พฤษภาคม 9, 2023

เป็นที่ทราบกันดีว่าการเทรดในตลาดการเงินเป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการทำกำไร แม้ว่าจะไม่มีเงินทุนต้นมากเท่าไรนัก ด้วยเหตุนี้เอง การเทรดจึงเป็นที่นิยมทั่วโลก อย่างไรก็ดี เป็นที่ทราบกันดีเช่นกันว่ากิจกรรมนี้นั้นเต็มไปด้วยความเสี่ยงมากมาย และอาจนำไปสู่การสูญเสียเงินทั้งหมด การเทรดอย่างประสบความสำเร็จจึงต้องอาศัยการเข้าใจเป็นอย่างดีว่าตลาดทำงานอย่างไร สถานการณ์ปัจจุบันของตลาดเป็นอย่างไร และอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยทั่วไปมีการวิเคราะห์สองประเภทหลักเพื่อตอบคำถามเหล่านี้ ได้แก่ การวิเคราะห์เชิงเทคนิค และปัจจัยพื้นฐาน

การวิเคราะห์เชิงเทคนิค

การวิเคราะห์เชิงเทคนิคอาจแบ่งออกเป็นการวิเคราะห์กราฟและการวิเคราะห์โดยใช้คอมพิวเตอร์ (หรืออินดิเคเตอร์) การวิเคราะห์แบบแรกนั้นใช้ระดับ กรอบ เทรนด์ รูปแบบต่าง ๆ ในขณะที่แบบที่สองใช้อินดิเคเตอร์ เนื่องจากผลลัพธ์ที่ได้มักคำนวณมาจากคอมพิวเตอร์ วิธีการเหล่านี้จึงมีความแตกต่างกัน เพราะอินดิเคเตอร์จำนวนมากทำงานบนพื้นฐานของเครื่องมือวิเคราะห์กราฟ นอกจากนี้ยังมีทฤษฎีอย่าง Elliot Waves และแท่งเทียนญี่ปุ่น ซึ่งเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์เชิงเทคนิคเช่นกัน

การวิเคราะห์กราฟ ชื่อการวิเคราะห์มีความชัดเจนอยู่แล้ว เพราะเป็นการวิเคราะห์ที่อ้างอิงการศึกษากราฟราคา การวิเคราะห์กราฟประกอบด้วยการศึกษาระดับและแนวโน้มของราคา รวมถึงการหารูปแบบและการก่อตัวบนกราฟ และเครื่องมือการวิเคราะห์ที่อาศัยการมองเห็นอื่น ๆ นอกจากนี้ การวิเคราะห์กราฟอาจประกอบด้วยอินดิเคเตอร์ที่หลากหลาย เช่น การใช้ Moving Averages (MAs) เพื่อช่วยให้นักเทรดหาทิศทางของราคาในอนาคต

หนึ่งในข้อดีหลักของการวิเคราะห์กราฟคือการมองเห็น วิธีนี้สามารถช่วยในการหาเทรนด์ต่าง ๆ ในตลาดที่อาจไม่มีความชัดเจนได้หากใช้วิธีการวิเคราะห์รูปแบบอื่น การดูกราฟบนหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนนั้นเข้าใจได้ง่ายแม้แต่ต่อนักเทรดมือใหม่ อย่างไรก็ตาม มันอาจไม่ได้เรียบง่ายขนาดนั้นเสมอไป การใช้การวิเคราะห์ประเภทนี้อย่างมีประสิทธิภาพ นักเทรดจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ที่เพียงพอเพื่อตีความกราฟและทำการตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง และสิ่งนี้อาจต้องอาศัยเวลาและความพยายามที่จะเรียนรู้และเก็บเกี่ยวทักษะเหล่านี้

การวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์ (หรืออินดิเคเตอร์) อยู่บนพื้นฐานของการศึกษาทั้งกราฟราคา และปริมาณการซื้อขาย โดยมีสมมติฐานหลักก็คือ ราคาและปริมาณซื้อขายในอดีตสามารถใช้ในการคาดการณ์ราคาและทิศทางในอนาคตได้ หลากหลายอินดิเคเตอร์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ประเภทนี้ เช่น Moving Averages (MA), MACD, RSI, Stochastic Oscillator, Bollinger Bands และอีกมากมาย ซึ่งอินดิเคเตอร์เหล่านี้ช่วยให้นักเทรดหาจังหวะในการเข้าและออกคำสั่งเทรดได้

หนึ่งในข้อดีหลักของการวิเคราะห์เชิงเทคนิคคือ การวิเคราะห์โดยอ้างอิงจากข้อมูลที่มีให้พร้อมอยู่แล้ว ผ่านทางเทอร์มินัล MetaTrader-4 (MT4) และข้อมูลเหล่านี้นำมาประมวลได้อย่างรวดเร็ว อินดิเคเตอร์ที่ได้รับความนิยมจำนวนมากมีให้บริการอยู่ในเทอร์มินัลนี้ นอกจากนี้ ยังมีอินดิเคเตอร์อื่น ๆ อีกหลายหมื่นชนิดที่พัฒนาขึ้นมาสำหรับ MT4 บางตัวต้องเสียเงินซื้อ และบางตัวสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี

อินดิเคเตอร์เหล่านี้นำมาใช้ในการพัฒนากลยุทธ์ และใช้ทั้งการเทรดด้วยมือและการเทรดแบบอัตโนมัติด้วย Expert Advisors ซึ่งอาจมีประสิทธิภาพสำหรับทั้งการเทรดในระยะยาวและระยะสั้น รวมถึงการเทรดสั้น (scalping) อย่างไรก็ดี ก่อนที่จะนำไปใช้ในการเทรดจริง เราขอแนะนำให้คุณทดสอบแต่ละกลยุทธ์ใน Strategy Tester ที่มีให้บริการในเทอร์มินัล MT4 รวมถึงประเมินประสิทธิภาพของมันในบัญชีทดลองก่อน ซึ่งมีให้บริการสำหรับลูกค้า NordFX

แม้ว่าจะมีข้อดีทั้งหมดที่กล่าวมา การวิเคราะห์เชิงเทคนิค (ทั้งแบบวิเคราะห์กราฟและอินดิเคเตอร์) ยังคงมีข้อเสียที่สำคัญเช่นกัน หนึ่งในข้อเสียก็คือ มันอาจจะตอบสนองต่อสัญญาณเท็จได้ โดยเฉพาะในสภาพตลาดที่มีความผันผวนสูง นอกจากนี้ การอ่านอินดิเคเตอร์อาศัยราคาในอดีตแต่เพียงอย่างเดียวและมีความล่าช้า ซึ่งรวมถึงสัญญาณที่เรียกว่าอินดิเคเตอร์แบบชี้นำที่สามารถทำนายพัฒนาการของสถานการณ์ต่าง ๆ ได้โดยดูที่สถานการณ์ที่คล้ายกันในอดีตเท่านั้น

ข้อเสียอีกประการหนึ่งก็คือ การอ่านอินดิเคเตอร์นั้นขึ้นอยู่กับการตั้งค่าเป็นอย่างมาก ในการตั้งค่าแบบเดียวกัน คุณภาพของการทำงานอาจแตกต่างกันได้มากสำหรับสินทรัพย์การเทรดที่แตกต่างกันและกรอบเวลาที่ต่างกัน นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ในตลาดยังอาจทำให้การทำงานของมันล้มเหลวได้

และสุดท้าย สิ่งที่สำคัญที่สุดในความเห็นของเรา ข้อเสียก็คือการวิเคราะห์เชิงเทคนิคนั้นไม่สามารถนำปัจจัยเชิงพื้นฐานมาพิจารณาได้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่อาจส่งผลต่อราคาในลักษณะที่ไม่สามารถคาดเดาได้ ด้วยเหตุนี้ นักเทรดจึงสามารถเทรดอย่างได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดได้โดยการใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานประกอบ รวมถึงองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น การจัดการความเสี่ยง การกระจายความเสี่ยงในพอร์ต ฯลฯ

การวิเคราะห์เชิงเทคนิคและปัจจัยพื้นฐาน: วิธีหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาด1

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานอาศัยการศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเงิน การเมือง และสังคมที่อาจส่งผลต่อราคาสินทรัพย์ วิธีนี้ช่วยให้นักลงทุนเข้าใจว่าราคาสินทรัพย์นั้นมีมูลค่าสูงหรือต่ำเกินจริง เพื่อพยายามที่จะคาดการณ์ว่าราคาสินทรัพย์จะเปลี่ยนแปลงอย่างไรในอนาคต และตัดสินใจว่าจะซื้อหรือขายสินทรัพย์

ปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลต่อราคาคือ:

- สถิติเศรษฐกิจ สถิติ GDP เงินเฟ้อ อัตราว่างงาน การส่งออก ดุลการค้า ฯลฯ

- นโยบายทางการเงินและอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง

- เหตุการณ์การเมืองและภูมิรัฐศาสตร์ การเลือกตั้ง การเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย และทางการเมือง

- การปฏิวัติ การจลาจล สงคราม การก่อการร้าย ฯลฯ

- แนวโน้มทางสังคม การเปลี่ยนแปลงในหมู่ประชากร นวัตกรรมเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงในความต้องการของผู้บริโภค ฯลฯ

- ฤดูกาลและภัยพิบัติทางธรรมชาติ การขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ หรือปัญหาทรัพยากรล้นตลาด

- ปัจจัยอื่น ๆ เช่น เทรนด์ตลาด การเปลี่ยนแปลงของดัชนี ข่าวสารบริษัท ผลประกอบการทางการเงิน ฯลฯ

ดังนั้น ความแตกต่างระหว่างการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและการวิเคราะห์เชิงเทคนิคมีดังนี้ การวิเคราะห์เชิงเทคนิคนั้นอาศัยการศึกษากราฟและอินดิเคเตอร์เชิงเทคนิค และใช้ราคาและข้อมูลปริมาณการซื้อขายในอดีตเพื่อทำนายการเคลื่อนที่ของตลาด ส่วนการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานใช้ข้อมูลที่ขอบเขตกว้างขวางมากกว่า โดยอาศัยการศึกษาปัจัยต่าง ๆ ที่ส่งอิทธิพลต่อราคาสินทรัพย์ในอดีตและในปัจจุบัน รวมถึงในอนาคตด้วย

หนึ่งในข้อดีของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน คือ ความสามารถในการทำนายแนวโน้มระยะยาวและประเมินมูลค่าพื้นฐานของสินทรัพย์ได้ อย่างไรก็ดี มันอาจมีความซับซ้อนและต้องใช้เวลานาน และใช้ความพยายามในการรวบรวมและศึกษาข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็น นอกจากนี้ วิธีการวิเคราะห์ดังกล่าวอาจไม่ได้ประเมินถึงสถานการณ์ตลาดในระยะสั้น เช่น การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ของนักลงทุน หรือเหตุการณ์ทางการเมืองที่ไม่คาดคิด ดังนั้น การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจึงมักนำมาใช้ในการลงทุนระยะยาว ในขณะที่การวิเคราะห์เชิงเทคนิคนั้นใช้สำหรับธุรกรรมระยะสั้นเป็นหลัก

การใช้การวิเคราะห์หลายประเภทประกอบกันและโมเดลทางสถิติ

สิ่งสำคัญคือการทำความเข้าใจว่าแต่ละวิธีเหล่านี้มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง และตัวเลือกที่ดีที่สุดขึ้นอยู่กับความต้องการ กลยุทธ์ ระดับความเสี่ยงและเป้าหมายของนักเทรดแต่ละท่าน ในขณะเดียวกัน นักเทรดมักใช้การวิเคราะห์ทั้งสองประเภทประกอบกัน ซึ่งสิ่งนี้ช่วยในการลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสในการเทรดอย่างประสบความสำเร็จ

นอกจากนี้ การศึกษาข้อมูลในอดีตจำนวนมากและการใช้วิธีทางสถิติ เช่น การวิเคราะห์การถดถอย (regression analysis) ช่วยให้คุณสามารถสร้างโมเดลทางคณิตศาสตร์เพื่อาแนวโน้มและทำนายอนาคต ทิศทางของราคา รวมถึงหาจุดเข้าและจุดออกตลาดที่ดีที่สุดได้ หนึ่งในข้อดีหลักของโมเดลเชิงคณิตศาสตร์ดังกล่าวคือความสามารถของมันในการประมวลข้อมูลปริมาณมหาศาลและแสดงแนวโน้มที่ซ่อนอยู่และความสัมพันธ์ระหว่างกันในตลาด

อย่างไรก็ดี โมเดลทางสถิติดังกล่าวมีข้อเสียเช่นกันและไม่สามารถรับประกันความสำเร็จได้ ประการแรกก็คือมันต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับสถิติ คณิตศาสตร์ และการเขียนโปรแกรม ประการที่สองก็คือโมเดลทางสถิติอาจมีข้อผิดพลาดและการคลาดเคลื่อนได้ โดยเฉพาะในสภาพตลาดที่ซับซ้อนและไม่ปกติ

เหล่าคนดังเทรดอย่างไร

หากคุณเคยศึกษาชีวประวัติของนักเทรดในตำนาน จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าพวกเขาใช้การวิเคราะห์หลายประเภท ซึ่งแต่ละคนจะมีความชอบแตกต่างกันไป

- Warren Buffett ผู้ที่ชื่นชอบการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน เขาตัดสินใจลงทุนโดยอ้างอิงจากการวิเคราะห์ข้อมูลผลประกอบการทางการเงินของบริษัท เช่น รายได้ เงินปันผล สินทรัพย์ และหนี้สิน สิ่งนี้ช่วยให้เขาหามูลค่าของหุ้นในระยะยาวและศักยภาพในการเติบโตได้ บัฟเฟตต์ยังเชื่อด้วยว่าสิ่งสำคัญคือการลงทุนในบริษัทที่คุณเชื่อมั่น และถือหุ้นเป็นเวลานาน

- George Soros คือ ผู้สนับสนุนการวิเคราะห์เชิงเทคนิค วิธีนี้ใช้กราฟราคาในการหาแนวโน้มและรูปแบบในตลาด และยังโฟกัสกับการอ่านอินดิเคเตอร์ที่หลากหลายประเภท โซรอสเชื่อเช่นกันว่า สิ่งสำคัญคือการประเมินความเสี่ยงและความน่าเชื่อถือของการลงทุนของคุณ และใช้กลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงซึ่งก็คือ การจัดการเงิน

- Peter Lynch เป็นที่รู้จักในฐานะแฟนของผู้ใช้แนวทางแบบผสมผสานทั้งการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและเชิงเทคนิค เขาวิเคราะห์ผลประกอบการทางการเงินของบริษัทเพื่อประเมินศักยภาพในการเติบโต และใช้กราฟราคาและอินดิเคเตอร์อื่น ๆ เพื่อทำการตัดสินใจเกี่ยวกับการเข้าและออกคำสั่งเทรด

- John Paulson ถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์สถานการณ์ เขาวิเคราะห์ข่าวและสถานการณ์ เช่น การประกาศของบริษัท การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และสถิติเศรษฐกิจที่กำหนดอิทธิพลต่อราคาในตลาด พอลสันยังใช้การวิเคราะห์ทั้งปัจจัยพื้นฐานและการวิเคราะห์เชิงเทคนิคในการตัดสินใจเพื่อการลงทุนอย่างดีที่สุดของเขา


« บทความมีประโยชน์
ติดตามเรา (ในโชเซียลเน็ตเวิร์ค)