พฤศจิกายน 4, 2023

EUR/USD: สัปดาห์ที่แย่สำหรับดอลลาร์

  • ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีดอลลาร์ DXY กับ EUR/USD ปรากฏว่ากำลังแล่นในอยู่คลื่นที่ผันผวนทั้งขึ้นและลง ในช่วงต้นสัปดาห์มีการประกาศสถิติเบื้องต้นของยุโรป ในแง่การเติบโตรายปี GDP ยูโรโซนในไตรมาสที่ 3 อยู่ที่ 0.1% เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าทั้งการคาดการณ์ที่ 0.2% และตัวเลขครั้งก่อนหน้าที่ 0.5% นอกจากนี้ ภาวะเงินเฟ้อยังเข้าสู่ขาลง ในเดือนตุลาคม ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) อยู่ที่ 2.9% (ปีต่อปี) และต่ำกว่าการคาดการณ์ที่ 3.1% และตัวเลขในเดือนก่อนหน้าที่ 4.3%

    การประชุมของธนาคารกลางยุโรปจัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ซึ่งสภาบริหารธนาคารกลางฯ ได้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยเท่าเดิม 4.50% อย่างผิดความคาดหมาย ตอนนี้ ตลาดต่างตั้งตารอฟังการตัดสินใจของคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) ในธนาคารเฟด ซึ่งจะมีขึ้นในวันพุธที่ 1 พฤศจิกายนนี้ ในช่วงใกล้การประชุม FOMC ดอลลาร์ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยได้รับแรงหนุนจากสถานการณ์ความตึงเครียดที่สูงขึ้นในตะวันออกกลาง อีกทั้ง สถิติเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งจากสหรัฐฯ ยังส่งผลดีต่อค่าเงินดอลลาร์ด้วย GDP ของประเทศในไตรมาสที่สามพุ่งขึ้นเป็น 4.9% ซึ่งสูงกว่าตัวเลขครั้งก่อนหน้าที่ 2.1% เป็นอย่างมาก อีกหนึ่งข่าวที่น่าประหลาดใจเป็ฯสถิติการจ้างงานในภาคเอกชนของ ADP ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจำนวนพนักงงานในภาคเอกชนเพิ่มขึ้นเป็น 113K จาก 89K ในเดือนก่อนหน้า

    ผู้ร่วมตลาดรู้สึกได้ว่าในสถานการณ์ดังกล่าว ธนาคารเฟด (FOMC) อาจพยายามจะเดินหน้าใช้นโยบายที่ถอนสภาพคล่องต่อไป โดยเฉพาะเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อยังคงห่างไกลจากระดับเป้าหมายที่ 2.0% ในสถานการณ์นี้ ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลชุด 10 ปีขยับถึงระดับ 5.0% อีกครั้ง และดัชนีดอลลาร์ (DXY) ขยับขึ้นเป็น 107.00

    อย่างไรก็ตาม วันที่ 1 พฤศจิกายนมาพร้อมกับความผิดหวังสำหรับฝั่งกระทิงของดอลลาร์ นับว่าเป็นเดือนที่สองติดต่อกันที่ FOMC คงอัตราดอกเบี้ยในระดับเดิมที่ 5.50% ที่แย่ไปกว่านั้นก็คือ เดิมในการประชุมเดือนกันยายน ตลาดเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นเป็น 5.75% ภายในสิ้นปีนี้ โอกาสที่มันจะเกิดขึ้นตอนนี้ร่วงลงเหลือ 14% ดอลลาร์ยังไม่ได้รับแรงหนุนจากคำกล่าวของนาย Jerome Powell ประธานธนาคารเฟดสหรัฐฯ ในช่วงการแถลงข่าวหลังการประชุมปัจจุบัน

    สถานการณ์อาจแก้ไขให้ดีขึ้นได้ด้วยสถิติจากสำนักงานสถิติแรงงานสหรัฐฯ (BLC) ซึ่งโดยธรรมเนียมแล้วจะประกาศในวันศุกร์แรกของเดือน ในครั้งนี้คือวันที่ 3 พฤศจิกายน อย่างไรก็ดี จำนวนพนักงานนอกภาคการเกษตร (NFP) ในประเทศเพิ่มขึ้นเพียง 150K เท่านั้นในเดือนตุลาคม ตัวเลขนี้ปรากฏว่าต่ำกว่าทั้งความคาดหมายของตลาดที่ 180K และตัวเลขทบทวนการเติบโตของเดือนกันยายนที่ปรับจาก 336K เป็น 297K อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันจาก 3.8% เป็น 3.9% อัตราเงินเฟ้อรายปีซึ่งวัดจากการเปลี่ยนแปลงของรายได้เฉลี่ยรายชั่วโมงลดลงจาก 4.3% เหลือ 4.1% เนื่องด้วยสถิติที่น่าผิดหวังนี้สำหรับทั้งฝั่งกระทิงดอลลาร์ ดัชนีดอลลาร์ (DXY) จึงร่วงลงมาที่ 105.09 ในขณะที่ EUR/USD ขยับทำระดับสูงสุดในรอบหกสัปดาห์ที่ 1.0718

    จนถึงท้ายสัปดาห์ การประกาศดัชนี PMI ภาคบริการของ ISM เผยว่ากิจกรรมทางธุรกิจในภาคธุรกิจของสหรัฐฯ เติบโตขึ้นในอัตราที่ช้าลงในเดือนตุลาคม ดัชนี PMI ลดลงจาก 53.6 ในเดือนกันยายนเหลือ 51.8 ตัวเลขดังกล่าวต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ 53.0 รายละเอียดเพิ่มเติมแสดงให้เห็นด้วยว่า ดัชนีราคบริการ (องค์ประกอบด้านเงินเฟ้อ) ลดลงเล็กน้อยจาก 58.9 เหลือ 58.6 และดัชนีการจ้างงานลดลงจาก 53.4 เหลือ 50.2 ผลที่ได้ก็คือ ดอลลาร์ยังคงขยับลง และปิดท้ายสัปดาห์คู่นี้ที่ระดับ 1.0730

    นักยุทธศาสตร์จาก Scotiabank ของแคนาดาชี้ว่า ในระยะสั้น EUR/USD อาจขยับขึ้นไปที่ 1.0750 โดยทั่วไปนั้น ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอนาคตของคู่เงินนี้แบ่งออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ดังนี้ 45% โหวตว่าดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้น ในขณะที่ 60% เห็นด้วยกับฝั่งยูโร ในส่วนการวิเคราะห์เชิงเทคนิคมี 35% ของออสซิลเลเตอร์ในกรอบ D1 ที่ชี้ลงทิศใต้ ในขณะที่ 65% ชี้ไปยังทิศเหนือ แต่หนึ่งในสามให้สัญญาณว่าราคาอยู่ในภาวะ overbought แล้ว ในส่วนอินดิเคเตอร์เทรนด์ให้ภาพที่ชัดเจนกว่า 85% ชี้ไปยังทิศเหนือ และมี 15% เท่านั้นที่ชี้ไปยังทิศใต้ โดยแนวรับที่ใกล้ที่สุดของคู่นี้อยู่ที่บริเวณ 1.0675-1.0700 ตามมาด้วย 1.0600-1.0620, 1.0500-1.0530, 1.0450, 1.0375, 1.0200-1.0255, 1.0130 และ 1.0000 ฝั่งกระทิงจะต้องเจอกับแนวต้านที่บริเวณ 1.0745-1.0770 จากนั้นคือ 1.0800, 1.0865, 1.0945-1.0975 และ 1.1090-1.1110

    ในสัปดาห์ที่จะถึงนี้จะมีกิจกรรมที่สำคัญเกิดขึ้นน้อยกว่าในสัปดาห์ที่ผ่านมา ในวันพุธที่ 8 พฤศจิกายนจะมีการประกาศสถิติเงินเฟ้อ (CPI) ในเยอรมนี และยอดค้าปลีกในยูโรโซน นอกจากนี้ในวันเดียวกัน นาย Jerome Powell ประธานเฟดมีกำหนดจะกล่าวแถลง เขาอาจจะกล่าวแถลงอีกครั้งในวันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน และตามธรรมเนียมวันพฤหัสบดีจะมีการประกาศสถิติจำนวนยอดขอรับสวัสดิการว่างงานเบื้องต้นในสหรัฐฯ

GBP/USD: สัปดาห์ที่ดีสำหรับเงินปอนด์

  • เมื่อพิจารณาผลการประชุมของธนาคารกลางในหลายประเทศ อาจสมมติได้ว่าแนวโน้มการใช้นโยบายทางการเงินแบบเข้มงวดทั่วโลกใกล้จะถึงจุดสิ้นสุด ทั้ง ECB และเฟดต่างคงอัตราดอกเบี้ยในระดับเดิม ธนาคารแห่งชาติอังกฤษ (BoE) ตัดสินใจแบบเดียวกันเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน และคงอัตราดอกเบี้ยไม่เปลี่ยนแปลงเป็นครั้งที่สองติดต่อกันที่ 5.25% ธนาคารแห่งชาติอังกฤษชี้ว่า การตัดสินใจดังกล่าวควรจะช่วยหนุนเศรษฐกิจและระดับการจ้างงานในสหราชอาณาจักร การคาดการณ์ภาวะเงินเฟ้อในระยะสั้นถูกปรับให้สูงขึ้น แต่ผู้บริหารธนาคารกลางฯ กล่าวว่าอัตราเงินเฟ้อในไตรมาสที่สามได้ลดลงเหลือ 6.7% ซึ่งถือว่าดีกว่าการคาดการณ์ในเดือนสิงหาคม และระดับเป้าหมายอยู่ที่ 2.0% คาดว่าจะทำได้สำเร็จภายในสิ้นปี 2025

    แม้ว่า BoE จะคงอัตราดอกเบี้ยเท่าเดิม ตลาดมองว่าการตัดสินใจดังกล่าวเป็นการตัดสินแบบสายเหยี่ยว (hawkish หรือการเน้นนโยบายแบบถอนสภาพคล่อง) เพราะว่าผู้บริหารธนาคารฯ 3 จากทั้งหมด 9 คนโหวตให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ย อีกทั้ง นาย Andrew Bailey ผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติอังกฤษได้กล่าวเน้นย้ำในการแถลงข่าวว่า การพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยนั้นยังเร็วเกินไป เขากล่าวว่า “นโยบายการเงินน่าจะยังคงมีการรัดเข็มขัดในระยะเวลาที่ยาวนาน” นักลงทุนตระหนักดีว่าธนาคารฯ จะเปลี่ยนไปใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายได้ทุกเมื่อ แน่นอนว่าไม่มีการรับประกันใด ๆ ว่า BoE จะทำตามสัญญาหากเงินเฟ้อยังไปไม่ถึงระดับเป้าหมาย อย่างไรก็ดี ในขณะนี้ ตลาดเชื่อในคำพูดของ Andrew Bailey ซึ่งช่วยหนุนค่าเงินปอนด์ให้แข็งค่าขึ้นมา

    เงินปอนด์ได้รับแรงหนุนของแนวโน้มกระทิงที่แข็งแกร่งที่สุด หลังการประกาศสถิติตลาดแรงงานสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ในตอนนั้น GBP/USD พุ่งขึ้น และยังคงขึ้นต่อเนื่องจนปิดท้ายสัปดาห์ที่ 1.2380 นักเศรษฐศาสตร์จาก Scotiabank ชี้ว่า โมเดลการเทรดระยะสั้นของเงินปอนด์ดูมีศักยภาพดี พวกเขาตั้งข้อสังเกตเรื่องความต้องการถือเงินปอนด์ที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ค่าเงินอ่อนค่าตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม และยังไม่ตัดโอกาสที่ระดับราคา GBP/USD จะลงมาที่ะรดับ 1.2450 ในส่วนการคาดการณ์กลางในอนาคตอันใกล้ นักวิเคราะห์ 35% โหวตว่าราคาคู่นี้จะขยับขึ้น 50% เชื่อว่าราคาจะไปต่อที่เป้าหมาย 1.2000 และส่วนที่เหลืออีก 15% มีความเห็นเป็นกลาง ในกรอบเวลา D1 มีอินดิเคเตอร์เทรนด์ 75% ที่ชี้ไปยังทิศทางขาขึ้น (หนึ่งในสี่ของจำนวนนี้อยู่ในภาวะ overbought) และ 25% โหวตให้กับแนวโน้มขาลง ในกรณีที่ราคาขยับลงด้านล่าง จะต้องเจอกับระดับและโซนแนวรับที่ 1.2330, 1.2210, 1.2145, 1.2040-1.2085, 1.1960 และระดับ 1.1800-1.1840, 1.1720, 1.1595-1.1625, 1.1450-1.1475 ในกรณีที่ราคาขยับขึ้นด้านบนจะต้องเจอกับแนวต้านที่บริเวณ 1.2390-1.2425, 1.2450-1.2520, 1.2575, 1.2690-1.2710, 1.2785-1.2820, 1.2940 และ 1.3140

    นาย Andrew Bailey มีกำหนดจะกล่าวแถลงในวันที่ 8 พฤศจิกายน และจะมีการประกาศสถิติ GDP เบื้องต้นไตรมาสที่ 3 ของสหราชอาณาจักรในวันที่ 10 พฤศจิกายน ซึ่งอาจเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจในสัปดาห์ที่จะถึงนี้

USD/JPY: สัปดาห์ที่พอใช้สำหรับเงินเยน

  • หาก ECB, ธนาคารเฟดสหรัฐฯ และธนาคารแห่งชาติอังกฤษคงอัตราดอกเบี้ยเท่าเดิม และเราจะคาดหวังอะไรได้จากธนาคารกลางญี่ปุ่น? แน่นอนว่าธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่น (BoJ) ได้ตัดสินใจคงนโยบายการเงินเหมือนเช่นเคยในการประชุมเมื่อวันอังคารที่ 31 ตุลาคม พวกเขาอยู่ในตำแหน่งนี้มานานมากแล้ว ธนาคารฯ ไม่ใช่แค่คงอัตราดอกเบี้ยในระดับติดลบที่ -0.1% เท่านั้น แต่ยังคงผลตอบแทนของพันธบัตรชุด 10 ปี (JGB) เท่าเดิมอีกด้วย ผู้ร่วมตลาดบางรายหวังว่าหลังจากสถิติการเติบโตของอัตราเงินเฟ้อ BoJ จะขึ้นเพดานผลตอบแทนจาก 1% เป็นอย่างน้อย 1.25% (ทั้งนี้ ผลตอบแทนของพันธบัตรฝั่งสหรัฐฯ สูงเกือบ 5.0%) อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางญี่ปุ่นกลับยังคงเพิกเฉยต่อสัญญาณที่ชัดเจนว่ามีแรงกดดันทางเงินเฟ้อที่ก่อตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ CPI ในพื้นที่โตเกียวเพิ่มขึ้นจาก 2.8% เป็น 3.3% (YoY) ในเดือนตุลาคม นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าผู้บริหารหลายคนจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการเติบโตในตัวเลขการผลิตทางอุตสาหกรรม ตัวเลขดังกล่าวลดลงจาก -4.4% เป็น -4.6% รายปี

    ทั้งหมดนี้บีบให้ USD/JPY ขึ้นไปทำระดับที่ 151.71 ราคาน่าจะคงตัวที่ระดับนั้นถ้าไม่เป็นเพราะการประชุมของธนาคารเฟดและการประกาศสถิติตลาดแรงงานจากฝั่งสหรัฐฯ ราคาเปิดตลาดต้นสัปดาห์ที่ 149.63 และปิดท้ายสัปดาห์ที่ 149.34 เมื่อพิจารณาความผันผวนที่สูงของคู่นี้ ผลลัพธ์จึงถือว่าปานกลางในระดับพอใช้

    นักเศรษฐศาสตร์จากเครือธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดในเนเธอร์แลนด์ ING เชื่อว่า ราคาคู่นี้จะปิดท้ายปีไม่ไกลจาก 150.00 เมื่อพูดถึงแนวโน้มในระยะใกล้ นักวิเคราะห์ 65% คาดว่าเงินเยนจะแข็งค่าขึ้น โดย 35% มีความเห็นเป็นกลาง และไม่มีคะแนนโหวตให้ราคาขึ้นสูงกว่า 151.00 ในขณะที่เขียนรีวิวฉบับนี้ อินดิเคเตอร์การวิเคราะห์เชิงเทคนิคดูค่อนข้างผสมผสานกันในเวลานี้ ในกรอบเวลา D1 อินดิเคเตอร์เทรนด์ 50% ให้สัญญาณสีเขียว และเปอร์เซ็นต์เดียวกันเป็นสีแดง ในส่วนออสซิลเลเตอร์มีหนึ่งในสามที่โหวตให้ราคาขยับขึ้น หนึ่งในสามโหวตขาลง และหนึ่งในสามเป็นสีเทากลาง ระดับแนวรับที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่บริเวณ 148.45-148.80 จากนั้นคือ 146.85-147.30, 145.90-146.10, 145.30, 144.45, 143.75-144.05 และ 142.20 แนวต้านที่ใกล้ที่สุดคือ 150.00-150.15 ตามมาด้วย 150.40-150.80, 151.90 (ราคาสูงสุดเดือนตุลาคม 2022) และ 152.80-153.15

    ในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ไม่คาดว่าจะมีสถิติเศรษฐกิจที่สำคัญจากฝั่งเศรษฐกิจญี่ปุ่น

คริปโตเคอเรนซี: มุมมองเชิงลึกในอดีตและอนาคต

บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์และคริปโตเคอเรนซีประจำวันที่ 6 - 10 พฤศจิกายน 20231

  • อันดับแรกต้องพูดถึงเดือนที่ผ่านมาเล็กน้อย ในช่วงแรก วันอังคารที่ 31 ตุลาคม บิทคอนย์ได้ฉลองวันเกิด ในวันนี้เองในปี 2008 คนหรือกลุ่ม ๆ หนึ่งที่ใช้ชื่อฉายาว่า Satoshi Nakamoto ได้เผยแพร่เอกสารที่มีชื่อว่า “บิทคอยน์: ระบบเงินสดอิเล็กทรอนิกส์แบบ Peer-to-Peer” อย่างไรก็ตาม ทั้งนี้ บิทคอยน์เริ่มเปิดตัวในฐานะสกุลเงินคริปโตในตลาดวันที่ 3 มกราคม 2009 ในวันนี้เอง ได้มีการขุดบล็อกหนึ่งที่มีวันที่และข้อความสั้น ๆ  ระบุอยู่ในบทความของ The Times ว่า: "The Times 03/Jan/2009  นายกรัฐมนตรีใกล้จะเตรียมอุ้มธนาคารรอบที่สอง”

    ในวันที่ 12 มกราคม 2009 Nakamoto ได้ดำเนินธุรกรรมแรกบนเครือข่าย และส่งสกุลเงินคริปโตไปให้นักพัฒนาที่ชื่อว่า Hal Finney ในปีเดียวกันนั้น บิทคอยน์จดทะเบียนบนตลาดรอง New Liberty Standard บนแพลตฟอร์มดังกล่าว ผู้ใช้งานสามารถซื้อบิทคอยน์ได้ 1309 เหรียญด้วยเงินเพียง $1 (มูลค่าปัจจุบันเกือบ $55 ล้านดอลลาร์)

    กิจกรรมที่สำคัญเป็นอันดับสองไม่ใช่วันสุดท้ายของเดือนตุลาคม แต่เป็นเดือนตุลาคมทั้งเดือน เรากำลังพูดถึง “ผลกระทบเดือน Uptober” (คำนี้เป็นคำผสมระหว่างคำว่า “up” และ “Octobober”) ผู้เชี่ยวชาญจาก CoinGecko ตั้งข้อสังเกตว่า ในช่วงเวลาสิบปีที่ผ่านมา มีเดือนตุลาคม 8 ครั้งจาก 10 ปีที่ราคาเหรียญเติบโตขึ้นในเดือนนี้เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยเฉลี่ยแล้ว “ผลกระทบเดือน Uptober” จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 14% ของมูลค่ารวมในตลาดของสินทรัพย์ดิจิทัล โดยให้ผลตอบแทนตั้งแต่ 7.3% ในปี 2022, 42.9% ในปี 2021 ตามการคำนวณของ CoinGecko ข้อยกเว้นคือปี 2014 และ 2018 เมื่อตลาดติดลบ 12.7% และ 8.3% ตามลำดับในรอบเดือนดังกล่าว

    ในปีนี้ ราคาบิทคอยน์เริ่มต้นวันที่ 1 ตุลาคมที่ $27,000 และทดสอบระดับที่ $35,000 ภายในวันที่ 24 ตุลาคม ซึ่งสะท้อนให้เห็นการเติบโตที่ประมาณ 30% และการทะยานขึ้นที่โดดเด่นยิ่งกว่ายังเห็นได้จากเหรียญทางเลือก เช่น Solana (SOL) และ Chainlink (LINK) ด้วย สกุลเงินคริปโตเหล่านี้คู่กับ USD มีให้บริการสำหรับการเทรดที่โบรกเกอร์ NordFX

    เราเคยพูดถึงไปแล้วว่า ในช่วงเวลาล่าสุดบิทคอยน์ได้สูญเสียความสัมพันธ์แบบผกผันและผันตาม และได้ “แยกตัว” ออกจากทั้งดอลลาร์สหรัฐฯ และสินทรัพย์กลุ่มความเสี่ยงสูง ในสัปดาห์ที่ผ่านมาก็แสดงให้เห็นเช่นกัน ทองคำดิจิทัลขยับขึ้นเคียงข้างดอลลาร์สหรัฐฯ และไม่ได้ตอบสนองต่อดัชนีตลาดหุ้นที่สูงขึ้น เช่น S&P500 ผลก็คือ BTC/USD แสดงการเติบโตปานกลางในช่วงเวลา 7 วัน

    Michael Van De Poppe ผู้ก่อตั้งบริษัท Eight และ CEO ของ MT Trading เชื่อว่า บิทคอยน์ได้เข้าสู่วัฎจักรตลาดกระทิงอย่างเป็นทางการ ผู้เชี่ยวชาญท่านนี้มองว่า เหรียญพร้อมจะทะยานขึ้นไปยัง $50,000 หลังจากนั้นจะมีการย่อตัว ตามมาด้วยระดับสูงสุดใหม่ (ATH) Van De Poppe ให้ข้อสังเกตว่า BTC จะเจอกับแนวต้านที่ $38,000 แต่มีแนวโน้มที่จะขยับขึ้นต่อ ทำระดับ $45,000-50,000 ภายในเดือนมกราคม 2024 อย่างไรก้ตาม เขากล่าวด้วยว่า ราคายังมีโอกาสที่จะลงมาต่ำกว่า $33,000 และนี่คือโอกาสที่ดีเยี่ยมในการเปิดคำสั่งซื้อ

    Van De Poppe ทำนายว่าหลังการ Halving เดือนเมษายน ราคาจะคงที่อยู่ในกรอบไซด์เวยส์ในระยะยาวก่อนที่บิทคอยน์จะขึ้นทำระดับสูงสุดใหม่

    Look Into Bitcoin เชื่อเช่นกันว่า หลังจาก BTC ขึ้นเลยระดับ $34,000 ไปแล้ว มันจะเริ่มระยะเริ่มต้นของตลาดกระทิง โดยมีเป้าหมายถัดไปคือ $41,900 และ $65,050

    กิจกรรมไหนบ้างในช่วงอนาคตอันใกล้และอันไกลที่สามารถส่งผลต่อตลาดคริปโตได้เป็นอย่างมาก? เรามาลิสต์กิจกรรมที่สำคัญกัน โดยกิจกรรมส่วนใหญ่นั้นกำลังเกิดขึ้นหรือจะเกิดขึ้นในสหรัฐฯ

    แน่นอนว่าอันดับแรก คือ นโยบายการเงินของธนาคารเฟด (FRS) “ช่วงเวลาทอง” ของทองคำดิจิทัลคือช่วงการแพร่ระบาดสูงสุดของ COVID-19 ซึ่งธนาคารเฟดตัดสินใจทุ่มเงินจำนวนมหาศาลเพื่อพยุงเศรษฐกิจ เงินจำนวนหนึ่งไหลเข้าสินทรัพย์กลุ่มเสี่ยง เช่น คริปโตเคอเรนซี BTC/USD เริ่มต้นเดือนมีนาคมปี 2020 ที่ $6,500 จากนั้นหนึ่งปีต่อมาในเดือนเมษายน 2021 BTC/USD ขยับขึ้นทำระดับสูงสุดถึง $64,800 ซึ่งขึ้นกว่า 900% หลังจากนั้นธนาคารเฟดก็เปลี่ยนนโยบายและขึ้นอัตราดอกเบี้ย และภายในปี 2022 ราคาคู่นี้ก็ซื้อขายอยู่ที่บริเวณ $16,000 ปัจจุบัน นักลงทุนคริปโตกำลังรอให้ธนาคารเฟดกลับมาใช้นโยบายแบบผ่อนคลายอีกครั้ง และหวังว่ามันจะเกิดขึ้นในปีหน้า

    หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ ได้เพิ่มแรงกดดันอย่างหนักต่ออุตสาหกรรมคริปโต บางทีบางอย่างอาจจะเปลี่ยนไปเมื่อมีประธานาธิบดีคนใหม่มาถึงทำเนียบขาวในปี 2024 อย่างน้อยผู้ท้าชิงบางรายก็สัญญาว่าจะสนับสนุนอุตสาหกรรมนี้ ในขณะนี้ ความสนใจทั้งหมดอยู่ที่ก.ล.ต. (คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ หรือ SEC) นาย Gary Gensler ประธานก.ล.ต. ได้กล่าวซ้ำหลายครั้ว่า เขาพร้อมที่จะรับรองเฉพาะบิทคอยน์เท่านั้นในฐานะสินค้าโภคภัณฑ์ และในมุมมองของเขา เหรียญทางเลือกทั้งหมดควรถูกกำกับดูแลภายใต้กฎหมายหลักทรัพย์ ตัวอย่างก็คือ Ethereum จะต้องเจอกับแรงกดดันหนัก เพราะยังล้าหลังตามบิทคอยน์ในแง่ของความเคลื่อนไหวของราคา ในปีนี้ ณ ขณะที่บทรีวิวนี้ ETH มีมูลค่าขึ้นมาประมาณ 52% ในขณะที่ BTC ขึ้นมาสองเท่าที่ประมาณ 102%

    การต่อสู้ทางกฎหมายระหว่างก.ล.ต. และผู้แทนแวดวงคริปโตยังคงเป็นที่สนใจ สำนักข่าว Reuters และ Bloomberg ได้รายงานว่า SEC จะไม่ยื่นอุทธรณ์คำตัดสินของศาลที่ให้ประโยชน์ต่อ Grayscale Investments และยังมีข้อมูลด้วยว่าหน่วยงานดังกล่าวกำลังยุติกระบวนการทางกฎหมายกับ Ripple และผู้บริหาร อย่างไรก็ตาม สงครามเย็นกับเหล่าแพลตฟอร์คริปโตรายใหญ่อย่าง Binance และผู้บริหารยังคงเดินหน้าต่อ หุ้น Binance ในตลาดสปอตจึงลดลงมาแล้วจาก 55% เหลือ 34% ในปีนี้ หากกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เข้าร่วมตั้งข้อกล่าวหาหนัก ๆ ตามฝั่งก.ล.ต. สิ่งนี้อาจเกิดเป็นแรงสะเทือนครั้งใหญ่ต่อตลาดคริปโตได้

    การปรากฏขึ้นของกองทุน BTC-ETFs แบบสปอตขึ้นอยู่กับก.ล.ต. เช่นกัน ผู้เชี่ยวชาญจาก JPMorgan ชี้ว่า การตัดสินใจในทางบวกของก.ล.ต. ในการให้จดทะเบียนกองทุนดังกล่าวอาจเกิดขึ้น “ภายในไม่กี่เดือนข้างหน้า” “จังหวะการอนุมัติยังไม่มีความแน่นอน แต่น่าจะเกิดขึ้นก่อนวันที่ 10 มกราคม 2024 วันขีดเส้นตายสุดท้ายของคำร้องจาก ARK Invest และ 21 Co. นี่คือวันขีดเส้นตายที่ใกล้ที่สุดที่ก.ล.ต. สหรัฐฯ จะต้องให้คำตอบ” กล่าวโดยผู้เชี่ยวชาญ JPMorgan ในขณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญเน้นย้ำด้วยว่า คณะกรรมการอาจอนุมัติคำร้องทั้งหมดพร้อมกันเพื่อการแข่งขันอย่างยุติธรรม

    ความคาดหวังว่าจะเปิดให้บริการกองทุน BTC-ETFs ในสหรัฐฯ ในเร็ว ๆ นี้จะยิ่งกระตุ้นความสนใจของสถาบันต่าง ๆ ในคริปโตเคอเรนซี ผู้เชี่ยวชาญบางคนประเมินว่า ความสนใจนี้มีมูลค่าประมาณ $15 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งในที่สุดแล้วนำ BTC/USD ขึ้นไปที่ $200,000 นักยุทธศาสตร์จาก Skybridge Capital ยังให้ตัวเลขที่สูงยิ่งกว่าที่ $250,000 อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยอุปสรรคจากกลต. ตามความเห็นของนักวิเคราะห์ Ernst & Young ความสนใจของนักลงทุนรายสถาบันอาจเจอกับอุปสรรค

    Peter Schiff อีกหนึ่งผู้จงรักภักดีต่อทองคำและประธาน Euro Pacific Capital ให้ความเห็นว่า การตัดสินใจสุดท้ายของ ก.ล.ต. สหรัฐฯ (SEC) เกี่ยวกับกองทุน ETF สปอตบิทคอยน์จะเป็นสิ่งที่ยุติการทะยานขึ้นของตลาดกระทิงบิทคอยน์ ในเวลานี้ บิทคอยน์มีราคาซื้อขายอยู่ที่บริเวณ $35,000 เพราะนักเก็งกำไรกำลังเดิมพันว่าการตัดสินของก.ล.ต. จะเป็นบวก Schiff ให้มุมมองว่า นักเทรดคริปโตอาจเริ่มขจัดเหรียญเพื่อเก็บกำไรตั้งแต่ก่อนการตัดสินใจที่ชัดเจนใด ๆ จากก.ล.ต.

    บางอย่างที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับก.ล.ต. ก็คือ Halving ทั้งนี้ ในเดือนเมษายนปี 2024 ผลตอบแทนของการขุดบล็อกจะถูกลดลงครึ่งหนึ่งจาก 6,250 BTC เป็น 3,125 BTC ซึ่งคาดว่าจะนำไปสู่การออกเหรียญที่ลดลง ผู้เชี่ยวชาญบางท่านชี้ว่า ปัจจัยเงินฝืดที่ทรงพลังเช่นนี้จะทำให้เกิดภาวะขาดแคลนเหรียญและช่วยให้มูลค่าของบิทคอยน์เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณเหรียญมีจำกัด Anthony Pompliano ผู้สนับสนุนคริปโตตัวยงแสดงความมั่นใจในตลาดกระทิงของบิทคอยน์และเรียกมันว่าเป็น “ธนาคารกลางที่มีวินัยมากที่สุดในโลก” ตามตัวเลขคาดการณ์ในทางบวกจาก Ark Invest ราคา BTC อาจขึ้นไปถึง $1.5 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2030

    อย่างไรก็ตาม Michael Van De Poppe ซีอีโอ MT Trading ทำนายว่าก่อนที่บิทคอยน์จะเริ่มทำระดับสูงสุดใหม่ จะมีการขยับในทิศทางด้านข้างและอยู่ในกรอบในระยะยาวหลัง Halving ในเดือนเมษายน ทัศนคติในเชิงลบยังมาจากนักเทรดและนักวิเคราะห์ภายใต้ชื่อ Rekt Capital ผู้คาดว่าราคา BTC/USD ภายในเดือนมีนาคม 2024 หลังการ Halving ผู้เชี่ยวชาญรายนี้คาดว่าราคาจะขยับในกรอบเช่นกัน แต่จะอยู่ในกรอบระดับต่ำมากที่ $24,000-30,000 และหลังจากนั้น ราคาถึงจะเข้าถึงระยะการเติบโตแบบพาราโบลิกขึ้นไปยังระดับเลขหกหลัก

    ณ ขณะที่เขียนบทรีวิวฉบับนี้ในวันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน BTC/USD มีราคาซื้อขายอยู่ที่ $34,590 โดยมูลค่ารวมในตลาดคริปโตอยู่ที่ $1.29 ล้านล้านดอลลาร์ ($1.25 ล้านล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ก่อนหน้า) ดัชนี Crypto Fear & Greed Index ยังคงอยู่ในโซนความโลภ (Greed) แต่ลดลงมาจาก 72 เหลือ 65 คะแนน

    เพื่อเป็นสรุปส่งท้ายบทรีวิวฉบับนี้ ในส่วนไลฟ์แฮ็คคริปโตของเรา เรามีเคล็ดลับที่น่าสนใจมากฝาก คุณจะสามารถใช้ความร้อนที่ได้จากการขุดเหรียญคริปโตกับอะไรได้บ้าง? คำตอบก็คือซาวน่า ซาวน่าที่ว่านี้เริ่มให้บริการที่เมืองบรูคลิน นิวยอร์ก โดยความร้อนที่ได้จากอุปกรณ์ขุดเหรียญนั้นนำไปใช้เป็นแหล่งทำน้ำอุ่น เนื่องจากซาวน่าเริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในหมู่ชาวอเมริกัน พัฒนาการดังกล่าวจึงเป็นผลดีต่อนักขุดเหรียญ และยิ่งเพิ่มประเด็นในการหารือเกี่ยวกับข้อดีต่อสาธารณะหรือความสำคัญของกิจกรรมของผู้ประกอบการดังกล่าว และสิ่งนี้อยู่ในนิวยอร์ก ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนพิกัดเส้นขนานที่ 40 องศาเหนือ ลองนึกดูว่าไลฟ์แฮ็คดังกล่าวจะมีประโยชน์ขนาดไหนถ้าได้นำไปใช้ในประเทศเมืองหนาวอย่างนอร์เวย์!

 

กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX

 

หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้


« การวิเคราห์ตลาดและข่าว
รับการฝึก
มือใหม่ในตลาดใช่ไหม?ใช้ส่วน เริ่มฝึกฝน เริ่มฝึกฝน
ติดตามเรา (ในโชเซียลเน็ตเวิร์ค)