กรกฎาคม 1, 2023

EUR/USD: เมื่อไรคู่นี้จะกลับมาที่ 1.1000?

  • สรุปผลครึ่งหลังของเดือนมิถุนายน ผลของการเผชิญหน้ากันระหว่าง EUR และ USD อาจบอกได้ว่าเป็นกลาง เมื่อวันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน EUR/USD ปิดตลาดที่เดียวกันกับที่เคยเทรดเมื่อวันที่ 15 และ 23 มิถุนายน

     ในวันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน สถิติเศรษฐกิจที่ค่อนข้างสำคัญประกาศออกมาในสหรัฐฯ สำนักงานการวิเคราะห์เศรษฐกิจปรับตัวเลข GDP ในไตรมาสที่หนึ่งขึ้นเป็น 2.0% ปีต่อปี (YoY) (การคาดการณ์เดิมอยู่ที่ 1.3%) ในส่วนของตลาดแรงงาน จำนวนยอดขอรับสวัสดิการว่างงานเบื้องต้นในรอบสัปดาห์ลดลงเกือบ 30K โดยลงมายังระดับต่ำสุดนับตั้งแต่สิ้นเดือนพฤษภาคมที่ 239K

    ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการที่กำหนดนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) ในธนาคารเฟดได้ตัดสินใจในที่ประชุมวันที่ 14 มิถุนายน ที่จะหยุดพักกระบวนการถอนสภาพคล่องออกจากตลาด และคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมคือ 5.25% หลังจากนั้น ตลาดก็ต่างเก็งท่าทีในอนาคตของธนาคารเฟด สถิติที่ประกาศออกมายิ่งเพิ่มความมั่นใจในเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศ และยิ่งเพิ่มความคาดหวังต่อการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ CME FedWatch Tool ชี้ว่า โอกาสที่อัตราดอกเบี้ยจะขึ้น 25 จุดพื้นฐาน (bps) ในที่ประชุมเดือนกรกฎาคมของธนาคารเฟดเพิ่มขึ้นเป็น 87% และโอกาสที่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวมภายในสิ้นปี 2023 ที่ 50 จุด อยู่ที่เกือบ 40% ส่งผลให้ในช่วงกลางวันวันศุกร์ที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา EUR/USD ทำระดับต่ำสุดในกรอบคือ 1.0835

    นาย Jerome Powell ประธานธนาคารเฟดสหรัฐฯ ได้กล่าวในงานประชุมเศรษฐกิจที่เมืองซิงตรา (โปรตุเกส) เมื่อวันพุธที่ 28 มิถุนายนว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปจะต้องขับเคลื่อนโดยตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง และภาวะเงินเฟ้อที่สูงอย่างไม่หยุดนิ่ง อย่างไรก็ดี สถิติค่าใช้จ่ายในการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (PCE) ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน บ่งชี้ว่าภาวะเงินเฟ้อลดลง ถึงแม้จะลดลงอย่างช้า ๆ ก็ตาม การคาดการณ์ชี้ว่า ดัชนี PCE เดือนมิถุนายนจะคงที่ที่ระดับเดิมคือ 4.7% แต่ในความเป็นจริง ดัชนีดังกล่าวลดลงมาที่ 4.6% สิ่งนี้กระทบต่อสภาวะกระทิงของดอลลาร์สหรัฐ โดยดัชนี DXY ปรับตัวลดลงและ EUR/USD กลับมาอยู่โซนตรงกลางในกรอบด้านข้างรอบสองสัปดาห์ และปิดตลาดรอบห้าวันทำการที่ 1.0910

    ในส่วนสภาพเศรษฐกิจอีกฝั่งหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก หลังจากสถิติเงินเฟ้อเบื้องต้นที่สูงจากสเปนและเยอรมนี ตลาดคาดหวังว่าดัชนีผู้บริโภค (HICP) ในยูโรโซนจะขึ้น 0.7% ในเดือนมิถุนายน ซึ่งสูงกว่าของเดือนก่อนหน้าถึง 0.2% อย่างไรก็ตาม ตัวเลขจริงแม้ว่าจะสูงกว่าในเดือนพฤษภาคม แต่สูงกว่าเพียงเล็กน้อยที่ 0.3% เท่านั้น นอกจากนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคเบื้องต้น (CPI) ซึ่งประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน แสดงให้เห็นถึงระดับเงินเฟ้อที่ลดลงในยูโรโซนจาก 6.1% เหลือ 5.5% ปีต่อปี (จากการคาดการณ์อยู่ที่ 5.6%)

    ทั้งนี้ หลังจากท่าทีสายเหยี่ยวจากผู้บริหารธนาคารกลางยุโรป (ECB) เมื่อกลางเดือนมิถุนายน ตลาดก็ได้เก็งไว้แล้วว่ายูโรจะมีการขึ้นดอกเบี้ยสองครั้ง คือเดือนกรกฎาคมและกันยายน ครั้งละ 25 จุดพื้นฐาน ดังนั้น สถิติเงินเฟ้อยุโรปล่าสุดแทบจะไม่มีผลอะไรต่อสภาพอารมณ์ของนักลงทุน

    เมื่อวันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน ไม่ใช่เป็นแค่วันสุดท้ายของไตรมาสเท่านั้น แต่ยังเป็นวันแรกของครึ่งหลังของปี โดยผู้แทนจากธนาคารหลายแห่งได้ตัดสินใจให้การคาดการณ์เกี่ยวกับครึ่งหลังของปี 2023 และช่วงเริ่มต้นปี 2024 นักเศรษฐศาสตร์จาก Credit Agricole มองเห็นความเสี่ยงของแนวโน้มขาลงในคู่ EUR/USD จากระดับปัจจุบันในระยะใกล้ และคาดการณ์ว่าราคาจะฟื้นตัวอย่างช้า ๆ เริ่มตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2023 โดยพวกเขามีความเห็นว่า ในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า ราคาคู่นี้อาจขึ้นไปที่ 1.1100

    นักยุทธศาสตร์จาก Wells Fargo คาดการณ์ว่าดอลลาร์จะค่อนข้างเสถียร หรือแม้แต่แข็งแกร่งขึ้นในช่วงท้ายปี 2023 อย่างไรก็ดี พวกเขาทำนายว่าดอลลาร์น่าจะอ่อนค่าลงอย่างเห็นได้ชัดในปีถัดไป “จากการที่เราคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ตามมาในภายหลังและไม่รุนแรง และตามมาด้วยการผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารเฟด เราจึงคาดหวังว่าดอลลาร์จะค่อย ๆ อ่อนค่าลงอย่างช้า ๆ ในภายหลัง [...] เราทำนายว่าภายในสิ้นปี 2023 อัตราแลกเปลี่ยนดอลลร์จะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระดับปัจจุบัน และภายในปี 2024 มันจะลดลง 4.5%

    "นักเศรษฐศาสตร์ที่ Goldman Sachs ยังได้อัปเดตการคาดการณ์ EUR/USD ด้วยเช่นกัน ตอนนี้ พวกเขาคาดว่าราคาคู่นี้จะปรับตัวลงเล็กน้อยในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า และเงินยูโรจะฟื้นตัวในระยะยาวภายในสิ้นปี 2023 และครึ่งแรกของปี 2024 พวกเขาคาดการณ์ว่าราคาคู่นี้จะอยู่ที่ 1.0700 ในเวลาสามเดือน, 1.1000 ในเวลาหกเดือน และ 1.1200 ในเวลา 12 เดือน

    ในส่วนแนวโน้มระยะใกล้ ณ ขณะที่เขียนบทรีวิวฉบับนี้ ช่วงเย็นวันที่ 30 มิถุนายน นักวิเคราะห์ 50% โหวตให้แนวโน้มขาลง 25% โหวตขาขึ้น และ 25% ที่เหลือให้ความเห็นเป็นกลาง

    ด้านออสซิลเลเตอร์บนกรอบ D1 35% อยู่ฝั่งกระทิง (สีเขียว) 25% อยู่ฝั่งหมี (สีแดง) และ 40% ให้สีเทากลาง ในส่วนอินดิเคเตอร์เทรนด์ 90% ให้สัญญาณสีเขียว และ 10% เท่านั้นที่ให้สีแดง ระดับแนวรับที่ใกล้ที่สุดของคู่นี้อยู่ที่บริเวณ 1.0895-1.0900 ตามมาด้วย 1.0865, 1.0790-1.0815, 1.0745, 1.0670 และแนวรับสุดท้ายคือราคาต่ำสุดของวันที่ 31 พฤษภาคม 1.0635 ด้านฝั่งกระทิงจะเจอกับแนวต้านที่บริเวณ 1.0925-1.0940 ตามมาด้วย 1.0985, 1.1010, 1.1045, 1.1090-1.1110

    ส่วนกิจกรรมที่จะเกิดขึ้น ได้แก่ การประกาศดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของเยอรมนีและสหรัฐฯ ในวันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม ผลการประชุมล่าสุดของคณะกรรมการ FOMC จะประกาศในวันพุธที่ 5 กรกฎาคม ในวันถัดมา วันพฤหัสบดีที่ 6 กรกฎาคม จะมีการประกาศดัชนีค้าปลีกในยูโรโซน ในวันเดียวกันนั้นยังมีการประกาศรายงานการจ้างงานของ ADP และ PMI ภาคบริการของสหรัฐฯ

    ปิดท้ายสัปดาห์นี้จะมีการรายงานสถิติชุดใหญ่จากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ในวันศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม ได้แก่ อัตราว่างงาน และดัชนีนอนฟาร์มที่สำคัญ (NFP)

    ฝั่งยุโรป นาง Christine Lagarde ประธานธนาคารกลางยุโรปจะกล่าวแถลงในวันเดียวกันเช่นกัน

    นอกจากนี้ นักเทรดควรทราบด้วยว่า วันอังคารที่ 4 กรกฎาคมเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นวันประกาศอิสรภาพ ซึ่งตลาดจะปิดทำการก่อนกำหนดในวันจันทร์เนื่องด้วยวันหยุดดังกล่าว

GBP/USD: Powell “สยบ” Bailey อย่างไร

  • ในบทรีวิวฉบับที่แล้ว เราได้ให้ข้อสังเกตถึงคำพูดที่ชัดเจนของผู้บริหารคนสำคัญหลายท่าน ในสัปดาห์นี้มีการยืนยันในลักษณะเดียวกัน โดยเมื่อวันพุธที่ 28 มิถุนายน GBP/USD แสดงแนวโน้มขาลงที่น่าประทับใจ สาเหตุนั้นเป็นเพราะคำกล่าวของนาย Jerome Powell ประธานเฟด และ Andrew Bailey ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษที่เมืองซิงตรา โดยนาย Bailey ให้สัญญาว่า ธนาคารกลางอังกฤษ “จะทำทุกวิถีทางเพื่อให้อัตราเงินเฟ้อเป็นไปตามระดับเป้าหมาย” ซึ่งแปลว่าจะต้องมีการขึ้นดอกเบี้ยอย่างน้อยสองครั้ง อย่างไรก็ดี นาย Powell ไม่ได้ตัดโอกาสว่าอาจมีการถอนสภาพคล่องออกเพิ่มเติมในนโยบายการเงินของธนาคารเฟด แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ จะต่ำกว่าในสหราชอาณาจักรอยู่มากก็ตาม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากคำกล่าวจากทั้งสองท่านนี้ปรากฏว่าเป็นฝั่งนาย Jerome Powell และค่าเงินดอลลาร์ที่เป็นฝ่ายชนะและ GBP/USD ร่วงลงอย่างหนัก

    ในวันถัดมา สถิติเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งยิ่งช่วยหนุนดอลลาร์ ถ้าไม่เป็นเพราะสถิติค่าใช้จ่ายการบริโภคส่วนตัว (PCE) ในสหรัฐฯ ที่ประกาศเมื่อช่วงปลายสัปดาห์ เงินปอนด์ก็คงจะเสียหายหนักมากกว่านี้ แต่ PCE ส่งผลให้เงินเฟ้อฟื้นตัวส่วนที่ขาดทุนไปได้เกือบทั้งหมด และปิดตลาดที่ระดับ 1.2696

    ในการกล่าวแถลงที่เมืองซิงตรา Andrew Bailey กล่าวด้วยว่า “เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรพิสูจน์ให้เห็นว่ามีความยืดหยุ่นมากกว่า” ที่ธนาคารกลางคาดการณ์ เราก็อยากจะเชื่อคำพูดของประธาน BoE แต่สถิติที่รายงานจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ (ONS) ของอังกฤษเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ยิ่งเพิ่มความกังวล โดย GDP อังกฤษเติบโตขึ้นในไตรมาสที่ 1 ปี 2023 ที่ 0.1% ในรายไตรมาส และ 0.2% ในรายปี โดยดัชนีแรกคงที่ที่ระดับก่อนหน้า ในขณะที่ดัชนีที่สองนี้ลดลงเป็นอย่างมาก ซึ่งต่ำกว่าสถิติในไตรมาสที่ 4 ปี 2022 อยู่ที่ 0.5%

    นักเศรษฐศาสตร์จาก Credit Suisse ชี้ว่า สถานการณ์ที่ธนาคารกลางอังกฤษกำลังเผชิญอยู่อาจเรียกได้ว่าเป็น ข้อยกเว้นอย่างแท้จริง แต่การชะลอตัวใน GDP อังกฤษ ไม่น่าจะทำให้ผู้บริหาร BoE กังวลมากเกินไป ซึ่งพวกเขากำลังให้ความสำคัญกับการต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อสูงอยู่

    หลังการประชุมเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน BoE ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 จุดพื้นฐาน และ 50 จุด เป็น 5.00% นักวิเคราะห์หลายคนเชื่อว่า ธนาคารฯ อาจขึ้นดอกเบี้ยเป็น 5.50% ในการประชุมที่จะมีขึ้นสองครั้งข้างหน้า และจากนั้นดอกเบี้ยจะขึ้นเป็น 6.25% ท่ามกลางภัยคุกคามของภาวะเศรษฐกิจถดถอย การดำเนินการดังกล่าวในอนาคตอันใกล้จะยิ่งช่วยหนุนค่าเงินปอนด์ ทางด้าน Credit Suisse เชื่อว่า แม้เงินปอนด์จะแข็งค่าขึ้นเป็นอย่างมากตั้งแต่เดือนกันยายน 2022 GBP/USD ยังคงมีโอกาสที่จะขึ้นไปที่ 1.3000

    จากมุมมองการวิเคราะห์เชิงเทคนิค สัญญาณจากออสซิลเลเตอร์บนกรอบ D1 ดูค่อนข้างไม่แน่นอน หนึ่งในสามชี้ไปยังทิศเหนือ หนึ่งในสามชี้ไปยังทิศใต้ และอีกหนึ่งในสามที่เหลือชี้แนวโน้มด้านข้าง ภาพรวมของอินดิเคเตอร์เทรนด์มีความชัดเจนมากกว่า โดย 90% แนะนำให้ซื้อ 10% ให้ขาย ส่วนในกรณีที่ราคาขยับลงทิศใต้ จะต้องเจอกับแนวรับที่ระดับและโซน ได้แก่ 1.2625, 1.2570, 1.2480-1.2510, 1.2330-1.2350, 1.2275, 1.2200-1.2210 และในกรณีที่ราคาขึ้นด้านบน จะต้องเจอกับระดับแนวต้าน ได้แก่ 1.2755, 1.2800-1.2815, 1.2850, 1.2940, 1.3000, 1.3050 และ 1.3185-1.3210

    สำหรับกิจกรรมที่จะมีขึ้นในสัปดาห์นี้ ความสนใจหลักจะอยู่ที่การประกาศดัชนี PMI ในภาคการผลิตของสหราชอาณาจักร ในวันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม ส่วนวันอังคารที่ 4 กรกฎาคม จะมีการประกาศรายงานของธนาคารแห่งชาติอังกฤษ ซึ่งอาจให้ความกระจ่างเกี่ยวกับแนวโน้มนโยบายการเงินในอนาคต ในช่วงท้ายสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม จะมีการประกาศสถิติตลาดแรงงานสหรัฐฯ ได้แก่ ระดับการจ้างงาน และดัชนีที่สำคัญคือดัชนีจำนวนตำแหน่งงานใหม่นอกภาคการเกษตร (NFP)

    ในส่วนกิจกรรมในสัปดาห์หน้านี้ เราอาจให้ความสนใจในวันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม ซึ่งจะมีการประกาศดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของสหราชอาณาจักร

USD/JPY: “ตั๋วไปถึงดวงจันทร์” ปรากฏว่าใช้งานได้หลายครั้ง

บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์และคริปโตเคอเรนซีประจำวันที่ 3 - 7 กรกฎาคม 20231

  • ทันทีที่เราพูดถึงโอกาสที่รัฐบาลจะแทรกแซงเพื่อสนับสนุนเงินเยนในบทวิเคราะห์ฉบับที่แล้วของเรา แทบทุกคนก็เริ่มพูดถึงเรื่องนี้เช่นกัน รวมถึงนักวิเคราะห์และเจ้าหน้าที่จากฝั่งรัฐบาลญี่ปุ่น แน่นอนว่าการคาดเดาของเรานั้นไม่ใช่ปัจจัยกระตุ้น แต่เป็นเพราะอัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงินญี่ปุ่น ในสัปดาห์ที่แล้ว USD/JPY ยังคงมุ่งหน้า “ไปถึงดวงจันทร์” โดยทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ 145.06 ที่น่าสนใจก็คือ ตรงที่ราคา 145.00 นี้เองที่ธนาคารแห่งชาติอังกฤษ (BoJ) ได้ทำการแทรกแซงครั้งแรกในรอบหลายปี

    เราได้พูดถึงไปแล้วหลายครั้งว่า มาตรการที่สวนทางกันในนโยบายการเงินระหว่างธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่นและธนาคารกลางหลักอื่น ๆ เป็นสูตรสำเร็จที่ทำให้เงินเยนอ่อนค่าลงต่อเนื่อง ในสัปดาห์ที่แล้วหลังการประกาศ GDP สหรัฐฯ และตัวเลขการว่างงาน อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯ ในรอบสิบปีเพิ่มขึ้นเป็น 3.84% และพันธบัตรชุดสองปีเพิ่มขึ้นเป็น 4.88% โดยเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม ดังนั้น ค่าส่วนต่างระหว่างพันธบัตรของสหรัฐฯ และญี่ปุ่นจึงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และสะท้อนให้เห็นถึงการเบี่ยงเบนจากกันที่เพิ่มขึ้นของนโยบายการเงินธนาคารเฟดและธนาคารกลางญี่ปุ่น และผลักดันให้ USD/JPY ทะยานขึ้นสูงลิ่ว แน่นอนว่าในสถานการณ์เช่นนี้ คำถามเริ่มปรากฏขึ้นเกี่ยวกับความสามารถของธนาคารกลางญี่ปุ่นในการสนับสนุนค่าเงินประเทศ

    Hirokazu Matsuno เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้กล่าเมื่อวันศุกร์ที่ 30 มิถุนายนว่า ทางการกำลัง “ติดตามการเคลื่อนไหวของค่าเงินอย่างใกล้ชิด ด้วยการตระหนักถึงความเร่งด่วนและฉับพลัน” “สิ่งสำคัญคืออัตราแลกเปลี่ยนควรเคลื่อนไหวอย่างคงที่ สะท้อนถึงตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจพื้นฐาน ก่อนหน้านี้เราสังเกตเห็นการเคลื่อนที่แบบฝ่ายเดียวอย่างรุนแรง ซึ่งเราจะต้องดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพื่อรับมือกับการเคลื่อนไหวที่รุนแรงเกินไปของค่าเงิน” เขาให้สัญญา

    อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญหลายคนตั้งข้อกังขาว่า รัฐบาลและธนาคารกลางญี่ปุ่นจะมีกำลังและความสามารถที่จะทำให้เงินเยนแข็งค่าขึ้น หรือจะสามารถรักษาสถาะนั้นไว้ได้ในระยะยาวได้หรือไม่ ทั้งนี้ เวลาได้ผ่านไปแล้ว 8 เดือนนับตั้งแต่การแทรกแซงค่าเงินครั้งล่าสุดในเดือนพฤศจิกายน 2023 และนี่เป็นอีกครั้งที่ USD/JPY กำลังขึ้นไปจู่โจมระดับ 145.00 เนื่องจากเงินทุนสำรองทั้งหมดนั้นมีจำกัด ผู้เชี่ยวชาญจาก Commerzbank กล่าวว่า การแก้ปัญหานี้จะยากลำบากอย่างไม่จำกัด และ “สิ่งที่เหลืออยู่คือความหวังว่า เจ้าหน้าที่จากกระทรวงการคลังจะเข้าใจจุดนี้ และจะไม่ประเมินความสามารถของพวกเขามากเกินไป”

    นโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่นและรัฐบาลในช่วงหลายปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า พวกเขาไม่ได้โฟกัสที่อัตราแลกเปลี่ยนของเงินเยนเพียงอย่างเดียว แต่ให้ความสำคัญกับตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจเช่นกัน อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าหนึ่งในตัวชี้วัดเหล่านี้คือ ภาวะเงินเฟ้อ ในแง่นี้ เราได้เห็นดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เร่งตัวไปที่ 3.1% ปีต่อปี เทียบกับ 3.0% ของเดือนก่อนหน้า และ 2.7% ในเดือนกุมภาพันธ์ ในขณะที่ตัวเลขเหล่านี้ต่ำกว่าตัวเลขที่เคยสังเกตเห็นในสหัรฐฯ ยูโรโซน หรือในสหราชอาณาจักร ก็ไม่มีใครรับประกันได้ว่า ภาวะเงินเฟ้อจะไม่สูงขึ้นต่อ หากธนาคารกลางญี่ปุ่นไม่ประสงค์จะเพิ่มความเข้มงวดให้กับนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายแบบสุดขั้ว และเริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ย เครื่องมือเดียวที่เหลืออยู่ในการคงอัตราแลกเปลี่ยนไว้คือ การแทรกแซงค่าเงิน คำถามเดียวที่เหลือก็คือ แล้วพวกเขาจะเริ่มแทรกแซงอีกครั้งเมื่อไร ตอนนี้หรือเมื่อราคาขึ้นถึง 150.00 อย่างที่เคยเกิดขึ้นไปแล้วในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 2022

    ผู้เชี่ยวชาญหลายคนยังคงหวังว่า ธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่นจะตัดสินใจในที่สุดที่จะเพิ่มความเข้มงวดในนโยบายการเงิน ความหวังเหล่านี้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์ที่ Danske Bank คาดการณ์คู่ USD/JPY ว่าจะลงไปต่ำกว่า 130.00 ในอีก 6-12 เดือน การคาดการณ์ที่คล้ายกันนั้นเป็นของนักยุทธศาสตร์จาก BNP Paribas ซึ่งวางเป้าหมายไว้ที่ 130.00 ภายในสิ้นปีนี้ และ 123.00 ภายในสิ้นปี 2024 อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์ของ Wells Farrgo ดูจะปานกลางมากกว่า โดยมีผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าราคาคู่นี้จะลดลงมาที่ 133.00 ภายในสิ้นปี 2024 เท่านั้น อย่างไรก็ดี การไปถึงระดับดังกล่าวได้ก็ถือว่าเป็นความสำเร็จครั้งใหญ่สำหรับค่าเงินญี่ปุ่น เพราะราคาปิดท้ายสัปดาห์ที่แล้วที่บริเวณ 144.29 หลังการประกาศดัชนี PCE ของสหรัฐฯ

    ณ ขณะที่เขียนบทวิเคราะห์ฉบับนี้ นักวิเคราะห์ 60% คาดการณ์เหมือนกับในสัปดาห์ที่แล้วว่า เงินเยนจะชดเชยส่วนที่ติดลบไปได้และจะผลักดันราคาให้ขยับลงมาทิศใต้ ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญ 40% ที่เหลือชี้ไปยังทิศทางด้านข้าง อย่างไรก็ดี ในครั้งนี้ไม่มีผู้ที่สนับสนุนแนวโน้มขาขึ้น โดยในครั้งที่แล้วมีอยู่แค่ 10% เท่านั้น อย่างไรก็ดี USD/JPY ยังคงเดินในเส้นทางไปสู่ดวงดาว ซึ่งในครั้งนี้คงต้องปล่อยให้ตลาดเป็นผู้ตัดสินใจ ในขณะที่ผลการวิเคราะห์โดยอินดิเคเตอร์เทรนด์และออสซิลเลเตอร์เห็นตรงกันหมด คือ 100% ในกรอบ D1 ชี้ไปยังขาขึ้น แต่มีออสซิลเลเตอร์จำนวนหนึ่งในสี่ที่ให้สัญญาณว่าคู่นี้มีแรงซื้อมากเกินไป (overbought)

    สำหรับระดับแนวรับที่ใกล้ที่สุดอยู่ในโซน 143.74 ตามมาด้วย 142.95-143.20, 142.20, 141.40 จากนั้นคือ 140.90-141.00, 140.60, 138.75-139.05, 138.30 และ 137.50 ด้านแนวต้านที่ใกล้ที่สุดคือ 144.55 และหลังจากนั้น ฝั่งกระทิงจะต้องเอาชนะแนวต้านบริเวณ 145.00-145.30, 146.85-147.15 และ 148.85 ก่อนที่ราคาจะขยับขึ้นไปยังระดับสูงสุดของเดือนตุลาคมปี 2022 ที่ 151.95

    ในสัปดาห์หน้านี้ยังไม่คาดว่าจะมีการประกาศข้อมูลทางเศรษฐกิจที่สำคัญใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจญี่ปุ่น อย่างไรก็ดี เว้นแต่ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะมีการประกาศการแทรกแซงค่าเงิน ซึ่งปกติแล้วจะไม่มีการออกมาประกาศล่วงหน้าแต่อย่างใด

คริปโตเคอเรนซี: ความบ้าระห่ำของบิทคอยน์ในกลุ่มสถาบันเริ่มก่อตัว

  • สิ่งที่มีคนพูดถึงและฝันถึงมาเป็นเวลานานดูเหมือนว่ากำลังเกิดขึ้น บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการเงินระดับโลกกำลังเริ่มเชื่อในอนาคตของบิทคอยน์ ก่อนหน้านี้ในปี 2021 Matt Hougan ผู้อำนวยการสูงสุดของ Bitwise ได้กล่าวว่า ETFs คริปโตเคอเรนซีที่อ้างอิงกับฟิวเจอร์สไม่เหมาะสำหรับนักลงทุนระยะยาวเนื่องด้วยต้นทุนที่เกี่ยวข้องที่สูงเกินไป เขากล่าวว่า เมื่อมีกองทุนสปอตบิทคอยน์ (ETFs) ปรากฏขึ้นเมื่อไหร่ นักลงทุนรายสถาบันจะเริ่มทุ่มเงินลงทุนจำนวนมากเข้ามาในตลาด ล่าสุดในบทสัมภาษณ์กับ Bloomberg Hougan ได้ประกาศช่วงเริ่มต้นของยุคใหม่ “ตอนนี้เรามี BlackRock ที่กำลังชูธงและประกาศว่า BTC มีมูลค่า ซึ่งมันเป็นสินทรัพย์ที่นักลงทุนรายสถาบันต้องการจะลงทุนด้วย ผมเชื่อว่าเรากำลังเข้าสู่ยุคใหม่แห่งคริปโตเคอเรนซี ซึ่งผมเรียกว่าเป็น “ยุคกระแสหลัก” และผมคาดว่าจะเป็นแนวโน้มกระทิงในระยะหลายปีที่เพิ่งเริ่มต้นขึ้น”

    ETF สปอต BTC คือ กองทุนที่หุ้นซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ และติดตามตลาดหรือราคาสปอตของ BTC ไอเดียหลักเบื้องหลัง ETF คือ ให้นักลงทุนรายสถาบันสามารถเข้าถึงการเทรดบิทคอยน์ได้โดยไม่ต้องครอบครองมันจริง ๆ แต่เข้าถึงโดยผ่านผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการกำกับดูแลและเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่คุ้นเคย

    ในขณะนี้ มีสถาบันการเงิน 8 แห่งที่ได้ยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ (SEC) ที่จะเข้าตลาดคริปโตผ่าน ETF แบบตลาดสปอต นอกเหนือจากบริษัทลงทุนยักษ์ใหญ่อย่าง BlackRock ยังมีผู้บริหารสินทรัพย์รอบโลก เช่น Invesco และะ Fidelity รวมถึงธนาคารระดับโลก เช่น JPMorgan, Morgan Stanley, Goldman Sachs, Bank of New York Mellon, Bank of America, Deutsche Bank, HSBC และ Credit Agricole ที่ได้เข้าสู่ช่วงกระแสความนิยมบิทคอยน์เช่นกัน

    ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ กลต. สหรัฐฯ ได้ปฏิเสธคำขอที่คล้ายกันทั้งหมด แต่สถานการณ์ปัจจุบันอาจเปลี่ยนไปแล้ว Gary Gensler ประธานกลต. สหรัฐฯ ได้ยืนยันว่า กลต. พิจารณาว่าบิทคอยน์เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งจะเปิดโอกาสที่กว้างขวางขึ้นให้กับบิทคอยน์ ด้าน Cameron Winklevoss หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Gemini ตลาดแลกเปลี่ยนบิทคอยน์ ได้ประกาศผ่านทางทวิตเตอร์ว่า ทั้งนักลงทุนรายสถาบันและรายย่อยเริ่มจะเข้าซื้อบิทคอยน์แล้ว สังเกตเห็นได้ว่า สถาบันต่าง ๆ มีความสนใจอย่างยิ่งที่จะเข้าซื้อบิทคอยน์ตั้งแต่ก่อน ETF สปอตจะได้รับอนุญาต

    “บิทคอยน์คือสินทรัพย์ที่ชัดเจนว่าทำกำไรได้ดีที่สุดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และมันจะยังคงมีประโยชน์ในทศวรรษนี้!” กล่าวโดย Cameron Winklevoss ด้าน Hugh Hendry ผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์ Eclectica Asset Management เห็นด้วยกับเขา โดยระบุว่าบิทคอยน์อาจมีมูลค่าเพิ่มขึ้นได้ถึงสามเท่าในระยะกลาง

    เมื่อพูดถึงอัลท์คอยน์ สถานการณ์มีความท้าทายมากกว่า Max Keiser ผู้นิยมบิทคอยน์สุดโต่งและที่ปรึกษาของประธานาธิบดีเอลซัลวาดอร์เชื่อว่า นาย Gary Gensler ประธานกลต. สหรัฐฯ มีเครื่องมือทางเทคนิคและการเมืองที่เพียงพอในการให้สถานะหลักทรัพย์แก่ XRP และ ETH ซึ่งในที่สุดจะฆ่าอัลท์คอยน์เหล่านี้ “คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ (SEC) ทำงานให้แก่กลุ่มธนาคาร และสมคบกันเพื่อปกป้องโครงสร้างทางการเงิน” Keiser เขียนในบล็อกของเขา

    ทั้งนี้ อย่าลืมว่า กลต. ได้ยื่นฟ้องร้อง Binance และ Coinbase โดยกล่าวหาว่าแพลตฟอร์มเหล่านี้ขายสินทรัพย์ที่ไม่ได้จดทะเบียน ในเอกสารที่ยื่นต่อศาล คณะกรรมการฯ ได้จัดให้ Solana (SOL), Cardano (ADA), Polygon (MATIC), Coti (COTI), Algorand (ALGO), Filecoin (FIL), Cosmos (ATOM), Sandbox (SAND), Axie Infinity (AXS), และ Decentraland (MANA) เป็นตราสาร และแพลตฟอร์มคริปโตหลายแห่งได้ใช้รายงานฉบับนี้ของกลต. เป็นแนวทาง และเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงข้อกล่าวหา จึงได้ยกเลิกการให้บริการอัลท์คอยน์เหล่านี้บ้างแล้ว

    รายงานข้างต้นแสดงให้เห็นว่า บิทคอยน์น่าจะคงตำแหน่งผู้นำในอนาคตอันใกล้ Mark Yusko ผู้ก่อตั้ง Morgan Creek Capital และ CTO เชื่อว่า ตลาดบิทคอยน์และคริปโตได้เข้าสู่แนวโน้มกระทิง เขามองว่า แนวโน้มนี้อาจคงอยู่ไปจนถึงการฮาล์ฟเหรียญครั้งหน้า “ผมคิดว่าการทะยานขึ้นเพิ่งจะเริ่มขึ้น เราได้เข้าสู่ฤดูร้อนคริปโตแล้ว” ผู้เชี่ยวชาญกล่าว แต่เขาเตือนด้วยว่า แรงระเบิดที่จะเกิดขึ้นจากการฮาล์ฟเหรียญมักตามมาด้วยปฏิกิริยาตอบสนองในทิศทางตรงกันข้ามที่เรียกว่า ฤดูหนาวคริปโต

    นักวิเคราะห์เบื้องหลังชื่อเล่นว่า InvestAnswers กล่าวว่า นอกเหนือจากการลดผลตอบแทนลงครึ่งหนึ่งที่จะมีขึ้น การยอมรับโดยนักลงทุนรายสถาบันได้เริ่มช่วยกระตุ้นการเติบโตของ BTC โดยอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นในสินทรัพย์และลดอุปทานลง บริษัทขนาดใหญ่ด้านการลงทุนบริหารสินทรัพย์มูลค่าหลายล้านล้านดอลลาร์ร่วมกัน ในขณะที่มูลค่ารวมของตลาดคริปโตแค่มากกว่า $0.5 ล้านล้านนิดเดียวเท่านั้น และนี่จึงเป็นสัดส่วนเล็กน้อยของจำนวนเงินรวม $0.5 ล้านล้านดอลลาร์ที่จะเทรดกันในตลาดนี้

    Peter Schiff ประธาน Euro Pacific Capital ผู้ชื่นชอบทองคำตัวยง และนักวิจารณ์บิทคอยน์อ้างว่า “ไม่มีอะไรคุณภาพต่ำกว่าคริปโตเคอเรนซี” “ก่อนหน้านี้ แนวโน้มขาขึ้นในสินทรัพย์เก็งกำไรต่างไม่มีบิทคอยน์ แต่ตอนนี้บิทคอยน์เข้าร่วมวงแล้ว แต่มันน่าจะจบลงในเร็ว ๆ นี้” เขากล่าว Schiff มองว่า แนวโน้มขาขึ้นดังกล่าวมักจะสิ้นสุดลงเมื่อ “สิ่งที่มีคุณภาพต่ำ” อย่างเช่นบิทคอยน์เข้าร่วมด้วยในที่สุด

    เมื่อดูที่กราฟ BTC/USD อาจมีความสงสัยว่า Peter Schiff อาจจะพูดถูก หลังปรากฏข่าวว่า BlackRock และผู้เล่นรายสถาบันอื่น ๆ มีความสนใจ ราคาคู่นี้ก็ขยับอยู่ในกรอบด้านข้างแคบ ๆ ที่ $28,850 ถึง $31,000 ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา นักวิเคราะห์ท่านนี้ชี้ว่า นอกเหนือจากความกังวลเกี่ยวกับท่าทีของกลต. บิทคอยน์และตลาดคริปโตกำลังถูกกดดันโดยนักขุดเหรียญ หากราคาฝ่าแนวต้านที่ $30,000 ขึ้นไปได้ จะยิ่งกระตุ้นให้พวกเขาโอนเหรียญปริมาณมากเข้าไปยังแพลตฟอร์มซื้อขาย ($128 ล้านดอลลาร์เฉพาะในสัปดาห์ที่แล้วเท่านั้น) นักขุดเหรียญคริปโตกลัวว่าราคาจะกลับตัวจากระดับสำคัญ เนื่องด้วยการกำกับดูแลที่ดูจะมากขึ้นในอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ต้นทุนเฉลี่ยของการขุดเหรียญยังสูงกว่าราคาปัจจุบันของสินทรัพย์ดิจิทัล เนื่องด้วยความยากที่เพิ่มขึ้นเท่าตัวในการประมวลผลในช่วงหนึ่งปีครึ่งที่ผ่านมา ทำให้นักขุดเหรียญถูกบีบให้ขายเหรียญของตนเองเพื่อพยุงกิจกรรมการผลิต ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่คงอยู่ และชำระหนี้สิน

    ณ ขณะที่เขียนบทรีวิวฉบับนี้ ในช่วงเย็นวันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน BTC/USD ซื้อขายอยู่ที่บริเวณ $30,420 โดยมูลค่ารวมตลาดคริปโตลดลงเล็กน้อยเหลือ $1.191 ล้านล้านดอลลาร์ ($1.196 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า) ดัชนี Crypto Fear & Greed Index อยู่ระหว่างโซนความโลภ (Greed) และโซนปานกลาง (Neutral) โดยปรับตัวลงมาจาก 65 เหลือ 56 จุดในรอบสัปดาห์

    ปัจจัยกระตุ้นใหม่ที่จำเป็นเพื่อให้ราคาขยับขึ้นต่อไป หนึ่งในนั้นอาจเป็นการหมดอายุของสัญญาฟิวเจอร์ส Ethereum และ Bitcoin ในวันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน  AmberDate ชี้ว่าออปชั่นบิทคอยน์ 150,000 จะถูกกำจัดในวันดังกล่าวที่ Deribit Exchange คิดเป็นมูลค่าประมาณ $4.57 พันล้านดอลลาร์ เงินอีก $2.3 พันล้านดอลลาร์จะถูกจัดสรรให้กับสัญญา ETH ผู้เชี่ยวชาญจาก CoinGape เชื่อว่า นี่อาจเป็นการกระตุ้นให้ความผันผวนเพิ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม และเพิ่มแรงหนุนที่สำคัญให้กับสินทรัพย์เหล่านี้ อย่างไรก็ตาม หลายอย่างนั้นยังขึ้นอยู่กับสถิติเศรษฐกิจจากฝั่งสหรัฐฯ

    ณ ช่วงเย็นวันที่ 30 มิถุนายน ETH/USD มีราคาซื้อขายอยู่ที่บริเวณ $1,920 นักวิเคราะห์หลายคนเชื่อว่า Ethereum ยังคงมีศักยภาพที่จะเติบโตขึ้นต่อไป Ali Martinez ผู้เชี่ยวชาญชื่อดังชี้ว่า ETH อาจเผชิญกับแนวต้านสำคัญที่บริเวณ $2,000-2,060 เนื่องจากมีที่อยู่ 832,000 ที่อยู่ที่เคยเปิดคำสั่งขายในราคาช่วงนี้ อย่างไรก็ตาม หาก Ethereum สามารถผ่านโซนนี้ไปได้ จึงมีโอกาสที่ราคาขยับถึง $2,330 ในแนวโน้มขาขึ้นรอบใหญ่ และอาจปูทางไปสู่การเติบโตไปที่ $2,750 ในระยะยาว

    และสุดท้ายเป็นเรื่องประวัติศาสตร์กันเล็กน้อย สิบปีก่อน นาย Davinci Jeremie เคยโพสต์วิดีโอใน YouTube และแนะนำให้ผู้ชมของเขาใช้เงินอย่างน้อยหนึ่งดอลลาร์เพื่อซื้อบิทคอยน์ และอธิบายว่าทำไม BTC จะมีราคาสูงขึ้นในอนคต ในขณะนั้น การคาดการณ์ของ Jeremy ทำให้หลายคนขุ่นเคืองและขบขัน โดยเฉพาะคนที่ไม่อยากฟังคำแนะนำของเขา แต่ตอนนี้พวกเขาเสียใจอย่างสุดซึ้ง เพราะในเวลานั้นพวกเขาสามารถซื้อบิทคอยน์ได้ถึง 1,000 เหรียญ ด้วยเงิน $1 ซึ่งจะคิดเป็นเงินถึง $30 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน

    ในบทสัมภาษณ์ล่าสุด Jeremy เน้นย้ำว่า การซื้อบิทคอยน์ยังคงคุ้มค่าอยู่ เขาบอกว่ามีคนแค่ 2% จากประชากรโลกที่เป็นเจ้าของคริปโตเคอเรนซี มันจึงยังมีศักยภาพที่จะทำให้นักลงทุนประทับใจด้วยสถิติสูงสุดใหม่ได้ “อย่างไรก็ตาม มีปัญหาอยู่หนึ่งอย่าง” “ทุกคนอยากจะได้บิทคอยน์แบบเต็มหน่วย ไม่มีใครอยากจะเดินไปร้านค้าและขอซื้อแอปเปิลผลที่หนึ่งล้านล้าน ถึงแม้ว่าบิทคอยน์มันจะแบ่งแยกได้ สินทรัพย์นี้มีจุดอ่อนหลัก ทางออกคือต้องทำให้การแสดงผลส่วนยิบย่อยของ BTC เข้าใจง่ายต่อผู้ใช้งานมากขึ้น เช่น อย่าเขียนจำนวนเงินอย่าง 0.00001 BTC แต่ให้แทนที่ด้วยจำนวนเงินที่เท่ากัน เช่น หน่วย Satoshi ซึ่งเป็นหน่วยที่แยกไม่ได้ที่มีขนาดเล็กที่สุดของบิทคอยน์ 1 เหรียญ มีมูลค่า 0.00000001 BTC."

 

กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX

 

หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้


« การวิเคราห์ตลาดและข่าว
รับการฝึก
มือใหม่ในตลาดใช่ไหม?ใช้ส่วน เริ่มฝึกฝน เริ่มฝึกฝน
ติดตามเรา (ในโชเซียลเน็ตเวิร์ค)