เมษายน 16, 2023

EUR/USD: ดอลลาร์ดิ่งลงต่อเนื่อง

บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์และคริปโตเคอเรนซีประจำวันที่ 17 - 21 เมษายน 20231

  • ดัชนีดอลลาร์ DXY ทำระดับต่ำสุดในรอบ 12 เดือนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วและ EUR/USD ก็ทะยานขึ้นไปยังระดับสูงสุด (1.1075) นับตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2022 ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเป็นเวลาห้าสัปดาห์ติดต่อกัน ซึ่งนับว่ายาวนานที่สุดนับตั้งแต่ฤดูร้อนปี 2020

    ดอลลาร์เจอแรงสะเทือนอย่างหนักในวันพุธที่ 12 เมษายน เมื่อมีการประกาศดัชนีเงินเฟ้อผู้บริโภค (CPI) และผลการประชุมเดือนมีนาคมของคณะกรรมการ FOMC (คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารเฟดสหรัฐฯ) สถิติชี้ให้เห็นว่าราคายังควบคุมได้อยู่และระดับเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ชะลอตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 9 เดือนติดต่อกัน จาก 9.1% ปีต่อปีเหลือ 5.0% ปีต่อปี ดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐฯ (PPI) ซึ่งประกาศในวันถัดมา แสดงถึงระดับเงินเฟ้อที่ลดลงเช่นกัน แต่ในภาพรวมพื้นฐาน แรงกดดันทางราคาของสหรัฐฯ ยังคงดูมีเสถียรภาพอยู่

    ในส่วนของการประชุมของธนาคารเฟดเมื่อวันที่ 22 มีนาคม กรรมการ FOMC หารือเรื่องความเป็นไปได้ในการพักการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเนื่องด้วยปัญหาในภาคธนาคาร และยังมีการหารือข้อมูลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยแบบไม่รุนแรงที่อาจเกิดขึ้นในสหรัฐฯ ในช่วงปลายปีนี้ อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มที่จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกครั้งในการประชุมครั้งถัดไปของคณะกรรมการในวันที่ 3 พฤษภาคม จากการคาดการณ์ของ CME FedWatch ชี้ว่าอัตราดอกเบี้ยน่าจะถูกปรับขึ้นมาอีก 25 จุดพื้นฐาน (bp) เป็น 5.25% ต่อปี

    การขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้เป็นสิ่งที่ตลาดเก็งไว้ในราคาเรียบร้อยแล้ว และไม่น่าจะช่วยหนุนดอลลาร์ได้ นอกจากนี้ 5.25% น่าจะเป็นระดับสูงสุดของอัตราดอกเบี้ยไปจนถึงช่วงไม่กี่เดือนสุดท้ายของปีแล้วอัตราดกเบี้ยก็จะเริ่มลดลง ตลาดฟิวเจอร์สคาดว่าการใช้จ่ายเงินกองทุนของรัฐจะอยู่ที่ 4.30-4.40% ในเดือนธันวาคม 2023 และจะลดลงต่ำลงมาที่ 4.12-4.20% ในเดือนมกราคม 2024

    ระดับเงินเฟ้อที่ชะลอตัวและการสิ้นสุดลงของวัฎจักรนโยบายทางการเงินแบบเข้มงวดของธนาคารเฟดกำลังเพิ่มแรงกดดันต่อดอลลาร์ กดให้ DXY ปรับตัวลดลง ในขณะเดียวกัน การคาดการณ์ชี้ว่า ธนาคารกลางยุโรปแตกต่างไปจากธนาคารเฟด เพราะจะเดินหน้าเพิ่มความเข้มงวดในขณะนี้ ซึ่งยืนยันโดย Joachim Nagel กรรมการบริหารธนาคารกลางยุโรปและประธานธนาคารกลางเยอรมนี เขาได้กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 เมษายนว่ามีความจำเป็นที่จะต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป เพราะว่าอัตราเงินเฟ้อหลักในยูโรโซนยังคงสูงมาก

    สถิติค้าปลีกในสหรัฐฯ ซึ่งประกาศในช่วงท้ายสัปดาห์ที่ผ่านมา วันศุรก์ที่ 14 เมษายน ช่วยสนับสนุนค่าเงินดอลลาร์เล็กน้อย รายงานดังกล่าวบ่งชี้ว่ายอดขาย แม้ว่าจะลดลง แต่ก็ลดลงช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยมีตัวเลขคาดการณ์อยู่ที่ -0.4% และตัวเลขดัชนีก่อนหน้าอยู่ที่ -0.2% ดัชนีจริงรายงานที่ -0.1% ตลาดจึงมองว่าแนวโน้มดังกล่าวนั้นเป็นผลดีต่อดอลลาร์ และส่งผลให้ EUR/USD ปิดตลาดในสัปดาห์ที่แล้วที่ 1.0993 ในขณะที่เขียนบทวิเคราะห์ฉบับนี้ ในช่วงเย็นวันศุกร์ที่ 14 เมษายน ความเห็นของนักวิเคราะห์นั้นแบ่งออกเป็นกลุ่มอย่างเท่า ๆ กัน 45% คาดการณ์ว่าดอลลาร์จะอ่อนค่าลงต่อ 45% คาดว่าจะแข็งค่า และ 10% ที่เหลือมีท่าทีเป็นกลาง ในส่วนของการวิเคราะห์เชิงเทคนิค ออสซิลเลเตอร์และอินดิเคเตอร์เทรนด์ทั้งหมดบนกรอบ D1 ให้ผลลัพธ์สีเขียว 100% ระดับแนวรับที่ใกล้ที่สุดของคู่นี้อยู่ที่ 1.0975 ตามมาด้วย 1.0925, 1.0865-1.0885, 1.0740-1.0760, 1.0675-1.0710, 1.0620 และ 1.0490-1.0530 ส่วนฝั่งกระทิงจะเจอกับแนวต้านที่ 1.1050-1.1070 จากนั้นคือ 1.1110, 1.1230, 1.1280 และ 1.1355-1.1390

    ในสัปดาห์หน้านี้ เราจะติดตามสถิติเศรษฐกิจจากอียูหลายชุดด้วยกัน เริ่มที่ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจโดยสถาบัน ZEW ของเยอรมนี ประเทศขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของอียูจะประกาศในวันอังคารที่ 18 เมษายน ในวันพุธเราจะได้ทราบรายงานระดับเงินเฟ้อ (CPI) ในยูโรโซน ในวันพฤหัสบดีจะมีการรายงานผลการประชุมล่าสุดของธนาคารกลางยุโรป และวันศุกร์ที่ 21 เมษายน จะมีการประกาศดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจ (PMI) ในภาคการผลิตของเยอรมนีและในประเทศโดยรวม แต่จะไม่มีการประกาศสถิติที่สำคัญใด ๆ จากฝั่งสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ 

GBP/USD: หลายอย่างนั้นดีกว่าที่คาดการณ์ไว้

  • ท่ามกลางดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง GBP/USD ยังคงดีอยู่ และทำระดับสูงสุดในช่วงครึ่งวันแรกของวันศุกร์ที่ 14 เมษายนที่ผ่านมา ขึ้นไปทำระดับสูงสุดที่ 1.2545 เงินปอนด์ไม่เคยเทรดในระดับสูงขนาดนี้มาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2022 อย่างไรก็ดี หลังจากการประกาศสถิติยอดค้าปลีกในสหรัฐฯ ดอลลาร์ก็แข็งค่าขึ้น และคู่นี้ปิดตลาดรอบห้าวันทำการที่ระดับ 1.2414

    ทางด้านเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร การประกาศ GDP เมื่อวันที่ 13 เมษายนชี้ให้เห็นว่า เศรษฐกิจชะลอตัวอยู่ที่ 0.0% ในเดือนกุมภาพันธ์ เทียบกับตัวเลขคาดการณ์ที่ 0.1% และดัชนีครั้งก่อนหน้าที่ 0.3% การเติบโตในตัวเลขการผลิตในอุตสาหกรรมการผลิตของเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 0.0% เทียบกับการคาดการณ์ที่ 0.2% และ -0.1% ในเดือนมกราคม ด้านผลผลิตทางอุตสาหกรรมรวมนั้นยังคงอยู่ในโซนติดลบที่ -0.2% จากการคาดการณ์ที่ 0.2% และ -0.5% หนึ่งเดือนก่อนหน้า ตัวเลขการผลิตรายปีอยู่ที่ -2.4% และสูงกว่าการคาดการณ์ที่ -4.7% ด้านปริมาณการผลิตเชิงอุตสาหกรรมรวมลดลง -3.1% จากตัวเลขคาดการณ์ที่ -3.7% และตัวเลขครั้งก่อนหน้าที่ -3.2% สถิติดุลการค้าในสหราชอาณาจักรมีการประกาศในสัปดาห์ที่แล้วเช่นกัน ซึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ดุลการค้าคิดเป็นเงิน £17.534 พันล้านปอนด์ ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ £17.000 พันล้านปอนด์และตัวเลขครั้งก่อนหน้าที่ £16.093 พันล้านปอนด์

    ตัวเลขเหล่านี้หมายความว่าอย่างไร? เมื่อดูดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจ (PMI) ประกอบ ซึ่งรายงานไปเมื่อวันที่ 3 เมษายน สูงกว่า 50 จุด สถิติเหล่านี้ให้ความหวังต่อนักลงทุนว่าเศรษฐกิจอังกฤษจะสามารถหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้สำเร็จ ซึ่งจะยิ่งช่วยสนับสนุนค่าเงินปอนด์ เรื่องนี้ยืนยันได้จากคำพูดของ Jeremy Hunt รัฐมนตรีการคลังอังกฤษเมื่อวันที่ 13 เมษายนว่าภาพรวมเศรษฐกิจนั้นดูดีกว่าที่คาดคิด “เพราะมาตรการที่เราได้ดำเนินการ เราจะสามารถหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยนี้ได้” เขากล่าวยืนยัน

    Hugh Pill หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จองธนาคารแห่งชาติอังกฤษ (BoE) มีทัศนคติเชิงบวกเช่นกัน เขามองว่า “เส้นทางภาวะเงินเฟ้ออาจไม่ราบเรียบกว่าที่เราคาดการณ์ไว้” ธนาคารกลางยังคงคาดการณ์ว่า CPI จะลดลงในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ “ตัวเลขล่าสุดดูค่อนข้างน่าผิดหวัง” Hugh Pill กล่าว “แต่มันยังดีกว่าตัวเลขคาดการณ์ของ BoE ในช่วงปลายปีที่แล้วอยู่มาก” นักเศรษฐศาสตร์ท่านนี้ยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ระบบการเงินของสหราชอาณาจักรมีความมั่นคงและเสถียรดี และพฤติกรรมภาวะเงินเฟ้อจะเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดทิศทางของนโยบายทางการเงินของอังกฤษ

    ณ ขณะนี้ ผู้เชี่ยวชาญ 75% เห็นด้วยกับฝั่งเงินปอนด์และคาดว่าคู่นี้จะแข็งค่าขึ้นต่อไป ส่วนที่เหลือ 25% อยู่ฝั่งดอลลาร์ ในส่วนของออสซิลเลเตอร์บนกรอบ D1 ให้ภาพรวมดังนี้ 65% โหวตให้กับสีเขียว (10% ให้สัญญาณ overbought) 10% ให้สัญญาณสีแดง และ 25% เลือกอยู่ตรงกลาง ในส่วนของอินดิเคเตอร์เทรนด์ ฝั่งได้เปรียบเป็นฝั่งสีเขียวเช่นกันอยู่ที่ 65% และสีแดง 35% ด้านระดับและโซนแนวรับของคู่นี้อยู่ที่ 1.2390-1.2400, 1.2330, 1.2275, 1.2200, 1.2145, 1.2075-1.2085, 1.2000-1.2025, 1.1960, 1.1900-1.1920, 1.1800-1.1840 เมื่อราคาขยับขึ้นทิศเหนือ ราคาจะเจอกับแนวต้านที่ระดับ 1.2440-1.2455, 1.2480, 1.2510-1.2540, 1.2575-1.2610, 1.2700, 1.2820 และ 1.2940

    ในส่วนของเหตุการณ์ที่สำคัญในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ เราควรเน้นการประกาศสถิติการว่างงานล่าสุดในสหราชอาณาจักรในวันอังคารที่ 18 เมษายน ส่วนวันพุธจะมีการประกาศดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และวันศุกร์จะมีการประกาศสถิติยอดค้าปลีกและกิจกรรมทางธุรกิจ (PMI) ของสหราชอาณาจักร

USD/JPY: ธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่นคือเกาะแห่งเสถียรภาพ

  • ตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว คู่ USD/JPY เคลื่อนที่ในกรอบด้านข้างที่ค่อนข้างกว้างที่ 129.00-138.00 (ยกเว้นช่วงที่เงินเย็นแข็งค่าขึ้นเป็นช่วงสั้น ๆ ที่ 127.15 ตอนกลางเดือนมกราคม) ราคาคู่นี้ปิดท้ายสัปดาห์แทบจะเกือบตรงกลางของกรอบดังกล่าวที่ 133.75 ซึ่งแสดงถึงการขาดปัจจัยขับเคลื่อนราคาที่สำคัญที่จะเร่งราคาไปยังทิศทางใดทิศทางหนึ่ง

    เราเคยเขียนอธิบายหลายครั้งแล้วว่า แม้ว่าหลังจากนาย Haruhiko Kuroda ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) จะหมดวาระการดำรงตำแหน่งแล้ว ธนาคารกลางฯ “จะยังคงสนับสนุนนโยบายที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ” ของเขาต่อไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ยืนยันโดยนาย Kazuo Ueda ผู้ว่าการธนาคารฯ คนใหม่ที่เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 9 เมษายนที่ผ่านมา เขากล่าวที่การประชุม G20 ว่า เขาจะสนับสนุนนโยบายผ่อนคลายทางการเงินแบบสุดขั้วนี้ต่อไป นอกจากนี้ Ueda กล่าวด้วยว่าระดับเงินเฟ้อของผู้บริโภคพื้นฐานในญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่เพียง 3% น่าจะลดลงต่ำกว่า 2% ในช่วงครึ่งหลังของปีงบประมาณนี้ ตลาดจึงได้ข้อสรุปจากคำพูดเหล่านี้ว่า มันไม่มีความหมา ยที่จะต่อสู้โดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยสำหรับธนาคารกลางญี่ปุ่น ดังนั้น มันไม่คุ้มค่าที่คาดหวังให้อัตราดอกเบี้ยของญี่ปุ่นมีการกลับทิศทางในอนาคตอันใกล้ (เดิมมีนักเศรษฐศาสตร์จาก Societe Generale และ ANZ Bank ที่คาดหวังว่ายังมีโอกาสเกิดขึ้นได้ในช่วงเดือนมิถุนายน)

    ส่วนแนวโน้มระยะใกล้ของ USD/JPY ความเห็นของนักวิเคราะห์มีดังนี้ 40% ของผู้เชี่ยวชาญโหวตว่าราคาจะขยับขึ้นทิศเหนือ 50% ชี้ไปยังทิศใต้ และ 10% มีความเห็นเป็นกลาง ในส่วนของออสซิลเลเตอร์ 75% ชี้ไปยังทิศเหนือในกรอบ D1 (หนึ่งในสามอยู่ในโซน overbought) ส่วน 10% ชี้ไปยังทิศใต้ และ 15% มีความเห็นเป็นกลาง ในส่วนของอินดิเคเตอร์เทรนด์ 85% ชี้ไปยังทิศเหนือ 15% ชี้ไปยังทิศใต้ และระดับแนวรับที่ใกล้ที่สุดอยู่ในโซน 132.80-133.00 ตามมาด้วยโซนและระดับที่ 132.00-132.40, 131.25, 130.50-130.60, 129.65, 128.00-128.15 และ 127.20 ส่วนโซนและระดับแนวต้านอยู่ที่ 134.00, 134.90-135.10, 135.90-136.00, 137.00, 137.50 และ 137.90-138.00

    สัปดาห์นี้ไม่มีกำหนดการประกาศสถิติที่สำคัญจากฝั่งเศรษฐกิจญี่ปุ่น

คริปโตเคอเรนซี: ดอลลาร์ที่อ่อนแอคือบิทคอยน์ที่แข็งแกร่ง

  • บิทคอยน์ขยับขึ้นเหนือ $30,000 เมื่อวันอังคารที่ 11 เมษายนเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2020 ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการขาดเสถียรภาพในภาคธนาคารและความคาดหวังว่าหน่วยงานทางการหลัก โดยเฉพาะธนาคารเฟดจะระงับการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ดัชนี MSCI World Index ขยับขึ้นไปยังระดับสูงสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ในวันศุกร์ที่ 14 เมษายน จึงเป็นการยืนยันว่านักลงทุนต่างชาติกำลังรอให้ธนาคารกลางของสหรัฐฯ และธนาคารกลางขนาดใหญ่อื่น ๆ จำกัดนโยบายถอนสภาพคล่องออกจากระบบ (QT) สถานการณ์นี้ส่งผลให้คริปโตเคอเรนซีทำผลงานได้ดีแซงหน้าสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ เช่นทองคำหรือน้ำมัน อีกทั้ง BTC ยังแซงหน้าคริปโตเคอเรนซีหลายสกุลในแง่ของความเคลื่อนไหวของราคาด้วย

    ในช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ฝั่งหมีมีโอกาสที่จะพา BTC/USD กลับมายังระดับแนวรับที่ $29,000 แต่ FRS (ธนาคารเฟด) พยุงมันขึ้นมาอีกครั้ง การประกาศรายงานของคณะกรรมการ FOMC เดือนมีนาคม ประกอบกับสถิติเศรษฐกิจจากสหรัฐฯ ทำให้ดอลลาร์อ่อนค่า และเป็นผลดีต่อบิทคอยน์

    ราคาบิทคอยน์ที่เติบโตขึ้นช่วยฉุดคริปโตขึ้นมาทั้งตลาด มูลค่ารวมในตลาดคริปโตเพิ่มขึ้นกว่า 55% นับตั้งแต่ต้นปี 2023 โดยขึ้นมาสูงกว่า $1.2 ล้านล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม มูลค่ารวมยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับสูงสุดตลอดกาลที่ $2.9 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2021

    ผู้เชี่ยวชาญหลายรายได้แสดงความเห็นต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 เมษยน Michael Van De Poppe นักยุทธศาสตร์ชื่อดังและผู้ก่อตั้งบริษัท Eight บริษัทด้านการลงทุนให้ข้อสังเกตว่า บิทคอยน์ผ่านการทดสอบที่ $28,600 ได้สำเร็จ ทำให้ราคาทะยานขึ้นมาและไปต่อที่ $30,000 นักวิเคราะห์ PlanB ทวีตข้อความว่า เป้าหมายทั้งหมดที่เขาเคยตั้งไว้ในเดือนตุลาคม 2022 สำเร็จหมดแล้ว ในครั้งนั้น เขาได้ทำนายว่า BTC จะสามารถพิชิตระดับ $21,000, $24,000 และหลังจากนั้นคือ $30,000 ได้ นอกจากนี้ Lark Davis บล็อกเกอร์และนักวิเคราะห์ชื่อดังอีกท่านหนึ่งได้เน้นย้ำว่า อีกไม่นานจะถึงเวลาที่การซื้อบิทคอยน์ที่ราคาต่ำกว่า $30,000 จะดูเป็นโอกาสที่ดีเยี่ยมเหมือนกับการซื้อ BTC ที่ $3,000 ในเวลานี้

    ณ ขณะที่เขียนบทวิเคราะห์ฉบับนี้ วันศุกร์ที่ 14 เมษายน BTC/USD ซื้อขายอยู่ที่ $30,440 โดยมูลค่ารวมในตลาดคริปโตคือ $1.276 ล้านล้านดอลลาร์ ($1.77 ล้านล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ที่แล้ว) ดัชนี Crypto Fear & Greed Index ขยับขึ้นมาจาก 64 เป็น 68 จุดในรอบเจ็ดวันและยังคงอยู่ในโซนความโลภ (Greed) แต่จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป?

    นักวิเคราะห์ชื่อดัง PlanB ตั้งข้อสังเกตว่า บิทคอยน์ได้ออกจากโซนหมีที่ลึกซึ้งและอยู่ช่วงต้นของตลาดกระทิงรอบใหม่ PlanB ชี้ว่า โมเดล Stock to Flow (S2F) ที่เขาพัฒนานั้นยังเป็นจริง ผู้เชี่ยวชาญอ้างว่าปัจจัยพื้นฐานของบิทคอยน์จะช่วยให้มันทะยานขึ้นสูงกว่าระดับสูงสุดตลอดกาล (ATH) ที่ $69,000 ที่เคยทำไว้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2021 ได้ PlanB เคยทำนายไว้ก่อนหน้านี้ว่าบิทคอยน์จะขยับขึ้นจาก $100,000 เป็น $1 ล้านดอลลาร์หลังการฮาล์ฟเหรียญปี 2024

    ทั้งนี้ โมเดล S2F ใช้ในการพยากรณ์ราคา BTC โดยวัดความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสินทรัพย์ที่มีและปริมาณการผลิต ซึ่งโมเดลนี้เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์หลายครั้งโดยสมาชิกในชุมชนคริปโต

    Larry Lepard หุ้นส่วนผู้บริหารของบริษัท Equity Management Associates ที่ตั้งอยู่ในบอสตันเชื่อว่า บิทคอยน์จะทะยานขึ้นไปยัง $10 ล้านเหรียญ เพราะดอลลาร์จะทรุดตัว Lepard เชื่อว่าดอลลาร์จะอ่อนค่าลงในช่วง 10 ปีข้างหน้า และประชาชนจะเริ่มลงทุนในคริปโต ทองคำ และอสังหาริมทรัพย์กันอย่างคึกคักมากขึ้น ปริมาณบิทคอยน์มีจำกัด ดังนั้นสินทรัพย์ดิจิทัลจะกลายเป็นเครื่องยนต์การลงทุนที่เป็นที่ต้องการอย่างมาก และจะได้ประโยชน์จากการทรุดลงของค่าเงินเฟียต “ผมเชื่อว่าราคาบิทคอยน์จะขึ้นอีกสูงมาก ผมคิดว่ามันน่าจะถึง $100,000 จากนั้นคือ $1 ล้านดอลลาร์ และสุดท้ายมันจะขึ้นไปถึง $10 ล้านดอลลาร์ต่อเหรียญ ผมมั่นใจว่าหลาน ๆ ของผมจะช็อคว่าคนร่ำรวยจากเงินแค่หนึ่งบิทคอยน์ได้อย่างไร” Lepard กล่าวในบทสัมภาษณ์

    เมื่อพูดถึงการคาดการณ์นี้ นักธุรกิจท่านนี้กลัวว่าทางการจะพยายามขัดขวางอุตสาหกรรมคริปโต และพยายามชะลอการเติบโตในอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น ทางการอาจขึ้นภาษีกำไรที่ได้จากการเทรดบิทคอยน์ และเพิ่มความเข้มงวดในการกำกับดูแลเหรียญ จึงเป็นเรื่องยากขึ้นสำหรับสตาร์ทอัปในการเข้าสู่ตลาด แต่ Lepard มั่นใจว่าบิทคอยน์จะสามารถฝ่าฟันอุปสรรคเหล่านี้ไปได้และจะประสบความสำเร็จในระยะยาว

    นักวิเคราะห์หลายคนเห็นด้วยว่าสภาพเศรษฐกิจมหภาคระยะยาวชี้ถึงความเป็นไปได้ที่ BTC จะมีราคาสูงขึ้น แต่การคาดการณ์ของพวกเขานั้นต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการทะยานขึ้นในรอบนี้ เป็นเพราะว่าสภาพคล่องบิทคอยน์ในขณะนี้ต่ำกว่าในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเห็นได้จากการกระจายตัวของราคาตามแพลตฟอร์มซื้อขายชั้นนำทั่วไป (ในบทวิเคราะห์ฉบับที่แล้ว เราได้เขียนว่าแม้ว่าปริมาณการซื้อขายจะเพิ่มขึ้น แต่สภาพคล่อง BTC นั้นลดลงมายังระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือน)

    แต่แน่นอนว่าแนวโน้มในปีนี้จะขึ้นอยู่กับท่าทีของธนาคารกลางชั้นนำต่าง ๆ นำโดยธนาคารเฟดสหรัฐฯ เดิมมูลค่าตามราคาตลาดคริปโตในเดือนพฤศจิกายน 2021 เป็นผลลัพธ์ของมาตรการจากธนาคารกลางต่าง ๆ ที่ได้อัดฉีดเงินจำนวนมหาศาลเข้าในระบบ (หน่วยเงิน M2 เพิ่มขึ้น 39% ซึ่งถือว่าผิดปกติตามมาตรฐานในอดีต) นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยยังใกล้ระดับศูนย์ในตอนนั้น ทำให้เกิดภาวะฟองสบู่ฉุกเฉินขึ้นในตลาดสำหรับสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ได้แก่ หุ้นและสินทรัพย์ดิจิทัล หลังจากนั้นธนาคารเฟดก็ปรับเปลี่ยนจากนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย (QE) มาเป็นแบบเข้มงวด (QT) ผ่านวัฎจักรการขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบรวดเร็วที่สุดในรอบ 40 ปี และ…ฟองสบู่ก็แตกลง

    หากพูดถึงแนวโน้มของบิทคอยน์ เราจำเป็นต้องพูดถึงว่ามีใครบ้างที่ทำนายฟองสบู่และคาดว่ามันจะแตกในที่สุด  Dieter Wermuth นักเศรษฐศาสตร์และหุ้นส่วนของ Wermuth Asset Management เชื่อว่า เศรษฐกิจจะดีขึ้นและง่ายขึ้น หากไม่มีบิทคอยน์ เขามีความเห็นว่าการลงทุนที่มีความเสี่ยงนั้นเกี่ยวข้องกับต้นทุนทางสังคม และคริปโตเคอเรนซีเองไม่ช่วยเพิ่มความมั่งคั่งให้แก่โลก

    ตลาด BTC มีศูนย์กลางเป็นอย่างมากและเป็นผลดีต่อนักลงทุนและนักขุดเหรียญกลุ่มแรกเป็นหลัก หากเราพิจารณาว่ามันเป็นสกุลเงิน ความผันผวนสูงและการไม่มีประโยชน์ที่แท้จริงของมันทำให้ BTC มีแต่จะล้มเหลว ผู้เชี่ยวชาญเชื่ออย่างนั้น เขามองว่ามันสมเหตุสมผลที่ควรจะทิ้งบิทคอยน์ไปซะ มันอาจจะดีสำหรับความมั่งคั่งที่แบ่งปันร่วมกัน เพราะการลงทุนในคริปโตเคอเรนซีนั้นไร้ประโยชน์และเป็นการดูดเงินไปจากการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวม นอกจากนี้ บิทคอยน์ยังสร้างความเหลื่อมล้ำทางสังคม เปิดโอกาสให้มีการฟอกเงิน การหลีกเลี่ยงภาษี และใช้พลังงานเป็นอย่างมากในการขุดเหรียญ Dieter Wermuth ยังเรียกบิทคอยน์ด้วยว่าเป็น “ฆาตรกรตัวสำคัญผู้ฆ่าภูมิอากาศ”

    คู่กรณีของคริปโตได้รับแรงสนับสนุนที่ไม่คาดคิดจาก…เอไอ  ChatGPT ระบบปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ได้พูดถึงการสร้างพอร์ตการลงทุนที่ทนทานต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย รายงานจาก Gold IRA Guide ชี้ว่า แชทบอทเอไอได้แนะนำให้จัดสรรเงินจำนวน 20% ลงทุนในทองคำและโลหะมีค่าอื่น ๆ พอร์ตที่เหลือควรประกอบด้วยพันธบัตร (40%) หุ้น “ปลอดภัย” (30%) และเงินสด (10%)

    แชทบอทไม่ได้พูดถึงคริปโตเคอเรนซี ซึ่งเป็นคำวิพากษ์วิจารณ์บิทคอยน์ และคนที่ดีใจคือ Peter Schiff โดยเขากล่าวว่า “อย่างน้อยเอไอก็ฉลาดอยู่นะ มันไม่ได้แนะนำให้มีเงินฝากในบิทคอยน์แต่อย่างใด” นักลงทุนรายนี้เขียน

    อย่างไรก็ดี คำตอบของ ChatGPT ก็ไม่ได้ต่อต้านทองคำดิจิทัลเสียทีเดียว บรรณาธิการ ForkLog ถามความเห็นของเอไอต่อทั้งสินทรัพย์ทั้งสองประเภท คำตอบที่ได้รับคือตัวเลือกนั้นขึ้นอยู่กับเป้าหมายในการลงทุน ระดับความเสี่ยง และความชอบส่วนตัว

    ทั้งนี้ เมื่อสอบถาม ChatGPT ว่าคริปโตเคอเรนซีไหนที่มีศักยภาพดีที่สุดในปัจจุบัน มันไม่ได้เอ่ยชื่อบิทคอยน์ แต่กลับเป็น Ethereum เอไอไม่รู้เหตุการณ์ล่าสุดแน่นอน แต่ดูเหมือนมันจะคาดการณ์อย่างแม่นยำ ในบทวิเคราะห์ฉบับที่แล้วของเรา เราได้ให้รายละเอียดฮาร์ดฟอร์ก Shapella ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะอนุญาตให้ผู้ตรวจสอบธุรกรรมสามารถถอนเหรียญ ETH ที่แช่แข็งและล็อกไว้ในเครือข่ายในช่วงสามปีที่ผ่านมาเพื่อกินดอกเบี้ย นักลงทุนและนักเทรดต่างกังวลว่าการปลดล็อกดังกล่าวอาจนำไปสู่คลื่นการขายครั้งใหญ่ และราคาจะดิ่งลงอย่างฉับพลัน อย่างไรก็ดี เรากลับเห็นสถานการณ์ตรงกันข้ามกำลังเกิดขึ้น ในวันที่ 13 เมษายน ETH/USD ขยับขึ้นเหนือ $2,000 และในช่วงเย็นวันศุกร์ที่ 14 เมษายน ราคาซื้อขายอยู่ในโซน $2,100

 

หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้


« การวิเคราห์ตลาดและข่าว
รับการฝึก
มือใหม่ในตลาดใช่ไหม?ใช้ส่วน เริ่มฝึกฝน เริ่มฝึกฝน
ติดตามเรา (ในโชเซียลเน็ตเวิร์ค)