ธันวาคม 2, 2023

EUR/USD: ธันวาคม – เดือนที่น่ากลัวสำหรับดอลลาร์

  • ใครจะเริ่มผ่อนคลายนโยบายทางการเงินก่อนกัน ระหว่างธนาคารเฟด (FRS) หรือธนาคารกลางยุโรป (ECB)? การถกเถียงในเรื่องนี้ยังคงไม่จบ และเห็นได้ชัดเจนในกราฟราคา สถิติจากสัปดาห์ที่แล้วไม่ช่วยให้ EUR/USD ยืนเหนือระดับสำคัญที่ 1.1000 ได้สำเร็จ ทุกอย่างเริ่มตั้งแต่วันพุธที่ 29 พฤศจิกายน เมื่อมีการประกาศสถิติเงินเฟ้อในเยอรมนี ดัชนีราคาผู้บริโภคเบื้องต้น (CPI) รายปีอยู่ที่ 3.2% ซึ่งต่ำกว่าทั้งการคาดการณ์ที่ 3.5% และตัวเลขครั้งก่อนหน้าที่ 3.8% ในตัวเลขรายเดือน ดัชนี CPI เยอรมนีติดลบมากขึ้นที่ -0.4% (จากการคาดการณ์ที่ -0.2% และตัวเลขครั้งก่อนหน้าที่ 0.0%)

    สถิติเหล่านี้บ่งชี้ถึงการเริ่มต้นของยูโรที่ถอยหลัง EUR/USD ยังคงลดลงต่อเนื่องหลังการประกาศดัชนี  Harmonized Index of Consumer Prices (HICP) ของยูโรโซน Eurostat รายงานว่า จากตัวเลขเบื้องต้น ดัชนี HICP ลดลงทำระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2021 โดยอยู่ที่ 2.4% (ปีต่อปี) ซึ่งต่ำกว่าทั้ง 2.9% ในเดือนตุลาคม และตัวเลขคาดการณ์ที่ 2.7% ดัชนีรายเดือนอยู่ที่ -0.5% โดยลดลงจาก 0.1% ในเดือนก่อนหน้า

    สถิติเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ภาวะเงินเฟ้อที่คลายตัวในยุโรปแซงหน้าฝั่งอเมริกาเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้เอง ผู้เล่นในตลาดหลายราย รวมถึงนักยุทธศาสตร์จากเครือธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดในเนเธอร์แลนด์อย่าง ING เริ่มพูดถึงชัยชนะของ ECB เหนือภาวะเงินเฟ้อ พวกเขาให้ข้อสรุปว่า ธนาคารกลางยุโรปจะเป็นธนาคารแห่งแรกที่สั่งผ่อนคลายนโยบายทางการเงิน รวมถึงปรับลดอัตราดอกเบี้ยและเข้าสู่มาตรการขยายตัวทางการเงิน การคาดการณ์ชี้ว่า กระบวนการนี้อาจเริ่มขึ้นในเดือนเมษายน และมีความเป็นไปได้ 50% ที่อาจจะเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม โอกาสที่อัตราดอกเบี้ยจะถูกปรับลดลง 125 จุดพื้นฐาน (bps) ในช่วงปี 2024 จาก 4.50% เหลือ 3.25% คาดการณ์ว่าอยู่ที่ 70% ในทางอ้อมนั้น การเปลี่ยนไปใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้นล่าสุดได้รับการยืนยันโดยผู้บริหารธนาคารกลางยุโรป (ECB) และ Fabio Panetta ประธานธนาคารกลางอิตาลี ผู้พูดถึง “ความเสียหายที่ไม่จำเป็นต้องกเิดขึ้น” ซึ่งอาจเป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงยาวนานเกินไป

    ในฝั่งสหรัฐฯ ผู้บริหารในคณะกรรมการ FOMC ไม่ได้พูดถึงความเสียหาย แต่กลับกันนั้น พูดถึงข้อดีของอัตราดอกเบี้ยสูง เช่น John C. Williams ประธานธนาคารเฟดสาขานิวยอร์กกล่าวว่า การรักษาดอกเบี้ยในระดับราบในระยะเวลานานเป็นสิ่งที่เหมาะสม เขามองว่าแนวทางนี้จะเอื้อต่อการฟื้นตัวในสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานโดยสมบูรณ์ และจะพาระดับเงินเฟ้อกลับมาที่ 2.0% Williams ทำนายว่าดัชนีค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) จะลดลงเหลือ 2.25% ภายในสิ้นปี 2024 และจะคงตัวใกล้บริเวณระดับเป้าหมายในปี 2025

    ดังนั้น มีความเป็นไปได้ว่าเราคาดว่านโยบายสายเหยี่ยวของธนาคารเฟดจะเปลี่ยนเป็นสายพิราบในอนาคตอันใกล้นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ เอื้อให้ต้องคงท่าทีดังกล่าว ดัชนีหุ้นขยับสูงขึ้น และสถิติ GDP ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายนแสดงการเติบโตที่ 5.2% ใน Q3 ซึ่งสูงกว่าทั้งการคาดการณ์ตลาดที่ 5.0% และตัวเลขครั้งก่อนหน้าที่ 4.9% ในสถานการณ์เช่นนี้ จึงไม่น่าประหลาดใจที่ EUR/USD จะเจอกับแนวโน้มขาลง

    ในช่วงบ่ายวันศุกร์ ราคาคู่นี้ขยับถึงกรอบต่ำสุดที่ระดับ 1.0828 และยังคงลดตัวลงต่อเนื่อง ถ้าไม่เป็นเพราะนาย Jerome Powell ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่กล่าวแถลงในช่วงปลายสัปดาห์ และกล่าวว่า เขาคิดว่ามันยังเร็วเกินไปที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเริ่มผ่อนคลายนโยบายทางการเงิน เขาให้สัญญาณว่า ธนาคารเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยเท่าเดิมที่ระดับ 5.50% ในการประชุมเดือนธันวาคมนี้ Powell ให้ข้อสังเกตด้วยว่า เงินเฟ้อพื้นฐานในสหรัฐฯ ยังคงสูงกว่าระดับเป้าหมายที่ 2.0% อยู่มาก และธนาคารเฟดพร้อมที่จะตรึงนโยบายต่อไปหากจำเป็น โดยรวมแล้ว เขาพูดเหมือนกับนาย John Williams แต่คำกล่าวของประธานเฟดสาขานิวยอร์กช่วยให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น แต่คำกล่าวของนาย Powell ประธานเฟดสหรัฐฯ ทำให้มันอ่อนค่าลง โดยดัชนี DXY ลดลงประมาณ 0.12% การตอบสนองของตลาดนั้นไม่สามารถคาดคิดได้เลยจริง ๆ! โดยดัชนีปิดท้ายสัปดาห์ที่ระดับ 1.0882

    มีอะไรรอเราอยู่ในเดือนธันวาคม? หลังจากเหตุผลที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ดอลลาร์น่าจะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโรต่อไป อย่างไรก็ตาม ปัจจัยตามฤดูกาลอาจเข้ามาแทรกแซง ซึ่งบ่งชี้ถึงตลาดหมีสำหรับดอลลาร์ในเดือนธันวาคมเทียบกับค่าเงินอื่น ๆ นักเศรษฐศาสตร์จาก Societe Generale ชี้ว่า ดัชนีดอลลาร์ (DXY) ลดลงโดยเฉลี่ยในช่วงเดือนธันวาคมที่ 0.8% ตามฤดูกาลแล้ว ยูโร (EUR), โครนาสวีเดน (SEK), ปอนด์อังกฤษ (GBP), และฟรังก์สวิส (CHF) มักแข็งค่าขึ้น ในขณะที่การเคลื่อนที่ของดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD), ดอลลาร์แคนาดา (CAD), เยนญี่ปุ่น (JPY) และเปโซเม็กซิกัน (MXN) ผสมปนเปกันไป

    ผู้เชี่ยวชาญจาก MUFG Bank ญี่ปุ่นยืนยันตัวชี้วัดกระทิงสำหรับ EUR/USD ในเดือนสุดท้ายของปีเช่นกัน “แนวโน้มตามฤดูกาลในเดือนธันวาคมค่อนข้างเป็นไปได้ โดยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เดือนธันวาคมเป็นเดือนที่ EUR/USD ขยับขึ้น 14 ครั้ง โดยเป็นแนวโน้มขาขึ้น 2.6% ในช่วง 14 ปีเหล่านี้ ถ้าเราไม่นับเดือนธันวาคม 2008 (+10.1%) แนวโน้มขึ้นโดยเฉลี่ยใน 13 ปีที่เหลือยังคงมากอยู่ถึง +2.0% นอกจากนี้ ใน 8 ปีจาก 11 ปี  EUR/USD หากเดือนพฤศจิกายนขยับขึ้น ก็จะตามมาด้วยเดือนธันวาคมที่ขยับขึ้นเช่นกัน” “แต่นี่ไม่ได้หมายความว่า” MUFG ให้คำเตือน “เราจะสามารถเพิกเฉยต่อปัจจัยเชิงพื้นฐานได้” สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงก็คือ จากปัจจัยเหล่านี้ ธนาคารเฟด (FRS) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะทำการตัดสินใจในการประชุมวันที่ 13 และ 14 ธันวาคมตามลำดับ

    ณ ขณะนี้ ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญตต่ออนาคตอันใกล้ของ EUR/USD แบ่งออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ดังนี้ 50% โหวตให้กับดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น 30% โหวตให้ยูโร และ 20% ที่เหลือมีความเห็นเป็นกลาง ในส่วนการวิเคราะห์เชิงเทคนิคมี 50% ของออสซิลเลเตอร์บนกรอบ D1 ที่ให้สัญญาณสีเขียว 30% เป็นสีเทากลาง และ 20% เท่านั้นที่ให้สัญญาณสีแดง ที่น่าสนใจก็คือ ครึ่งหนึ่งของ 20% ชี้ว่าราคาอยู่ในโซน oversold แล้ว ในส่วนอินดิเคเตอร์เทรนด์มี 65% ที่เข้าข้างฝั่งกระทิง ในขณะที่ 35% ชี้ไปยังทิศทางตรงกันข้าม

    แนวรับที่ใกล้ที่สุดของคู่นี้อยู่ที่บริเวณ 1.0830-1.0840 ตามมาด้วย 1.0740, 1.0620-1.0640, 1.0480-1.0520, 1.0450, 1.0375, 1.0200-1.0255, 1.0130 และ 1.0000 ด้านฝั่งกระทิงจะเจอกับแนวต้านที่บริเวณ 1.0900, 1.0965-1.0985, 1.1070-1.1110, 1.1150, 1.1230-1.1275, 1.1350 และ 1.1475

    ในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ วันที่ 5 และ 8 ธันวาคมคาดว่าจะมีการประกาศข้อมูลหลายชุดจากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ไฮไลต์สำคัญจะเป็นวันศุกร์ที่ 8 ธนัวาคม ซึ่งมีการประกาศดัชนีสำคัญอย่างอัตราการว่างงาน และจำนวนตำแหน่งงานใหม่นอกภาคการเกษตร (NFP) นอกจากนี้ ในวันอังคารที่ 5 ธันวาคม เราจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางธุรกิจ (PMI) ในภาคบริการของสหรัฐฯ สถิติยอดค้าปลีกในยูโรโซนในวันพุธที่ 6 ธันวาคม และวันถัดมา เราจะได้ทราบเกี่ยวกับ GDP สุดท้ายนี้ในวันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม จะมีการประกาศสถิติเงินเฟ้อ (CPI) ที่ทบทวนใหม่ในเยอรมนี

GBP/USD: เหตุผลสามข้อที่สนับสนุนเงินปอนด์

  • ความเป็นไปได้ที่ธนาคารเฟดสหรัฐฯ จะยุติวัฎจักรการจำกัดทางการเงินและอัตราดอกเบี้ยเริ่มคงตัวเป็นสิ่งที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ความคิดเห็นคล้ายกันนั้นบอกถึงความได้เปรียบของเงินปอนด์อังกฤษในช่วงฤดูกาลตามข้อมูลในอดีตในช่วงเดือนธันวาคม

    แรงสนับสนุนจากคำพูดต่อเงินปอนด์อังกฤษยังมาจากผู้บริหารธนาคารกลางยุโรป (BoE) ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีแผนที่จะปรับนโยบายทางการเงิน โดยนโยบายปัจจุบันคือการเพิ่มความเข้มงวด นาย Dave Ramsden รองผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษกล่าวว่า นโยบายทางการเงินแบบเข้มงวดควรดำเนินต่อไปเพื่อรับมือกับภาวะเงินเฟ้อ คำกล่าวที่คล้ายกันนั้นยังมาจากนาย Andrew Bailey ผู้ว่าการ BoE ผู้กล่าวเน้นย้ำว่า อัตราดอกเบี้ยควรจะขยับขึ้นนานขึ้น แม้ว่ามันจะส่งผลต่อเศรษฐกิจในทางลบก็ตาม

    ปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยของเงินปอนด์อยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 15 ปีที่ 5.25% แนวโน้มขาขึ้นครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม หลังจากนั้นธนาคารอังกฤษก็ตัดสินใจหยุดพัก แต่นี่ไม่ได้แปลว่า พวกเขาจะไม่ขึ้นดอกเบี้ยต่อ 25 จุดพื้นฐานในการประชุมเดือนธันวาคมหรือมกราคม

    คำกล่าวสายเหยี่ยวที่คล้ายกันจากผู้บริหารธนาคารกลางอังกฤษส่งผลต่อแนวโน้มกระทิงสำหรับเงินปอนด์ แม้ว่าดอลลาร์จะขยับขึ้นในช่วงครึ่งหลังในสัปดาห์ที่ผ่านมา GBP/USD ก็ไม่สามารถฝ่าแนวรับที่ 1.2600 ลงไปได้ นักเศรษฐศาสตร์จากธนาคาร Singaporean United Overseas Bank (UOB) กล่าวว่า ตราบใดที่ระดับอันแข็งแกร่งนี้ยังคงไม่ถูกทำลาย ก็มีความเป็นไปได้ที่ราคาคู่นี้จะขยับสูงขึ้นเล็กน้อยในอีก 1-3 สัปดาห์ก่อนจะมีความเสี่ยงที่ราคาจะย่อตัวจะเพิ่มสูงขึ้น UOB เชื่อว่า ในขณะนี้ มีความเป็นไปได้ไม่มากนักที่เงินปอนด์จะแข็งค่าขึ้นไปที่แนวต้านที่ 1.2795

    หลังจากคำกล่าวของนาย Jerome Powell คู่ GBP/USD ปักหลักอยู่ที่ระดับ 1.2710 ในส่วนอนาคตอันใกล้ของคู่นี้มี 20% ที่เห็นด้วยว่าราคาจะขึ้นต่อ ในขณะที่นักวิเคราะห์ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (55%) มีความเห็นในทางตรงกันข้าม และ 25% ไม่ให้ความเห็น ในส่วนกราฟบนกรอบ D1 อินดิเคเตอร์เทรนด์และออสซิลเลเตอร์ทั้งหมดชี้ไปทางทิศเหนือโดยเอกฉันท์ โดยมีกลุ่มหลังที่ 15% ชี้ว่าราคาอยู่ในโซน overbought แล้ว

    ในกรณีที่ราคาขยับลงทิศใต้ ราคาจะเจอกับระดับและโซนแนวรับที่ 1.2600-1.2635 ตามมาด้วย 1.2570, 1.2500-1.2520, 1.2450, 1.2370, 1.2330, 1.2210 และ 1.2040-1.2085 ในกรณีที่ราคาขึ้นด้านบน แนวต้านที่รออยู่ ได้แก่ 1.2735-1.2755 และจากนั้นคือ 1.2800-1.2820, 1.2940, 1.3000 และ 1.3140

    ไม่คาดว่าจะมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับสหราชอาณาจักรในสัปดาห์ที่จะถึงนี้

USD/JPY: ระวัง ระวังมากขึ้น และระวังมากยิ่งขึ้น

บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์และคริปโตเคอเรนซีประจำวันที่ 4 - 8 ธันวาคม 20231

  • เราได้พูดถึงในภาพรวมครั้งที่แล้วว่า การเคลื่อนไหวของ USD/JPY ในช่วงสัปดาห์ที่จะมาถึงนี้นั้นขึ้นอยู่กับผลงานของดอลลาร์โดยสมบูรณ์ นอกจากนี้ ความผันผวนยังได้รับอิทธิพลจากเงินเยนที่เจอแรงขายมากเกินไป ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน ราคาคู่นี้ขยับถึงระดับสูงสุดที่ 151.90 ซึ่งเป็นระดับที่ไม่เคยเห็นมาก่อนนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2022 และก่อนหน้านั้นคือ 33 ปีที่แล้วในปี 1990 ผลลัพธ์ของการผสมผสานกันระหว่างสองปัจจัยเหล่านี้เล็งเห็นได้ในสัปดาห์ที่แล้ว ราคาคู่นี้ลดลงมา 300 จุดตามดัชนีดอลลาร์ (DXY) จาก 149.67 ลงมาที่ 146.67 จากนั้นขยับขึ้นมาในคลื่นสองรอบ ขึ้นมาที่ 148.51 โดยในวันที่ 1 ธันวาคม ราคาตอบสนองด้วยแท่งเทียนสีแดงแท่งใหญ่ต่อคำแถลงจากประธานเฟด และปิดท้ายสัปดาห์ที่ระดับ 146.79

    อิทธิพลของสหรัฐฯ ต่อพฤติกรรมคู่ USD/JPY นั้นมีความสอดคล้องกันอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม ธนากลางญี่ปุ่น (BoJ) จะพยายามทำให้เงินเยนแข็งค่าขึ้นหรือไม่? ความหวังนี้ยังไม่ริบหรี่ลง Toyoaki Nakamura กรรมการบริหารธนาคารได้ให้ความเห็นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน โดยแสดงความเห็นต่อความเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนผ่านจากนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายสุดขั้ว เขากล่าวว่า การเพิ่มความเข้มงวดเร็วเกินไปนั้นมีความเสี่ยง และในขณะนี้ยังจำเป็นต้องคงนโยบายปัจจุบันต่อไป ในส่วนกำหนดเวลาว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไรนั้น พวกเขากล่าวว่า การบอกเวลาแน่นอนในขณะนี้ยังเป็นเรื่องยาก “เราสามารถเปลี่ยนทิศทางนโยบายของเราได้ เมื่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีการเติบโตที่ยั่งยืนในค่าจ้างและอัตราเงินเฟ้อ” Nakamura อธิบาย “ซึ่งตอนนี้ถึงเวลาที่จะต้องมีความระมัดระวังในนโยบายของเรา”

    เราอาจคิดว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่นไม่ได้ระมัดระวังก่อนหน้านี้หรือไม่? เมื่อพิจารณานโยบายการเงินแล้ว BoJ สามารถจัดได้ว่าเป็นเจ้าของตำแหน่ง “ธนาคารกลางที่มีความระมัดระวังมากที่สุดในโลก” เลยก็ว่าได้

    ตามความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์จาก Singaporean United Overseas Bank (UOB) ชี้ว่าในช่วง 1-3 สัปดาห์ข้างหน้า USD/JPY คาดว่าจะเทรดอยู่ระหว่างกรอบ 146.65 และ 149.30 จากนั้นก็จะเริ่มอ่อนค่าลง ในส่วนการคาดการณ์กลางในระยะใกล้ มีผู้เชี่ยวชาญ 20% เท่านั้นที่คาดว่าดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้น ในขณะที่ 60% อยู่ฝั่งเงินเยน และแนะนำให้ซื้อคู่นี้เพียง 15% เท่านั้น ในบรรดาออสซิลเลเตอร์ทั้งหมดให้ผลลัพธ์สีแดง โดย 100% และหนึ่งในสี่นั้นอยู่ในโซน Oversold ด้านระดับแนวรับที่ใกล้ที่สุดอยู่ในโซน 146.65 ตามมาด้วย 145.90-146.10, 145.30, 144.45, 143.75-144.05 และ 142.20 ส่วนแนวต้านที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่ 147.25 จากนั้นคือ 147.65-147.85, 148.40, 149.20, 149.80-150.00, 150.80, 151.60, 151.90-152.15, 152.80-153.15 และ 156.25

    ในบรรดากิจกรรมสำคัญในปฏิทินเศรษฐกิจของสัปดาห์ที่จะถึงนี้ เราควรให้ความสำคัญกับวันอังคารที่ 5 ธันวาคม ซึ่งจะมีการประกาศสถิติเงินเฟ้อในโตเกียว และวันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม ซึ่งจะมีการประกาศปริมาณ GDP ญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 3 ปี 2023

คริปโตเคอเรนซี: ปีระหว่างอดีตของหมีและอนาคตของกระทิง

  • เดือนธันวาคมมาถึงแล้ว เป็นเวลาที่เหมาะสำหรับทั้งการรีวิวผลลัพธ์ประจำสัปดาห์ และการประเมินผลงานตลอดทั้งปี ชัดเจนว่าปี 2023 เป็นปีแห่งการเปลี่ยนผ่านจากตลาดหมีในปี 2022 และตลาดกระทิง 2023 เห็นได้จากการเติบโตที่น่าประทับใจ 11% ในบิทคอยน์ในเดือนพฤศจิกายน และแนวโน้มเพิ่มขึ้นมา 130% นับตั้งแต่ต้นปี

    สัดส่วนของบิทคอยน์ที่คาดว่ามีผลตอบแทนเป็นกำไรขยับถึง 83.7% ของปริมาณรวมทั้งหมด นี่คือตัวเลขที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2021 ตามรายงานจากนักวิเคราะห์ Bitfinex ในระหว่างนี้ กิจกรรมในตลาดอยู่ในระดับต่ำ นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่า อัตราส่วนระหว่างผู้ถือเหรียญระยะสั้นและระยะยาวกำลังมีน้ำหนักไปทางกลุ่มหลัง ปริมาณบิทคอยน์ที่มีความเคลื่อนไหวลดลงต่ำสุดในรอบห้าปี เพียง 30% ของบิทคอยน์เท่านั้นที่มีความเคลื่อนไหวในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ บิทคอยน์ประมาณ 70% หรือ 16.3 ล้าน BTC “ที่ไม่เคยมีมาก่อน” นั้นไม่มีความเคลื่อนไหวมาเป็นเวลาสองปี ผู้เชี่ยวชาญจาก Bitfinex ชี้ว่า ตัวชี้วัดเหล่านี้เป็นสัญญาณว่า ตลาดกำลัง “อยู่ในจุดยืนที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง” เพราะผู้ถือเหรียญเล็งเห็นผลตอบแทนในทางบวกต่อเงินลงทุนและไม่รีบที่จะขจัดสินทรัพย์ทิ้งไปเพื่อหวังกำไรที่มากยิ่งกว่า

    ทัศนคติในแง่บวกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในหมู่นักลงทุนรายใหญ่ (ผู้ที่มีเงินลงทุน $1 ล้านดอลลาร์ขึ้นไป) ตลอด 11 เดือนแรกของปี 2023 พวกเขามีเงินลงทุนในกองทุนคริปโตเพิ่มขึ้น 120% คิดเป็นเงินรวมทั้งหมด $43.3 พันล้านดอลลาร์ บิทคอยน์ยังคงเป็นผู้นำในกลุ่มนี้ โดยมีปริมาณเพิ่มขึ้นเป็น $32.3 พันล้านดอลลาร์ และเติบโตขึ้น 140% ในบรรดาอัลท์คอยน์ Solana ก็ดึงดูดความสนใจจากสถาบันต่าง ๆ เช่นกัน อย่างไรก็ตาม Ethereum แสดงแนวโน้มในทางลบมาสักพักหนึ่งแล้ว แต่ก็ค่อย ๆ ฟื้นตัวในช่วงหลัง

    ทัศนคติที่ดีที่เพิ่มขึ้นในตลาดนั้นเป็นเพราะ 1) การคลี่คลายปัญหาระหว่างหน่วยงานสหรัฐฯ และแพลตฟอร์มคริปโต Binance 2) การคาดหวังว่าจะเปิดให้บริการกองทุน ETF บิทคอยน์แบบสปอต และ 3) การ Halving บิทคอยน์ที่จะมาถึงในเดือนเมษายนปีหน้า

    ในส่วนข้อที่ 1 นั้น ผลจากการไกล่เกลี่ยระหว่างหน่วยงานสหรัฐฯ กับแพลตฟอร์ม Binance และอดีตซีอีโอ Changpeng Zhao ขณะนี้บิทคอยน์เตรียมที่จะทะยานขึ้นเหนือ $40,000 ภายในสิ้นปีตามรายงานจาก Matrixport การคาดการณ์จากหลายแหล่งชี้ว่า Binance อาจเจอโทษปรับสูงสุด $10 พันล้านดอลลาร์ จากข้อกล่าวหาเรื่องการบริหารเงินทุนของลูกค้าอย่างไม่เหมาะสมหรือการปั่นป่วนตลาด อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายได้บรรลุข้อตกลงร่วมกัน และบริษัทยินยอมที่จะจ่ายโทษปรับ $4.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับหน่วยงานรัฐ นาย Changpeng Zhao ลงจากตำแหน่งซีอีโอและยื่นหลักประกันตัว $175 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อรักษาอิสรภาพ ผู้เชี่ยวชาญจาก Matrixport มองว่าผลลัพธ์นี้เป็น “จุดพลิกผันในอุตสาหกรรมคริปโต” บ่งชี้ว่า Binance จะรักษาตำแหน่งในฐานะแพลตฟอร์มคริปโตขนาดใหญ่ที่สุดอย่างน้อยอีกสองถึงสามปีข้างหน้า

    ท่ามกลางข่าวดังกล่าว บิทคอยน์เริ่มต้นด้วยการปรับฐานชั่วคราว แต่ไม่นานก็รีบาวด์จาก $36,000 ซึ่งยืนยันเทรนด์ที่แข็งแกร่ง และผู้เชี่ยวชาญจาก Matrixport ชี้ว่า โอกาสที่ราคาจะขยับขึ้นเหนือ $40,000 ในเดือนธันวาคมดูเหมือนจะ “หลีกเลี่ยงไม่ได้” อย่างไรก็ดี พวกเขาประเมินความเป็นไปได้ของผลลัพธ์แบบ “หลีกเลี่ยงไม่ได้” นี้ที่ 90% โดยยอมรับว่าเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดอาจส่งผลต่อสถานการณ์ได้

    ผู้เชี่ยวชาญบางรายมองว่าการถอนตัวของ Binance “อย่างสงบ” จากตลาดสหรัฐฯ น่าจะผ่อนคลายความตึงเครียดและเอื้อให้คณะกรรมการคลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ (SEC) อนุมัติคำขอเปิดกองทุน ETF สำหรับซื้อขายบิทคอยน์ในตลาดสปอต ในเดือนพฤศจิกายน SEC ได้จัดการประชุมขึ้นหลายครั้งกับผู้ยื่นขอเปิดกองทุน และอนุญาตให้พวกเขาแก้ไขคำขอตามเงื่อนไขที่หน่วยงานกำหนด ความคืบหน้าดังกล่าวถูกมองว่าเป็นปัจจัยเชิงบวก โดยมีโอกาสที่ภายในวันที่ 10 มกราคม 2024 คณะกรรมการฯ จะอนุมัติคำขอส่วนใหญ่ หรืออาจเป็นทั้งหมดที่ยื่นขอเปิด ETF บิทคอยน์ วันที่ดังกล่าวเป็นวันขีดเส้นตายในการอนุมัติคำขอร่วมจาก ARK Invest และ 21Shares ในกรณีที่คณะกรรมการฯ ตัดสินใจไม่อนุมัติ ก็จะมีความเสี่ยงที่อาจมีข้อฟ้องร้องเกิดขึ้นอีกครั้ง SEC เคยแพ้คดีกับบริษัทลงทุนยักษ์ใหญ่อย่าง Grayscale ไปแล้ว โดยศาลตัดสินใจว่าการกระทำของ SEC “เป็นไปโดยพลการและตามอำเภอใจ” จึงต้องคิดดูว่ามันคุ้มหรือไม่ที่จะลงรอยเหมือนเดิม ให้เผชิญกับความอับอายที่คล้ายกัน?

    Michael van de Poppe นักเทรด นักวิเคราะห์ และผู้ก่อตั้ง Eight บริษัทระดมทุนคาดการณ์ว่า ไม่กี่สัปดาห์ก่อนการอนุมัติกองทุน ETF บิทคอยน์สปอตแรก ราคาบิทคอยน์อาจทะยานขึ้นไปที่ $48,000 ผู้เชี่ยวชาญคาดว่า กองทุน ETF บิทคอยน์จะได้รับการอนุมัติโดยก.ล.ต. ในอีกห้าถึงหกสัปดาห์ข้างหน้า ดังนั้น ราคา BTC อาจเพิ่มขึ้นในเดือนธันวาคม เพราะนักลงทุนเตรียมทำกำไรจากการทะยานขึ้นที่คาดหวัง

    อย่างไรก็ตาม หลังจากการอนุมัติกองทุน ราคาบิทคอยน์อาจลดลงอย่างหนัก โดยคาดว่ามีโอกาสที่ราคาจะปรับฐานมายังเป้าหมายเป็นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (EMA) 200 สัปดาห์ ซึ่งอยู่ที่ $26,500 ในปัจจุบัน Van de Poppe ชี้ว่า เทรนด์ขาลงนี้อาจยืดยาวเลย Halving ที่จะมาถึงด้วย นักวิเคราะห์รายนี้คาดว่าในช่วงเวลานี้เอง นักเทรดจะรีบเข้าสะสมเหรียญ และกระตุ้นให้เกิดตลาดกระทิงรอบใหม่โดยมีเป้าหมายตั้งแต่ $300,000 ถึง $400,000

    นักยุทธศาสตร์จาก Standard Chartered Bank เชื่อว่า BTC อาจขยับถึง $50,000 ในปีนี้ และ $120,000 ภายในสิ้นปี 2024 การคาดการณ์เบื้องต้นของธนาคารให้สัญญาณว่า ราคามีโอกาสพุ่งไปที่ $100,000 แต่หลังจากนั้นก็ถูกปรับให้สูงขึ้น โดย $120,000 เป็นราคาที่สูงกว่ามูลค่าปัจจุบันเกือบสามเท่า ทัศนคติที่ดีอย่างยิ่งจากผู้เชี่ยวชาญของ Standard Chartered นั้นมีความเกี่ยวข้องกับความสามารถในการทำกำไรที่เพิ่มขึ้นจากการขุดเหรียญเมื่อขายเหรียญปริมาณที่ลดลง เพื่อรักษาปริมาณกระแสเงินสดเดียวกัน ซึ่งในที่สุดจะนำไปสู่การเติบโตของราคา

    Dan Tapiero พาร์ทเนอร์ผู้บริหารและซีอีโอ 10T Holdings มั่นใจว่า มูลค่าของบิทคอยน์จะเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นักธุรกิจท่านนี้เชื่อว่า บิทคอยน์จะกลายเป็นสื่อกลางในการออมเงินที่มีความน่าดึงดูดเพิ่มมากขึ้น “มีหลายอย่าง เช่น อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้คนมักจะลงทุน ผลงานศิลปะ ภาพวาด ฯลฯ และบิทคอยน์ก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มสินทรัพย์นี้ได้”

    Tapiero มองว่า “เทรนด์กระทิงรอบถัดไปจะมาถึงในปี 2025 และเราจะได้เห็นบิทคอยน์ขึ้นผ่านระดับ $100,000” “ผมคิดว่ามันเป็นการประเมินที่ค่อนข้างระมัดระวัง” ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า อัตราดอกเบี้ยติดลบของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ จะเทำหน้าที่เป็น “สัญญาณกระทิงที่สำคัญยิ่ง” ให้กับ BTC

    (ทั้งนี้ Arthur Hayes อดีตซีอีโอแพลตฟอร์ม BitMEX ตั้งใจจะถอนเงินที่ลงทุนในพันธบัตรสหรัฐฯ และนำเงินไปลงทุนในคริปโตในอนาคตอันใกล้ โดยจะไม่รอจนถึงปี 2025)

    เราได้พูดไปหลายครั้งแล้วก่อนหน้านี้ว่า บิทคอยน์ได้ “แยกตัว” ออกจากทั้งดัชนีหุ้นและดอลลาร์ ส่งผลกระทบต่อทั้งความสัมพันธ์ทั้งทางตรงและแบบผกผัน อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญจาก Santiment บริษัทด้านการวิเคราะห์ได้ตั้งข้อสังเกตถึงดัชนีความสัมพันธ์ที่เพิ่มขึ้นระหว่างคริปโตเคอเรนซีและตลาดหุ้น ในเดือนพฤศจิกายน บิทคอยน์ Ethereum และดัชนี S&P 500 เติบโตขึ้น 9.2% โดยเฉลี่ย ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันมากขึ้นนั้นสังเกตได้หลังจากบิทคอยน์มีราคาซื้อขายอยู่ในกรอบแคบ ๆ ในช่วงปลายเดือนตุลาคมจนถึงต้นเดือนพฤศจิกายน ซึ่งไม่แสดงให้เห็นถึงความผันผวนที่มีนัยสำคัญใด ๆ ตามข้อมูลในอดีต หากบิทคอยน์ยังคงแซงหน้าหุ้นต่อเนื่อง มันจะกระทบต่อความสัมพันธ์อีกครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยสำหรับการก่อตัวของตลาดคริปโตกระทิงตามความเห็นของ Santiment

    BTC/USD ทำระดับสูงสุดใหม่ปี 2023 ไว้เมื่อวันศุกร์ที่ $38,950 เป็นผลมาจากสินทรัพย์กลุ่มเสี่ยงที่พุ่งขึ้น รวมถึงคริปโตด้วย ซึ่งมาจากการกล่าวแถลงของนาย Jerome Powell ประธานเฟดที่ได้กล่าวถึงไปแล้วในรีวิวนี้ ณ ช่วงเย็นวันที่ 1 ธันวาคม  BTC/USD มีราคาซื้อขายอยู่ที่ประมาณ $38,765 โดยมูลค่ารวมในตลาดคริปโตอยู่ที่ $1.45 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ($1.44 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อหนึ่งสัปดาห์ก่อน) ด้านดัชนี Crypto Fear and Greed Index ขยับขึ้นจาก 66 เป็น 71 จุดและยังคงอยู่ในโซนความโลภ (Greed)

    และแล้วเดือนธันวาคมก็มาถึง และสมาชิกหลายคนในชุมชนคริปโตกำลังพูดถึง  "Bitcoin Santa Rally" กันอีกครั้ง ปรากฏการณ์นี้เลียนแบบปรากฏการณ์ “Santa Claus Rally” ในตลาดหุ้น เมื่อราคาหุ้นมักจะพุ่งขึ้นในช่วงวันขอบคุณพระเจ้าและเทศกาลคริสต์มาส ในตลาดคริปโต การทะยานขึ้นที่คล้ายกันเกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2013 ตอนนั้นราคาบิทคอยน์ต่ำกว่า $1,000 โดยตลอดทั้งเดือนธันวาคม ราคาบิทคอยน์ขยับขึ้นมาอย่างต่อเนื่องและทำระดับสูงสุดที่ $1,147 ภายในวันที่ 23 ธันวาคม ราคาพุ่งขึ้นรอบถัดไปเกิดขึ้นในช่วงเทศกาลวันหยุดปี 2017 โดยบิทคอยน์ทะยานขึ้นอย่างลาดชัน ผ่านระดับ $19,000 ภายในช่วงกลางเดือนธันวาคม และแตะ $20,000 เป็นครั้งแรก

    อย่างไรก็ตามในปี 2021 ซานตาคลอสไม่ได้นำพาความสุขมาให้กับนักเทรดคริปโต ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกลับตรงกันข้าม ในวันที่ 10 พฤศจิกายน ราคาทำระดับสูงสุดในประวัติศาสตร์ที่ $69,000 แต่ในเดือนธันวาคม ราคากลับเจอกับความผันผวน และมีปริมาณการซื้อขายที่ต่ำในช่วงเทศกาลวันหยุด ราคาบิทคอยน์ร่วงลงมาที่ $46,000 ภายในสิ้นปีดังกล่าว

    แน่นอนว่าในปีนี้ สมาชิกในแวดวงคริปโตต่างลุ้นหวังว่าบิทคอยน์จะขยับขึ้น เราจึงต้องจับตาดูกันต่อไปว่าซานตาคลอสจะมาทำให้ความหวังของพวกเขาเป็นจริงหรือไม่

 

กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX

 

หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้


« การวิเคราห์ตลาดและข่าว
รับการฝึก
มือใหม่ในตลาดใช่ไหม?ใช้ส่วน เริ่มฝึกฝน เริ่มฝึกฝน
ติดตามเรา (ในโชเซียลเน็ตเวิร์ค)