สิงหาคม 19, 2023

EUR/USD: อะไรทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น และอะไรทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าลง

  • สกุลเงินดอลลาร์ยังคงแข็งค่าขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว ผลการประชุมของคณะกรรมการที่กำหนดนโยบายการเงินของธนาคารเฟด (FOMC) เดือนกรกฎาคมเผยแพร่เมื่อวันพุธที่ 16 สิงหาคม ชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะมีเพิ่มความเข้มงวดให้กับนโยบายการเงินต่อไป

    ก่อนที่จะมีการเผยแพร่ผลการประชุม ผู้เล่นในตลาดได้อภิปรายกันว่าอัตราดอกเบี้ยกลางควรจะอยู่ที่ 5.5% นานแค่ไหน แต่ทันทีที่มีการเปิดเผยเนื้อหาการประชุม การพูดคุยก็เปลี่ยนไปว่า ควรจะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนี้อีกมากเเท่าใด สมาชิกใน FOMC หลายท่านได้แสดงความเห็นในที่ประชุมว่า สภาพเศรษฐกิจในขณะนี้อาจไม่เห็นการลดลงของอัตราดอกเบี้ยว่ามีนัยสำคัญอย่างที่หวังไว้ สถานการณ์นี้จึงปูทางให้ธนาคารเฟดพิจารณาการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง จึงมีความเป็นไปได้ที่อัตราดอกเบี้ยอาจปรับขึ้นมาที่ 5.75% หรืออาจจะสูงกว่าในปี 2023 เพิ่มขึ้นจาก 27% เป็น 37% และยิ่งช่วยสนับสนุนดอลลาร์

    ปัจจัยอื่น ๆ ที่หนุนดอลลาร์ ได้แก่ สถานการณ์ตลาดตราสารที่เป็นใจและสภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่ง ตัวเลขยอดค้าปลีกที่เป็นบวกกระตุ้นให้ธนาคารเฟดสาขาแอตแลนตาทบทวนตัวเลขคาดการณ์ GDP ในไตรมาสที่ 3 ของประเทศ โดยปรับตัวเลขขึ้นจาก 5.0% เป็น 5.8% ตลาดอสังหาริมทรัพย์ก็แสดงสัญญาณที่เป็นใจเช่นกัน ยอดขออนุญาตก่อสร้างรายเดือนเพิ่มขึ้น 0.1% อีกทั้ง การก่อสร้างที่อยู่อาศัยใหม่เพิ่มขึ้น 3.9% เป็น 1.452 ล้านหน่วย ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้คือ 1.448 ล้านหน่วย สถิติยอดค้าปลีกที่ประกาศเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ยิ่งช่วยสนับสนุนดัชนีดอลลาร์ (DXY) โดยมีกิจกรรมผู้บริโภคในเดือนกรกฎาคมขยายตัว 0.7% สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ 0.4% และตัวเลขครั้งก่อนหน้าที่ 0.2% สถิติเหล่านี้เน้นย้ำถึงความเสี่ยงที่ลดลงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย จึงชี้ว่ามีโอกาสที่นโยบายการจำกัดทางการเงินจะดำเนินต่อไป นอกจากนี้ ราคาน้ำมันที่ดีดตัวสูงขึ้นอาจกระตุ้นให้ทางการหันมาเน้นขึ้นอัตราดอกเบี้ย และอาจจะกระตุ้นคลื่นเงินเฟ้อรอบใหม่ได้

    ในอีกด้านหนึ่ง สถานการณ์ในภาคธนาคารสหรัฐฯ อาจเป็นเรื่องท้าทายต่อดอลลาร์ Neil Kashkari ประธานเฟดสาขามินนิอาโปลิสเชื่อว่า วิกฤติอาจเริ่มต้นขึ้นในเดือนมีนาคม จึงนำไปสู่ภาวะล้มละลายของธนาคารหลายแห่ง ซึ่งยังไม่สิ้นสุดลง เขามีความเห็นว่า หากธนาคารเฟดยังคงขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป จะยิ่งทำให้การดำเนินงานของธนาคารซับซ้อนยิ่งขึ้น และอาจกระตุ้นคลื่นการล้มละลายครั้งใหม่ มุมมองนี้เป็นความเห็นของนักวิเคราะห์จาก Fitch Ratings ซึ่งการทำนายของพวกเขายังรวมถึงความเป็นไปได้ที่จะลดคะแนนเรตติ้งของธนาคารสหรัฐฯ ได้แก่ บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง JPMorgan Chase & Co

    นักยุทธศาสตร์ที่ Goldman Sachs เชื่อว่า ธนาคารเฟดอาจพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยในไตรมาสที่ 2 ปี 2024 เท่านั้น ปัจจัยกระตุ้นสิ่งนี้อาจเป็นการที่อัตราเงินเฟ้อคงตัวที่ระดับเป้าหมายคือ 2.0% อย่างไรก็ตาม Goldman Sacks ยอมรับว่า ท่าทีของธนาคารกลางนั้นยังคาดเดาไม่ได้ แปลว่า อัตราดอกเบี้ยอาจคงตัวอยู่ระดับสูงสุดในระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น โดยภาพรวมแล้ว CME FedWatch Tool ชี้ว่าผู้เล่นในตลาด 68% คาดหวังว่าภายในเดือนพฤษภาคม 2024 อัตราดอกเบี้ยจะลดลงอย่างน้อย 25 จุดพื้นฐาน

    ด้านเศรษฐกิจของยูโรโซน สถิติที่ประกาศเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม แสดงให้เห็นว่ามีการเติบโตขึ้น 0.3% (ไตรมาสต่อไตรมาส) ในไตรมาสที่ 2 ปี 2023 ตัวเลขนี้ตรงกับการคาดการณ์และอัตราการเติบโตในไตรมาสที่ 4 ส่วนตัวเลขรายปี การเติบโตของ GDP อยู่ที่ 0.6% ซึ่งตรงกับทั้งการคาดการณ์และตัวเลขในไตรมาสก่อนหน้า ตัวเลขเงินเฟ้อที่ประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม ก็ไม่น่าประหลาดใจเช่นกัน สถิตินั้นตรงกับทั้งความคาดหวังของตลาดและตัวเลขครั้งก่อนหน้า ในเดือนกรกฎาคม ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (CPI) อยู่ที่ 5.5% (ปีต่อปี) และ -0.1% (เดือนต่อเดือน)

    ในสถานการณ์ที่มีผลการดำเนินงานทางเศรษฐกิจแบบปานกลางอย่างต่อเนื่อง ยูโรยังคงเผชิญกับแรงกดดันขาลง ปัจจัยต่าง ๆ ที่กดดันยูโร ได้แก่ วิกฤติพลังงานในยุโรปในฤดูหนาวที่จะมาถึง และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB).

    คู่ EUR/USD เริ่มต้นที่ 1.0947 และปิดที่ 1.0872 ในช่วงเย็นวันที่ 18 สิงหาคม เมื่อมีการเขียนรีวิวนี้ นักวิเคราะห์ 50% ได้ทำนายว่าราคาคู่นี้จะขยับขึ้นในอนาคต 35% โหวตให้ดอลลาร์ และ 15% ที่เหลือมีท่าทีเป็นกลาง ในส่วนออสซิลเลเตอร์บนกรอบ D1 100% หนุนฝั่งดอลลาร์สหรัฐ แต่ 25% ชี้ว่าราคาอยู่ในโซน oversold แล้ว อินดิเคเตอร์เทรนด์ 85% ชี้ไปยังทิศใต้ ในขณะที่ 15% ที่เหลือชี้ไปยังทิศเหนือ ส่วนระดับแนวรับที่ใกล้ที่สุดของคู่นี้อยู่ในกรอบ 1.0845-1.0865 ตามด้วย 1.0780-1.0805, 1.0740, 1.0665-1.0680, 1.0620-1.0635 และ 1.0525 ฝั่งกระทิงจะเจอกับแนวต้านที่บริเวณ 1.0895-1.0925 จากนั้นคือ 1.0985, 1.1045, 1.1090-1.1110, 1.1150-1.1170, 1.1230, 1.1275-1.1290, 1.1355, 1.1475 และ 1.1715

    ในสัปดาห์หน้า สปอตไลท์จะอยู่ที่งานประชุมของผู้ว่าการธนาคารกลางหลายแห่งที่เมืองแจ็คสันโฮลระหว่างวันที่ 24-26 สิงหาคม หากนาย Jerome Powell ประธานธนาคารเฟด ให้สัญญาณว่าจะสิ้นสุดวัฎจักรการขึ้นอัตราดอกเบี้ยรอบปัจจุบันในการกล่าวแถลงของเขาในวันที่ 25 สิงหาคม ดัชนี DXY (ดอลลาร์) จะกลับสู่ขาลง อย่างไรก็ตาม มีความชัดเจนที่คู่สกุลเงินจะขึ้นอยู่กับผู้บริหารของธนาคารกลางอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะ นาง Christine Lagarde ประธานธนาคารกลางยุโรป

    กิจกรรมที่สำคัญอื่น ๆ ในสัปดาห์นี้คือ การประกาศสถิติตลาดแรงงานในสหรัฐฯ ในวันที่ 22 และ 23 สิงหาคม ส่วนวันพุธที่ 23 สิงหาคม จะมีการประกาศดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจ (PMI) ในสหรัฐฯ เยอรมนี และยูโรโซน อีกทั้งวันพฤหัสบดีที่ 24 จะมีการประกาศสถิติคำสั่งซื้อสินค้าคงทนและอัตราว่างงานในสหรัฐฯ

GBP/USD: การตัดสินใจของ BoE - หายนะต่อเงินปอนด์

  • GBP/USD เคลื่อนที่อยู่ในกรอบ 1.2620-1.2800 มาตลอดสองสัปดาห์ครึ่งที่ผ่านมา โดยไม่มีฝั่งหมีหรือกระทิงได้เปรียบกว่ากัน แม้ว่าธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยล่าสุด แรงกระทิงฝั่งเงินปอนด์ยังยากจะมองเห็นได้ชัด

    มีข้อกังวลเพิ่มขึ้นในหมู่ผู้เล่นในตลาดว่า นโยบายการเงินแบบถอนสภาพคล่องเชิงรุกเกินไปอาจบ่อนทำลายเสถียรภาพของเศรษฐกิจอังกฤษที่อ่อนไหวอยู่แล้วได้ ซึ่งใกล้จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยเต็มที ในเดือนกรกฎาคม อัตราว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนเป็น 0.2% อยู่ที่ 4.2% สิ่งที่น่ากังวลยิ่งกว่าคือ อัตราว่างงานของวัยหนุ่มสาวพุ่งขึ้น 0.9% จาก 11.4% เป็น 12.3% นอกจากนี้ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานยังเพิ่มขึ้นอีก 25K เทียบกับเดือนก่อนหน้า แนวโน้มที่เพิ่มขึ้นนี้อาจมีผลมาจากคลื่นการล้มละลายของธุรกิจที่เริ่มต้นปี 2021 แนวโน้มนี้เร่งตัวเป็นอย่างมากในช่วงต้นปี 2022 โดยระดับเดียวกันนี้เคยเกิดขึ้นในช่วงปลายวิกฤติปี 1980s และช่วงระบบการเงินเจอวิกฤติในปี 2008

    สำหรับข้อมูลล่าสุดที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ (ONS) ประกาศเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ดัชนียอดค้าปลีกในสหราชอาณาจักรของเดือนกรกฎาคมลดลง 1.2% เดือนต่อเดือน โดยลดลงมากกว่า 0.6% ในเดือนก่อนหน้า ส่วนตัวเลขรายปีมีการหดตัว 3.2% เทียบกับ 1.6% ในเดือนมิถุนายน

    สถิติเงินเฟ้อ (CPI) ที่ประกาศเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ชี้ให้เห็นว่า แม้ว่าดัชนีจะลดลงจาก 7.9% เหลือ 6.8% ปีต่อปี (YoY) อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้ง อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงที่ที่ระดับ 6.9% ต้นทุนพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นอาจทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรงต่อได้

    ตลาดเชื่ออย่างยิ่งว่า ธนาคารแห่งชาติอังกฤษจะต้องมีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ ธนาคารกลางฯ อาจจำเป็นต้องเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ไม่ใช่แค่ปีนี้เท่านั้น แต่ในปี 2024 ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์จาก Commerzbank ชี้ว่า หากในช่วงไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ตลาดรู้สึกว่า BoE มุ่งมั่นที่จะจัดการกับความเสี่ยงของภาวะเงินเฟ้อ เพราะกลัวว่ามันจะกระทบต่อเศรษฐกิจมากเกินไป และสิ่งนี้อาจส่งผลกระทบที่เป็นหายนะต่อเงินปอนด์ได้

    GBP/USD ปิดตลาดที่ 1.2735 เมื่อวันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม การคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญในอนาคตอันใกล้มีดังนี้ 60% โหวตให้เงินปอนด์ 20% โหวตให้เงินปอนด์อ่อนค่า และ 20% ที่เหลือไม่มีความเห็นใด ๆ ด้านออสซิลเลเตอร์บนกรอบ D1 มี 50% ที่ให้สัญญาณสีแดง โดยบ่งชี้ถึงเทรนด์ขาลง ในขณะที่อีก 50% ให้สีเทากลาง ในส่วนของอินดิเคเตอร์เทรนด์มีอัตราส่วนสีแดงต่อสีเขียว 60% ต่อ 40%

    หากราคาขยับลงด้านล่าง จะต้องเจอกับระดับและโซนแนวรับที่ 1.2675-1.2690, 1.2620, 1.2575-1.2600, 1.2435-1.2450, 1.2300-1.2330, 1.2190-1.2210, 1.2085, 1.1960 และ 1.1800 หากราคาขยับขึ้น จะเจอกับแนวต้านที่บริเวณ 1.2800-1.2815, 1.2880, 1.2940, 1.2980-1.3000, 1.3050-1.3060, 1.3125-1.3140, 1.3185-1.3210, 1.3300-1.3335, 1.3425 และ 1.3605

    ในส่วนสถิติเศรษฐกิจมหภาค วันพุธที่ 23 สิงหาคม จะเป็น “วัน PMI” ไม่ใช่แค่ของฝั่งยุโรปและสหรัฐฯ เท่านั้น แต่รวมถึงในสหราชอาณาจักรด้วย ซึ่งจะมีการประกาศดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจในภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ และแน่นอนว่าเราจะต้องไม่ลืมงานการประชุมประจำปีที่เมืองแจ็คสันโฮล

USD/JPY: คาดหวังให้มีการแทรกแซงค่าเงิน

  • การประกาศผลการประชุมของ FOMC และผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ชุด 10 ปีที่เพิ่มขึ้นมายังระดับที่ไม่เคยมีใครเห็นมาก่อนตั้งแต่ปี 2008 ยิ่งกระตุ้นให้คู่ USD/JPY ขยับสูงขึ้นไปที่ 146.55 นักเศรษฐศาสตร์จากธนาคาร MUFG จากญี่ปุ่นชี้ว่า “ดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นได้บีบ USD/JPY เข้าสู่โซนอันตรายซึ่งมีความเสี่ยงที่การแทรกแซงเพื่อยับยั้งแนวโน้มขาขึ้นนั้นเพิ่มสูงขึ้น” นักวิเคราะห์จาก ING เครือธนาคารของเนเธอร์แลนด์สรุปว่า คู่เงินนี้กำลังอยู่ในบริเวณที่ควรมีการแทรกแซงค่าเงิน “แต่มันอาจจะขาดความผันผวนที่เข้าเงื่อนไขที่ส่งสัญญาณเตือนต่อทางการญี่ปุ่น”

    ทั้งนี้ กระทรวงการคลังของญี่ปุ่นได้เข้าแทรกแซง USD/JPY ที่ระดับเหนือ 145.90 เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว แต่ในขณะนี้ ทั้งกระทรวงการคลังและธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ต่างไม่รีบที่จะต้านทานค่าเงินของตนเอง ต่างกันกับสหรัฐฯ ยูโรโซน และอังกฤษ ซึ่งภาวะเงินเฟ้อกำลังลดลง (แม้จะลดลงในอัตราที่ต่างกัน) อัตราเงินเฟ้อในญี่ปุ่นกำลังเพิ่มสูงขึ้น ในวันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม สำนักงานสถิติญี่ปุ่นได้เผยแพร่ดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศ (CPI) เดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 3.3% ในขณะที่มีการคาดการณ์ไว้ที่ 2.5% (ปีต่อปี)

    นักวิเคราะห์ของ Commerzbank ไม่เห็นโอกาสมากเท่าไรนักที่เงินเยนจะแข็งค่าขึ้นอีก แต่ GDP ของญี่ปุ่นเติบโตขึ้น (สถิติเบื้องต้นบ่งชี้ถึงการเติบโตในไตรมาสที่สอง อยู่ที่ 1.5% (ปีต่อปี) เทียบกับการคาดการณ์ที่ 0.8% และตัวเลขครั้งก่อนหน้าที่ 0.9%) ในทางกลับกัน มีข้อกังวลว่าภายใต้เงื่อนไขเหล่านี้ในปัจจุบัน เงินเยนอาจอ่อนค่าลงอีกหากกระทรวงการคลังไม่ดำเนินการอะไรบางอย่างเพื่อยับยั้งแนวโน้มขาลง “บางที ธนาคารกลางญี่ปุ่นและกระทรวงการคลังกำลังหวังว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนไป เมื่ออัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ เริ่มปรับลดลงอีกครั้ง” นักเศรษฐศาสตร์จาก Commerzbank กล่าวแสดงความเห็น “เรายังหวังว่าดอลลาร์จะอ่อนค่าลงในตอนนั้น แต่เวลานั้นยังอยู่อีกห่างไกล สิ่งเดียวที่กระทรวงการคลังจะทำสำเร็จกับการแทรกแซงคือ การซื้อเวลา เรามองว่า การสวนทิศทางลมจะไม่ประสบความสำเร็จในการทำให้เงินเย็นแข็งค่าขึ้น มันอาจสำเร็จชั่วคราว แต่ไม่ใช่อะไรที่แน่นอน”

    อย่างไรก็ตาม ผู้เล่นในตลาดต่างมีความกังวลมากขึ้นอย่างยิ่งว่า เงินเยนที่อ่อนค่าจะกระตุ้นให้เกิดการดำเนินการบางอย่างโดยทางการญี่ปุ่น สถานะที่มีแรงขายมากเกินไปของเงินเยนญี่ปุ่นประกอบกับความเสี่ยงที่จะมีการแทรกแซงค่าเงินจะยิ่งทำให้การปรับฐานขาลงรุนแรงเป็นอย่างมากใน USD/JPY การปรับฐานดังกล่าว แม้จะยังปานกลางที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมาได้พาราคาปิดตลาดสัปดาห์ที่แล้วอยู่ที่ 145.37

    ในส่วนภาพรวมระยะกลาง การคาดการณ์กลางจากผู้เชี่ยวชาญมีดังนี้: ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ (60%) คาดว่าดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้น และ USD/JPY จะยังคงขึ้นสู่ทิศทางขาขึ้น ในส่วน 40% ที่เหลือคาดว่าจะมีการปรับฐานสู่ขาลง ในส่วนออสซิลเลเตอร์บนกรอบ D1 100% ยังให้สีเขียว แต่ 20% บ่งชี้ถึงภาวะที่มีแรงซื้อมากเกินไป (overbought) ในส่วนอินดิเคเตอร์เทรนด์ 80% ให้สีเขียว ในขณะที่ 20% ให้สีแดง ด้านระดับแนวรับที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่บริเวณ 144.50 ตามมาด้วย 143.75-144.04, 142.90-143.05, 142.20, 141.40-141.75, 140.60-140.75, 139.85, 138.95-139.05, 138.05-138.30 และ 137.25-137.50 โดยแนวต้านถัดไปอยู่ที่  145.75-146.10 ตามมาด้วย 146.55, 146.90-147.15, 148.45, 150.00 และสุดท้ายคือราคาสูงสุดเดือนตุลาคม 2022 ที่ 151.95.

    ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของโตเกียวจะประกาศในวันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม โดยไม่มีการประกาศสถิติที่สำคัญใด ๆ เกี่ยวกับเศรษฐกิจญี่ปุ่นตามตารางในสัปดาห์ที่จะถึงนี้

คริปโตเคอเรนซี: อีลอน มัสก์ ทำลาย ดอลลาร์ของคน อย่างไร

บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์และคริปโตเคอเรนซีประจำวันที่ 21 - 25 สิงหาคม 20231

  • ตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม บิทคอยน์และตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลโดยรวมอยู่ภายใต้แรงกดดันของดอลลาร์ที่แข็งค่า ชัดเจนว่าน้ำหนักบนตราชั่ง BTC/USD เทไปยังฝั่งดอลลาร์ และฝั่งบิทคอยน์มีน้ำหนักเบาลง จริง ๆ แล้ว ตั้งแต่วันที่ 11 ถึง 15 สิงหาคม ดูเหมือนว่า ตลาดได้ลืมเกี่ยวกับคริปโตเคอเรนซีไปโดยสมบูรณ์ โดยกราฟคู่ BTC/USD ขยายตัวจากตะวันออกไปยังตะวันออก โดยเกาะอยู่ที่ระดับ Pivot Point ที่ $29,400

    นักวิเคราะห์จาก Glassnode ชี้ว่า ตลาดทองคำดิจิทัลมาถึงภาวะไร้อารมและช่วงเหนื่อยล้าขั้นสุด ความผันผวนในช่วงต้นสัปดาห์อยู่ในระดับต่ำสุด ความกว้างของกรอบ Bollinger Bands และเดือนมกราคม 2023 “ตลาดจึงต้องรอแรงจูงใจครั้งใหม่เพื่อให้หลุดจากภาวะไร้อารมณ์ดังกล่าว” กล่าวโดยผู้เชี่ยวชาญ Glassnode

    มีบางอย่างเกิดขึ้น แต่ไม่ใช่ในทิศทางที่นักลงทุนจะชื่นชอบนัก เหตุการณ์แรกเกิดขึ้นในช่วงเย็นวันที่ 16 สิงหาคม เมื่อ BTC/USD ขยับลงมายัง $28,533 โดยแนวโน้มขาลงนี้น่าจะกระตุ้นโดยการประกาศรายงานการประชุมเดือนกรกฎาคมของธนาคารเฟดสหรัฐฯ อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ อุปสรรคยังไม่หยุดแค่นั้น แนวโน้มขาลงครั้งถัดมาเกิดขึ้นช่วงคืนวันที่ 17 เข้าวันที่ 18 สิงหาคม ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการดิ่งลงเหว โดยบิทคอยน์ร่วงลงต่ำสุดที่ $24,296 หลังจาก The Wall Street Journal ได้อ้างเอกสารที่ไม่เปิดเผยว่า บริษัท SpaceX ของนายอีลอน มัสก์ ได้ขาย BTC ที่ถือไว้ทั้งหมดแล้ว ซึ่งคิดเป็นเงิน $373 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม รายงานนี้ไม่ได้ระบุว่า SpaceX ได้ขายเหรียญเหล่านี้ออกไปเมื่อใด

    เหตุการณ์อื่น ๆ ที่ส่งแรงกดดันต่อราคา ได้แก่ ศาลสหรัฐฯ เห็นชอบให้คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ (SEC) อุทธรณ์ต่อ Ripple จึงสร้างข้อกังขาต่อผลการพิพากษาส่วนหนึ่งที่เป็นผลดีต่อ Ripple เมื่อเดือนที่แล้ว หลายคดีความที่กลต. สหรัฐฯ ฟ้องร้องต่อตลาดแลกเปลี่ยนยังคงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งอิทธิพลเชิงลบ

    การดิ่งลงเหวของบิทคอยน์ฉุดตลาดคริปโตลงทั้งตลาด ทำให้เกิดการล้างสภาพคล่องในคำสั่งมาร์จินมากมายที่เปิดไว้ Coinglass ชี้ว่า ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ผู้เล่นจำนวนมากกว่า 175,000 ล้างพอร์ต โดยสูญเสียเงินกว่า $1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

    สถานการณ์คงจะเลวร้ายไปกว่านี้ ถ้าไม่ใช่เพราะมีรายงานจาก Bloomberg ที่ระบุว่า กลต. สหรัฐฯ เตรียมอนุญาตให้มีการจัดตั้งกองทุน ETF ฟิวเจอร์สของ Ethereum ดังนั้น BTC/USD และ ETH/USD จึงปรับฐานขึ้นด้านบน โดยกลับสู่ระดับเดิมเมื่อสองเดือนก่อนหน้า อย่าลืมว่า ตลาดได้พุ่งขึ้นในวันที่ 15 มิถุนายน หลังจากที่ BlackRock ได้ยื่นขอจัดตั้งกองทุน ETF สปอตบิทคอยน์ แต่หลังจากราคาร่วงลงล่าสุด ราคาที่ปรับขึ้นมาก็หายวับไปทั้งหมด

    เราควรคาดหวังว่าจะมีแนวโน้มขาลงต่อหรือไม่? Dave_the_Wave นักเทรดและนักวิเคราะห์ชื่อดัง ผู้ที่มีชื่อเสียงจากการทำนายได้อย่างถูกต้องได้เตือนว่า บิทคอยน์อาจเจอกับการปรับฐานครั้งใหญ่ภายในสิ้นปี 2023 เขาชี้ว่า บิทคอยน์อาจร่วงลงไปยังระดับต่ำสุดของเส้นโค้งลอการิธึม (LGC) จึงคาดว่าจะลดลง 38% จากระดับสูงสุดของปีนี้ ในสถานการณ์ดังกล่าว ราคาต่ำสุดจะอยู่ที่บริเวณ $19,700

    Tone Vays นักวิเคราะห์ชื่อดังอีกท่านหนึ่งไม่ตัดโอกาสที่ราคา BTC จะร่วงลงมาที่ $25,000 (ซึ่งได้เกิดขึ้นแล้ว) ในกรณีนี้ Vays เชื่อว่ามีโอกาสสูงที่จะเกิดแนวโน้มขาลงในระยะยาว ในมุมมองของเขา บิทคอยน์กำลัง “อยู่ปากเหวและหลายอย่างดูคลุมเครือ” “ราคาจะต้องกลับทิศทางโดยทันที ผมหมายถึงภายในเดือนนี้ เราไม่สามารถปล่อยให้ราคาร่วงลงต่ออีกเดือนหนึ่งได้ ไม่เช่นนั้น ภาวะหวาดวิตกจะเข้าครอบงำตลาด ผมจะไม่ประหลาดใจเลยหาก BTC ซื้อขายอยู่ต่ำกว่า $20,000 นักขุดเหรียญอาจเริ่มปล่อยเหรียญที่ถือไว้ออกมา ซึ่งอันตรายเป็นอย่างยิ่ง” Vays กล่าวเตือน

    ก่อนหน้านี้ เราได้พูดถึงผู้เชี่ยวชาญอีกท่านหนึ่งที่ชื่อว่า Van De Poppe ผู้ก่อตั้งบริษัท Eight บิทคอยน์จะเริ่มมีการเติบโตครั้งใหญ่เกิดขึ้นได้นั้น จะต้องทะลุแนวต้านที่ $29,700 ไปให้ได้ เมื่อทำสำเร็จแล้ว ด่านถัดไปคือไปให้ถึงระดับ $40,000

    ตรงกันข้ามกับ Michael Van De Poppe ด้าน Kevin Kelly ผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าแผนกวิจัยที่ Delphi Digital ได้ค้นพบสัญญาณการทะยานขึ้นของกระทิงล่วงหน้า Kelly มองว่าวัฎจักรคริปโตทั่วไปจะเริ่มขึ้นเมื่อบิทคอยน์ขยับถึงระดับสูงสุดในประวัติศาสตร์ (ATH) ตามมาด้วยการร่วงลง 80% และประมาณสองปีถัดมา ราคาจะกลับมายัง ATH เดิมและพยายามจะขึ้นทำระดับสูงสุดใหม่ รูปแบบนี้จะกินเวลาประมาณสี่ปี

    Kelly เชื่อว่าเทรนด์ดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นโดยพลการ และมันสอดรับกับ “วัฎจักรธุรกิจในภาพกว้างขึ้น” เขาสังเกตเห็นจุดสูงสุดของราคาบิทคอยน์มักตรงกับดัชนีภาคการผลิตของ ISM ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงขาลง สถานการณ์นี้ทำให้ Kelly นึกถึงพฤติกรรมตลาดในช่วงปี 2015 และ 2017

    เขาชี้ว่า การลดผลตอบแทนของการขุดบล็อกบิทคอยน์ (Halving) สองครั้งล่าสุดเกิดขึ้นประมาณ 18 เดือนหลังจากราคาทำระดับต่ำสุด และเจ็ดเดือนก่อนที่ราคาจะขึ้นสู่ระดับสูงสุดใหม่ Halving ครั้งถัดไปคาดว่าจะมีขึ้นในเดือนเมษายน 2024 ซึ่ง Kelly ประเมินว่า หกเดือนหลังจากนั้น บิทคอยน์อาจทำราคาสูงสุดใหม่ แต่เขาเตือนให้ระวังว่า ไม่มีอะไรที่บอกได้แน่นอนว่าสถานการณ์จะเป็นไปอย่างที่ได้อธิบายไป เขายังคาดการณ์ความเป็นไปได้ของการปรากฏตัวของ “จุดต่ำสุดแบบหลอก” ด้วย

    นักวิเคราะห์ที่มีชื่อว่า Ignas ยังได้ทำการวิเคราะห์วัฎจักรและทำนายตลาดกระทิงของบิทคอยน์ในปี 2024 เขาอ้างอิงจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำของบิทคอยน์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา 1. ราคาร่วงลง 80% จากระดับสูงสุด (ATH) และทำระดับต่ำสุดในเวลาหนึ่งปีถัดมา (ไตรมาสที่ 4 ปี 2022) 2. ใช้เวลาสองปีก่อนที่ราคาจะฟื้นตัวและขยับถึงราคาสูงสุดที่เคยเกิดขึ้น (ไตรมาสที่ 4 ปี 2024) 3. อีกหนึ่งปีที่ราคาจะเติบโตทำระดับสูงสุดใหม่ (ไตรมาส 7 2025)

    Ignas ตั้งข้อสังเกตว่าในปี 2022 กลุ่มคริปโตเผชิญกับอุปสรรคทางเศรษฐกิจมหภาค อย่างไรก็ตาม ตัวชี้วัดในปัจจุบันชี้ว่าสถานการณ์เริ่มดีขึ้น Halving บิทคอยน์ที่จะมีขึ้นในเดือนเมษายน 2024 อาจตรงกับช่วงที่โลกเริ่มมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น และช่วยกระตุ้นแนวโน้มขาขึ้นของบิทคอยน์ได้ นอกจากนี้ การใช้งานของบิทคอยน์และการเริ่มเปิดให้บริการกองทุน ETF บิทคอยน์สปอต เมื่อกลต. ให้ไฟเขียวแล้ว ก็น่าจะส่งผลต่อราคา

    จากโพลสำรวจที่จัดทำโดยบล็อกเกอร์และนักวิเคราะห์ชื่อดังที่มีชื่อว่า PlanB ผู้ตอบแบบสำรวจ 60% เชื่อว่า ตลาดกระทิงจะเกิดขึ้นหลังจาก Halving ด้าน PlanB เองก็คาดการณ์ว่า เมื่อถึงเวลานั้น BTC จะมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ $55,000 โดยสัญญาณที่บ่งบอกว่าราคาอาจจะขึ้นไปถึงระดับดังกล่าวนั้นมาจากโมเดลคาดการณ์ราคาบิทคอยน์ S2F ที่เขาเป็นผู้พัฒนา

    Robert Kiyosaki ผู้เขียนหนังสือด้านการเงินเล่มขายดีที่สุด "Rich Dad Poor Dad" เรียกทองคำและเงินว่าเป็น “เงินของพระเจ้า” ในขณะที่บอกว่าบิทคอยน์เป็น “ดอลลาร์ของประชาชน” “ผมรู้สึกใกล้ชิดกับบิทคอยน์เป็นอย่างมาก เพราะเราทั้งสองต่างคัดค้านหน่วยงานต่าง ๆ เหมือนกันคือ รัฐบาลสหรัฐฯ กระทรวงการคลัง ธนาคารเฟด และวอลล์สตรีท ผมไม่ไว้ใจพวกเขา หากคุณไว้ใจพวกเขา ก็ควรเก็บเงินออมเป็นเงินดอลลาร์ แล้วคุณก็จะมี IOU” เขาแสดงความเห็น

    เขาเสริมต่อว่า “บิทคอยน์ดูจะเหมือนจะขยับไปยัง $100,000 ข้อเสีย: หากตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรก็ล่มลง เราอาจได้เห็นราคาทองคำและเงินพุ่งขึ้นอย่างก้าวกระโดด หากเศรษฐกิจโลกล่มลง เราอาจได้เห็นมูลค่าของบิทคอยน์สูงขึ้นเป็นหลักล้าน และราคาทองคำพุ่งขึ้นเป็น $75,000 และราคาเงินที่ $60,000 โดยขนาดหนี้สาธารณะก็น่ากังวล และทำให้ทุกคนอยู่ในตำแหน่งที่ระมัดระวัง” กล่าวโดย Kiyosaki เขาสรุปลงท้ายด้วย “ผมหวังจริง ๆ ว่า ผมคิดผิด”

    ทั้งนี้ ตรงกันข้ามกับมุมมองของ Robert Kiyosaki นักลงทุนหลายคนดึงดูดเข้าหาดอลลาร์สหรัฐฯ แทนที่ “ค่าเงินของผู้คน” พวกเขามองว่าดอลลาร์เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยที่น่าเชื่อถือ การเปลี่ยนแปลงนี้เห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกราฟ DXY กับกราฟ BTC ณ ขณะที่รีวิวนี้ ในช่วงเย็นวันที่ 18 สิงหาคม ตลาดได้แสดงสัญญาณเสถียรภาพในระดับหนึ่ง โดย BTC/USD เทรดอยู่ใกล้ระดับ $26,100 มูลค่ารวมของตลาดคริปโตเจอความเสียหายอย่างหนัก โดยยืนอยู่เหนือระดับสำคัญทางจิตวิทยาที่ $1 ล้านล้านดอลลาร์ เพียงนิดเดียวเท่านั้น อยู่ที่ $1.054 ล้านล้านดอลลาร์ ลดลงจาก $1.171 ล้านล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ก่อนหน้า ไม่น่าประหลาดใจที่ดัชนี  Crypto Fear & Greed Index ก็แสดงแนวโน้มขาลงเช่นกัน โดยราคาขยับจากโซนตรงกลางเข้าสู่โซนความกลัว ทำคะแนนได้ 37 จาก 51 จุดในสัปดาห์ที่แล้ว

 

ฃกลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX

 

หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้


« การวิเคราห์ตลาดและข่าว
รับการฝึก
มือใหม่ในตลาดใช่ไหม?ใช้ส่วน เริ่มฝึกฝน เริ่มฝึกฝน
ติดตามเรา (ในโชเซียลเน็ตเวิร์ค)