มิถุนายน 2, 2022

ในโลกการเงินมีคำกล่าวไว้ว่า “อเมริกาจะจาม แต่ทั้งโลกจะเป็นหวัด” แต่อะไรคือวิธีในการบ่งบอกว่าสาเหตุของการจามนั้นรุงแรงมากแค่ไหน เป็นแค่การจามเพราะรู้สึกไม่สบายตัว หรือเป็นเพราะป่วยอย่างจริงจังกันแน่?

ดัชนีหุ้น/ตลาดหลักทรัพย์จึงถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อสิ่งนี้ ดัชนีหลักนั้นใช้ในการประเมินสุขภาพของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งมีรวมอยู่ในรายการเครื่องมือการเทรดของ NordFX ได้แก่  Dow Jones 30 (DJ30.c), S&P 500 (US500.c) และ NASDAQ-100 (USTEC.c) ซึ่งเราจะมาพิจารณาแต่ละดัชนีกันในที่นี้                                                                                                        

Dow Jones: "คุณปู่" แห่งเศรษฐกิจสหรัฐฯ

ดัชนีค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ (The Dow Jones Industrial Average) ได้รับการพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี 1884 โดยชาร์ลส์ ดาว (Charles Dow) ผู้ก่อตั้ง The Wall Street Journal และเจ้าของทฤษฎี Dow ในตอนต้น ดัชนีนี้มีจำนวนผู้ใช้งานที่จำกัดและมีหุ้นรวมอยู่เพียง 11 ตัว (หุ้นการรถไฟ 9ตัว และหุ้นอุตสาหกรรม 2 ตัว) ดัชนีดังกล่าวคำนวณจากค่าเฉลี่ยของมูลค่าหุ้นที่รวมอยู่ในตะกร้า ดัชนี Dow Jones เปิดขายต่อสาธารณะในอีก 12 ปีถัดมา ในเดือนพฤษภาคมปี 1896

ดัชนี Dow Jones ในปัจจุบันไม่ใช่ดัชนีเดียว แต่เป็นตระกูลของหลากหลายดัชนีที่ติดตามความเคลื่อนไหวของหุ้นหลายบริษัท และยังรวมถึงกลุ่มต่าง ๆ เช่น อสังหาริมทรัพย์ (Dow Jones Real Estate) บริษัทขนส่ง (Dow Jones Transportation Average) บริษัทสาธารณูปโภค (Dow Jones Utility Average) และอื่น ๆ

นอกเหนือจากความเคลื่อนไหวของหุ้นสหรัฐฯ แล้ว ดัชนีตระกูล Dow Jones ยังติดตามแนวโน้มของโลก (Dow Jones Global Titans 50) รวมถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของแต่ละรายประเทศ (Dow Jones Turkey Titans 20, Dow Jones Italy Titans 30, Dow Jones South Korea Titans 30, Dow Jones Africa Titans 50 ฯลฯ)

กลุ่มดัชนีที่มีชื่อเสียงและมีขนาดใหญ่มากที่สุดคือดัชนี Dow Jones Industrial Average หรือ Dow Jones 30 ซึ่งมีให้บริการในรายการสินทรัพย์ของ NordFX ดัชนีนี้รวบรวมหุ้นของบริษัทที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 30 แห่ง สำหรับชื่อเต็ม “ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม” (Industrial Average) มาจากประวัติในอดีต เนื่องจากเศรษฐกิจกลุ่มอื่นที่นอกเหนือจากอุตสาหกรรมก็คงอยู่ในดัชนีเช่นกัน ในปัจจุบัน “สัดส่วน” เปอร์เซ็นต์” ของดัชนีมีดังนี้: หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี 26.28%, สินค้าผู้บริโภค - 25.81%, การดูแลสุขภาพ - 14.66%, สินค้าอุตสาหกรรม - 13.95%, ภาคการเงิน - 13.26%, พลังงาน - 3.40%, โทรคมนาคม - 1.46%, อุตสาหกรรมวัตถุดิบ - 1.09%, และอื่น ๆ 0.09%

ดัชนี Dow Jones 30 รวบรวมหุ้นบริษัท เช่น Apple, Goldman Sachs Group, Boeing, Johnson & Johnson, Microsoft, Procter & Gamble ซึ่งมีให้บริการสำหรับลูกค้าของ NordFX เช่นกัน เมื่อผสมผสานการเทรดรายการสินทรัพย์และดัชนีหุ้นเหล่านี้ในกลยุทธ์ของนักเทรด นักเทรดจะสามารถประกันความเสี่ยงและทำกำไรที่สูงขึ้น

หนึ่งในข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างดัชนี Dow Jones 30 และดัชนีอื่น ๆ ก็คือ ไม่มีหลักเกณฑ์ข้อจำกัดที่เข้มงวดสำหรับบริษัทที่จะเข้ารวมอยู่ในดัชนี แต่ถ้าหากคุณดูที่องค์ประกอบของดัชนี คุณจะเห็นได้ว่า บริษัทเหล่านี้เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงระดับโลกที่ทุกคนรู้จักดี ดัชนีนี้ถือว่าเป็นพอร์ตการลงทุนแบบสำเร็จ ประกอบด้วยหุ้น “บลูชิป” ซึ่งชื่อนี้นั้นมาจากบ่อนคาสิโนที่ชิปสีน้ำเงินเป็นชิปที่มีมูลค่าสูงที่สุด ในโลกการเงิน คำว่าหุ้นบลูชิปจึงหมายถึงกลุ่มหุ้นบริษัทที่มีขนาดใหญ่ มีสภาพคล่อง และมีความน่าเชื่อถือมากที่สุด และให้กำไรที่มั่นคง นี่คือสิ่งที่ทำให้ดัชนี Dow Jones 30 แตกต่างไปจากดัชนี S&P 500 ซึ่งมีจำนวนบริษัทมากกว่าและเป็นบริษัทที่ยังคงอยู่ในระยะกำลังเติบโต

ดัชนีตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ/ดัชนีหุ้น: คืออะไรและสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างไร1

S&P 500: เศรษฐกิจสหรัฐฯ ทั้งหมดในดัชนีเดียว

ถัดไปคือรายการดัชนีที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักมากที่สุด S&P 500 ตะกร้าของดัชนีนี้ประกอบด้วยบริษัทมหาชนของสหรัฐฯ จำนวน 500 แห่งที่ซื้อขายบนตลาดหลักทรัพย์ ในทางหนึ่ง ดัชนีนี้ถือว่ามีจำนวนบริษัทไม่มาก เพราะในตลาดหุ้นสหรัฐฯ แต่ละวันจะมีจำนวนบริษัทที่ซื้อขายบนตลาดหลักทรัพย์กว่า 7,000-8,000 แห่ง แต่ในอีกแง่หนึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนี Dow Jones 30 ก็ถือว่าเป็นจำนวนที่มาก เพราะบริษัท 500 แห่งเหล่านี้คิดเป็น 80% ของมูลค่ารวมในตลาดหุ้นสหรัฐฯ

หุ้น “บลูชิป” เดียวกัน เช่น Microsoft, Apple, Amazon, Facebook, Coca-Cola, Visa, Mastercard และ McDonalds สามารถพบได้พอร์ตของดัชนีนี้เช่นกัน แต่อย่างที่กล่าวไปแล้ว ใน S&P 500 มีบริษัทที่ค่อนข้างใหม่ที่ยังไม่มีประวัติการลงทุนที่ลึกซึ้ง  ทั้งนี้ บริษัท 10 อันดับแรกบนดัชนี S&P 500 คิดเป็นสัดส่วน 25% ของน้ำหนักดัชนีทั้งหมด ส่วน 15 อันดับแรกคิดเป็นประมาณ 30% ในขณะที่หุ้นของบริษัท 100 อันดับสุดท้ายนั้นคิดเป็นสัดส่วนเล็กน้อยมาก เช่น 0.05%, 0.03% หรือ 0.01% กล่าวคือ น้ำหนักของบริษัท Microsoft หรือ Apple นั้นเท่ากับน้ำหนักรวมของบริษัทหลายสิบแห่งที่อยู่ท้ายตารางดัชนี

ดัชนีนี้เปิดซื้อขายตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 1957 ซึ่งการจดทะเบียนดำเนินการโดย Standard & Poor's. (Standard & Poor's และ Moody's  และ Fitch Ratings คือ “สามยักษ์ใหญ่” ของบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ดำเนินงานหลักในการวิจัยและวิเคราะห์ตลาดการเงิน)

NASDAQ-100: บริษัทกลุ่มเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยที่สุด

ดัชนีที่สาม NASDAQ-100 เป็นบริษัทที่มีมูลค่าตามตลาดมากที่สุด 100 อันดับแรก โดยส่วนใหญ่เป็นบริษัทจากกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงจากสหรัฐฯ และประเทศอื่น ๆ ที่จดทะเบียนหุ้นบนตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq ของสหรัฐฯ

ในปัจจุบัน ตระกูล NASDAQ มีดัชนีมากกว่า 10 ดัชนี ประวัติศาสตร์ของดัชนีนี้เริ่มในปี 1985 ซึ่งมีการเปิดตัวสองดัชนี คือ NASDAQ-100 และ NASDAQ Financial-100 บริษัทเทคโนโลยีขั้นสูงเชิงอุตสาหกรรมนั้นรวมอยู่ในดัชนีแรก ส่วนบริษัทการเงินรวมอยู่ในดัชนีที่สอง โดยดัชนีเหล่านี้ถูกแยกออกจากกันเพื่อหลีกเลี่ยงอิทธิพลของสภาพแวดล้อมทางการเงินต่อภาคเทคโนโลยี ซึ่งถือว่าทำได้แต่ก็ได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น

หากคุณดูที่กราฟจะเห็นได้ถึงความสัมพันธ์ของ NASDAQ-100 กับทั้ง Dow Jones 30 และ S&P 500 ซึ่งเข้าใจได้ เนื่องจากตะกร้าดัชนีนั้นรวมถึง “วาฬ” ของตลาดหุ้น เช่น บริษัท Facebook, PayPal, Google, Yahoo, eBay, Amazon, Pepsi และบริษัทชื่อดังระดับโลกอีกหลายแห่ง

ดัชนีและตลาดคริปโตเคอเรนซี

กล่าวโดยสรุป หุ้นของบริษัทไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือใหญ่นั้นโดยทั่วไปแล้วถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ซึ่งแตกต่างจากพันธบัตรรัฐบาลหรือทองคำที่ใช้ในการสะสมมูลค่า โดยเฉพาะในช่วงเวลาแห่งวิกฤติการเงิน และในบริบทนี้ เราจำเป็นต้องพูดถึงบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ดังนั้น ในปลายปี 2021 และต้นปี 2022 จึงปรากฏความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างดัชนีและสกุลเงินคริปโตอันดับต้น ๆ อย่าง บิทคอยน์ และอีธีเรียม ฯลฯ กับดัชนีอย่าง Nasdaq 100 และ S&P 500 ดังนั้น การติดตามดัชนีเหล่านี้จะช่วยให้คุณพัฒนาคุณภาพในการคาดการณ์และทำนายจังหวะเวลาที่แนวโน้มหลักในตลาดคริปโตเปลี่ยนแปลงได้อย่างแม่นยำมากขึ้น และในทางกลับกันก็เช่น ในบางกรณีที่เคยเกิดขึ้น สินทรัพย์ดิจิทัลมีปฏิกิริยาตอบสนองล่วงหน้าก่อนสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงอื่น ๆ 


« บทความมีประโยชน์
ติดตามเรา (ในโชเซียลเน็ตเวิร์ค)