง และ EUR/USD กลับตัวลงมาเมื่อวันที่ 30 มีนาคม กลับมายังระดับเดิมในช่วงเจ็ดวันก่อนหน้า โดยราคาสูงสุดอยู่ที่ 1.0925 และราคาในรอบห้าวันอยู่ที่ 1.0842

    ดอลลาร์ยังคงเจอแรงกดดันจากความต้องการในความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของนักลงทุน ดัชนีหุ้นอเมริกันและยุโรปขยับขึ้นมาตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม ตลาดเอเชียก็ไม่ล้าหลัง เพราะได้แรงหนุนจากสถิติกิจกรรมธุรกิจ (PMI) ในอุตสาหกรรมการผลิตในจีน

    ในส่วนของสถิติเศรษฐกิจมหภาคยังดูไม่ค่อยดีนัก การเติบโตของ GDP สหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2022 อยู่ที่ 2.6% ซึ่งต่ำกว่าทั้งตัวเลขคาดการณ์และตัวเลขครั้งก่อนหน้า (2.7%) แต่จำนวนยอดขอรับสวัสดิการว่างงานเบื้องต้นกลับเพิ่มขึ้นจาก 191K เป็น 198K จากการคาดการณ์ที่ 196K ตัวชี้วัดทั้งสองนี้ชี้ให้เห็นถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ

    นอกจากนี้ มีความชัดเจนว่าวิกฤติที่ทำให้ธนาคารอเมริกันอย่าง Silvergate Bank, Silicon Valley Bank, Signature Bank และธนาคาร Credit Suisse จากยุโรปล้มละลายช่วยผ่อนคลายท่าทีสายเหยี่ยว (นโยบายแบบรัดเข็มขัด) ของผู้บริหารธนาคารเฟด และธนาคารฯ ต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังมากยิ่งขึ้น ความเห็นนี้ได้รับการยืนยันโดย Thomas Barkin ธนาคารเฟดสาขาริชมอนด์ผู้กล่าวว่า การล้มละลายของ Credit Suisse ยุติโอกาสในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 50 จุดพื้นฐาน

    สถิติเศรษฐกิจมหภาคยุโรปปรากฏว่าค่อนข้างมีความหลากหลาย ในวันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม ได้มีการประกาศมูลค่าดัชนีราคาผู้บริโภคแบบฮาร์โมไนซ์ (HICP) ในเยอรมนี ซึ่งขยับขึ้นในเดือนมีนาคมที่ 7.8% ปีต่อปี ซึ่งต่ำกว่าหนึ่งเดือนก่อนหน้าที่ 9.3% แต่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 7.5% เมื่อดูที่ตัวเลขเหล่านี้จะเห็นได้ว่าตลาดมองว่าธนาคารกลางยุโรปจะต้องเดินหน้านโยบายทางการเงินแบบรัดกุมต่อไป และทำเงินยูโรให้แข็งค่าขึ้นเพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลเยอรมนีทำผลงานได้ดีกว่าพันธบัตรของสหรัฐฯ ที่คล้ายกัน และ EUR/USD ขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบสัปดาห์ ด้านสถิติวันศุกร์กลับสนับสนุนฝั่งหมีของดอลลาร์ ตามที่ Eurostat ได้รายงานว่า ดัชนี HICP ปรับลดลงมาในเดือนมีนาคมในพื้นที่ยูโรโซนจาก 8.5% ในเดือนกุมภาพันธ์เหลือ 6.9% ปีต่อปี (จากการคาดการณ์ที่ 7.1%)

    การตอบสนองของตลาดต่อสถิตินี้และสถิติชุดอื่น ๆ เมื่อวันศุกร์ (เช่น ดัชนีค่าใช้จ่ายของการบริโภคส่วนบุคคลสหรัฐฯ (PCE) ค่อนข้างซบเซา เพราะวันนี้ตรงกับวันสุดท้ายของไตรมาสที่ 1 ปี 2023 ซึ่งผู้เล่นในตลาดหลายรายได้บันทึกผลลัพธ์รายไตรมาสรวมไว้ในรายงานอยู่แล้ว

    ว่าด้วยเรื่องแนวโน้มระยะกลางและระยะยาวของ EUR/USD นักเศรษฐศาสตร์จาก Bank of America (BoA) เชื่อว่า “ตลาดจะนำหน้าไปก่อนแล้วอีกครั้ง และเก็งว่าธนาคารเฟดจะหั่นอัตราดอกเบี้ยก่อนกำหนด และการประเมินสถานการณ์นี้ใหม่น่าจะส่งผลเป็นแรงกดดันต่อคู่นี้ในระยะสั้น” การคาดการณ์จาก BoA “อัตราแลกเปลี่ยน  EUR/USD จะอยู่ที่ 1.05 ในช่วงครึ่งแรกของปี ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.10 ภายในสิ้นปีนี้ และเป็น 1.15 ภายในปลายปี 2024 ซึ่งยังคงต่ำกว่ามูลค่าสมดุลในระยะยาว “เราสันนิษฐานว่าสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดของวิกฤติธนาคารได้ผ่านไปแล้ว แต่เรายังคงกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงของยูโรสองประการคือ ความขัดแย้งเรื่องยูเครน และแรงกดดันที่อาจเกิดขึ้นต่อตลาดอิตาลีจากท่าทีธนาคารกลางยุโรปที่เข้มงวด” รายงานโดย BoA

    หากเราพูดถึงภาพรวมในระยะใกล้ ณ ขณะที่เขียนบทวิเคราะห์ฉบับนี้คือเย็นวันศุกร์ที่ 31 มีนาคม นักวิเคราะห์ 55% คาดการณ์ว่าดอลลาร์อ่อนค่าลงต่อ 35% คาดว่าจะแข็งค่าขึ้น และ 10% ที่เหลือมีท่าทีเป็นกลาง ในส่วนของออสซิลเลเตอร์บนกรอบ D1 90% ให้สัญญาณสีเขียว และอีก 10% ให้สัญญาณสีแดง ในส่วนของอินดิเคเตอร์เทรนด์ 80% แนะนำให้เข้าซื้อ 20% ให้ขาย ส่วนแนวรับที่ใกล้ที่สุดของคู่นี้อยู่ที่บริเวณ 1.0800 จากนั้นคือ 1.0740-1.0760, 1.0680-1.0710, 1.0620 and 1.0500-1.0530 ด้านฝั่งกระทิงจะเจอกับแนวต้านที่บริเวณ 1.0865, 1.0925, 1.0985-1.1030, 1.1110, 1.1230, 1.1280 และ 1.1355-1.1390

    สำหรับกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์นี้ การประกาศสถิติกิจกรรมทางธุรกิจ (PMI) ในวันที่ 3 เมษายน  ในภาคการผลิตของเยอรมนีและสหรัฐฯ จะเป็นที่น่าจับตามอง ซึ่งตามมาด้วยการประกาศข้อมูลหลายชุดจากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ได้แก่ จำนวนตำแหน่งงานใหม่ (JOLTS) ในวันอังคารที่ 4 เมษายน ค่าการเปลี่ยนแปลงในจำนวนแรงงานนอกภาคการเกษตรจาก ADP ในวันพุธ และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเบื้องต้นในวันพฤหัสบดี และในวันศุกร์ที่ 7 เมษายน เราจะประกาศอัตราการว่างงานและจำนวนตำแหน่งงานใหม่นอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯ (NFP) ซึ่งต้องไม่ลืมว่าวันที่ 7 เมษายนเป็นวัน Good Friday ในยุโรป สหรัฐฯ และอีกหลายประเทศ จึงเป็นวันหยุด ดังนั้น ปฏิกิริยาตอบสนองต่อตัวเลขเหล่านี้จะตามมาในสัปดาห์ถัดไป วันจันทร์ที่ 10 เมษายน

GBP/USD: คู่นี้จะขยับขึ้นต่อไปหรือไม่?

  • ดอลลาร์อ่อนค่าลงไม่ใช่แค่กับยูโรเท่านั้น แต่รวมถึงเงินปอนด์ด้วย GBP/USD ขยับขึ้นมามากกว่า 600 จุดนับตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม ในเวลาเพียงสามสัปดาห์ แนวต้านสำคัญเดียวอยู่ที่บริเวณ 1.2425-1.2450 อาจยับยั้งเทรนด์ได้ แต่เงินปอนด์จะมีพลังที่ไต่ขึ้นต่อไปได้อีกหรือไม่?

    ในวันจันทร์ที่ 23 มีนาคม ธนาคารแห่งชาติอังกฤษ (BoE) ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 จุด เป็น 4.25% (เทียบกับอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันของธนาคารเฟดที่ 5.00%) ในขณะเดียวกัน สถานการณ์เงินเฟ้อในประเทศยังไม่พัฒนาดีขึ้นนัก สหราชอาณาจักรยังคงเป็นเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วประเทศเดียวที่ระดับเงินเฟ้อแทบจะไม่ลดลงตลอดทั้งปี และยังคงเป็นเลขสองหลักทำระดับสูงสุดในรอบหลายปี ดัชนีราคาผู้บริโภคหลัก (CPI) ในเดือนมีนาคมอยู่ที่ 10.4% และดัชนี CPI พื้นฐาน 6.2% ดังนั้น นักวิเคราะห์หลายคนคาดว่าอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจะเป็นหนึ่งในมาตรการที่ธนาคารกลางอังกฤษจะตัดสินใจในการประชุมที่จะมาถึง นอกจากนี้ ธนาคารฯ ยังต้องคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับสูงเป็นเวลานาน แม้ว่าจะกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศ (อัตราดอกเบี้ย GDP) อยู่ที่ใกล้ระดับศูนย์ในขณะนี้ โดยสถิติที่ประกาศเมื่อวันที่ 31 มีนาคม แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของ GDP ในไตรมาสที่ 4 ปี 2022 ที่เพียง 0.1%)

    แรงกดดันต่อเศรษฐกิจส่งผลให้นักวิเคราะห์จำนวนมากพูดถึงศักยภาพที่จำกัดของเงินปอนด์ อย่างไรก็ดี นักยุทธศาสตร์หลายท่านเชื่อว่าเราสามารถหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ และการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะยังคงบีบให้เงินปอนด์ขยับขึ้นต่อไป นักเศรษฐศาสตร์จาก ANZ Bank คาดว่าราคาคู่นี้จะขยับขึ้นไปที่ 1.26 ภายในสิ้นปีนี้ โดยการคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญจาก French Societe Generale ดูยิ่งมากกว่า พวกเขามองว่า GBP/USD จะขยับตาม EUR/GBP และค่อย ๆ ขึ้นไปที่ 1.30

    ราคาคู่นี้ปิดตลาดท้ายสัปดาห์ที่ 1.2330 ซึ่งในขณะนี้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 45% เข้าข้างฝั่งดอลลาร์ อีก 45% จำนวนเดียวกันอยู่ฝั่งเงินปอนด์ ส่วน 10% ที่เหลือยังคงรอดูสถานการณ์ต่อไป ในส่วนของออสซิลเลเตอร์บนกรอบ D1 มีสัดส่วนดังนี้ 85% โหวตให้ฝั่งสีเขียว และ 15% ให้สีเทากลาง ด้านอินดิเคเตอร์เทรนด์ ฝั่งที่ชนะขาดคือสีเขียวถึง 100% สำหรับระดับและโซนแนวรับของคู่นี้อยู่ที่ 1.2270, 1.2200, 1.2145, 1.2075-1.2085, 1.2000-1.2025, 1.1960, 1.1900-1.1920, 1.1800-1.1840

    เมื่อราคาขยับขึ้นทิศเหนือ จะต้องเจอกับแนวต้านที่ระดับ 1.2390-1.2425, 1.2450, 1.2510, 1.2575-1.2610, 1.2700, 1.2750 และ 1.2940

    สถิติจากเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรประกอบด้วยการประกาศดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจ (PMI) ในภาคการผลิตของประเทศในวันจันทร์ที่ 3 เมษายน ดัชนี PMI ในภาคบริการ รวมถึงดัชนี PMI แบบคอมโพสิตจะประกาศในวันพุธ และเราขอเตือนให้คุณทราบว่าวันศุกร์เป็นวันหยุดในสหราชอาณาจักร

USD/JPY: ธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่นจะเปลี่ยนแปลงนโยบายในฤดูร้อนหรือไม่?

  • เงินเยนญี่ปุ่นแตกต่างไปจากดัชนี DXY เพราะแสดงแนวโน้มที่ตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิงกับเงินดอลลาร์ ในขณะที่เงินปอนด์และยูโรกำลังแข็งค่าขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว เงินเยนอ่อนค่าลง สาเหตุสองประการ เรามองว่าประการแรกเป็นเพราะเงินเยนได้รับแรงกดดัน เพราะวันที่ 31 มีนาคม ไม่ใช่แค่วันสุดท้ายของไตรมาสแต่ยังเป็นวันสิ้นสุดของปีงบประมาณในญี่ปุ่น เหตุผลประการที่สองเราเคยพูดถึงไว้แล้วหลายครั้งคือ นโยบายที่ผ่อนคลายสุดโต่งของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ)

    Kazuo Ueda ประธานธนาคารกลางคนใหม่ผู้จะรับตำแหน่งในวันที่ 9 เมษายน ได้ออกตัวสนับสนุนให้ใช้นโยบายแบบผ่อนคลายทางการเงินต่อไป เพื่อสานต่อนโยบายของนาย Haruhiko Kuroda และแน่นอนว่าคำพูดดังกล่าวไม่ส่งผลให้ค่าเงินเยนเป็นที่น่าดึงดูดแต่อย่างใด

    ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2022 ความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเงินส่งผลให้ คนแห่ซื้อเงินเยนในฐานะที่หลบภัย อย่างไรก็ดี นักยุทธศาสตร์จาก Societe Generale กล่าวว่า แม้แต่ “แหล่งกบดานที่ปลอดภัย” ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลง USD/JPY ต้องอาศัยมาตรการบางอย่างจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) เพื่อรองรับแนวโน้มที่ลดลงครั้งใหญ่ หากธนาคารกลางไม่ทำอะไรเลย USD/JPY มีแต่จะขยับสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่ง Societe Generale คาดว่าท่าทีใด ๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินของ BoJ อาจจะมีข้อสรุปในเดือนมิถุนายน ซึ่งอาจพาราคาคู่นี้ไปที่ระดับ 125.00 และก่อนผ่อนคลายนโยบายทางการเงินของสหรัฐฯ อย่างฉับพลันก็อาจช่วยหนุนเงินเยนได้

    ความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์จาก ANZ Bank ดูคล้ายกัน “ในระยะสั้น นโยบายของธนาคารกลางไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลง หากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เราคาดว่าจะเกิดขึ้นหลังจากไตรมาสที่สองของปีนี้ เงินเยนญี่ปุ่นจะแข็งค่าขึ้นเมื่อค่าส่วนต่างของผลตอบแทนดีขึ้น เราคาดว่า USD/JPY จะค่อย ๆ ปรับตัวลดลงมายัง 124.00 ภายในสิ้นปีนี้

    อย่างไรก็ตาม เราต้องไม่ลืมคำพูดของรองผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น Shinichi Uchida เมื่อวันพุธที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา เขากล่าวว่า การปรับเปลี่ยนนโยบายทางการเงินเพื่อควบคุมผลตอบแทนของพันธบัตรจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและราคามีเสถียรภาพมากขึ้น จึงจะเป็นเหตุผลให้สามารถค่อย ๆ ลดการกระตุ้นทางการเงินได้

    ดังนั้น การขยับลดลงของคู่ USD/JPY มาที่โซน 124.00-125.00 ยังคงเป็นคำถามสำคัญ ราคาปิดตลาดในสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ 132.80 และสำหรับแนวโน้มอนาคตอันใกล้มีผู้เชี่ยวชาญ 40% โหวตว่าราคาจะขยับขึ้นทิศเหนือ 30% โหวตให้กับทิศทางตรงกันข้าม และอีก 30% หลีกเลี่ยงในการคาดการณ์ใด ๆ ในส่วนของออสซิลเลเตอร์บนกรอบ D1 มี 15% ชี้ไปยังทิศใต้ 40% ทิศตรงกันข้าม และ 35% ให้ความเห็นเป็นกลาง ในส่วนของอินดิเคเตอร์เทรนด์ 40% ชี้ไปยังทิศเหนือ ส่วน 60% ที่เหลือชี้ไปยังทิศใต้ แนวรับที่ใกล้ที่สุดอยู่ในโซน 131.25 หลังจากนั้นคือระดับและโซน 130.50, 129.70-130.00, 128.00-128.15 และ 127.20 สำหรับระดับและโซนแนวต้านอยู่ที่ 133.00, 133.60, 134.00-134.35, 135.00-135.35, 135.90-136.00, 137.00, 137.50 และ 137.90-138.00

    ในสัปดาห์นี้ไม่คาดว่าจะมีการประกาศสถิติเศรษฐกิจที่สำคัญใด ๆ มีสถิติเดียวที่กำกับไว้ในปฏิทินเศรษฐกิจคือการประกาศดัชนี Tankan Major Producers Sentiment Index ในไตรมาสที่ 1 ปี 2023 ในวันจันทร์ที่ 3 เมษายนนี้

คริปโตเคอเรนซี: จะเกิดอะไรขึ้นกับ Binance?

บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์และคริปโตเคอเรนซีประจำวันที่ 3 - 7 เมษายน 20231

  • วิกฤติที่ส่งผลต่อ Silvergate, Silicon Valley Bank (SVB) และ Signature และลามมาถึง Credit Suisse ช่วยหนุนตลาดคริปโตอย่างชัดเจน โดยเป็นการย้ำเตือนว่าระบบการเงินแบบกระจายศูนย์สร้างขึ้นมาเพื่ออะไร อย่างไรก็ตาม ความกลัวในหมู่นักลงทุนต่อคลื่นวิกฤติธนาคารรอบใหม่ในสหรัฐฯ และยุโรปเริ่มเลือนหายไป ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากกราฟ BTC/USD เดิมช่วงวันที่ 10-17 มีนาคม บิทคอยน์ทะยานขึ้นมาถึง 45% โดยราคาพยายามที่จะบุกขึ้นไปที่แนวต้าน $29,000 ตลอดช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญหลายคนมองว่าบิทคอยน์จะสามารถขยับถึงเป้าหมายถัดไปที่ $35,000 ได้สำเร็จในครั้งนี้ ในระหว่างนี้ BTC มีแนวรับอยู่ที่ $26,500

    แนวรับนี้รอดมาได้แม้จะมีข่าว CFTC (คณะกรรมการซื้อขายสัญญาฟิวเจอร์สสินค้าโภคภัณฑ์ของสหรัฐฯ) ยื่นฟ้องร้อง Binance เมื่อวันจันทร์ที่ 27 มีนาคม โดยกล่าวหาแพลตฟอร์มคริปโตนี้ว่ามีการดำเนินธุรกรรมฟิวเจอร์สและออปชันโดยไม่ผ่านการลงทะเบียน และให้บริการลูกค้าในสหรัฐฯ ในการหลีกเลี่ยงข้อจำกัดและทำธุรกรรมที่ผิดกฎหมาย (รวมถึงการสนับสนุนกลุ่มฮามาสที่หลายประเทศมองว่าเป็นองค์ก่อการร้าย) และมีการปั่นป่วนตลาด

    สำหรับข้อหาสุดท้าย Cory Swan นักวิเคราะห์ได้ให้ทฤษฎีว่า ผู้ก่อตั้ง Binance หรือ Changpeng Zhao (CZ) เป็นหมีที่พยายามกดราคาบิทคอยน์ลงไปที่ $12,000 และจ่ายเงินการเทรดส่วนตัวของเขาด้วย BUS และเหรียญอัลท์คอยน์ที่ไม่มีหลักประกัน” เขียนโดย Swan

    ณ ขณะนี้ ความเห็นเกี่ยวกับอนาคตของ Binance ยังแตกออกเป็นหลายกลุ่ม บางคนเชื่อว่าจะไม่เกิดหายนะต่อบริษัทคริปโตยักษ์ใหญ่แห่งนี้ เพราะมันจะเป็นการล่มสลายของอุตสาหกรรมคริปโตทั้งหมด บางคนก็มั่นใจว่า CFTC จะพยายามลงโทษแพลตฟอร์มอย่างหนักหน่วงมากที่สุด ในกรณีที่มีการไกล่เกลี่ยก่อนขึ้นศาล บริษัทอาจต้องเจอกับโทษปรับหลายพันล้านดอลลาร์และถูกสั่งห้ามไม่ให้ประกอบการในสหรัฐฯ และถ้าเกิดศาลเกิดไต่สวนและตัดสินให้ Binance และผู้บริหารมีความผิด ทั้งลูกค้าและหุ้นส่วนทางการเงินรอบโลกจะหันหลังให้กับบริษัทนี้โดยทันที

    ผลการสำรวจผู้มีอิทธิพลในวงการโดย CNBC ระบุว่า ตลาดยังคงมีแนวโน้มกระทิงต่ออนาคตของบิทคอยน์ Paolo Ardoino CTO ของ Tether เชื่อว่า บิทคอยน์สามารถ “กลับไปทดสอบ” ระดับสูงสุดที่ $69,000 และ Marshall Beard ผู้อำนวยการด้านยุทธศาสตร์ของตลาดคริปโต Gemini ทำนายว่าราคาเหรียญอาจขยับถึง $100,000 ในปีนี้ ซึ่งเขามองว่าหากบิทคอยน์สามารถยืนเหนือระดับสูงสุดก่อนหน้านี้ “มันจะใช้เวลาไม่นานที่จะทะยานขึ้นสูงกว่าเดิม” อย่างไรก็ตาม การทะยานขึ้นของตลาดกระทิงครั้งใหม่ต้องอาศัยแรงกระตุ้นที่ทรงพลังทั้งด้านเศรษฐกิจและข่าว แต่เรายังไม่เห็นปัจจัยกระตุ้นใด ๆ ในตอนนี้

    Mike McGlone นักยุทธศาตร์จาก Bloomberg เชื่อว่าทองคำและบิทคอยน์จะกลายเป็นสินทรัพย์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการลงทุนในปี 2023 ทองคำจะยืนยันสถานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัยที่สุด ราคาทองคำต่อทรอยออนซ์จะเกิน $2,000 ในเร็ว ๆ นี้ ในขณะเดียวกัน ความน่าดึงดูดของบิทคอยน์จะเพิ่มขึ้น เพราะถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์หนึ่งที่เป็นอิสระจากระบบการเงินดั้งเดิม เมื่อเศรษฐกิจโลกย่ำแย่ลง จำนวนผู้ลงทุนที่ต้องการเก็บเงินเป็น BTC ทองคำ และพันธบัตรรัฐบาลจะเพิ่มขึ้นตามรายงานของ McGlone

    การล่มลงของภาคธนาคารทำให้เรานึกถึงวิกฤติปี 1929 โดยในครั้งนั้น ธนาคารเฟดเพิ่มความเข้มงวดในนโยบายทางการเงิน หลังจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยรอบล่าสุด การลงทุนในบิทคอยน์ก็เพิ่มขึ้น แต่ผู้สังเกตการณ์หลายคนคาดว่าราคาเหรียญจะลดลง นักยุทธศาสตร์ Bloomberg รายนี้กล่าวย้ำ โดยเขาเชื่อว่าการรีบาวด์ของ BTC อาจถือว่าเป็นสัญญาณเชิงบวก เพราะนักเทรดจะเริ่มเข้าซื้อเงินคริปโตกันมากขึ้นในช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอนรอบโลก

    พาร์ทเนอร์ของ Place Holder และอดีตประธานบริษัทคริปโต Ark Invest เชื่อเหมือนกับ Mike McGlone ว่า ตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการเข้าซื้อ Bitcoin และ Ethereum เนื่องจากมันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วงเวลาวิกฤติเช่นนี้โดยเฉพาะ

    Tim Draper นักลงทุนและเศรษฐีพันล้านได้เผยแพร่คำแนะนำในการกระจายความเสี่ยง รวมถึงการใช้คริปโตเคอเรนซี Draper เขียนรายงานที่มุ่งให้ผู้ประกอบการอ่าน โดยระบุว่าบริษัท “จะไม่สามารถพึ่งพา” ธนาคารหรือหน่วยงานกำกับดูแลเดียวได้อีกต่อไป “นี่จะเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่รัฐบาลเข้ามาคุมธนาคารเพื่อป้องกันความเสี่ยงของภาวะล้มละลาย บิทคอยน์เป็นเกราะป้องกันผลกระทบโดมิโน่ทางการเงินและการบริหารจัดการผิด ๆ ที่มีการควบคุมมากเกินไป” นักธุรกิจกล่าว พร้อมกล่าวเสริมว่า “สตาร์ทอัปหลายแห่ง” เข้ามาขอความช่วยเหลืออย่างฉุกเฉินจากเขาหลังจาก Silicon Valley Bank (SVB), Silvergate Bank และ Signature Bank ปิดตัวลง

    Draper แนะนำให้รักษาเงินฝากระยะสั้นไว้ไม่เกิน 6 เดือนในบัญชีสองแห่ง คือบัญชีท้องถิ่นและบัญชีระหว่างประเทศ เขามองว่าองค์ต่าง ๆ ควรจะโอนเงินเดือนโดยแบ่งออกเป็นสองกองในบิทคอยน์และสินทรัพย์ดิจิทัลอื่น ๆ เศรษฐีพันล้านรายนี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของแผนสำรองดังกล่าว เพราะผู้บริหารนั้นรับผิดชอบต่อการจ่ายเงินเดือนให้ตรงเวลา “แม้จะเป็นช่วงวิกฤติก็ตาม”

    แน่นอนว่าเราได้ยินเสียงวิจารณ์จาก “ผู้เตรียมขุดหลุมฝังคริปโต” เหมือนเช่นเคย นักวิเคราะห์เจ้าของชื่อเล่นว่า Grinding Poet เชื่อว่า “ราคาบิทคอยน์ที่ $12,000 นั้นไร้เดียงสาเกินไป นี่คือหงส์ดำตัวใหญ่และการทดสอบราคาต่ำสุดที่ 2018 นั้นจะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ เป้าหมายใหม่คือ $3,150 “ ด้าน Peter Schiff นักวิจารณ์บิทคอยน์ยังคงยืนหยัดคำเดิม เมื่อปี 2017 ในตอนนั้น ราคาเหรียญเทรดอยู่ที่ $5,000 และ Schiff ให้สัญญาว่าอีกไม่นานมันจะไม่มีค่าอะไร ถึงแม้ว่าจะผ่านไป 6 ปีแล้ว ผู้ประกอบการรายนี้ยังคงไม่เปลี่ยนมุมมองของเขา และในขณะนี้เดือนมีนาคม 2023 เขากล่าวว่า “บิทคอยน์ราคาเป็นศูนย์แค่มาถึงล่าช้าเล็กน้อยเท่านั้น”

    Steve Hanke ศาสตราจาร์ด้านเศรษฐศาสตร์ประยุกต์จากมหาวิทยาลัย Johns Hopkins ได้วิจารณ์บิทคอยน์ โดยกล่าวว่ามูลค่าพื้นฐานของบิทคอยน์คือศูนย์ เขามองว่าบิทคอยน์เป็นสินทรัพย์ที่มีการเก็งกำไรสูง ซึ่งไม่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจหรือประโยชน์ใด ๆ ทั้งนี้ Hanke กำลังส่งเสริมรณรงค์ให้มีการใช้ดอลลาร์ในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา

    Julian Hosp ซีอีโอ Cake Defi  ได้ตอบกลับ Hanke ว่าเรื่องของ BTC นั้นโต้แย้งได้ไม่จบไม่สิ้น แต่บิทคอยน์มีมูลค่าจริง ๆ Hosp กล่าวว่ามีคนที่ต้องใช้บิทคอยน์อย่างแน่นอน ดังนั้น ข้ออ้างที่ว่าบิทคอยน์มีมูลค่าเป็นศูนย์นั้นผิดเต็ม ๆ

    เรามักจะเห็นด้วยกับ Hosp เพราะ ณ ขณะที่เขียนบทวิเคราะห์ฉบับนี้ในช่วงเย็นวันศุกร์ที่ 31 มีนาคม BTC มีมูลค่าจริงและมีมูลค่าเป็นตัวเลขที่ชัดเจนคือ $28,375 ต่อเหรียญ มูลค่ารวมของตลาดคริปโตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาจาก $1.169 ล้านล้านดอลลาร์เป็น $1.185 ล้านล้านดอลลาร์ ดัชนี Crypto Fear & Greed Index ขยับขึ้นเช่นกันจาก 61 มาที่ 63 จุดในรอบเจ็ดวัน และยังคงอยู่ในโซน Greed

 

กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX

 

หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้


« การวิเคราห์ตลาดและข่าว
รับการฝึก
มือใหม่ในตลาดใช่ไหม?ใช้ส่วน เริ่มฝึกฝน เริ่มฝึกฝน
ติดตามเรา (ในโชเซียลเน็ตเวิร์ค)